สำหรับใครที่กำลังคิดจะซื้อบ้าน หรือหาสินเชื่อกู้ซื้อบ้านก็จำเป็นต้องรู้เรื่องดอกเบี้ยบ้านกันก่อน เพราะเป็นตัวแปรสำคัญในการเลือกสินเชื่อที่อยู่อาศัยที่จะช่วยให้สามารถผ่อนบ้านปลดหนี้ได้เร็ว เพียงเข้าใจแก่นแท้ ประเภทของดอกเบี้ยบ้าน พร้อมเลือกอัตราดอกเบี้ยต่ำอย่างชาญฉลาด เท่านี้ก็สามารถพิชิตดอกเบี้ยบ้านได้ในเศรษฐกิจขาลงได้ และแน่นอนว่าเศรษฐกิจขาลงเช่นนี้จะต้องมีผลกระทบกับผู้ที่
กำลังกู้ซื้อบ้านอย่างแน่นอน และไม่รู้ว่าจะกู้ซื้อบ้านธนาคารไหนดีกว่ากัน เรามาศึกษาองค์ประกอบต่าง ๆ ของอัตราดอกเบี้ย และผลกระทบที่จะส่งผลแก่ผู้ที่จะกู้ซื้อบ้านกันเลย
อันดับแรกต้องมาทำความเข้าใจก่อนว่าดอกเบี้ยบ้านคืออะไร
ดอกเบี้ยบ้าน หรือที่รู้จักกันในชื่ออัตราดอกเบี้ยสินเชื่อที่อยู่อาศัย เป็นเงินกู้ที่ธนาคารให้มาเพื่อซื้ออสังหาริมทรัพย์เพื่อเป็นที่อยู่อาศัยหรือเพื่อการลงทุน อสังหาริมทรัพย์เชิงพาณิชย์หรืออุตสาหกรรม
โดยปกติแล้วอัตราดอกเบี้ยสำหรับกู้ซื้อบ้าน ธนาคารพาณิชย์มักจะอ้างอิงกับอัตราดอกเบี้บ MRR (Minimum Retail Rate) ซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยแบบลอยตัว (Floating Rate) ที่ธนาคารเรียกเก็บจากลูกค้ารายย่อยชั้นดี
ดอกเบี้ยเป็นสิ่งที่ผู้กู้ต้องจ่ายเมื่อกู้เงิน หรือเป็นสิ่งที่ผู้ฝากเงินได้รับเมื่อฝากเงินกับธนาคาร และแน่นอนว่าดอกเบี้ยเป็นตัวกระตุ้นผู้ประกอบธุรกิจ โดยเฉพาะในช่วงดอกเบี้ยขาขึ้นผู้คนก็อยากฝากเงิน เพราะฝากแล้วได้ผลตอบแทนสูง แต่ถ้าหากเป็นในมุมของคนที่อยากกู้ซื้อบ้าน กู้แล้วต้องจ่ายดอกแพงก็ไม่อยากกู้ ในมุมของผู้ประกอบธุรกิจก็ไม่ได้ต่างกัน อัตราดอกเบี้ยเลยถูกใช้เป็นกลไกควบคุมความร้อนแรงของสถานะเศรษฐกิจ
ดอกเบี้ยขาขึ้นกระทบคนกู้บ้านอย่างไรบ้าง?
ขอแบ่งลูกค้า
สินเชื่อกู้ซื้อบ้านออกเป็น 3 กลุ่มด้วยกัน
1. กลุ่มกำลังจะกู้ตอนที่ดอกเบี้ยขึ้นพอดี
จากข่าวที่ผ่านมาที่ได้เห็น ๆ กันดอกเบี้ยเงินฝากอาจจะขึ้นแต่ในทางกลับกันสถาบันการเงิน หรือธนาคารพาณิชย์พยายามที่จะรักษาดอกเบี้ยเงินกู้ไว้ไม่ให้ขึ้น แต่ยังคงต้องเฝ้าจับตามองเพราะโดยภาพรวมในตอนนี้ดอกเบี้ยนโยบายขึ้น เงินฝากทยอยขึ้น แต่ดอกเบี้ยเงินกู้ยังไม่ขึ้น แต่ในอนาคตอาจจะไม่แน่เพราะมีแนวโน้มขึ้นสูงเช่นกัน มาดูตัวอย่างกันว่าถ้าสมมุติว่าดอกเบี้ยเงินกู้ขึ้นจะเป็นอย่างไร
จากที่เห็นในตาราง ผ่อนระยะสั้น 25 ปี จะมีการผ่อนต่อเดือนที่ถูกกว่า แต่ถ้าเป็นผ่อนระยะยาว 10 ปี ตกต่อเดือนจะมีราคาที่สูงกว่า ดังนั้นหากวันนี้เกิดดอกเบี้ยเงินกู้เพิ่มขึ้นก็ต้องบวกในส่วนดอกเบี้ยที่เพิ่มเข้าไปรวมกับค่างวดที่ต้องผ่อนต่อเดือนตามตัวเลขในตารางข้างบน
เราอาจจะได้ยินตามข่าวว่า “ทุก ๆ ดอกเบี้ยขึ้น 1% ภาระของผู้กู้จะเพิ่มขึ้น 7-12%” ซึ่งเปอร์เซ็นต์ที่ว่าก็มาจากตรงนี้นี่เอง
สำหรับใครที่กำลังคิดกู้ซื้อบ้าน ขอสินเชื่อกู้ซื้อบ้านตอนนี้ และอยากได้คำแนะนำดี ๆ ก็สามารถเข้าไปฟังเต็ม ๆ กันได้เลยที่นี่
“ดอกเบี้ยขาขึ้น กระทบคนกู้บ้านอย่างไร? Krungsri The COACH Ep.42” ไปฟังกันเลย
2. กลุ่มที่ตอนนี้กู้อยู่แล้วและได้รับอัตราดอกเบี้ยคงที่
อัตราดอกเบี้ยเงินกู้แบบคงที่ (Fixed Rate) คือ อัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารกำหนดให้คงที่ ในระยะเวลาสั้น ๆ เริ่มต้นตั้งแต่ 1-3 ปี โดยขึ้นอยู่กับประเภทของสินเชื่อและธนาคารกำหนด ถ้าหากใครที่กำลังอยู่ในกลุ่มนี้ก็อาจจะยิ้มไปตาม ๆ กัน เพราะดอกเบี้ยขึ้นหรือลงจะไม่ได้รับผลกระทบใด ๆ เลยเพราะชื่อก็บอกอยู่แล้วว่าอัตราดอกเบี้ยคงที่ ตัวอย่างในตารางข้างบนก็คือ จ่ายดอกเบี้ย 3% เป็นระยะเวลา 3 ปี พูดให้เข้าใจง่าย ๆ ก็คือ ภายใน 3 ปีนี้ ดอกเบี้ยจะขึ้นจะลงคนกลุ่มนี้ก็จ่าย 3% เท่าเดิม เพราะสถาบันการเงินได้ให้สัญญาไว้แล้วว่าจะเก็บดอกเบี้ยไม่เกิน 3% โดยที่กลุ่มนี้จะต้องไปลุ้นในปีที่ 4 ที่หมดสัญญาว่าภายในปีนั้นอัตราดอกเบี้ยจะเพิ่ม หรือจะลด
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ขึ้นอยู่กับข้อกำหนดของแต่ละสถาบันการเงินที่ผู้กู้ไปกู้มาว่าจะมีอัตราดอกเบี้ยคงที่กี่ปีละกี่เปอร์เซ็นต์ แต่ถ้าใครกำลังมองหาธนาคารที่ยังมีสินเชื่อดอกเบี้ยคงที่ หรือไม่รู้ว่าจะไปกู้ซื้อบ้านธนาคารไหนดี กู้ซื้อบ้านกับธนาคารกรุงศรีก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจเช่นกัน
สินเชื่อบ้านกรุงศรี มีอะไรน่าสนใจบ้าง?
- สินเชื่อบ้านกรุงศรีเพื่อซื้อที่อยู่อาศัย อัตราดอกเบี้ยต่ำ ไม่ว่าจะกู้ซื้อบ้านใหม่ หรือบ้านมือสอง
- ได้วงเงินกู้สูงสุด 100% ของราคาประเมิน
- อนุมัติเร็ว
- ผ่อนชำระนานได้นานสูงสุดถึง 30 ปี (ระยะเวลาการผ่อนชำระเมื่อรวมกับอายุผู้กู้แล้วต้องไม่เกิน 65 ปี)
สิทธิพิเศษ สำหรับผู้ใช้บัญชีเงินเดือนผ่านธนาคารกรุงศรีอยุธยา รับส่วนลดอัตราดอกเบี้ยพิเศษปีแรก 0.25% จากอัตราดอกเบี้ยปกติ
3. กลุ่มที่กู้อยู่แล้วและได้รับอัตราดอกเบี้ยลอยตัวตาม MRR
อัตราดอกเบี้ยเงินกู้แบบลอยตัว (Floating Rate) คือ อัตราดอกเบี้ยที่อ้างอิงกับ MRR ซึ่งธนาคารประกาศใช้ ณ เวลานั้น ซึ่งสามารถขึ้น-ลง ได้ตามสถานการณ์เศรษฐกิจ ตลาดเงิน และต้นทุนทางการเงินของธนาคารนั้น ๆ
ซึ่งถ้าสมมุติว่า ณ ตอนนั้นได้เลือกอัตราดอกเบี้ยเงินกู้แบบลอยตัว (Floating Rate) ไว้ สมมุติว่าวันนี้ MRR คือ 6% และสัญญา MRR ที่เลือกไว้คือ -2 แปลว่าธนาคารคิดดอกเบี้ยที่แท้จริงคือ 4% ซึ่ง MRR จะผันแปรตามเทรนอัตราดอกเบี้ย ณ เวลานั้น
จะเห็นได้ว่า แม้ว่าอัตราดอกเบี้ยที่อยู่อาศัยในช่วงขาขึ้นอาจส่งผลกระทบต่อภาระหนี้การชำระบ้างในบางกลุ่มของผู้กู้ซื้อบ้าน แต่หากมีการจัดการที่ดี หนี้บ้านก็จะไม่ใช่ปัญหาหนักที่หลายคนอาจจะแบกรับไม่ไหวจนเกินไป และกลายเป็นทรัพย์สินที่มั่นคงในอนาคตของเรา และสถานที่ที่อบอุ่นสำหรับทุกคนในครอบครัว แถมยังเป็นทรัพย์สินที่มีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ อีกด้วย