พร้อมเพย์สำหรับบุคคลทั่วไป

เตรียมพร้อมรับเงินเยียวยาจากภาครัฐ

(ผู้ประกันตน ม. 33, ม. 39, ม. 40)
promptpay-logo
ตรวจสอบสิทธิ์รับเงินเยียวยาผู้ประกันตน ม. 33, ม. 39, ม. 40 ที่ https://www.sso.go.th/

เตรียม

check-imageหมายเลขบัตรประชาชน
check-imageบัญชีธนาคารกรุงศรี
person-id-bank-account

มีบัญชีกรุงศรีแล้ว สมัครกรุงศรี พร้อมเพย์ ได้เลย

apply-via kma-logo download-at
appstore googleplay huawei

เปิดบัญชีและสมัครกรุงศรี พร้อมเพย์
ง่ายผ่าน KMA - Krungsri Mobile App

kma-logo
download-at
appstore googleplay huawei

วิธีการเปิดบัญชีกรุงศรีออมทรัพย์ จัดให้ D ผ่านช่องทางออนไลน์

สำหรับลูกค้า
ที่มี KMA

kma-logo
icon-01
customer-have-kma-01
Log in เข้า KMA
icon-01
customer-have-kma-02
เลือกเมนูเปิดบัญชีออนไลน์

สำหรับลูกค้า
ที่ไม่มี KMA

kma-logo
icon-01
customer-no-kma-01
ดาวน์โหลด KMA เลือก เปิดบัญชี ออมทรัพย์จัดให้ออนไลน์
icon-02
customer-no-kma-02
ใส่เบอร์มือถือ และกรอกรหัส OTP
 

เตรียมไว้รับเงินเร็ว ไม่เสียค่าธรรมเนียม ปลอดภัยไม่ต้องไปสาขา

โครงการเยียวยานายจ้างและผู้ประกันตนมาตรา 33 ในกิจการที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการของรัฐในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด และพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
  1. ผู้ประกันตนมาตรา 33 ที่จะได้รับสิทธิ์ ต้องมีสถานะเป็นลูกจ้าง (A) ณ วันที่ใด และหากปัจจุบันได้ลาออกจากงานแล้ว (R) จะยังได้รับสิทธิ์เงินเยียวยาอยู่หรือไม่
    ตอบ  ผู้ประกันตนมาตรา 33 ที่มีสถานะทำงานอยู่ (A) ณ วันที่ 28 มิถุนายน 2564 และ ณ วันที่ 12 กรกฎาคม 2564 และ ณ วันที่ 20 กรกฎาคม 2564 จะยังคงได้รับสิทธิ์จากมาตรการเยียวยาอยู่
  2. หากได้รับสิทธิ์มาตรการเยียวยา ผู้ประกันตนต้องดำเนินการอย่างไรหรือไม่
    ตอบ  ผู้ประกันตนมาตรา 33 ไม่ต้องจัดทำเอกสารใดๆ แต่ต้องมีบัญชีธนาคาร เฉพาะการผูกบัญชีพร้อมเพย์ (PromptPay) กับเลขบัตรประชาชน เท่านั้น
  3. นายจ้างตรวจสอบผ่านหน้าเว็บไซต์สำนักงานประกันสังคมพบว่าได้รับสิทธิ์ แล้วต้องดำเนินการอย่างไร
    ตอบ  นายจ้างจะได้รับแบบแสดงความจำนงที่สำนักงานประกันสังคมจัดส่งให้ ตรวจสอบข้อมูลพร้อมรับรองความถูกต้อง กรอกเลขที่บัญชีเงินฝากธนาคาร แล้วส่งกลับคืนไปยังสำนักงานประกันสังคมจังหวัด เขต สาขา ที่นายจ้างตั้งอยู่  
    นายจ้างนิติบุคคล  ให้แนบสำเนาหน้าบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์หรือกระแสรายวัน (ชื่อบัญชีในนามนิติบุคคล รับรองสำเนาถูกต้องโดยผู้มีอำนาจลงนามหรือรับรองพร้อมประทับตรา แล้วแต่ข้อกำหนดของนิติบุคคล 
    นายจ้างบุคคลธรรมดา  ไม่ต้องแนบสำเนาบัญชีธนาคาร ให้ดำเนินการผูกบัญชีพร้อมเพย์กับเลขบัตรประชาชน สำนักงานประกันสังคมจะโอนเงินผ่านบัญชีพร้อมเพย์ (PromptPay) เท่านั้น
  4. หากนายจ้างและผู้ประกันตนได้รับสิทธิ์ จะได้รับเงินเมื่อใด
    ตอบ  กรณีนายจ้างที่ส่งแบบแสดงความจำนงให้สำนักงานประกันสังคมจังหวัด เขต สาขา ที่รับผิดชอบ   ทำการบันทึกข้อมูลก่อนวันที่ 27 กรกฎาคม 2564 จะได้รับเงินเยียวยาในวันศุกร์ที่ 6 สิงหาคม 2564 กรณีนายจ้างที่ส่งแบบแสดงความจำนงให้สำนักงานประกันสังคมจังหวัด เขต สาขา หลังวันที่ 27 กรกฎาคม 2564 จะได้รับเงินเยียวยาทุกวันศุกร์ในสัปดาห์ถัดไป จนถึงวันศุกร์ที่ 29 ตุลาคม 2564
  5. หากลูกจ้าง/ผู้ประกันตนมีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ จะได้รับสิทธิ์การเยียวยานี้หรือไม่
    ตอบ  ได้รับสิทธิ์การเยียวยา หากลูกจ้างนั้นมีสถานะเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 ณ วันที่ 28 มิถุนายน 2654 และ ณ วันที่ 12 กรกฎาคม 2564 และ ณ วันที่ 20 กรกฎาคม 2564
  6. กรณีนายจ้างที่มีสิทธิ์ได้รับเงินเยียวยา มีลูกจ้างต่างชาติ/ต่างด้าว ที่ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 จะนับรวมใน 200 คนแรก หรือไม่
    ตอบ  ลูกจ้างที่เป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 ที่เป็นต่างด้าว/ต่างชาติ นายจ้างจะได้รับเงินเยียวยา 3,000 บาท/คน โดยนำมานับรวมให้ด้วย
  7. นายจ้างที่ได้ตรวจสอบผ่านทางหน้าเว็บไซต์สำนักงานประกันสังคมแล้วไม่มีสิทธิ์ แต่ลูกจ้างในบริษัทฯ เข้าไปตรวจสอบแล้วมีสิทธิ์ ลูกจ้างจะได้รับเงินเยียวยาหรือไม่
    ตอบ  ให้นายจ้างยื่นข้อร้องทุกข์เพื่อให้ตรวจสอบสิทธิ์ตามเงื่อนไขต่อสำนักงานประกันสังคมจังหวัด เขต สาขา ที่รับผิดชอบดำเนินการ ส่วนของลูกจ้างไม่ต้องดำเนินการใดๆ หากผูกบัญชีพร้อมเพย์กับเลขบัตรประชาชนแล้ว ให้รอผลการตรวจสอบสิทธิ์ของนายจ้างก่อน
  8. ลูกจ้างที่ขึ้นทะเบียนผู้ประกันตนตอนอายุ 60 ปี จะได้รับเงินเยียวยาหรือไม่
    ตอบ  ลูกจ้างใหม่อายุ 60 ปีบริบูรณ์ แล้ว ไม่สามารถขึ้นทะเบียนผู้ประกันตนได้ จึงไม่มีสิทธิ์รับเงินเยียวยา ส่วนกรณีลูกจ้างเดิมที่เป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 อยู่แล้ว ทุกช่วงอายุ มีสิทธิ์ได้รับเงินเยียวยา
  9. นายจ้างเป็นชาวต่างชาติ ผูกพร้อมเพย์ไม่ได้ จะทำอย่างไร
    ตอบ  ให้ยื่นเอกสารแสดงความจำนงไปที่สำนักงานประกันสังคมจังหวัด เขต สาขา ก่อน แล้วรอการพิจารณา สำนักงานประกันสังคมจะดำเนินการจ่ายเงินเยียวยาในส่วนของนายจ้างภายหลัง ผ่านช่องทางอื่นที่กำหนด
  10. เอกสารเยียวยาที่นายจ้างต้องกรอกและส่งกลับสำนักงานประกันสังคม ผู้รับมอบอำนาจ ลงนามแทนได้หรือไม่
    ตอบ  ผู้รับมอบอำนาจที่ถูกต้องตามกฎหมาย สามารถลงนามแทนได้
  11. นายจ้างตรวจสอบสิทธิ์เยียวยาผ่านหน้าเว็บไซต์แล้วได้รับสิทธิ์ แต่ยังไม่ได้รับเอกสารจากสำนักงานประกันสังคม สามารถเข้าไปรับเอกสารที่สำนักงานประกันสังคมได้หรือไม่ หากให้นายจ้างรอจดหมายจะทันเวลารับสิทธิ์หรือไม่
    ตอบ  สำนักงานประกันสังคมจังหวัด เขต สาขา จะเริ่มส่งเอกสารให้นายจ้างทางไปรษณีย์ตั้งแต่วันที่ 12 กรกฎาคม 2564 ถึงวันที่ 1 ตุลาคม 2564 หากครบกำหนดเวลาแล้วยังไม่ได้รับเอกสาร จึงติดต่อรับที่สำนักงานประกันสังคมที่รับผิดชอบ
  12. เงินเยียวยาในส่วนของนายจ้างและส่วนของผู้ประกันตน จ่ายเป็นงวดหรือจ่ายครั้งเดียว 
    ตอบ  จ่ายให้กับนายจ้างและผู้ประกันตน ครั้งเดียวเต็มจำนวน โดยนายจ้างจะได้รับ 3,000 บาท ต่อจำนวนลูกจ้างที่เป็นผู้ประกันตน 1 คน สูงสุดไม่เกิน 200 คน และผู้ประกันตนจะได้รับคนละ 2,500 บาท
  13. กรณีนายจ้างและผู้ประกันตนมีสิทธิ์ได้รับเงินเยียวยา แต่นายจ้างไม่ประสงค์รับเงิน และไม่ยอมลงชื่อในเอกสารแสดงความจำนง แต่ลูกจ้างประสงค์รับเงิน ลูกจ้างต้องทำอย่างไร
    ตอบ  สิทธิ์ของนายจ้างและสิทธิ์ของผู้ประกันตนไม่มีความสัมพันธ์กัน กรณีนายจ้างไม่ประสงค์รับเงินเยียวยา สำนักงานประกันสังคมยังคงจ่ายเงินให้ผู้ประกันตนผ่านบัญชีพร้อมเพย์ที่ผูกกับเลขบัตรประชาชน
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานประกันสังคม โทร. 1506
เกี่ยวกับ พร้อมเพย์
 
กรุงศรี พร้อมเพย์กรุงศรี พร้อมเพย์ผู้ได้ง่าย ๆแค่มีกรุงศรี พร้อมเพย์ กรุงศรีเอทีเอ็ม Krungsri Online / KMA / Krungsri Biz Online สาขาธนาคารกรุงศรีอยุธยา ตัวอย่างการผู้บัญชีกรุงศรีพร้อมเพย์ใช้เบอร์มือถือผูกเข้ากับบัญชีที่ 2ตัวอย่างที่ 2 แบบหลาย กรุงศรี พร้อมเพย์ ต่อ 1 บัญชีตัวอย่างที่ 3 แบบที่ไม่สามารถทำได้เด็ดขาด  
บริการโอนเงินพร้อมเพย์
กรุงศรี พร้อมเพย์ โอนง่าย โอนไว ไปยังหมายเลขบัตรประชาชน, หมายเลขโทรศัพท์มือถือ หรือเลขประจำตัวผู้เสียภาษีของผู้รับที่ได้ลงทะเบียนพร้อมเพย์


การโอนเงินผ่าน กรุงศรี พร้อมเพย์ (Krungsri PromptPay)

ผู้โอนเงินไม่จําเป็นต้องสมัครลงทะเบียนพร้อมเพย์ ก็สามารถโอนเงินพร้อมเพย์ได้ โอนง่าย ไม่จำเป็นต้องจำเลขที่บัญชีหรือชื่อธนาคารของผู้รับเงิน โดยโอนผ่าน 4 ช่องทางดังนี้
  • Krungsri ATM
  • Krungsri Online
  • krungsri app
  • Krungsri Biz Online
 

ขั้นตอนการโอนเงินผ่านกรุงศรี พร้อมเพย์

  • เลือกช่องทางที่ต้องการโอนเงิน
  • เลือกเมนูโอนเงิน แล้วเลือกโอนเงินพร้อมเพย์
  • ใส่หมายเลขพร้อมเพย์ของผู้รับเงิน (หมายเลขบัตรประชาชน / หมายเลขโทรศัพท์มือถือ / เลขประจำตัวผู้เสียภาษี)
  • ตรวจสอบชื่อผู้รับเงินก่อนกดยืนยันการโอนเงินทุกครั้ง ในการโอนเงินเมื่อใส่หมายเลขพร้อมเพย์ของผู้รับเงินแล้ว ผู้โอนจะเห็นหน้าจอแสดงชื่อเจ้าของบัญชีปลายทาง เพื่อตรวจสอบความถูกต้องก่อนการโอนเงิน
*สำหรับช่องทางเอทีเอ็ม ใช้บัตรกรุงศรี เดบิต ที่ตู้กรุงศรี ATM เท่านั้น
 

ข้อดีโอนเงินผ่านพร้อมเพย์

  • สะดวก ง่าย แค่ใช้หมายเลขบัตรประชาชน, หมายเลขโทรศัพท์มือถือของผู้รับเงิน หรือ เลขประจำตัวผู้เสียภาษี
  • ง่ายไม่ต้องจำเลขที่บัญชี
  • ปลอดภัย ลดความเสี่ยงจากการพกเงินสด
 

วงเงินโอนสูงสุดของแต่ละช่องทาง

Click to Icon hide
ช่องทางโอนเงิน วงเงินโอนสูงสุด (บาท/รายการ)
ต่อวัน ต่อรายการ
Krungsri ATM 100,000 100,000
Krungsri Online/ krungsri app 500,000* 500,000
Krungsri Biz Online 2,000,000 300,000
* สามารถปรับเพิ่มวงเงินสูงสุด 2,000,000 บาท ผ่านช่องทาง krungsri app วงเงินดังกล่าว เป็นวงเงินรวมโอนเงินช่องทางกรุงศรีออนไลน์ และ krungsri app
 

อัตราค่าธรรมเนียม

Click to Icon hide
ช่องทางโอนเงิน จำนวนโอน
บาท/รายการ
ค่าธรรมเนียม
บาท/รายการ
Krungsri Online, krungsri app และ Krungsri Biz Online ฟรี! ทุกรายการ
Krungsri ATM • ไม่เกิน 5,000 บาท
• มากกว่า 5,000 – 30,000 บาท
• มากกว่า 30,000 – 100,000 บาท
ฟรี! ทุกรายการ
2 บาท/รายการ
5 บาท/รายการ
 

การรับเงินผ่าน กรุงศรี พร้อมเพย์ (Krungsri PromptPay)

ผู้รับโอนเงิน จะต้องลงทะเบียนเพื่อผูกบัญชีของตนเองกับหมายเลขโทรศัพท์มือถือ, หมายเลขบัตรประชาชนหรือเลขประจำตัวผู้เสียภาษี
False
เงื่อนไขการใช้บริการ
ผู้ขอใช้บริการรับทราบและตกลงปฏิบัติตามข้อตกลงการใช้บริการกรุงศรี พร้อมเพย์ ของธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) (“ธนาคาร”) ดังต่อไปนี้
  1. คำจำกัดความ
    1.1 “บริการกรุงศรี พร้อมเพย์” หมายถึง บริการที่รองรับการโอนเงิน การรับโอนเงิน หรือธุรกรรมใดๆ เกี่ยวกับบัญชีเงินฝาก โดยการใช้หมายเลขอ้างอิงแทนการระบุเลขที่บัญชีเงินฝากของผู้ขอใช้บริการที่ลงทะเบียนแล้ว โดยระบบงานจะจัดเก็บข้อมูลการลงทะเบียนหมายเลขอ้างอิง เป็นข้อมูลรองรับการโอนเงิน การรับโอนเงิน หรือธุรกรรมใดๆ เกี่ยวกับบัญชีเงินฝาก ตามหลักเกณฑ์ของธนาคาร
    1.2 “หมายเลขอ้างอิง” หมายถึง หมายเลขประจำตัวประชาชน หมายเลขโทรศัพท์เคลื่อนที่ หรือข้อมูลอื่นใดที่อาจถูกกำหนดให้ใช้เป็นหมายเลขอ้างอิงได้ในอนาคต
    1.3 “ผู้ขอใช้บริการ” หมายถึง เจ้าของบัญชีเงินฝากที่ลงทะเบียนและได้รับการยืนยันการลงทะเบียนให้ใช้บริการนี้ตามหลักเกณฑ์ของธนาคาร
    1.4 “ลงทะเบียน” หมายถึง การลงทะเบียนใช้บริการนี้ผ่านช่องทางและวิธีการที่ธนาคารกำหนด
    1.5 “ยกเลิกการลงทะเบียน” หมายถึง การยกเลิกการลงทะเบียนใช้บริการนี้ผ่านช่องทางและวิธีการที่ธนาคารกำหนด
    1.6 “ITMX” หมายถึง บริษัทเนชั่นแนลไอทีเอ็มเอ๊กซ์ จำกัด
  2. ผู้ขอใช้บริการรับรองว่าเป็นเจ้าของบัญชีเงินฝาก และมีคุณสมบัติดังนี้ (1) เป็นเจ้าของหมายเลขประจำตัวประชาชนที่ออกโดยหน่วยงานราชการของประเทศไทย ซึ่งนำมาลงทะเบียนใช้เป็นหมายเลขอ้างอิง หรือ (2) เป็นเจ้าของและถือครองหมายเลขอ้างอิง หรือถือครองหมายเลขอ้างอิงโดยได้รับความยินยอมจากเจ้าของหมายเลขอ้างอิงนั้น ในกรณีเป็นการลงทะเบียนโดยใช้หมายเลขโทรศัพท์เคลื่อนที่ หรือข้อมูลอื่นใดเป็นหมายเลขอ้างอิงตามหลักเกณฑ์ของธนาคาร
  3. เมื่อผู้ขอใช้บริการเปลี่ยนแปลงหรือยกเลิกหมายเลขอ้างอิงที่ใช้ลงทะเบียน ผู้ขอใช้บริการต้องแจ้งให้ธนาคารทราบทันทีตามวิธีการที่ธนาคารกำหนด
  4. กรณีที่ผู้ขอใช้บริการลงทะเบียนใช้บริการนี้ ผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ ด้วยการลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือผ่านช่องทางและวิธีการอื่นที่ธนาคารกำหนดโดยไม่มีการลงลายมือชื่อ ผู้ขอใช้บริการตกลงผูกพันตามข้อตกลงและเงื่อนไขที่เกี่ยวข้องตามที่ธนาคารกำหนดทุกประการ
  5. ผู้ขอใช้บริการตกลงยินยอมให้ธนาคาร ผู้ให้บริการหมายเลขอ้างอิง และ/หรือหน่วยงานกำกับดูแลที่เกี่ยวข้องของธนาคารและผู้ให้บริการหมายเลขอ้างอิงเช่น ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ทำการเปิดเผย แลกเปลี่ยน ส่ง และ/หรือโอนข้อมูลส่วนตัวของผู้ขอใช้บริการ เจ้าของหมายเลขอ้างอิง หรือสถานะของหมายเลขอ้างอิง และข้อมูลอื่นใดที่เกี่ยวข้องกับผู้ขอใช้บริการ ซึ่งหากธนาคารไม่ได้รับความยินยอมดังกล่าวอาจจะกระทบต่อการดำเนินการของธนาคารอย่างมีนัยสำคัญ และ/หรือ จะทำให้ไม่สามารถให้บริการได้อย่างเป็นธรรมและต่อเนื่อง เช่น เพื่อการโอนเงินและการรับโอนเงินผ่านบริการกรุงศรี พร้อมเพย์ เพื่อวัตถุประสงค์และประโยชน์ในการประมวลผลข้อมูลและเพื่อประโยชน์ในการติดต่อสื่อสารการบริการหรือดำเนินธุรกิจของธนาคารที่เกี่ยวข้องกับและมีความสำคัญกับการให้บริการแก่ธนาคาร ITMX ผู้ขอใช้บริการ บริษัทในเครือ ผู้ให้บริการภายนอก ตัวแทนของผู้ให้บริการ ผู้รับจ้างช่วงงานต่อ หน่วยงานราชการตามกฎหมายบริษัทคู่ค้า และ/หรือ บุคคลอื่นใด
  6. บัญชีเงินฝากที่ใช้ลงทะเบียนหมายเลขอ้างอิงต้องเป็นบัญชีออมทรัพย์หรือบัญชีกระแสรายวัน ที่มีสถานะเป็นบัญชีปกติตามหลักเกณฑ์ของธนาคารและต้องไม่เป็นบัญชีร่วม เว้นแต่ธนาคารจะเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น และจะมีผลต่อเมื่อธนาคารได้แจ้งยืนยันการลงทะเบียนแล้วเท่านั้น
  7. ข้อตกลงการใช้บริการนี้ อยู่ภายใต้บังคับและเป็นส่วนหนึ่งของข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้บริการบัญชีเงินฝากทุกประเภทของธนาคาร รวมทั้งข้อตกลงและเงื่อนไขอื่นที่เกี่ยวข้องกับการเปิดบัญชีเงินฝาก โดยผู้ขอใช้บริการตกลงผูกพันตามข้อตกลงและเงื่อนไขดังกล่าวทุกประการ
  8. หมายเลขอ้างอิงที่ใช้ลงทะเบียน ต้องไม่ผูกอยู่กับบัญชีเงินฝากของผู้ขอใช้บริการหรือของบุคคลใดๆ ที่มีอยู่กับธนาคารหรือสถาบันการเงินอื่น
  9. การโอนเงินและการรับโอนเงินผ่านบริการนี้ อยู่ภายใต้เงื่อนไขเกี่ยวกับจำนวนเงินสูงสุดในการโอนเงินและรับโอนเงิน ต่อรายการ ต่อวัน ตามที่ธนาคารกำหนด
  10. ธนาคารไม่จำต้องรับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการให้บริการนี้ เว้นแต่เป็นความเสียหายโดยตรงจากการกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของธนาคาร แต่ทั้งนี้ ธนาคารไม่จำต้องรับผิดชอบในความเสียหายที่เกิดขึ้นจากเหตุเช่นนี้ (1) การปิดบัญชีเงินฝากที่ลงทะเบียนใช้หมายเลขอ้างอิง หรือ (2) การยกเลิกหรือถูกระงับความเป็นเจ้าของหรือผู้มีสิทธิใช้หมายเลขอ้างอิง หรือ (3) เหตุสุดวิสัย หรือเหตุการณ์ที่ธนาคารไม่สามารถควบคุมได้ ซึ่งรวมถึงการที่อุปกรณ์ ระบบสื่อสาร หรือการส่งสัญญาณเชื่อมต่อไม่ทำงาน หรือการรบกวนจากไวรัสคอมพิวเตอร์ หรือจากการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย หรือธนาคารมีความจำเป็นต้องระงับการให้บริการนี้เพื่อปรับปรุงการให้บริการ หรือ (4) เกิดความล่าช้า ความผิดพลาดความบกพร่องของระบบคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ต่างๆ ของผู้ขอใช้บริการ หรือผู้ให้บริการระบบอินเทอร์เน็ต หรือผู้ให้บริการระบบเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ ITMX หรือธนาคารอื่นที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการ หรือ (5) ผู้ขอใช้บริการไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงและเงื่อนการใช้บริการนี้
  11. ผู้ขอใช้บริการตกลงชำระค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายต่างๆ เกี่ยวกับการใช้บริการนี้ ในอัตราที่ธนาคารประกาศกำหนด โดยในการชำระค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายดังกล่าว ผู้ขอใช้บริการยินยอมให้ธนาคารหักเงินจากบัญชีเงินฝากที่ใช้ลงทะเบียนหมายเลขอ้างอิงโดยไม่ต้องบอกกล่าวให้ผู้ขอใช้บริการทราบ หรือหักเงินจากบัญชีเงินฝากอื่นใดที่ผู้ขอใช้บริการมีอยู่กับธนาคารโดยธนาคารจะแจ้งผลการหักหรือถอนเงินดังกล่าวให้ผู้ขอใช้บริการทราบต่อไปในระยะเวลาที่เหมาะสม
  12. ธนาคารมีสิทธิแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อตกลงการใช้บริการกรุงศรี พร้อมเพย์ หรือเปลี่ยนแปลงเพิ่มหรือลดการให้บริการเฉพาะบริการใดบริการหนึ่ง หรือยกเลิกการให้บริการทั้งหมดได้ หรือเฉพาะแต่ผู้ขอใช้บริการรายใดรายหนึ่งเมื่อใดก็ได้ โดยธนาคารจะแจ้งให้ผู้ขอใช้บริการทราบล่วงหน้าในระยะเวลาสามสิบ (30) วัน ผ่านสื่อประชาสัมพันธ์การใช้บริการต่างๆ ของธนาคารที่เหมาะสม (เช่น เว็บไซต์ของธนาคาร ประกาศ ณ ที่ทำการของธนาคาร และ/หรือช่องทางอื่นๆ) เว้นแต่มีกรณีมีเหตุที่จำเป็นเพื่อป้องกันการทุจริต หรือกรณีผู้ขอใช้บริการผิดนัดชำระหนี้หรือผิดเงื่อนไขใดๆ ในสัญญาหรือข้อตกลงกับธนาคาร หรือกรณีที่ระบุในข้อ 13.  ธนาคารสามารถแจ้งการเปลี่ยนแปลงหรือแจ้งการดำเนินการให้ทราบภายหลังได้ภายในระยะเวลาที่เหมาะสม (ทั้งนี้เว้นแต่กฎหมาย หรือคำสั่งศาลหรือหน่วยงานรัฐจะกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น) ในกรณีที่การแก้ไขเปลี่ยนแปลงดังกล่าวมีผลให้ผู้ขอใช้บริการต้องเสียค่าใช้จ่าย หรือมีภาระความรับผิดชอบเพิ่มขึ้น ผู้ขอใช้บริการรับทราบว่าผู้ขอใช้บริการสามารถยกเลิกการใช้บริการได้
  13. ธนาคารมีสิทธิระงับหรือยกเลิกการให้บริการนี้ได้โดยไม่ต้องแจ้งให้ผู้ขอใช้บริการทราบล่วงหน้า เช่นในกรณีดังนี้ (1) ธนาคารมีข้อมูลที่น่าเชื่อถือได้ว่าผู้ขอใช้บริการมิได้เป็นเจ้าของหรือผู้มีสิทธิถือครองหมายเลขอ้างอิงที่นำมาลงทะเบียนไว้กับธนาคาร หรือ (2) บัญชีเงินฝากที่ใช้ลงทะเบียนหมายเลขอ้างอิงถูกนำไปใช้หรือมีพฤติการณ์น่าสงสัยว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินหรือการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย หรือไม่เป็นไปตามกฎหมายหรือกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง หรือ (3) บัญชีเงินฝากที่ใช้ลงทะเบียนหมายเลขอ้างอิงถูกปิด หรือมีการใช้หมายเลขอ้างอิงซ้ำกับบัญชีเงินฝากของธนาคารหรือสถาบันการเงินอื่น หรือ (4) ธนาคารต้องยกเลิกการให้บริการนี้เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายหรือกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาล
  14. ผู้ขอใช้บริการตกลงและยินยอมให้ธนาคารเก็บ รวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลของผู้ขอใช้บริการที่เกี่ยวกับการใช้บริการนี้ ให้แก่ ITMX หรือบุคคลอื่นได้ตามความเหมาะสม เพื่อการลงทะเบียนและใช้บริการนี้
  15.  เมื่อผู้ขอใช้บริการให้ข้อมูลส่วนบุคคลของบุคคลอื่นใดแก่ธนาคาร (ก) ผู้ขอใช้บริการรับรองที่จะตรวจสอบความถูกต้องและความสมบูรณ์ของข้อมูลส่วนบุคคลอื่นที่ผู้ขอใช้บริการให้แก่ธนาคาร และแจ้งธนาคารถึงความเปลี่ยนแปลงของข้อมูลส่วนบุคคลที่ได้ให้ไว้ (ข) ผู้ขอใช้บริการรับรองว่าผู้ขอใช้บริการได้รับความยินยอม หรือสามารถอาศัยฐานทางกฎหมายอื่นสำหรับการเก็บรวบรวม ใช้ เปิดเผย และ/หรือโอนข้อมูลส่วนบุคคลดังกล่าวตามกฎหมายที่ใช้บังคับ (ค) ผู้ขอใช้บริการรับรองว่าผู้ขอใช้บริการได้แจ้งประกาศการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของธนาคารแก่บุคคลดังกล่าวแล้ว และ (ง) ผู้ขอใช้บริการรับรองว่าธนาคารสามารถเก็บรวบรวม ใช้ เปิดเผย และ/หรือโอน ข้อมูลส่วนบุคคลดังกล่าวตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ในประกาศการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของธนาคาร ซึ่งอาจมีการแก้ไขเป็นครั้งคราว ซึ่งรวมถึงวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ในข้อตกลงฉบับนี้
  16. หนังสือ จดหมาย หรือคำบอกกล่าวใดๆ ที่ธนาคารจัดส่งให้แก่ผู้ขอใช้บริการ ไม่ว่าจะเป็นการจัดส่งทางไปรษณีย์ จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (e-mail) หรือข้อความสั้น (SMS) ตามที่อยู่ซึ่งผู้ขอใช้บริการได้แจ้งให้ธนาคารทราบ ให้ถือว่าเป็นการจัดส่งให้แก่ผู้ขอใช้บริการโดยชอบแล้ว ในกรณีที่ผู้ขอใช้บริการเปลี่ยนแปลงที่อยู่จัดส่งดังกล่าวข้างต้น ผู้ขอใช้บริการจะแจ้งให้ธนาคารทราบผ่านสำนักงานสาขาของธนาคาร หรือ ผ่านช่องทางที่ธนาคารกำหนด
  17. ผู้ขอใช้บริการสามารถยกเลิกการลงทะเบียนใช้หมายเลขอ้างอิงโดยปฏิบัติตามวิธีการและช่องทางที่ธนาคารกำหนด
 
ผู้ขอใช้บริการตกลงผูกพันและปฏิบัติตามข้อตกลงการใช้บริการกรุงศรี พร้อมเพย์ ตลอดจนประกาศหรือระเบียบของธนาคารที่เกี่ยวข้อง ที่มีอยู่ในขณะนี้และที่จะได้มีการแก้ไข เพิ่มเติม หรือเปลี่ยนแปลงในภายหน้าทุกประการ และให้ถือว่าข้อตกลงนี้เป็นส่วนหนึ่งของใบคำขอลงทะเบียน / ยกเลิกการลงทะเบียนบริการกรุงศรี พร้อมเพย์ ที่ผู้ขอใช้บริการได้ลงนามขอใช้บริการไว้แล้ว ในกรณีที่ข้อตกลงการใช้บริการกรุงศรี พร้อมเพย์ ที่แนบท้ายใบคำขอดังกล่าวขัดกับข้อตกลงการใช้บริการกรุงศรี พร้อมเพย์ ฉบับนี้ ให้ใช้ข้อตกลงฉบับนี้บังคับ
 
 
ข้อตกลงการใช้บริการกรุงศรี พร้อมเพย์
PDF
คำถามที่พบบ่อย
บริการกรุงศรี พร้อมเพย์ (Krungsri PromptPay) เป็นการให้บริการรับ-โอนเงินระหว่างกันแบบใหม่โดยไม่ต้องใช้เลขที่บัญชีธนาคาร ใช้เพียงแค่หมายเลขโทรศัพท์มือถือ เลขประจำตัวประชาชน ผ่านช่องทางดังนี้ ATM / สาขาของธนาคาร / Krungsri Online / KMA / Krungsri Biz Online ทำให้การโอนเงินผ่านบริการกรุงศรี พร้อมเพย์ (Krungsri PromptPay) มีความสะดวกสบายและปลอดภัย ทั้งนี้ การให้บริการ กรุงศรี พร้อมเพย์ (Krungsri PromptPay) ถือเป็นส่วนหนึ่งของโครงการพัฒนาระบบ โครงสร้างพื้นฐานการชำระเงินของประเทศไทย
ถ้าไม่อยากพลาดการรับเงินจากรัฐบาล ควรจะลงทะเบียนใช้บริการ กรุงศรี พร้อมเพย์ (Krungsri PromptPay) ยกตัวอย่างเช่น เงินคืนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ปกติกรมสรรพากรจะส่งเป็นเช็คขีดคร่อมทางไปรษณีย์ ปัญหาที่ผ่านมา ผู้รับได้บ้าง ไม่ได้บ้าง ต่อไปนี้หลังวันที่ 1 มกราคม 2560 จะไม่คืนเป็นเช็คคืนภาษีอีก

สำหรับชาวบ้าน เกษตรกร หากรัฐบาลจะช่วยเหลือกรณีประสบภัยพิบัติ หรือผลผลิตตกต่ำ ฯลฯ รัฐบาลก็จะใช้เลขที่บัตรประชาชน โอนเงินผ่าน บริการกรุงศรี พร้อมเพย์ (Krungsri PromptPay) เข้าบัญชีธนาคารที่เราลงทะเบียนไว้

ส่วนผู้สูงอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป หากรัฐบาลจะจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ปกติต้องลงทะเบียนและส่งสำเนาบัญชีธนาคาร แต่ต่อไปนี้จะช่วยลดขั้นตอนการลงทะเบียนมากขึ้น ใครเคยลงทะเบียน กรุงศรี พร้อมเพย์ (Krungsri PromptPay) เอาไว้ก็ใช้รับเงินเบี้ยยังชีพได้ทันที รวมทั้งเงินสวัสดิการของข้าราชการ เช่น เงินบำนาญ เบี้ยหวัด เงินบำนาญพิเศษ ฯลฯ ก็จะโอนเงินผ่าน กรุงศรี พร้อมเพย์ (Krungsri PromptPay) เข้าบัญชีธนาคารที่เราลงทะเบียนไว้เช่นกัน
ณ ตอนนี้ บริการกรุงศรี พร้อมเพย์ (Krungsri PromptPay) จะถูกใช้ เพื่อ

รับเงินจากภาครัฐโดยตรง: เช่น เงินสวัสดิการ ค่าเบี้ยคนชรา เงินช่วยเหลือ เงินคืนภาษี ผ่านเลขประจำตัวประชาชนที่ผูกกับบัญชีเงินฝากธนาคาร

การรับโอนเงินจากประชาชนด้วยกันเอง: สามารถรับโอนเงินจากญาติพี่น้อง เพื่อน ค่าสินค้าและบริการได้อย่างรวดเร็ว เพียงแค่บอกเบอร์โทรศัพท์มือถือ หรือบัตรประชาชนที่ผูกบัญชีไว้แล้ว อยากให้เข้าบัญชีไหนก็บอกเบอร์ที่ผูกไปให้คนที่ต้องการโอนเงินให้เรา
การตัดสินใจเลือกผูกบัญชีเงินฝากของธนาคารใด ๆ กับหมายเลขโทรศัพท์มือถือหรือเลขประจำตัวประชาชน ควรขึ้นอยู่กับความสะดวกและความพึงพอใจของผู้ใช้บริการเอง และหากได้ลงทะเบียนผูกบัญชีไปแล้ว สามารถที่จะยกเลิกหรือเปลี่ยนแปลงการผูกบัญชีดังกล่าวได้ในภายหลัง
สามารถยกเลิกการลงทะเบียนได้ที่ช่องทางสาขาของธนาคาร ทุกสาขา
บุคคลทั่วไปสามารถขอลงทะเบียนเพื่อผูกบัญชีเงินฝากออมทรัพย์หรือบัญชีเงินฝากกระแสรายวันกับหมายเลขโทรศัพท์มือถือหรือเลขบัตรประชาชนได้ตามช่องทางที่ธนาคารกำหนด เช่น Krungsri ATM / Krungsri Online / KMA / Krungsri Biz Online / สาขาของธนาคาร โดยมีเอกสารพื้นฐานที่ต้องใช้ประกอบการลงทะเบียนตามที่ธนาคารกำหนด เช่น

ช่องทาง Krungsri ATM
1. บัตร ATM และรหัสผ่าน (PIN)
2. หมายเลขบัตรประชาชนหรือหมายเลขโทรศัพท์มือถือที่ต้องการผูกบัญชี

ช่องทาง Krungsri Online/KMA/Krungsri Biz Online
1. ชื่อผู้ใช้งานและรหัสผ่าน (Username และ Password)
2. หมายเลขบัตรประชาชนและ/หรือหมายเลขโทรศัพท์มือถือที่ต้องการผูกบัญชี

ช่องทางสาขาของธนาคาร
1. บัตรประจำตัวประชาชน
2. หมายเลขบัตรประชาชนหรือหมายเลขโทรศัพท์มือถือที่ต้องการผูกบัญชี
  • ในกรณีที่ไม่ใช่เจ้าของหมายเลขโทรศัพท์มือถือให้นำใบแจ้งค่าใช้บริการรายเดือนที่ระบุชื่อเจ้าของหมายเลข โทรศัพท์มือถือเดือนล่าสุด หรือ ย้อนหลังไม่เกิน 2 เดือน ซึ่งต้องมีความเกี่ยวข้องเป็นบิดา มารดา คู่สมรส หรือ บุตร และ เจ้าของหมายเลขโทรศัพท์มือถือต้องมาแสดงตนด้วยตนเอง พร้อมนำบัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าของหมายเลขโทรศัพท์มือถือและเอกสารที่แสดงความสัมพันธ์กับเจ้าของบัญชีมาแสดงตามแต่กรณี เช่น ทะเบียนสมรส, ใบสูติบัตร, ทะเบียนบ้าน หรือ ใบเปลี่ยนชื่อ – นามสกุล
สามารถลงทะเบียนได้ตามช่องทางดังนี้
  1. Krungsri ATM
  2. Krungsri Online
  3. KMA
  4. Krungsri Biz Online
  5. สาขาของธนาคารกรุงศรีอยุธยาทุกสาขา
การลงทะเบียนใช้บริการกรุงศรี พร้อมเพย์ (Krungsri PromptPay) เป็นการลงทะเบียนแบบสมัครใจ แต่ควรเริ่มทยอยลงทะเบียนตามความต้องการใช้งาน โดยรัฐบาลมีแนวคิดการจ่ายเงินสวัสดิการและการคืนภาษีต่าง ๆ ให้แก่ประชาชนผ่านเลขประจำตัวประชาชน ดังนั้นผู้ที่จะรับสวัสดิการต่าง ๆ จากรัฐบาลควรเริ่มทยอยมาลงทะเบียนบริการกรุงศรี พร้อมเพย์ (Krungsri PromptPay) โดยผูกบัญชีเงินฝากของตนเองกับหมายเลขประจำตัวประชาชน
ธนาคารไม่คิดค่าธรรมเนียมในการลงทะเบียน หรือสมัครบริการ
  • หมายเลขบัตรประชาชนผูกได้เพียงบัญชีเดียวเท่านั้น
  • หมายเลขโทรศัพท์มือถือ 1 เลขหมายผูกได้เพียงบัญชีเดียวเท่านั้น
  • บัญชีเงินฝากธนาคาร 1 บัญชีสามารถผูกได้กับทั้งหมายเลขบัตรประชาชนและหมายเลขโทรศัพท์มือถือ
  • บัญชีเงินฝากธนาคาร 1 บัญชีสามารถผูกกับหมายเลขโทรศัพท์มือถือได้สูงสุด 3 เลขหมาย
บัญชีเงินฝากออมทรัพย์และบัญชีเงินฝากกระแสรายวันของบุคคลธรรมดาที่ถือสัญชาติไทย, บุคคลธรรมดาที่เปิดบัญชีในนาม "ร้านค้า...." หรือ "ร้านค้า.... โดย..." ที่เป็นบัญชีเจ้าของคนเดียว และ บุคคลธรรมดาที่ไม่มีสัญชาติไทย ที่มีบัญชีเงินฝากสกุลเงินบาท ซึ่งบุคคลที่ไม่มีสัญชาติไทยสามารถสมัครผูกบัญชีกับหมายเลขโทรศัพท์มือถือเท่านั้น

ยกเว้น
  1. บัญชีร่วม (และ/หรือ)
  2. บัญชี “ เพื่อ / โดย ” เช่น บัญชีผู้เยาว์ โดย บิดามารดา หรือ บัญชีบิดามารดา เพื่อผู้เยาว์ หรือ บัญชีนายจ้าง เพื่อลูกจ้าง หรือ บัญชีลูกจ้างเพื่อนายจ้าง เป็นต้น
สามารถเปลี่ยนแปลง และยกเลิกการผูกบัญชีได้ที่สาขาธนาคารทั่วประเทศ และไม่มีค่าใช้จ่าย
หากบัญชีปิดหรือถูกยกเลิก จะส่งผลให้บริการกรุงศรี พร้อมเพย์ (Krungsri PromptPay) จะถูกยกเลิกโดยอัตโนมัติ ซึ่งหากต้องการใช้บริการใหม่ต้องมีการสมัครใหม่
ลูกค้าสามารถติดต่อธนาคารต้นทางที่ลูกค้าสมัครบริการเพื่อทำการยกเลิกบริการ จากนั้นจึงจะสมัครใช้บริการ กรุงศรี พร้อมเพย์ (Krungsri PromptPay) ได้
บริการกรุงศรี พร้อมเพย์ (Krungsri PromptPay) มีความปลอดภัยสูงตามมาตรฐานสากลและอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของธนาคารแห่งประเทศไทยอย่างใกล้ชิด เช่นเดียวกับระบบการโอนเงินประเภทต่าง ๆ ที่มีให้บริการอยู่ในปัจจุบัน
ท่านไม่ต้องดำเนินการอะไรเพิ่มเติมกับธนาคาร เนื่องจากไม่ส่งผลกระทบต่อการลงทะเบียนผูกบัญชีเงินฝากหรือการใช้บริการโอนเงินผ่านบริการกรุงศรี พร้อมเพย์ (Krungsri PromptPay) แต่อย่างใด
ขอให้ท่านแจ้งยกเลิกการผูกบัญชีให้ธนาคารรับทราบเพื่อธนาคารทำการยกเลิกผูกบัญชีในระบบโดยเร็วพร้อมกับลงทะเบียนเพื่อผูกหมายเลขโทรศัพท์มือถือใหม่นั้นกับบัญชีเงินฝากของท่านอีกครั้งหนึ่ง
หากหมายเลขโทรศัพท์มือถือลงทะเบียนด้วยชื่อของท่านสามารถนำมาลงทะเบียนได้
สามารถเช็คได้ด้วยตัวเอง แค่กด *179*หมายเลขบัตรประชาชน 13 หลัก#(ไม่เว้นวรรค) และกดโทรออก ระบบจะตอบกลับว่าเบอร์มือถือเบอร์นั้นได้จดทะเบียนด้วยหมายเลขบัตรประชาชนของเราที่พิมพ์ลงไปหรือไม่ ถ้าไม่ตรงกัน จะต้องแก้ไขการจดทะเบียนที่ศูนย์บริการของค่ายโทรศัพท์มือถือก่อนลงทะเบียนพร้อมเพย์
ไม่ได้
ไม่สามารถใช้หมายเลขโทรศัพท์บ้านลงทะเบียนได้ เนื่องจากไม่สามารถตรวจสอบหมายเลขได้ด้วยการส่งรหัส OTP (One Time Password) ผ่านทาง SMS
บัญชีที่ไม่มีบัตรเดบิต/บัตร ATM สามารถลงทะเบียนใช้บริการกรุงศรี พร้อมเพย์ (Krungsri PromptPay) ได้
สามารถใช้บริการได้
จำเป็น ถ้าต้องการใช้บริการกรุงศรี พร้อมเพย์ ก็ต้องทำการลงทะเบียนใช้บริการกรุงศรี พร้อมเพย์ (Krungsri PromptPay) ด้วย เนื่องจาก Mobile App และ Mobile Banking เป็นคนละบริการกับการลงทะเบียนผูกหมายเลขโทรศัพท์มือถือกับบัญชีในบริการพร้อมเพย์
ได้
การลงทะเบียนใช้บริการพร้อมเพย์ สามารถลงทะเบียนผูกบัญชีเงินฝากธนาคารไว้กับเลขประจำตัวประชาชน และ/หรือ หมายเลขโทรศัพท์มือถือซึ่งในกรณีที่ไม่มีโทรศัพท์มือถือ ก็สามารถผูกกับเลขประจำตัวประชาชนเพียงอย่างเดียวได้
ไม่ได้ เพราะบริการพร้อมเพย์ใช้รับเงินอย่างเดียว ถ้าจะถอนหรือนำเงินออกต้องทำตามขั้นตอนการถอนปกติ
ไม่จำเป็น เงินจากภาครัฐสามารถโอนเข้าบัญชีพร้อมเพย์ที่ได้ผูกเลขบัตรประชาชนกับบัญชีธนาคารไหนก็ได้ ทั้งเงินคืนภาษี เงินประกันสังคม เงินบำนาญ ฯลฯ ก็ถูกโอนเข้าบัญชีพร้อมเพย์ที่ผูกด้วยหมายเลขบัตรประชาชน
ไม่ได้ เจ้าของบัญชีจะต้องมาลงทะเบียนสมัครใช้บริการด้วยตนเอง
ไม่มีกำหนดอายุขั้นต่ำ ลูกค้าที่มีบัญชีเป็นของตนเองและเป็นไปตามเงื่อนไขการสมัครบริการ สามารถสมัครใช้บริการได้ทุกคน
สามารถใช้ได้ตามปกติ
ลูกค้าสามารถตรวจสอบได้ด้วยตนเองผ่านช่องทาง Krungsri ATM, Krungsri Online และ KMA หรือ โทรสอบถามได้ที่ Krungsri Call Center 1572
สามารถยกเลิกการลงทะเบียนได้ที่ช่องทางสาขาของธนาคาร ทุกสาขา
 
  • ผู้โอนเงิน ไม่จําเป็นต้องสมัครลงทะเบียนผูกบัญชีกับหมายเลขพร้อมเพย์ และสามารถโอนเงินพร้อมเพย์ได้ทางช่องทางต่าง ๆ ที่ธนาคารกําหนด 4 ช่องทางดังนี้ Krungsri ATM / Krungsri Online / Krungsri Biz Online / KMA
  • ผู้รับโอนเงิน จะต้องลงทะเบียนเพื่อผูกบัญชีของตนเองกับหมายเลขโทรศัพท์มือถือ, หมายเลขบัตรประชาชนหรือเลขประจำตัวผู้เสียภาษีก่อน
ไม่ได้ เนื่องจากบริการโอนเงินพร้อมเพย์ เป็นการให้บริการโอนเงินเฉพาะภายในประเทศเท่านั้น
สามารถใช้ได้ตามปกติ
ไม่มีการกำหนดจำนวนครั้งในการโอนเงินต่อวัน สำหรับวงเงินสูงสุดและจำนวนเงินสูงสุดในการโอนเงินต่อรายการและต่อวันขึ้นอยู่กับข้อกำหนดของธนาคาร

วงเงินโอนสูงสุดของแต่ละช่องทาง
 
ช่องทางโอนเงิน วงเงินโอนสูงสุด (บาท/รายการ)
ต่อวัน ต่อรายการ
Krungsri ATM 100,000 100,000
Krungsri Online/ KMA 500,000* 500,000
Krungsri Biz Online 2,000,000 300,000
* สามารถปรับเพิ่มวงเงินสูงสุด 2,000,000 บาท ผ่านช่องทาง KMA วงเงินดังกล่าว เป็นวงเงินรวมโอนเงินช่องทางกรุงศรีออนไลน์ และ KMA
ลูกค้าควรเก็บรายละเอียดหรือหลักฐานการโอนเงินต่าง ๆ และแจ้ง Call Center 1572 หรือสาขาของธนาคารกรุงศรีเพื่อทำการตรวจสอบ ซึ่งเป็นกระบวนการที่เหมือนกับการแก้ปัญหาการโอนเงินในปัจจุบัน
ได้รับเงินทันที
ไม่ได้ ผู้โอนจะต้องนำเงินสด หรือเช็คเข้าบัญชีก่อน (กรณีเช็ค จะต้องให้เช็คผ่านการเคลียริ่งเรียบร้อยก่อน) หลังจากนั้นผู้โอนจึงสามารถโอนเงินพร้อมเพย์ได้ตามปกติ
ระบบจะแจ้ง “ชื่อบัญชีผู้รับเงิน” ให้ผู้โอนตรวจสอบก่อนยืนยันการโอนเงิน ดังนั้นผู้โอนจะต้องตรวจสอบชื่อบัญชีผู้รับเงิน และจำนวนเงินทุกครั้งก่อนกดยืนยันการโอนเงิน
ลูกค้าผู้ถือบัตร ATM/Debit ของธนาคารใดต้องไปที่ตู้ ATM ของธนาคารนั้น ๆ แล้วเลือกทำรายการโอนเงินพร้อมเพย์
เนื่องจากเป็นข้อกำหนดในการทำรายการโอนเงิน เครื่อง ATM จะต้องมีใบบันทึกรายการ เพื่อพิมพ์เป็นหลักฐานให้ลูกค้าใช้ในการอ้างอิงต่อไป
ลูกค้าสามารถทำรายการโอนเงินต่างธนาคารที่เป็นบริการที่ธนาคารได้ให้บริการในปัจจุบัน (ORFT) ได้ตามปกติ แต่ทั้งนี้คิดค่าธรรมเนียม 25/35 บาทต่อรายการ (ตามจำนวนที่เงินในแต่ละช่องทาง) ซึ่งแตกต่างจากการโอนเงินพร้อมเพย์
ธนาคารจะแจ้งรายการโอนเงินให้ผู้โอนและผู้รับโอนทาง SMS สำหรับลูกค้าที่ทำรายการผ่าน Krungsri Online, KMA, และ Krungsri Biz Online โดยลูกค้าจะต้องคลิกเลือก “ต้องการ” แจ้ง SMS ให้กับผู้โอนและผู้รับโอน
กรณีที่ลูกค้าสมัครใช้บริการ SMS Alert ระบบจะส่งแจ้งรายการเข้าบัญชีให้ลูกค้าทราบ และหากผู้โอนระบุให้ส่ง SMS แจ้งลูกค้าผู้รับโอนระบบก็จะส่ง SMS ให้ลูกค้าด้วย จึงเป็นไปได้ที่ลูกค้าจะได้รับ SMS 2 ครั้งต่อรายการโอน 1 รายการ
หากผู้รับเงินยังไม่ได้ยกเลิกลงทะเบียนหมายเลขพร้อมเพย์กับเบอร์มือถือดังกล่าว ผู้โอนยังสามารถโอนเงินพร้อมเพย์ได้ตามปกติ อย่างไรก็ตามผู้โอนจะต้องตรวจสอบชื่อบัญชีผู้รับเงินก่อนยืนยันทำรายการโอนเงิน
ให้ติดต่อ Krungsri Call Center 1572 หรือสาขาของธนาคารกรุงศรี เพื่อให้ธนาคารทำการตรวจสอบข้อมูลก่อน และหากได้รับการติดต่อจากผู้โอน ห้ามทำการโอนเงินคืนเอง เนื่องจากอาจเป็นการหลอกลวง
บางธนาคารในขณะนี้ยังไม่พร้อมในการเป็นผู้โอนออก แต่จะสามารถเป็นผู้รับเงินโอนได้ อย่างไรก็ตามลูกค้าสามารถสอบถามไปยัง Call Center ของธนาคารนั้น ๆ เพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ทั้งนี้ธนาคารกรุงศรีอยุธยาพร้อมให้บริการโอนเงินพร้อมเพย์ทั้งในส่วนของการเป็นผู้โอนออก และเป็นผู้รับเงิน
หมายเลขบัตรประชาชน/หมายเลขโทรศัพท์ ที่ลูกค้าต้องการจะโอนเงินไปนั้น ต้องมีการลงทะเบียนพร้อมเพย์ก่อนจึงจะสามารถทำรายการรับโอนเงินได้ (กรณีตรวจสอบแล้ว ระบบทำงานได้ตามปกติ)
เรื่องการยกเว้นค่าธรรมเนียมจะเป็นนโยบายของแต่ละธนาคารที่จะทำการยกเว้นให้กับลูกค้าของธนาคารเจ้าของบัญชี ซึ่งลูกค้าสามารถตรวจสอบเรื่องค่าธรรมเนียมได้จากประกาศของธนาคารผ่านทางช่องทางสาขา หรือ website ของธนาคารได้ ธนาคารกรุงศรีอยุธยาก็มีโปรโมชั่นฟรีค่าธรรมเนียมโอนเงินพร้อมเพย์เช่นกัน ติดตามได้ที่บริการบัตรจัดให้
แจ้งปัญหาได้ที่ Krungsri Call Center 1572 หรือสาขาธนาคารกรุงศรี โดยธนาคารจะตรวจสอบ แจ้งผล และปรับปรุงรายการให้ถูกต้อง (ถ้ามี) ภายในระยะเวลา ดังนี้
  • กรณีเลือกใช้บริการพร้อมเพย์ 3 วันทำการ
  • กรณีเลือกใช้บริการอื่นที่ไม่ใช่พร้อมเพย์ 5 วันทำการ
ให้ผู้โอนติดต่อ Krungsri Call Center 1572 หรือสาขาของธนาคารกรุงศรี โดยธนาคารจะแจ้งผลการติดตามให้ผู้โอนทราบดังนี้
  • กรณีโอนภายในธนาคารเดียวกัน 15 วันทำการ
  • กรณีโอนต่างธนาคาร 20 วันทำการ

หมายเหตุ ข้อ 19-20.
  1. ระยะเวลาดำเนินการเป็นมาตรฐานเดียวกันทุกธนาคาร อ้างอิงตามประกาศธนาคาร www.krungsri.com ที่หัวข้อ “มาตรฐานระยะเวลาการให้บริการทางการเงินของธนาคาร สำหรับลูกค้าบุคคลรายย่อย”
  2. ไม่รวมกรณีที่สงสัยเป็น Fraud หรือ ทุจริต
  3. ระยะเวลาดำเนินการ ให้นับตั้งแต่วันทำการถัดจากวันที่ธนาคารได้รับแจ้ง หรือได้รับหนังสือ หรือใบคำขอที่มีข้อมูล พร้อมเอกสารประกอบการดำเนินการที่ครบถ้วนจากลูกค้า (แล้วแต่กรณี)
ลูกค้าที่ลงทะเบียนพร้อมเพย์ ตั้งแต่เปิดให้บริการ จนถึง 31 ธ.ค. 59 จะได้รับสิทธิ์โอนเงินพร้อมเพย์ ฟรีค่าธรรมเนียม ตั้งแต่วันที่ 27 ม.ค. 60 ถึง 26 ม.ค. 61 (ระยะเวลาฟรี 1 ปี)
 
หมายเหตุ:
  1. ลูกค้าจะต้องเลือกบัญชีโอนออกเป็นบัญชีที่ลงทะเบียนในช่วงโปรโมชั่นเพื่อรับสิทธิพิเศษ
  2. กรณีลูกค้าผูกหมายเลขพร้อมเพย์ มากกว่า 1 หมายเลข กับ 1 บัญชีธนาคาร ในช่วงโปรโมชั่น
    2.1 หากลูกค้ายกเลิกผูกหมายเลขพร้อมเพย์ไป 1 หมายเลข โดยยังเหลือหมายเลขพร้อมเพย์อื่น ๆ อยู่
    -> ลูกค้ายังได้รับสิทธิ์ฟรีโอนเงินพร้อมเพย์อยู่
    2.2 หากลูกค้ายกเลิกผูกหมายเลขพร้อมเพย์ทั้งหมด
    -> ลูกค้าจะไม่ได้รับสิทธิ์ฟรีโอนเงินพร้อมเพย์
    2.3 หากลูกค้ายกเลิกผูกหมายเลขพร้อมเพย์ทั้งหมด หลังจากนั้นสมัครผูกหมายเลขอื่นหรือหมายเลขเดิม ในปี 2560
    -> ลูกค้าจะไม่ได้รับสิทธิ์ฟรีโอนเงินพร้อมเพย์
ข้อแนะนำในการโอนเงินผ่านพร้อมเพย์
  • ผู้โอนควรเรียนรู้ ศึกษา วิธีการใช้งานอย่างปลอดภัย เช่น ต้องตรวจสอบชื่อ นามสกุล ผู้รับโอน และจำนวนเงินที่ต้องการโอนทุกครั้ง ก่อนกดยืนยันรายการโอนและหมั่นตรวจสอบเงินในบัญชี หรือสมัครบริการแจ้งเตือนยอดเงินในบัญชี
  • ผู้โอนเงินต้องดูแลรักษา username/password ของ Mobile Banking และ Internet Banking หรือบัตร ATM และรหัสผ่าน เป็นอย่างดี และไม่เปิดเผยให้ผู้อื่นทราบ
  • โปรดระมัดระวัง! หากระบบหน่วง หรือช้า และมี Error ต่าง ๆ เกิดขึ้นในจังหวะที่กดปุ่มยืนยัน ลูกค้าต้องตรวจสอบก่อนว่ารายการที่เพิ่งทำไปสำเร็จหรือไม่ และมีการตัดเงินจากบัญชีต้นทางหรือยัง โปรดหลีกเลี่ยงการโอนเงินซ้ำทันทีโดยไม่ได้ตรวจสอบรายการ
  • ควรระมัดระวังรักษาอุปกรณ์ เช่น โทรศัพท์มือถือ หรือ Mobile Device ที่ใช้เชื่อมต่อทำธุรกรรมเกี่ยวกับระบบพร้อมเพย์เป็นอย่างดี เพื่อไม่ให้ผู้อื่นเอาไปใช้งาน เช่นเดียวกับการดูแลรักษาบัตรเครดิตหรือบัตร ATM
  • ควรมีความระมัดระวังและรักษาข้อมูลความลับของตนเอง เช่น
    - ไม่บอกรหัส username / password, วัน/เดือน/ปีเกิด หมายเลขบัตรประจำตัวประชาชน หมายเลขบัญชี กับ ผู้อื่น หรือเขียนไว้เปิดเผย
    - ไม่มอบเอกสารสำคัญส่วนตัว เช่น สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน ให้กับบุคคลอื่น
    - หากพบความผิดปกติของสัญญาณโทรศัพท์มือถือที่ใช้รับรหัสหรือทำธุรกรรมทางการเงิน ให้รีบติดต่อเครือข่ายโทรศัพท์มือถือทันที เช่น ไม่สามารถใช้โทรเข้าหรือโทรออกได้ตามปกติ
 
ลูกค้าตรวจสอบชื่อ-นามสกุล ผู้รับโอนเงินให้ถูกต้องก่อนยืนยันการโอนเงินทุกครั้ง
บริการโอนเงินพร้อมเพย์ มีความปลอดภัยสูงตามมาตรฐานสากล และอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของธนาคารแห่งประเทศไทยอย่างใกล้ชิด เช่นเดียวกับระบบการโอนเงินประเภทต่าง ๆ ที่มีให้บริการอยู่ในปัจจุบัน
ข้อมูลไม่ได้ถูกเก็บในบัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรเดบิต/บัตร ATM ชิปการ์ด แต่จะถูกเก็บไว้ในระบบกลางที่มีความปลอดภัยสูง และระบบสำรองที่มั่นคง
ความปลอดภัยในการทำรายการโอนเงินไม่แตกต่างกับการโอนเงินโดยวิธีการอื่น ส่วนการแจ้งหมายเลขบัตรประชาชนให้กับผู้โอนเงินควรต้องระมัดระวังในการเปิดเผยข้อมูลบัตรประชาชนให้กับคนที่ไว้วางใจได้ แต่ถ้าต้องการแจ้งหมายเลขพร้อมเพย์ให้บุคคลทั่วไป ควรใช้หมายเลขโทรศัพท์มือถือดีกว่า
ข้อมูลส่วนของผู้ใช้บริการมีความปลอดภัยสูง ธนาคารหรือ NITMX ไม่สามารถนำข้อมูลลูกค้ามาเปิดเผยหรือขายต่อได้ โดยมีกฎหมาย พ.ร.บ ธุรกิจสถาบันการเงินและ พ.ร.ฎ ควบคุมดูแลธุรกิจบริการการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ควบคุมอยู่ ซึ่งธนาคารและ NITMX ได้ถือปฎิบัติอย่างเคร่งครัดมาโดยตลอด และ ธปท. มีการตรวจสอบกำกับดูแลสม่ำเสมอ
บริการกรุงศรี พร้อมเพย์ (Krungsri PromptPay) เป็นการให้บริการรับ-โอนเงินระหว่างกันแบบใหม่โดยไม่ต้องใช้เลขที่บัญชีธนาคาร ใช้เพียงแค่หมายเลขโทรศัพท์มือถือ เลขประจำตัวประชาชน ผ่านช่องทางดังนี้ ATM / สาขาของธนาคาร / Krungsri Online / KMA / Krungsri Biz Online ทำให้การโอนเงินผ่านบริการกรุงศรี พร้อมเพย์ (Krungsri PromptPay) มีความสะดวกสบายและปลอดภัย ทั้งนี้ การให้บริการ กรุงศรี พร้อมเพย์ (Krungsri PromptPay) ถือเป็นส่วนหนึ่งของโครงการพัฒนาระบบ โครงสร้างพื้นฐานการชำระเงินของประเทศไทย
ถ้าไม่อยากพลาดการรับเงินจากรัฐบาล ควรจะลงทะเบียนใช้บริการ กรุงศรี พร้อมเพย์ (Krungsri PromptPay) ยกตัวอย่างเช่น เงินคืนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ปกติกรมสรรพากรจะส่งเป็นเช็คขีดคร่อมทางไปรษณีย์ ปัญหาที่ผ่านมา ผู้รับได้บ้าง ไม่ได้บ้าง ต่อไปนี้หลังวันที่ 1 มกราคม 2560 จะไม่คืนเป็นเช็คคืนภาษีอีก

สำหรับชาวบ้าน เกษตรกร หากรัฐบาลจะช่วยเหลือกรณีประสบภัยพิบัติ หรือผลผลิตตกต่ำ ฯลฯ รัฐบาลก็จะใช้เลขที่บัตรประชาชน โอนเงินผ่าน บริการกรุงศรี พร้อมเพย์ (Krungsri PromptPay) เข้าบัญชีธนาคารที่เราลงทะเบียนไว้

ส่วนผู้สูงอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป หากรัฐบาลจะจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ปกติต้องลงทะเบียนและส่งสำเนาบัญชีธนาคาร แต่ต่อไปนี้จะช่วยลดขั้นตอนการลงทะเบียนมากขึ้น ใครเคยลงทะเบียน กรุงศรี พร้อมเพย์ (Krungsri PromptPay) เอาไว้ก็ใช้รับเงินเบี้ยยังชีพได้ทันที รวมทั้งเงินสวัสดิการของข้าราชการ เช่น เงินบำนาญ เบี้ยหวัด เงินบำนาญพิเศษ ฯลฯ ก็จะโอนเงินผ่าน กรุงศรี พร้อมเพย์ (Krungsri PromptPay) เข้าบัญชีธนาคารที่เราลงทะเบียนไว้เช่นกัน
ณ ตอนนี้ บริการกรุงศรี พร้อมเพย์ (Krungsri PromptPay) จะถูกใช้ เพื่อ

รับเงินจากภาครัฐโดยตรง: เช่น เงินสวัสดิการ ค่าเบี้ยคนชรา เงินช่วยเหลือ เงินคืนภาษี ผ่านเลขประจำตัวประชาชนที่ผูกกับบัญชีเงินฝากธนาคาร

การรับโอนเงินจากประชาชนด้วยกันเอง: สามารถรับโอนเงินจากญาติพี่น้อง เพื่อน ค่าสินค้าและบริการได้อย่างรวดเร็ว เพียงแค่บอกเบอร์โทรศัพท์มือถือ หรือบัตรประชาชนที่ผูกบัญชีไว้แล้ว อยากให้เข้าบัญชีไหนก็บอกเบอร์ที่ผูกไปให้คนที่ต้องการโอนเงินให้เรา
การตัดสินใจเลือกผูกบัญชีเงินฝากของธนาคารใด ๆ กับหมายเลขโทรศัพท์มือถือหรือเลขประจำตัวประชาชน ควรขึ้นอยู่กับความสะดวกและความพึงพอใจของผู้ใช้บริการเอง และหากได้ลงทะเบียนผูกบัญชีไปแล้ว สามารถที่จะยกเลิกหรือเปลี่ยนแปลงการผูกบัญชีดังกล่าวได้ในภายหลัง
สามารถยกเลิกการลงทะเบียนได้ที่ช่องทางสาขาของธนาคาร ทุกสาขา
บุคคลทั่วไปสามารถขอลงทะเบียนเพื่อผูกบัญชีเงินฝากออมทรัพย์หรือบัญชีเงินฝากกระแสรายวันกับหมายเลขโทรศัพท์มือถือหรือเลขบัตรประชาชนได้ตามช่องทางที่ธนาคารกำหนด เช่น Krungsri ATM / Krungsri Online / KMA / Krungsri Biz Online / สาขาของธนาคาร โดยมีเอกสารพื้นฐานที่ต้องใช้ประกอบการลงทะเบียนตามที่ธนาคารกำหนด เช่น

ช่องทาง Krungsri ATM
1. บัตร ATM และรหัสผ่าน (PIN)
2. หมายเลขบัตรประชาชนหรือหมายเลขโทรศัพท์มือถือที่ต้องการผูกบัญชี

ช่องทาง Krungsri Online/KMA/Krungsri Biz Online
1. ชื่อผู้ใช้งานและรหัสผ่าน (Username และ Password)
2. หมายเลขบัตรประชาชนและ/หรือหมายเลขโทรศัพท์มือถือที่ต้องการผูกบัญชี

ช่องทางสาขาของธนาคาร
1. บัตรประจำตัวประชาชน
2. หมายเลขบัตรประชาชนหรือหมายเลขโทรศัพท์มือถือที่ต้องการผูกบัญชี
  • ในกรณีที่ไม่ใช่เจ้าของหมายเลขโทรศัพท์มือถือให้นำใบแจ้งค่าใช้บริการรายเดือนที่ระบุชื่อเจ้าของหมายเลข โทรศัพท์มือถือเดือนล่าสุด หรือ ย้อนหลังไม่เกิน 2 เดือน ซึ่งต้องมีความเกี่ยวข้องเป็นบิดา มารดา คู่สมรส หรือ บุตร และ เจ้าของหมายเลขโทรศัพท์มือถือต้องมาแสดงตนด้วยตนเอง พร้อมนำบัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าของหมายเลขโทรศัพท์มือถือและเอกสารที่แสดงความสัมพันธ์กับเจ้าของบัญชีมาแสดงตามแต่กรณี เช่น ทะเบียนสมรส, ใบสูติบัตร, ทะเบียนบ้าน หรือ ใบเปลี่ยนชื่อ – นามสกุล
สามารถลงทะเบียนได้ตามช่องทางดังนี้
  1. Krungsri ATM
  2. Krungsri Online
  3. KMA
  4. Krungsri Biz Online
  5. สาขาของธนาคารกรุงศรีอยุธยาทุกสาขา
การลงทะเบียนใช้บริการกรุงศรี พร้อมเพย์ (Krungsri PromptPay) เป็นการลงทะเบียนแบบสมัครใจ แต่ควรเริ่มทยอยลงทะเบียนตามความต้องการใช้งาน โดยรัฐบาลมีแนวคิดการจ่ายเงินสวัสดิการและการคืนภาษีต่าง ๆ ให้แก่ประชาชนผ่านเลขประจำตัวประชาชน ดังนั้นผู้ที่จะรับสวัสดิการต่าง ๆ จากรัฐบาลควรเริ่มทยอยมาลงทะเบียนบริการกรุงศรี พร้อมเพย์ (Krungsri PromptPay) โดยผูกบัญชีเงินฝากของตนเองกับหมายเลขประจำตัวประชาชน
ธนาคารไม่คิดค่าธรรมเนียมในการลงทะเบียน หรือสมัครบริการ
  • หมายเลขบัตรประชาชนผูกได้เพียงบัญชีเดียวเท่านั้น
  • หมายเลขโทรศัพท์มือถือ 1 เลขหมายผูกได้เพียงบัญชีเดียวเท่านั้น
  • บัญชีเงินฝากธนาคาร 1 บัญชีสามารถผูกได้กับทั้งหมายเลขบัตรประชาชนและหมายเลขโทรศัพท์มือถือ
  • บัญชีเงินฝากธนาคาร 1 บัญชีสามารถผูกกับหมายเลขโทรศัพท์มือถือได้สูงสุด 3 เลขหมาย
บัญชีเงินฝากออมทรัพย์และบัญชีเงินฝากกระแสรายวันของบุคคลธรรมดาที่ถือสัญชาติไทย, บุคคลธรรมดาที่เปิดบัญชีในนาม "ร้านค้า...." หรือ "ร้านค้า.... โดย..." ที่เป็นบัญชีเจ้าของคนเดียว และ บุคคลธรรมดาที่ไม่มีสัญชาติไทย ที่มีบัญชีเงินฝากสกุลเงินบาท ซึ่งบุคคลที่ไม่มีสัญชาติไทยสามารถสมัครผูกบัญชีกับหมายเลขโทรศัพท์มือถือเท่านั้น

ยกเว้น
  1. บัญชีร่วม (และ/หรือ)
  2. บัญชี “ เพื่อ / โดย ” เช่น บัญชีผู้เยาว์ โดย บิดามารดา หรือ บัญชีบิดามารดา เพื่อผู้เยาว์ หรือ บัญชีนายจ้าง เพื่อลูกจ้าง หรือ บัญชีลูกจ้างเพื่อนายจ้าง เป็นต้น
สามารถเปลี่ยนแปลง และยกเลิกการผูกบัญชีได้ที่สาขาธนาคารทั่วประเทศ และไม่มีค่าใช้จ่าย
หากบัญชีปิดหรือถูกยกเลิก จะส่งผลให้บริการกรุงศรี พร้อมเพย์ (Krungsri PromptPay) จะถูกยกเลิกโดยอัตโนมัติ ซึ่งหากต้องการใช้บริการใหม่ต้องมีการสมัครใหม่
ลูกค้าสามารถติดต่อธนาคารต้นทางที่ลูกค้าสมัครบริการเพื่อทำการยกเลิกบริการ จากนั้นจึงจะสมัครใช้บริการ กรุงศรี พร้อมเพย์ (Krungsri PromptPay) ได้
บริการกรุงศรี พร้อมเพย์ (Krungsri PromptPay) มีความปลอดภัยสูงตามมาตรฐานสากลและอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของธนาคารแห่งประเทศไทยอย่างใกล้ชิด เช่นเดียวกับระบบการโอนเงินประเภทต่าง ๆ ที่มีให้บริการอยู่ในปัจจุบัน
ท่านไม่ต้องดำเนินการอะไรเพิ่มเติมกับธนาคาร เนื่องจากไม่ส่งผลกระทบต่อการลงทะเบียนผูกบัญชีเงินฝากหรือการใช้บริการโอนเงินผ่านบริการกรุงศรี พร้อมเพย์ (Krungsri PromptPay) แต่อย่างใด
ขอให้ท่านแจ้งยกเลิกการผูกบัญชีให้ธนาคารรับทราบเพื่อธนาคารทำการยกเลิกผูกบัญชีในระบบโดยเร็วพร้อมกับลงทะเบียนเพื่อผูกหมายเลขโทรศัพท์มือถือใหม่นั้นกับบัญชีเงินฝากของท่านอีกครั้งหนึ่ง
หากหมายเลขโทรศัพท์มือถือลงทะเบียนด้วยชื่อของท่านสามารถนำมาลงทะเบียนได้
สามารถเช็คได้ด้วยตัวเอง แค่กด *179*หมายเลขบัตรประชาชน 13 หลัก#(ไม่เว้นวรรค) และกดโทรออก ระบบจะตอบกลับว่าเบอร์มือถือเบอร์นั้นได้จดทะเบียนด้วยหมายเลขบัตรประชาชนของเราที่พิมพ์ลงไปหรือไม่ ถ้าไม่ตรงกัน จะต้องแก้ไขการจดทะเบียนที่ศูนย์บริการของค่ายโทรศัพท์มือถือก่อนลงทะเบียนพร้อมเพย์
ไม่ได้
ไม่สามารถใช้หมายเลขโทรศัพท์บ้านลงทะเบียนได้ เนื่องจากไม่สามารถตรวจสอบหมายเลขได้ด้วยการส่งรหัส OTP (One Time Password) ผ่านทาง SMS
บัญชีที่ไม่มีบัตรเดบิต/บัตร ATM สามารถลงทะเบียนใช้บริการกรุงศรี พร้อมเพย์ (Krungsri PromptPay) ได้
สามารถใช้บริการได้
จำเป็น ถ้าต้องการใช้บริการกรุงศรี พร้อมเพย์ ก็ต้องทำการลงทะเบียนใช้บริการกรุงศรี พร้อมเพย์ (Krungsri PromptPay) ด้วย เนื่องจาก Mobile App และ Mobile Banking เป็นคนละบริการกับการลงทะเบียนผูกหมายเลขโทรศัพท์มือถือกับบัญชีในบริการพร้อมเพย์
ได้
การลงทะเบียนใช้บริการพร้อมเพย์ สามารถลงทะเบียนผูกบัญชีเงินฝากธนาคารไว้กับเลขประจำตัวประชาชน และ/หรือ หมายเลขโทรศัพท์มือถือซึ่งในกรณีที่ไม่มีโทรศัพท์มือถือ ก็สามารถผูกกับเลขประจำตัวประชาชนเพียงอย่างเดียวได้
ไม่ได้ เพราะบริการพร้อมเพย์ใช้รับเงินอย่างเดียว ถ้าจะถอนหรือนำเงินออกต้องทำตามขั้นตอนการถอนปกติ
ไม่จำเป็น เงินจากภาครัฐสามารถโอนเข้าบัญชีพร้อมเพย์ที่ได้ผูกเลขบัตรประชาชนกับบัญชีธนาคารไหนก็ได้ ทั้งเงินคืนภาษี เงินประกันสังคม เงินบำนาญ ฯลฯ ก็ถูกโอนเข้าบัญชีพร้อมเพย์ที่ผูกด้วยหมายเลขบัตรประชาชน
ไม่ได้ เจ้าของบัญชีจะต้องมาลงทะเบียนสมัครใช้บริการด้วยตนเอง
ไม่มีกำหนดอายุขั้นต่ำ ลูกค้าที่มีบัญชีเป็นของตนเองและเป็นไปตามเงื่อนไขการสมัครบริการ สามารถสมัครใช้บริการได้ทุกคน
สามารถใช้ได้ตามปกติ
ลูกค้าสามารถตรวจสอบได้ด้วยตนเองผ่านช่องทาง Krungsri ATM, Krungsri Online และ KMA หรือ โทรสอบถามได้ที่ Krungsri Call Center 1572
สามารถยกเลิกการลงทะเบียนได้ที่ช่องทางสาขาของธนาคาร ทุกสาขา
 
  • ผู้โอนเงิน ไม่จําเป็นต้องสมัครลงทะเบียนผูกบัญชีกับหมายเลขพร้อมเพย์ และสามารถโอนเงินพร้อมเพย์ได้ทางช่องทางต่าง ๆ ที่ธนาคารกําหนด 4 ช่องทางดังนี้ Krungsri ATM / Krungsri Online / Krungsri Biz Online / KMA
  • ผู้รับโอนเงิน จะต้องลงทะเบียนเพื่อผูกบัญชีของตนเองกับหมายเลขโทรศัพท์มือถือ, หมายเลขบัตรประชาชนหรือเลขประจำตัวผู้เสียภาษีก่อน
ไม่ได้ เนื่องจากบริการโอนเงินพร้อมเพย์ เป็นการให้บริการโอนเงินเฉพาะภายในประเทศเท่านั้น
สามารถใช้ได้ตามปกติ
ไม่มีการกำหนดจำนวนครั้งในการโอนเงินต่อวัน สำหรับวงเงินสูงสุดและจำนวนเงินสูงสุดในการโอนเงินต่อรายการและต่อวันขึ้นอยู่กับข้อกำหนดของธนาคาร

วงเงินโอนสูงสุดของแต่ละช่องทาง
 
ช่องทางโอนเงิน วงเงินโอนสูงสุด (บาท/รายการ)
ต่อวัน ต่อรายการ
Krungsri ATM 100,000 100,000
Krungsri Online/ KMA 500,000* 500,000
Krungsri Biz Online 2,000,000 300,000
* สามารถปรับเพิ่มวงเงินสูงสุด 2,000,000 บาท ผ่านช่องทาง KMA วงเงินดังกล่าว เป็นวงเงินรวมโอนเงินช่องทางกรุงศรีออนไลน์ และ KMA
ลูกค้าควรเก็บรายละเอียดหรือหลักฐานการโอนเงินต่าง ๆ และแจ้ง Call Center 1572 หรือสาขาของธนาคารกรุงศรีเพื่อทำการตรวจสอบ ซึ่งเป็นกระบวนการที่เหมือนกับการแก้ปัญหาการโอนเงินในปัจจุบัน
ได้รับเงินทันที
ไม่ได้ ผู้โอนจะต้องนำเงินสด หรือเช็คเข้าบัญชีก่อน (กรณีเช็ค จะต้องให้เช็คผ่านการเคลียริ่งเรียบร้อยก่อน) หลังจากนั้นผู้โอนจึงสามารถโอนเงินพร้อมเพย์ได้ตามปกติ
ระบบจะแจ้ง “ชื่อบัญชีผู้รับเงิน” ให้ผู้โอนตรวจสอบก่อนยืนยันการโอนเงิน ดังนั้นผู้โอนจะต้องตรวจสอบชื่อบัญชีผู้รับเงิน และจำนวนเงินทุกครั้งก่อนกดยืนยันการโอนเงิน
ลูกค้าผู้ถือบัตร ATM/Debit ของธนาคารใดต้องไปที่ตู้ ATM ของธนาคารนั้น ๆ แล้วเลือกทำรายการโอนเงินพร้อมเพย์
เนื่องจากเป็นข้อกำหนดในการทำรายการโอนเงิน เครื่อง ATM จะต้องมีใบบันทึกรายการ เพื่อพิมพ์เป็นหลักฐานให้ลูกค้าใช้ในการอ้างอิงต่อไป
ลูกค้าสามารถทำรายการโอนเงินต่างธนาคารที่เป็นบริการที่ธนาคารได้ให้บริการในปัจจุบัน (ORFT) ได้ตามปกติ แต่ทั้งนี้คิดค่าธรรมเนียม 25/35 บาทต่อรายการ (ตามจำนวนที่เงินในแต่ละช่องทาง) ซึ่งแตกต่างจากการโอนเงินพร้อมเพย์
ธนาคารจะแจ้งรายการโอนเงินให้ผู้โอนและผู้รับโอนทาง SMS สำหรับลูกค้าที่ทำรายการผ่าน Krungsri Online, KMA, และ Krungsri Biz Online โดยลูกค้าจะต้องคลิกเลือก “ต้องการ” แจ้ง SMS ให้กับผู้โอนและผู้รับโอน
กรณีที่ลูกค้าสมัครใช้บริการ SMS Alert ระบบจะส่งแจ้งรายการเข้าบัญชีให้ลูกค้าทราบ และหากผู้โอนระบุให้ส่ง SMS แจ้งลูกค้าผู้รับโอนระบบก็จะส่ง SMS ให้ลูกค้าด้วย จึงเป็นไปได้ที่ลูกค้าจะได้รับ SMS 2 ครั้งต่อรายการโอน 1 รายการ
หากผู้รับเงินยังไม่ได้ยกเลิกลงทะเบียนหมายเลขพร้อมเพย์กับเบอร์มือถือดังกล่าว ผู้โอนยังสามารถโอนเงินพร้อมเพย์ได้ตามปกติ อย่างไรก็ตามผู้โอนจะต้องตรวจสอบชื่อบัญชีผู้รับเงินก่อนยืนยันทำรายการโอนเงิน
ให้ติดต่อ Krungsri Call Center 1572 หรือสาขาของธนาคารกรุงศรี เพื่อให้ธนาคารทำการตรวจสอบข้อมูลก่อน และหากได้รับการติดต่อจากผู้โอน ห้ามทำการโอนเงินคืนเอง เนื่องจากอาจเป็นการหลอกลวง
บางธนาคารในขณะนี้ยังไม่พร้อมในการเป็นผู้โอนออก แต่จะสามารถเป็นผู้รับเงินโอนได้ อย่างไรก็ตามลูกค้าสามารถสอบถามไปยัง Call Center ของธนาคารนั้น ๆ เพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ทั้งนี้ธนาคารกรุงศรีอยุธยาพร้อมให้บริการโอนเงินพร้อมเพย์ทั้งในส่วนของการเป็นผู้โอนออก และเป็นผู้รับเงิน
หมายเลขบัตรประชาชน/หมายเลขโทรศัพท์ ที่ลูกค้าต้องการจะโอนเงินไปนั้น ต้องมีการลงทะเบียนพร้อมเพย์ก่อนจึงจะสามารถทำรายการรับโอนเงินได้ (กรณีตรวจสอบแล้ว ระบบทำงานได้ตามปกติ)
เรื่องการยกเว้นค่าธรรมเนียมจะเป็นนโยบายของแต่ละธนาคารที่จะทำการยกเว้นให้กับลูกค้าของธนาคารเจ้าของบัญชี ซึ่งลูกค้าสามารถตรวจสอบเรื่องค่าธรรมเนียมได้จากประกาศของธนาคารผ่านทางช่องทางสาขา หรือ website ของธนาคารได้ ธนาคารกรุงศรีอยุธยาก็มีโปรโมชั่นฟรีค่าธรรมเนียมโอนเงินพร้อมเพย์เช่นกัน ติดตามได้ที่บริการบัตรจัดให้
แจ้งปัญหาได้ที่ Krungsri Call Center 1572 หรือสาขาธนาคารกรุงศรี โดยธนาคารจะตรวจสอบ แจ้งผล และปรับปรุงรายการให้ถูกต้อง (ถ้ามี) ภายในระยะเวลา ดังนี้
  • กรณีเลือกใช้บริการพร้อมเพย์ 3 วันทำการ
  • กรณีเลือกใช้บริการอื่นที่ไม่ใช่พร้อมเพย์ 5 วันทำการ
ให้ผู้โอนติดต่อ Krungsri Call Center 1572 หรือสาขาของธนาคารกรุงศรี โดยธนาคารจะแจ้งผลการติดตามให้ผู้โอนทราบดังนี้
  • กรณีโอนภายในธนาคารเดียวกัน 15 วันทำการ
  • กรณีโอนต่างธนาคาร 20 วันทำการ

หมายเหตุ ข้อ 19-20.
  1. ระยะเวลาดำเนินการเป็นมาตรฐานเดียวกันทุกธนาคาร อ้างอิงตามประกาศธนาคาร www.krungsri.com ที่หัวข้อ “มาตรฐานระยะเวลาการให้บริการทางการเงินของธนาคาร สำหรับลูกค้าบุคคลรายย่อย”
  2. ไม่รวมกรณีที่สงสัยเป็น Fraud หรือ ทุจริต
  3. ระยะเวลาดำเนินการ ให้นับตั้งแต่วันทำการถัดจากวันที่ธนาคารได้รับแจ้ง หรือได้รับหนังสือ หรือใบคำขอที่มีข้อมูล พร้อมเอกสารประกอบการดำเนินการที่ครบถ้วนจากลูกค้า (แล้วแต่กรณี)
ลูกค้าที่ลงทะเบียนพร้อมเพย์ ตั้งแต่เปิดให้บริการ จนถึง 31 ธ.ค. 59 จะได้รับสิทธิ์โอนเงินพร้อมเพย์ ฟรีค่าธรรมเนียม ตั้งแต่วันที่ 27 ม.ค. 60 ถึง 26 ม.ค. 61 (ระยะเวลาฟรี 1 ปี)
 
หมายเหตุ:
  1. ลูกค้าจะต้องเลือกบัญชีโอนออกเป็นบัญชีที่ลงทะเบียนในช่วงโปรโมชั่นเพื่อรับสิทธิพิเศษ
  2. กรณีลูกค้าผูกหมายเลขพร้อมเพย์ มากกว่า 1 หมายเลข กับ 1 บัญชีธนาคาร ในช่วงโปรโมชั่น
    2.1 หากลูกค้ายกเลิกผูกหมายเลขพร้อมเพย์ไป 1 หมายเลข โดยยังเหลือหมายเลขพร้อมเพย์อื่น ๆ อยู่
    -> ลูกค้ายังได้รับสิทธิ์ฟรีโอนเงินพร้อมเพย์อยู่
    2.2 หากลูกค้ายกเลิกผูกหมายเลขพร้อมเพย์ทั้งหมด
    -> ลูกค้าจะไม่ได้รับสิทธิ์ฟรีโอนเงินพร้อมเพย์
    2.3 หากลูกค้ายกเลิกผูกหมายเลขพร้อมเพย์ทั้งหมด หลังจากนั้นสมัครผูกหมายเลขอื่นหรือหมายเลขเดิม ในปี 2560
    -> ลูกค้าจะไม่ได้รับสิทธิ์ฟรีโอนเงินพร้อมเพย์
ข้อแนะนำในการโอนเงินผ่านพร้อมเพย์
  • ผู้โอนควรเรียนรู้ ศึกษา วิธีการใช้งานอย่างปลอดภัย เช่น ต้องตรวจสอบชื่อ นามสกุล ผู้รับโอน และจำนวนเงินที่ต้องการโอนทุกครั้ง ก่อนกดยืนยันรายการโอนและหมั่นตรวจสอบเงินในบัญชี หรือสมัครบริการแจ้งเตือนยอดเงินในบัญชี
  • ผู้โอนเงินต้องดูแลรักษา username/password ของ Mobile Banking และ Internet Banking หรือบัตร ATM และรหัสผ่าน เป็นอย่างดี และไม่เปิดเผยให้ผู้อื่นทราบ
  • โปรดระมัดระวัง! หากระบบหน่วง หรือช้า และมี Error ต่าง ๆ เกิดขึ้นในจังหวะที่กดปุ่มยืนยัน ลูกค้าต้องตรวจสอบก่อนว่ารายการที่เพิ่งทำไปสำเร็จหรือไม่ และมีการตัดเงินจากบัญชีต้นทางหรือยัง โปรดหลีกเลี่ยงการโอนเงินซ้ำทันทีโดยไม่ได้ตรวจสอบรายการ
  • ควรระมัดระวังรักษาอุปกรณ์ เช่น โทรศัพท์มือถือ หรือ Mobile Device ที่ใช้เชื่อมต่อทำธุรกรรมเกี่ยวกับระบบพร้อมเพย์เป็นอย่างดี เพื่อไม่ให้ผู้อื่นเอาไปใช้งาน เช่นเดียวกับการดูแลรักษาบัตรเครดิตหรือบัตร ATM
  • ควรมีความระมัดระวังและรักษาข้อมูลความลับของตนเอง เช่น
    - ไม่บอกรหัส username / password, วัน/เดือน/ปีเกิด หมายเลขบัตรประจำตัวประชาชน หมายเลขบัญชี กับ ผู้อื่น หรือเขียนไว้เปิดเผย
    - ไม่มอบเอกสารสำคัญส่วนตัว เช่น สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน ให้กับบุคคลอื่น
    - หากพบความผิดปกติของสัญญาณโทรศัพท์มือถือที่ใช้รับรหัสหรือทำธุรกรรมทางการเงิน ให้รีบติดต่อเครือข่ายโทรศัพท์มือถือทันที เช่น ไม่สามารถใช้โทรเข้าหรือโทรออกได้ตามปกติ
 
ลูกค้าตรวจสอบชื่อ-นามสกุล ผู้รับโอนเงินให้ถูกต้องก่อนยืนยันการโอนเงินทุกครั้ง
บริการโอนเงินพร้อมเพย์ มีความปลอดภัยสูงตามมาตรฐานสากล และอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของธนาคารแห่งประเทศไทยอย่างใกล้ชิด เช่นเดียวกับระบบการโอนเงินประเภทต่าง ๆ ที่มีให้บริการอยู่ในปัจจุบัน
ข้อมูลไม่ได้ถูกเก็บในบัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรเดบิต/บัตร ATM ชิปการ์ด แต่จะถูกเก็บไว้ในระบบกลางที่มีความปลอดภัยสูง และระบบสำรองที่มั่นคง
ความปลอดภัยในการทำรายการโอนเงินไม่แตกต่างกับการโอนเงินโดยวิธีการอื่น ส่วนการแจ้งหมายเลขบัตรประชาชนให้กับผู้โอนเงินควรต้องระมัดระวังในการเปิดเผยข้อมูลบัตรประชาชนให้กับคนที่ไว้วางใจได้ แต่ถ้าต้องการแจ้งหมายเลขพร้อมเพย์ให้บุคคลทั่วไป ควรใช้หมายเลขโทรศัพท์มือถือดีกว่า
ข้อมูลส่วนของผู้ใช้บริการมีความปลอดภัยสูง ธนาคารหรือ NITMX ไม่สามารถนำข้อมูลลูกค้ามาเปิดเผยหรือขายต่อได้ โดยมีกฎหมาย พ.ร.บ ธุรกิจสถาบันการเงินและ พ.ร.ฎ ควบคุมดูแลธุรกิจบริการการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ควบคุมอยู่ ซึ่งธนาคารและ NITMX ได้ถือปฎิบัติอย่างเคร่งครัดมาโดยตลอด และ ธปท. มีการตรวจสอบกำกับดูแลสม่ำเสมอ
1. บริการกรุงศรี พร้อมเพย์ (Krungsri PromptPay) คืออะไร
บริการกรุงศรี พร้อมเพย์ (Krungsri PromptPay) เป็นการให้บริการรับ-โอนเงินระหว่างกันแบบใหม่โดยไม่ต้องใช้เลขที่บัญชีธนาคาร ใช้เพียงแค่หมายเลขโทรศัพท์มือถือ เลขประจำตัวประชาชน ผ่านช่องทางดังนี้ ATM / สาขาของธนาคาร / Krungsri Online / krungsri app / Krungsri Biz Online ทำให้การโอนเงินผ่านบริการกรุงศรี พร้อมเพย์ (Krungsri PromptPay) มีความสะดวกสบายและปลอดภัย ทั้งนี้ การให้บริการ กรุงศรี พร้อมเพย์ (Krungsri PromptPay) ถือเป็นส่วนหนึ่งของโครงการพัฒนาระบบ โครงสร้างพื้นฐานการชำระเงินของประเทศไทย

2. ทำไมจึงต้องลงทะเบียนใช้บริการกรุงศรี พร้อมเพย์ (Krungsri PromptPay) ถ้ายังไม่ลงทะเบียนจะยังทำธุรกรรมต่าง ๆ ได้หรือไม่
ถ้าไม่อยากพลาดการรับเงินจากรัฐบาล ควรจะลงทะเบียนใช้บริการ กรุงศรี พร้อมเพย์ (Krungsri PromptPay) ยกตัวอย่างเช่น เงินคืนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ปกติกรมสรรพากรจะส่งเป็นเช็คขีดคร่อมทางไปรษณีย์ ปัญหาที่ผ่านมา ผู้รับได้บ้าง ไม่ได้บ้าง ต่อไปนี้หลังวันที่ 1 มกราคม 2560 จะไม่คืนเป็นเช็คคืนภาษีอีก

สำหรับชาวบ้าน เกษตรกร หากรัฐบาลจะช่วยเหลือกรณีประสบภัยพิบัติ หรือผลผลิตตกต่ำ ฯลฯ รัฐบาลก็จะใช้เลขที่บัตรประชาชน โอนเงินผ่าน บริการกรุงศรี พร้อมเพย์ (Krungsri PromptPay) เข้าบัญชีธนาคารที่เราลงทะเบียนไว้

ส่วนผู้สูงอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป หากรัฐบาลจะจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ปกติต้องลงทะเบียนและส่งสำเนาบัญชีธนาคาร แต่ต่อไปนี้จะช่วยลดขั้นตอนการลงทะเบียนมากขึ้น ใครเคยลงทะเบียน กรุงศรี พร้อมเพย์ (Krungsri PromptPay) เอาไว้ก็ใช้รับเงินเบี้ยยังชีพได้ทันที รวมทั้งเงินสวัสดิการของข้าราชการ เช่น เงินบำนาญ เบี้ยหวัด เงินบำนาญพิเศษ ฯลฯ ก็จะโอนเงินผ่าน กรุงศรี พร้อมเพย์ (Krungsri PromptPay) เข้าบัญชีธนาคารที่เราลงทะเบียนไว้เช่นกัน

3. บริการกรุงศรี พร้อมเพย์ (Krungsri PromptPay) จะมาแทนระบบการใช้เงินสดในทุกรูปแบบหรือไม่ และเมื่อใด
ณ ตอนนี้ บริการกรุงศรี พร้อมเพย์ (Krungsri PromptPay) จะถูกใช้ เพื่อ

รับเงินจากภาครัฐโดยตรง: เช่น เงินสวัสดิการ ค่าเบี้ยคนชรา เงินช่วยเหลือ เงินคืนภาษี ผ่านเลขประจำตัวประชาชนที่ผูกกับบัญชีเงินฝากธนาคาร

การรับโอนเงินจากประชาชนด้วยกันเอง: สามารถรับโอนเงินจากญาติพี่น้อง เพื่อน ค่าสินค้าและบริการได้อย่างรวดเร็ว เพียงแค่บอกเบอร์โทรศัพท์มือถือ หรือบัตรประชาชนที่ผูกบัญชีไว้แล้ว อยากให้เข้าบัญชีไหนก็บอกเบอร์ที่ผูกไปให้คนที่ต้องการโอนเงินให้เรา

4. ถ้ามีบัญชีเงินฝากหลายบัญชี หลายธนาคาร แต่มีหมายเลขโทรศัพท์มือถือเพียงหมายเลขเดียว ควรเลือกผูกกับบัญชีไหนดี และธนาคารไหนดี
การตัดสินใจเลือกผูกบัญชีเงินฝากของธนาคารใด ๆ กับหมายเลขโทรศัพท์มือถือหรือเลขประจำตัวประชาชน ควรขึ้นอยู่กับความสะดวกและความพึงพอใจของผู้ใช้บริการเอง และหากได้ลงทะเบียนผูกบัญชีไปแล้ว สามารถที่จะยกเลิกหรือเปลี่ยนแปลงการผูกบัญชีดังกล่าวได้ในภายหลัง

5. ลูกค้าสามารถยกเลิกลงทะเบียนบริการกรุงศรี พร้อมเพย์ ผ่านช่องทางไหนได้บ้าง
สามารถยกเลิกการลงทะเบียนได้ที่ช่องทางสาขาของธนาคาร ทุกสาขา
 
1. จะลงทะเบียนผูกบัญชี เพื่อใช้บริการกรุงศรี พร้อมเพย์ (Krungsri PromptPay) ต้องทําอย่างไรบ้าง
บุคคลทั่วไปสามารถขอลงทะเบียนเพื่อผูกบัญชีเงินฝากออมทรัพย์หรือบัญชีเงินฝากกระแสรายวันกับหมายเลขโทรศัพท์มือถือหรือเลขบัตรประชาชนได้ตามช่องทางที่ธนาคารกำหนด เช่น Krungsri ATM / Krungsri Online / krungsri app / Krungsri Biz Online / สาขาของธนาคาร โดยมีเอกสารพื้นฐานที่ต้องใช้ประกอบการลงทะเบียนตามที่ธนาคารกำหนด เช่น

ช่องทาง Krungsri ATM
1. บัตร ATM และรหัสผ่าน (PIN)
2. หมายเลขบัตรประชาชนหรือหมายเลขโทรศัพท์มือถือที่ต้องการผูกบัญชี

ช่องทาง Krungsri Online/krungsri app/Krungsri Biz Online
1. ชื่อผู้ใช้งานและรหัสผ่าน (Username และ Password)
2. หมายเลขบัตรประชาชนและ/หรือหมายเลขโทรศัพท์มือถือที่ต้องการผูกบัญชี

ช่องทางสาขาของธนาคาร
1. บัตรประจำตัวประชาชน
2. หมายเลขบัตรประชาชนหรือหมายเลขโทรศัพท์มือถือที่ต้องการผูกบัญชี
  • ในกรณีที่ไม่ใช่เจ้าของหมายเลขโทรศัพท์มือถือให้นำใบแจ้งค่าใช้บริการรายเดือนที่ระบุชื่อเจ้าของหมายเลข โทรศัพท์มือถือเดือนล่าสุด หรือ ย้อนหลังไม่เกิน 2 เดือน ซึ่งต้องมีความเกี่ยวข้องเป็นบิดา มารดา คู่สมรส หรือ บุตร และ เจ้าของหมายเลขโทรศัพท์มือถือต้องมาแสดงตนด้วยตนเอง พร้อมนำบัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าของหมายเลขโทรศัพท์มือถือและเอกสารที่แสดงความสัมพันธ์กับเจ้าของบัญชีมาแสดงตามแต่กรณี เช่น ทะเบียนสมรส, ใบสูติบัตร, ทะเบียนบ้าน หรือ ใบเปลี่ยนชื่อ – นามสกุล
2. ลูกค้าสามารถลงทะเบียนใช้บริการกรุงศรี พร้อมเพย์ (Krungsri PromptPay) ผ่านช่องทางไหนได้บ้าง
สามารถลงทะเบียนได้ตามช่องทางดังนี้
  1. Krungsri ATM
  2. Krungsri Online
  3. krungsri app
  4. Krungsri Biz Online
  5. สาขาของธนาคารกรุงศรีอยุธยาทุกสาขา
3. ต้องรีบมาลงทะเบียนหรือไม่ ไม่ต้องลงทะเบียนได้หรือไม่
การลงทะเบียนใช้บริการกรุงศรี พร้อมเพย์ (Krungsri PromptPay) เป็นการลงทะเบียนแบบสมัครใจ แต่ควรเริ่มทยอยลงทะเบียนตามความต้องการใช้งาน โดยรัฐบาลมีแนวคิดการจ่ายเงินสวัสดิการและการคืนภาษีต่าง ๆ ให้แก่ประชาชนผ่านเลขประจำตัวประชาชน ดังนั้นผู้ที่จะรับสวัสดิการต่าง ๆ จากรัฐบาลควรเริ่มทยอยมาลงทะเบียนบริการกรุงศรี พร้อมเพย์ (Krungsri PromptPay) โดยผูกบัญชีเงินฝากของตนเองกับหมายเลขประจำตัวประชาชน
4. การลงทะเบียนบริการกรุงศรี พร้อมเพย์ (Krungsri PromptPay) มีค่าใช้จ่ายหรือไม่
ธนาคารไม่คิดค่าธรรมเนียมในการลงทะเบียน หรือสมัครบริการ
5. สามารถผูกหมายเลขบัตรประจำตัวประชาชนหรือหมายเลขโทรศัพท์มือถือได้กี่บัญชี
  • หมายเลขบัตรประชาชนผูกได้เพียงบัญชีเดียวเท่านั้น
  • หมายเลขโทรศัพท์มือถือ 1 เลขหมายผูกได้เพียงบัญชีเดียวเท่านั้น
  • บัญชีเงินฝากธนาคาร 1 บัญชีสามารถผูกได้กับทั้งหมายเลขบัตรประชาชนและหมายเลขโทรศัพท์มือถือ
  • บัญชีเงินฝากธนาคาร 1 บัญชีสามารถผูกกับหมายเลขโทรศัพท์มือถือได้สูงสุด 3 เลขหมาย
6. บัญชีประเภทใดที่สามารถสมัครใช้บริการกรุงศรี พร้อมเพย์ (Krungsri PromptPay) ได้
บัญชีเงินฝากออมทรัพย์และบัญชีเงินฝากกระแสรายวันของบุคคลธรรมดาที่ถือสัญชาติไทย, บุคคลธรรมดาที่เปิดบัญชีในนาม "ร้านค้า...." หรือ "ร้านค้า.... โดย..." ที่เป็นบัญชีเจ้าของคนเดียว และ บุคคลธรรมดาที่ไม่มีสัญชาติไทย ที่มีบัญชีเงินฝากสกุลเงินบาท ซึ่งบุคคลที่ไม่มีสัญชาติไทยสามารถสมัครผูกบัญชีกับหมายเลขโทรศัพท์มือถือเท่านั้น

ยกเว้น
  1. บัญชีร่วม (และ/หรือ)
  2. บัญชี “ เพื่อ / โดย ” เช่น บัญชีผู้เยาว์ โดย บิดามารดา หรือ บัญชีบิดามารดา เพื่อผู้เยาว์ หรือ บัญชีนายจ้าง เพื่อลูกจ้าง หรือ บัญชีลูกจ้างเพื่อนายจ้าง เป็นต้น
7. หากมีการลงทะเบียนใช้บริการกรุงศรี พร้อมเพย์ (Krungsri PromptPay) แล้ว สามารถเปลี่ยนแปลงข้อมูลเลขที่บัญชี หรือหมายเลขโทรศัพท์มือถือได้หรือไม่ จะมีค่าใช้จ่ายหากมีการเปลี่ยนแปลงหรือไม่
สามารถเปลี่ยนแปลง และยกเลิกการผูกบัญชีได้ที่สาขาธนาคารทั่วประเทศ และไม่มีค่าใช้จ่าย
8. ถ้าบัญชีที่สมัครใช้บริการมีการปิดบัญชีหรือถูกยกเลิก ผู้ใช้บริการจะต้องดำเนินการอย่างไร
หากบัญชีปิดหรือถูกยกเลิก จะส่งผลให้บริการกรุงศรี พร้อมเพย์ (Krungsri PromptPay) จะถูกยกเลิกโดยอัตโนมัติ ซึ่งหากต้องการใช้บริการใหม่ต้องมีการสมัครใหม่
9. ในกรณีที่ลูกค้าลงทะเบียนใช้บริการพร้อมเพย์ กับธนาคารอื่นแล้ว หากต้องการจะเปลี่ยนมาสมัครใช้บริการพร้อมเพย์ กับธนาคารกรุงศรีอยุธยา ต้องทำอย่างไร
ลูกค้าสามารถติดต่อธนาคารต้นทางที่ลูกค้าสมัครบริการเพื่อทำการยกเลิกบริการ จากนั้นจึงจะสมัครใช้บริการ กรุงศรี พร้อมเพย์ (Krungsri PromptPay) ได้
10. บริการกรุงศรี พร้อมเพย์ (Krungsri PromptPay) ปลอดภัยหรือไม่
บริการกรุงศรี พร้อมเพย์ (Krungsri PromptPay) มีความปลอดภัยสูงตามมาตรฐานสากลและอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของธนาคารแห่งประเทศไทยอย่างใกล้ชิด เช่นเดียวกับระบบการโอนเงินประเภทต่าง ๆ ที่มีให้บริการอยู่ในปัจจุบัน
11. ถ้าลงทะเบียนบริการกรุงศรี พร้อมเพย์ (Krungsri PromptPay) ไปแล้ว ต่อมามีการย้ายค่ายโทรศัพท์มือถือ โดยยังใช้หมายเลขเดิมหรือหากเปลี่ยนเครื่องโทรศัพท์มือถือใหม่ ต้องทำอย่างไร
ท่านไม่ต้องดำเนินการอะไรเพิ่มเติมกับธนาคาร เนื่องจากไม่ส่งผลกระทบต่อการลงทะเบียนผูกบัญชีเงินฝากหรือการใช้บริการโอนเงินผ่านบริการกรุงศรี พร้อมเพย์ (Krungsri PromptPay) แต่อย่างใด
12. หากเลิกใช้/ยกเลิกหมายเลขโทรศัพท์มือถือที่ลงทะเบียนผูกบัญชีไปแล้วหรือเปลี่ยนหมายเลขโทรศัพท์มือถือใหม่ จะต้องทำอย่างไร
ขอให้ท่านแจ้งยกเลิกการผูกบัญชีให้ธนาคารรับทราบเพื่อธนาคารทำการยกเลิกผูกบัญชีในระบบโดยเร็วพร้อมกับลงทะเบียนเพื่อผูกหมายเลขโทรศัพท์มือถือใหม่นั้นกับบัญชีเงินฝากของท่านอีกครั้งหนึ่ง
13. สามารถใช้หมายเลขโทรศัพท์มือถือแบบเติมเงิน (Prepaid) ได้หรือไม่
หากหมายเลขโทรศัพท์มือถือลงทะเบียนด้วยชื่อของท่านสามารถนำมาลงทะเบียนได้
14. จะรู้ได้ไงว่าเบอร์มือถือลงทะเบียนกับค่ายโทรศัพท์มือถือด้วยหมายเลขบัตรประชาชนของตัวเองหรือไม่?
สามารถเช็คได้ด้วยตัวเอง แค่กด *179*หมายเลขบัตรประชาชน 13 หลัก#(ไม่เว้นวรรค) และกดโทรออก ระบบจะตอบกลับว่าเบอร์มือถือเบอร์นั้นได้จดทะเบียนด้วยหมายเลขบัตรประชาชนของเราที่พิมพ์ลงไปหรือไม่ ถ้าไม่ตรงกัน จะต้องแก้ไขการจดทะเบียนที่ศูนย์บริการของค่ายโทรศัพท์มือถือก่อนลงทะเบียนพร้อมเพย์
15. หมายเลขโทรศัพท์ที่ลงทะเบียนในต่างประเทศ สามารถสมัครใช้บริการได้หรือไม่
ไม่ได้
16. สามารถใช้หมายเลขโทรศัพท์บ้านได้หรือไม่
ไม่สามารถใช้หมายเลขโทรศัพท์บ้านลงทะเบียนได้ เนื่องจากไม่สามารถตรวจสอบหมายเลขได้ด้วยการส่งรหัส OTP (One Time Password) ผ่านทาง SMS
17. บัญชีที่ไม่มีบัตรเดบิต/บัตร ATM สามารถลงทะเบียนใช้ บริการกรุงศรี พร้อมเพย์ (Krungsri PromptPay) ได้หรือไม่
บัญชีที่ไม่มีบัตรเดบิต/บัตร ATM สามารถลงทะเบียนใช้บริการกรุงศรี พร้อมเพย์ (Krungsri PromptPay) ได้
18. ถ้าผู้ใช้บริการยังไม่เปลี่ยนบัตรเดบิต/บัตร ATM จากบัตรแบบแถบแม่เหล็กเป็นแบบชิปการ์ดจะสามารถใช้บริการกรุงศรี พร้อมเพย์ได้หรือไม่
สามารถใช้บริการได้
19. หากผู้ใช้บริการได้ใช้หมายเลขโทรศัพท์มือถือกับ บริการ Mobile App ของธนาคาร หรือ Mobile Banking ของธนาคารไหนแล้ว จำเป็นต้องลงทะเบียนใช้บริการพร้อมเพย์ (Krungsri PromptPay) อีกหรือไม่
จำเป็น ถ้าต้องการใช้บริการกรุงศรี พร้อมเพย์ ก็ต้องทำการลงทะเบียนใช้บริการกรุงศรี พร้อมเพย์ (Krungsri PromptPay) ด้วย เนื่องจาก Mobile App และ Mobile Banking เป็นคนละบริการกับการลงทะเบียนผูกหมายเลขโทรศัพท์มือถือกับบัญชีในบริการพร้อมเพย์
20. ถ้ายกเลิกบริการแล้วสามารถกลับมาสมัครใช้บริการได้อีกหรือไม่
ได้
21. ผู้สูงอายุหรือบุคคลที่ไม่ได้ใช้หรือไม่มีโทรศัพท์มือถือจะทำอย่างไร
การลงทะเบียนใช้บริการพร้อมเพย์ สามารถลงทะเบียนผูกบัญชีเงินฝากธนาคารไว้กับเลขประจำตัวประชาชน และ/หรือ หมายเลขโทรศัพท์มือถือซึ่งในกรณีที่ไม่มีโทรศัพท์มือถือ ก็สามารถผูกกับเลขประจำตัวประชาชนเพียงอย่างเดียวได้
22. ถ้าลงทะเบียนกรุงศรี พร้อมเพย์ จะถูกหน่วยงานรัฐหักเงินอัตโนมัติหรือไม่
ไม่ได้ เพราะบริการพร้อมเพย์ใช้รับเงินอย่างเดียว ถ้าจะถอนหรือนำเงินออกต้องทำตามขั้นตอนการถอนปกติ
23. ถ้าต้องรับเงินจากรัฐ จำเป็นต้องผูกพร้อมเพย์กับธนาคารของรัฐเท่านั้น ใช่หรือไม่
ไม่จำเป็น เงินจากภาครัฐสามารถโอนเข้าบัญชีพร้อมเพย์ที่ได้ผูกเลขบัตรประชาชนกับบัญชีธนาคารไหนก็ได้ ทั้งเงินคืนภาษี เงินประกันสังคม เงินบำนาญ ฯลฯ ก็ถูกโอนเข้าบัญชีพร้อมเพย์ที่ผูกด้วยหมายเลขบัตรประชาชน
24. การสมัครใช้บริการสามารถมอบหมายให้บุคคลอื่นหรือตัวแทนมาสมัครแทนได้หรือไม่
ไม่ได้ เจ้าของบัญชีจะต้องมาลงทะเบียนสมัครใช้บริการด้วยตนเอง
25. การสมัครใช้บริการกรุงศรี พร้อมเพย์ (Krungsri PromptPay) มีการกำหนดอายุขั้นต่ำ ของผู้สมัครหรือไม่
ไม่มีกำหนดอายุขั้นต่ำ ลูกค้าที่มีบัญชีเป็นของตนเองและเป็นไปตามเงื่อนไขการสมัครบริการ สามารถสมัครใช้บริการได้ทุกคน
26. เมื่อมีบริการกรุงศรี พร้อมเพย์ (Krungsri PromptPay) แล้ว จะสามารถใช้ธุรกรรมการโอนเงินแบบเดิมของธนาคารได้หรือไม่
สามารถใช้ได้ตามปกติ
27. หากลูกค้าจำไม่ได้ว่าเคยลงทะเบียน ลูกค้าต้องทำอย่างไร
ลูกค้าสามารถตรวจสอบได้ด้วยตนเองผ่านช่องทาง Krungsri ATM, Krungsri Online และ krungsri app หรือ โทรสอบถามได้ที่ Krungsri Call Center 1572
28. ลูกค้าสามารถยกเลิกลงทะเบียนบริการกรุงศรี พร้อมเพย์ ผ่านช่องทางไหนได้บ้าง
สามารถยกเลิกการลงทะเบียนได้ที่ช่องทางสาขาของธนาคาร ทุกสาขา
1. ผู้ใช้บริการโอนเงิน พร้อมเพย์ (Krungsri PromptPay) ต้องลงทะเบียนใช้บริการหรือไม่
  • ผู้โอนเงิน ไม่จําเป็นต้องสมัครลงทะเบียนผูกบัญชีกับหมายเลขพร้อมเพย์ และสามารถโอนเงินพร้อมเพย์ได้ทางช่องทางต่าง ๆ ที่ธนาคารกําหนด 4 ช่องทางดังนี้ Krungsri ATM / Krungsri Online / Krungsri Biz Online / krungsri app
  • ผู้รับโอนเงิน จะต้องลงทะเบียนเพื่อผูกบัญชีของตนเองกับหมายเลขโทรศัพท์มือถือ, หมายเลขบัตรประชาชนหรือเลขประจำตัวผู้เสียภาษีก่อน
 
2. สามารถโอนเงินผ่านบริการโอนเงินพร้อมเพย์ ไปยังบัญชีของธนาคารในต่างประเทศ หรือโอนเงินจากธนาคารในต่างประเทศมาเข้าบัญชีของธนาคารในประเทศไทย ได้หรือไม่
ไม่ได้ เนื่องจากบริการโอนเงินพร้อมเพย์ เป็นการให้บริการโอนเงินเฉพาะภายในประเทศเท่านั้น
3. เมื่อมีบริการโอนเงินพร้อมเพย์แล้ว จะสามารถใช้ธุรกรรมการโอนเงินแบบเดิมของธนาคารได้หรือไม่
สามารถใช้ได้ตามปกติ
4. บริการโอนเงินพร้อมเพย์ มีการกำหนดจำนวนครั้งในการโอน วงเงินและจำนวนเงินสูงสุดในการโอนต่อรายการ และต่อวันเท่าไร
ไม่มีการกำหนดจำนวนครั้งในการโอนเงินต่อวัน สำหรับวงเงินสูงสุดและจำนวนเงินสูงสุดในการโอนเงินต่อรายการและต่อวันขึ้นอยู่กับข้อกำหนดของธนาคาร

วงเงินโอนสูงสุดของแต่ละช่องทาง
 
ช่องทางโอนเงิน วงเงินโอนสูงสุด (บาท/รายการ)
ต่อวัน ต่อรายการ
Krungsri ATM 100,000 100,000
Krungsri Online/ krungsri app 500,000* 500,000
Krungsri Biz Online 2,000,000 300,000
* สามารถปรับเพิ่มวงเงินสูงสุด 2,000,000 บาท ผ่านช่องทาง krungsri app วงเงินดังกล่าว เป็นวงเงินรวมโอนเงินช่องทางกรุงศรีออนไลน์ และ krungsri app
5. หากการโอนเงินผ่านบริการโอนเงินพร้อมเพย์ มีความผิดพลาด เช่น เงินตัดต้นทางแต่ไม่เข้าปลายทางหรือ โอนเงินผิด จะทำอย่างไร
ลูกค้าควรเก็บรายละเอียดหรือหลักฐานการโอนเงินต่าง ๆ และแจ้ง Call Center 1572 หรือสาขาของธนาคารกรุงศรีเพื่อทำการตรวจสอบ ซึ่งเป็นกระบวนการที่เหมือนกับการแก้ปัญหาการโอนเงินในปัจจุบัน
6. หลังจากที่ผู้โอน โอนเงินสำเร็จแล้วผู้รับเงินจะได้รับเงินเมื่อไหร่
ได้รับเงินทันที
7. ผู้โอนสามารถโอนเงินพร้อมเพย์ ด้วยเงินสด หรือเช็คได้หรือไม่
ไม่ได้ ผู้โอนจะต้องนำเงินสด หรือเช็คเข้าบัญชีก่อน (กรณีเช็ค จะต้องให้เช็คผ่านการเคลียริ่งเรียบร้อยก่อน) หลังจากนั้นผู้โอนจึงสามารถโอนเงินพร้อมเพย์ได้ตามปกติ
8. ผู้โอนจะสามารถตรวจสอบชื่อผู้รับเงินได้อย่างไร
ระบบจะแจ้ง “ชื่อบัญชีผู้รับเงิน” ให้ผู้โอนตรวจสอบก่อนยืนยันการโอนเงิน ดังนั้นผู้โอนจะต้องตรวจสอบชื่อบัญชีผู้รับเงิน และจำนวนเงินทุกครั้งก่อนกดยืนยันการโอนเงิน
9. การทำรายการโอนเงินพร้อมเพย์ ผ่านเครื่อง ATM/RATM จะต้องทำอย่างไร
ลูกค้าผู้ถือบัตร ATM/Debit ของธนาคารใดต้องไปที่ตู้ ATM ของธนาคารนั้น ๆ แล้วเลือกทำรายการโอนเงินพร้อมเพย์
10. ใบบันทึกรายการหมด ทำไมทำรายการโอนเงินพร้อมเพย์ผ่านเครื่อง ATM ไม่ได้
เนื่องจากเป็นข้อกำหนดในการทำรายการโอนเงิน เครื่อง ATM จะต้องมีใบบันทึกรายการ เพื่อพิมพ์เป็นหลักฐานให้ลูกค้าใช้ในการอ้างอิงต่อไป
11. ถ้าต้องการโอนเงินพร้อมเพย์ แต่ไม่ทราบหมายเลขบัตรประชาชนหรือเบอร์มือถือของผู้รับเงิน ทราบแต่หมายเลขบัญชีจะทำอย่างไร
ลูกค้าสามารถทำรายการโอนเงินต่างธนาคารที่เป็นบริการที่ธนาคารได้ให้บริการในปัจจุบัน (ORFT) ได้ตามปกติ แต่ทั้งนี้คิดค่าธรรมเนียม 25/35 บาทต่อรายการ (ตามจำนวนที่เงินในแต่ละช่องทาง) ซึ่งแตกต่างจากการโอนเงินพร้อมเพย์
12. หลังจากโอนเงินสำเร็จ มีบริการแจ้ง SMS ให้กับผู้โอน และผู้รับเงินอย่างไร
ธนาคารจะแจ้งรายการโอนเงินให้ผู้โอนและผู้รับโอนทาง SMS สำหรับลูกค้าที่ทำรายการผ่าน Krungsri Online, krungsri app, และ Krungsri Biz Online โดยลูกค้าจะต้องคลิกเลือก “ต้องการ” แจ้ง SMS ให้กับผู้โอนและผู้รับโอน
13. ทำไมได้รับ SMS ว่ามีรายการเงินเข้าบัญชีมา 2 ครั้ง แต่ตรวจสอบยอดเงินแล้วมีรายการเงินเข้าบัญชีเพียงครั้งเดียว
กรณีที่ลูกค้าสมัครใช้บริการ SMS Alert ระบบจะส่งแจ้งรายการเข้าบัญชีให้ลูกค้าทราบ และหากผู้โอนระบุให้ส่ง SMS แจ้งลูกค้าผู้รับโอนระบบก็จะส่ง SMS ให้ลูกค้าด้วย จึงเป็นไปได้ที่ลูกค้าจะได้รับ SMS 2 ครั้งต่อรายการโอน 1 รายการ
14. หากเบอร์มือถือผู้รับเงินที่ได้ลงทะเบียนพร้อมเพย์ไว้ โดนระงับสัญญาณหรือยกเลิกเบอร์มือถือไปแล้ว ผู้โอนสามารถโอนเงินให้กับผู้รับเงินได้หรือไม่
หากผู้รับเงินยังไม่ได้ยกเลิกลงทะเบียนหมายเลขพร้อมเพย์กับเบอร์มือถือดังกล่าว ผู้โอนยังสามารถโอนเงินพร้อมเพย์ได้ตามปกติ อย่างไรก็ตามผู้โอนจะต้องตรวจสอบชื่อบัญชีผู้รับเงินก่อนยืนยันทำรายการโอนเงิน
15. หากผู้รับเงิน ได้รับเงินโอนผ่านบริการพร้อมเพย์ แต่ไม่ทราบผู้โอน จะต้องทำอย่างไร
ให้ติดต่อ Krungsri Call Center 1572 หรือสาขาของธนาคารกรุงศรี เพื่อให้ธนาคารทำการตรวจสอบข้อมูลก่อน และหากได้รับการติดต่อจากผู้โอน ห้ามทำการโอนเงินคืนเอง เนื่องจากอาจเป็นการหลอกลวง
16. ทำไมบัตรบางธนาคารทำรายการโอนเงินพร้อมเพย์ไม่ได้
บางธนาคารในขณะนี้ยังไม่พร้อมในการเป็นผู้โอนออก แต่จะสามารถเป็นผู้รับเงินโอนได้ อย่างไรก็ตามลูกค้าสามารถสอบถามไปยัง Call Center ของธนาคารนั้น ๆ เพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ทั้งนี้ธนาคารกรุงศรีอยุธยาพร้อมให้บริการโอนเงินพร้อมเพย์ทั้งในส่วนของการเป็นผู้โอนออก และเป็นผู้รับเงิน
17. โอนเงินพร้อมเพย์ไปยังปลายทางที่เป็นหมายเลขบัตรประชาชน/เบอร์มือถือแล้วไม่ได้ เป็นเพราะสาเหตุใด
หมายเลขบัตรประชาชน/หมายเลขโทรศัพท์ ที่ลูกค้าต้องการจะโอนเงินไปนั้น ต้องมีการลงทะเบียนพร้อมเพย์ก่อนจึงจะสามารถทำรายการรับโอนเงินได้ (กรณีตรวจสอบแล้ว ระบบทำงานได้ตามปกติ)
18. ทำไมใช้บริการโอนเงินพร้อมเพย์ของบางธนาคารแล้วไม่มีค่าธรรมเนียม
เรื่องการยกเว้นค่าธรรมเนียมจะเป็นนโยบายของแต่ละธนาคารที่จะทำการยกเว้นให้กับลูกค้าของธนาคารเจ้าของบัญชี ซึ่งลูกค้าสามารถตรวจสอบเรื่องค่าธรรมเนียมได้จากประกาศของธนาคารผ่านทางช่องทางสาขา หรือ website ของธนาคารได้ ธนาคารกรุงศรีอยุธยาก็มีโปรโมชั่นฟรีค่าธรรมเนียมโอนเงินพร้อมเพย์เช่นกัน ติดตามได้ที่บริการบัตรจัดให้
19. หากผู้โอน โอนเงินสำเร็จ และถูกตัดเงินจากบัญชีโอนแล้ว แต่ผู้รับเงินไม่ได้รับเงิน หรือได้รับเงินไม่ครบ จะต้องดำเนินการอย่างไร
แจ้งปัญหาได้ที่ Krungsri Call Center 1572 หรือสาขาธนาคารกรุงศรี โดยธนาคารจะตรวจสอบ แจ้งผล และปรับปรุงรายการให้ถูกต้อง (ถ้ามี) ภายในระยะเวลา ดังนี้
  • กรณีเลือกใช้บริการพร้อมเพย์ 3 วันทำการ
  • กรณีเลือกใช้บริการอื่นที่ไม่ใช่พร้อมเพย์ 5 วันทำการ
20. หากผู้โอน โอนเงินเข้าผิดหมายเลขพร้อมเพย์ จะต้องทำอย่างไร
ให้ผู้โอนติดต่อ Krungsri Call Center 1572 หรือสาขาของธนาคารกรุงศรี โดยธนาคารจะแจ้งผลการติดตามให้ผู้โอนทราบดังนี้
  • กรณีโอนภายในธนาคารเดียวกัน 15 วันทำการ
  • กรณีโอนต่างธนาคาร 20 วันทำการ

หมายเหตุ ข้อ 19-20.
  1. ระยะเวลาดำเนินการเป็นมาตรฐานเดียวกันทุกธนาคาร อ้างอิงตามประกาศธนาคาร www.krungsri.com ที่หัวข้อ “มาตรฐานระยะเวลาการให้บริการทางการเงินของธนาคาร สำหรับลูกค้าบุคคลรายย่อย”
  2. ไม่รวมกรณีที่สงสัยเป็น Fraud หรือ ทุจริต
  3. ระยะเวลาดำเนินการ ให้นับตั้งแต่วันทำการถัดจากวันที่ธนาคารได้รับแจ้ง หรือได้รับหนังสือ หรือใบคำขอที่มีข้อมูล พร้อมเอกสารประกอบการดำเนินการที่ครบถ้วนจากลูกค้า (แล้วแต่กรณี)
 
21. ตามที่ธนาคารได้ออกโปรโมชั่นลงทะเบียนกรุงศรีพร้อมเพย์ ลูกค้าจะรับการโอนเงินฟรีค่าธรรมเนียม มีรายละเอียดอย่างไร
ลูกค้าที่ลงทะเบียนพร้อมเพย์ ตั้งแต่เปิดให้บริการ จนถึง 31 ธ.ค. 59 จะได้รับสิทธิ์โอนเงินพร้อมเพย์ ฟรีค่าธรรมเนียม ตั้งแต่วันที่ 27 ม.ค. 60 ถึง 26 ม.ค. 61 (ระยะเวลาฟรี 1 ปี)
 
หมายเหตุ:
  1. ลูกค้าจะต้องเลือกบัญชีโอนออกเป็นบัญชีที่ลงทะเบียนในช่วงโปรโมชั่นเพื่อรับสิทธิพิเศษ
  2. กรณีลูกค้าผูกหมายเลขพร้อมเพย์ มากกว่า 1 หมายเลข กับ 1 บัญชีธนาคาร ในช่วงโปรโมชั่น
    2.1 หากลูกค้ายกเลิกผูกหมายเลขพร้อมเพย์ไป 1 หมายเลข โดยยังเหลือหมายเลขพร้อมเพย์อื่น ๆ อยู่
    -> ลูกค้ายังได้รับสิทธิ์ฟรีโอนเงินพร้อมเพย์อยู่
    2.2 หากลูกค้ายกเลิกผูกหมายเลขพร้อมเพย์ทั้งหมด
    -> ลูกค้าจะไม่ได้รับสิทธิ์ฟรีโอนเงินพร้อมเพย์
    2.3 หากลูกค้ายกเลิกผูกหมายเลขพร้อมเพย์ทั้งหมด หลังจากนั้นสมัครผูกหมายเลขอื่นหรือหมายเลขเดิม ในปี 2560
    -> ลูกค้าจะไม่ได้รับสิทธิ์ฟรีโอนเงินพร้อมเพย์
ข้อแนะนำในการโอนเงินผ่านพร้อมเพย์
  • ผู้โอนควรเรียนรู้ ศึกษา วิธีการใช้งานอย่างปลอดภัย เช่น ต้องตรวจสอบชื่อ นามสกุล ผู้รับโอน และจำนวนเงินที่ต้องการโอนทุกครั้ง ก่อนกดยืนยันรายการโอนและหมั่นตรวจสอบเงินในบัญชี หรือสมัครบริการแจ้งเตือนยอดเงินในบัญชี
  • ผู้โอนเงินต้องดูแลรักษา username/password ของ Mobile Banking และ Internet Banking หรือบัตร ATM และรหัสผ่าน เป็นอย่างดี และไม่เปิดเผยให้ผู้อื่นทราบ
  • โปรดระมัดระวัง! หากระบบหน่วง หรือช้า และมี Error ต่าง ๆ เกิดขึ้นในจังหวะที่กดปุ่มยืนยัน ลูกค้าต้องตรวจสอบก่อนว่ารายการที่เพิ่งทำไปสำเร็จหรือไม่ และมีการตัดเงินจากบัญชีต้นทางหรือยัง โปรดหลีกเลี่ยงการโอนเงินซ้ำทันทีโดยไม่ได้ตรวจสอบรายการ
  • ควรระมัดระวังรักษาอุปกรณ์ เช่น โทรศัพท์มือถือ หรือ Mobile Device ที่ใช้เชื่อมต่อทำธุรกรรมเกี่ยวกับระบบพร้อมเพย์เป็นอย่างดี เพื่อไม่ให้ผู้อื่นเอาไปใช้งาน เช่นเดียวกับการดูแลรักษาบัตรเครดิตหรือบัตร ATM
  • ควรมีความระมัดระวังและรักษาข้อมูลความลับของตนเอง เช่น
    - ไม่บอกรหัส username / password, วัน/เดือน/ปีเกิด หมายเลขบัตรประจำตัวประชาชน หมายเลขบัญชี กับ ผู้อื่น หรือเขียนไว้เปิดเผย
    - ไม่มอบเอกสารสำคัญส่วนตัว เช่น สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน ให้กับบุคคลอื่น
    - หากพบความผิดปกติของสัญญาณโทรศัพท์มือถือที่ใช้รับรหัสหรือทำธุรกรรมทางการเงิน ให้รีบติดต่อเครือข่ายโทรศัพท์มือถือทันที เช่น ไม่สามารถใช้โทรเข้าหรือโทรออกได้ตามปกติ
 
1. ข้อพึงระวังในการใช้บริการโอนเงินพร้อมเพย์ มีอะไรบ้าง
ลูกค้าตรวจสอบชื่อ-นามสกุล ผู้รับโอนเงินให้ถูกต้องก่อนยืนยันการโอนเงินทุกครั้ง
2. บริการโอนเงินพร้อมเพย์ ปลอดภัยหรือไม่
บริการโอนเงินพร้อมเพย์ มีความปลอดภัยสูงตามมาตรฐานสากล และอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของธนาคารแห่งประเทศไทยอย่างใกล้ชิด เช่นเดียวกับระบบการโอนเงินประเภทต่าง ๆ ที่มีให้บริการอยู่ในปัจจุบัน
3. ข้อมูลการลงทะเบียนพร้อมเพย์ ผูกบัญชีกับหมายเลขพร้อมเพย์ จะถูกนำไปเก็บในบัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรเดบิต/บัตร ATM ชิปการ์ด หรือไม่
ข้อมูลไม่ได้ถูกเก็บในบัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรเดบิต/บัตร ATM ชิปการ์ด แต่จะถูกเก็บไว้ในระบบกลางที่มีความปลอดภัยสูง และระบบสำรองที่มั่นคง
4. การโอนเงินผ่านบริการโอนเงินพร้อมเพย์ โดยโอนเงินไปยังหมายเลขบัตรประชาชน มีความปลอดภัยในเรื่องข้อมูลของผู้ใช้บริการมากน้อยแค่ไหน
ความปลอดภัยในการทำรายการโอนเงินไม่แตกต่างกับการโอนเงินโดยวิธีการอื่น ส่วนการแจ้งหมายเลขบัตรประชาชนให้กับผู้โอนเงินควรต้องระมัดระวังในการเปิดเผยข้อมูลบัตรประชาชนให้กับคนที่ไว้วางใจได้ แต่ถ้าต้องการแจ้งหมายเลขพร้อมเพย์ให้บุคคลทั่วไป ควรใช้หมายเลขโทรศัพท์มือถือดีกว่า
5. ข้อมูลส่วนตัวจะปลอดภัยหรือไม่
ข้อมูลส่วนของผู้ใช้บริการมีความปลอดภัยสูง ธนาคารหรือ NITMX ไม่สามารถนำข้อมูลลูกค้ามาเปิดเผยหรือขายต่อได้ โดยมีกฎหมาย พ.ร.บ ธุรกิจสถาบันการเงินและ พ.ร.ฎ ควบคุมดูแลธุรกิจบริการการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ควบคุมอยู่ ซึ่งธนาคารและ NITMX ได้ถือปฎิบัติอย่างเคร่งครัดมาโดยตลอด และ ธปท. มีการตรวจสอบกำกับดูแลสม่ำเสมอ
พิมพ์สิ่งที่ต้องการค้นหา