รู้ก่อนคุ้มกว่า สรุปวิธีลดหย่อนภาษีด้วยดอกเบี้ยบ้าน
รอบรู้เรื่องบ้าน
icon-Facebook icon-Twitter icon-line

รู้ก่อนคุ้มกว่า สรุปวิธีลดหย่อนภาษีด้วยดอกเบี้ยบ้าน

icon-access-time Posted On 10 ธันวาคม 2567
By Krungsri The COACH
กลับมาอีกครั้งกับเทศกาลลดหย่อนภาษี ในช่วงเวลานี้หลาย ๆ คนก็คงเตรียมตัวอยู่ว่าจะทำอย่างไรให้เราสามารถประหยัดภาษีได้มากที่สุด ซึ่งหนึ่งในตัวช่วยที่ไม่ควรพลาดสำหรับคนที่กู้ซื้อบ้าน คือ การใช้ดอกเบี้ยบ้านลดหย่อนภาษี Krungsri The COACH จะมาสรุปให้เข้าใจง่าย ๆ ว่า การลดหย่อนด้วยดอกเบี้ยบ้านมีรายละเอียดอย่างไร และมีเงื่อนไขอะไรที่เราจำเป็นต้องรู้บ้าง ไม่ว่าจะกู้เดี่ยว หรือกู้ร่วม ก็ตาม
ดอกเบี้ยบ้านลดหย่อนภาษีได้เท่าไร

ดอกเบี้ยบ้านลดหย่อนภาษีได้เท่าไร

กรมสรรพากรได้มีการกำหนดให้ผู้ที่กู้สินเชื่อเพื่อซื้อที่อยู่อาศัย สามารถนำดอกเบี้ยเงินกู้นั้น ๆ มาใช้ในการลดหย่อนภาษีได้ โดยต้องเป็นที่อยู่อาศัยประเภทบ้านเดี่ยว คอนโด ห้องชุด หรืออาคารพาณิชย์ และสามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกินปีละ 100,000 บาท

ตัวอย่างเช่น
  • มีการจ่ายดอกเบี้ยบ้านทั้งปี 80,000 บาท จะลดหย่อนได้ 80,000 บาท (ใช้เกณฑ์ลดหย่อนตามที่จ่ายจริง)
  • มีการจ่ายดอกเบี้ยบ้านทั้งปี 120,000 บาท จะลดหย่อนได้ 100,000 บาท (ใช้เกณฑ์ลดหย่อนแบบเต็มจำนวน)

กรณีกู้ร่วม จะลดหย่อนภาษีจากดอกเบี้ยบ้านอย่างไร

หากมีการกู้ซื้อบ้านร่วมกันกับสามี ภรรยา พ่อ แม่ ลูก หรือญาติ สิทธิในการลดหย่อนภาษีโดยนำดอกเบี้ยเงินกู้บ้านตามที่จ่ายจริง ไปเฉลี่ยตามจำนวนผู้กู้ แต่รวมกันแล้วต้องไม่เกิน 100,000 บาท ตัวอย่างตามตารางด้านล่าง
 
  กู้ร่วมกัน 2 คน
จ่ายดอกเบี้ยบ้าน 120,000 บาท
กู้ร่วมกัน 3 คน
จ่ายดอกเบี้ยบ้าน 120,000 บาท
คนที่ 1 50,000 33,333
คนที่ 2 50,000 33,333
คนที่ 3 - 33,333
คำถามที่พบบ่อยกรณีกู้บ้านร่วมกัน

คำถามที่ 1 : หากกู้บ้านร่วมกัน 2 คน แต่คนที่ 1 ไม่ได้นำดอกเบี้ยบ้านไปใช้ลดหย่อนภาษี จะสามารถโอนสิทธิให้คนที่ 2 ใช้สิทธิลดหย่อนภาษีเพิ่ม ได้หรือไม่
คำตอบ : ไม่ได้ เนื่องจากสิทธิในการลดหย่อนภาษีจากดอกเบี้ยบ้าน จะมีการเฉลี่ยดอกเบี้ยระหว่างผู้ที่ยื่นกู้ร่วมกัน โดยแต่ละคนจะสามารถใช้สิทธิได้ เฉพาะในส่วนของตัวเองเท่านั้น

คำถามที่ 2 : หากกู้บ้านร่วมกัน 2 คน คนที่ 1 ผ่อนบ้าน และจ่ายดอกเบี้ยบ้านมากกว่าคนที่ 2 ในกรณีนี้ คนที่ 1 จะสามารถรับสิทธิในการลดหย่อนภาษีมากกว่าคนที่ 2 ได้หรือไม่
คำตอบ : ไม่ได้ เนื่องจากสิทธิในการลดหย่อนภาษีจะเฉลี่ยดอกเบี้ยให้เท่ากัน ตามจำนวนของผู้ที่ยื่นกู้ร่วมกันเท่านั้น ไม่ได้คิดจากสัดส่วนการชำระดอกเบี้ยระหว่างผู้กู้ร่วม
 
ซื้อบ้านหลายหลัง ลดหย่อนภาษีได้ยังไงบ้าง

กรณีกู้ซื้อบ้านหลายหลัง : ลดหย่อนภาษีจากดอกเบี้ยบ้านอย่างไร

เนื่องจากกฎหมายไม่ได้กำหนดจำนวนที่อยู่อาศัยที่เราสามารถขอใช้สิทธิลดหย่อนภาษีจากดอกเบี้ยบ้าน ดังนั้น เราสามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้มากกว่า 1 หลัง อย่างไรก็ตามการใช้สิทธินั้นจะต้องพิจารณาจากดอกเบี้ยบ้านตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท โดยไม่ต้องเฉลี่ยจำนวนที่อยู่อาศัยของเรา ยกตัวอย่างกรณีซื้อบ้าน 2 หลัง ดังนี้
 
  กรณีที่ 1 กรณีที่ 2
ดอกเบี้ยบ้าน หลังที่ 1 70,000 70,000
ดอกเบี้ยบ้าน หลังที่ 2 20,000 50,000
ดอกเบี้ยรวมกัน 90,000 120,000
ใช้สิทธิในการลดหย่อนภาษีได้ 90,000 100,000
(ใช้สิทธิได้ 100,000 บาท เท่านั้น)

เอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลดหย่อนภาษี

ก่อนที่เราจะนำดอกเบี้ยบ้านไปใช้สิทธิในการลดหย่อนภาษี อย่าลืมเตรียมเอกสารให้เรียบร้อย เพื่อให้ทางสรรพากรสามารถตรวจสอบได้อย่างครบถ้วน โดยเอกสารที่เราต้องเตรียม คือ หนังสือรับรองดอกเบี้ยเงินกู้ยืม (ล.ย.02)

อย่าลืมเตรียมเอกสารไว้ตั้งแต่เนิ่น ๆ เพราะเมื่อถึงเวลาที่ต้องใช้เอกสาร จะได้ส่งให้กับทางสรรพากรได้อย่างรวดเร็ว และสำหรับลูกค้าสินเชื่อบ้านธนาคารกรุงศรี สามารถขอรับหนังสือรับรองดอกเบี้ยได้ที่ ขอหนังสือรับรองดอกเบี้ยสินเชื่อบ้านกรุงศรี แต่สำหรับการกู้ยืมเงินสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยที่ได้เริ่มทำสัญญาตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป ผู้มีเงินได้ต้องแจ้งความประสงค์ที่จะใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ต่อธนาคาร เพื่อให้ธนาคารนำส่งและเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับดอกเบี้ยเงินกู้ยืม และข้อมูลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องตามสัญญากู้ยืมเงินต่อกรมสรรพากร เพื่อประโยชน์ในการใช้สิทธิขอหักลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตามหลักเกณฑ์ และวิธีการที่กรมสรรพากรกำหนด แจ้งความประสงค์เพียงครั้งเดียวมีผลตลอดอายุสัญญากู้ อย่าลืมแจ้งความประสงค์ต่อธนาคารจะได้ไม่พลาดสิทธิขอหักลดหย่อนภาษีจากดอกเบี้ยเงินกู้สินเชื่อบ้านกันนะทุกคน
 
วิธีลดหย่อนภาษีด้วยดอกเบี้ยบ้าน

รู้หรือไม่? มีดอกเบี้ยที่เกี่ยวกับบ้าน แต่ไม่สามารถลดหย่อนภาษีได้

ถึงแม้ว่าสรรพากรจะอนุญาตให้ผู้กู้สามารถใช้ดอกเบี้ยบ้านในการลดหย่อนภาษีได้ แต่ก็มีดอกเบี้ยที่เกี่ยวกับบ้านบางประเภทที่ทางสรรพากรไม่ได้ให้สิทธิในการลดหย่อนภาษี ได้แก่
  1. ดอกเบี้ยเงินกู้เพื่อตกแต่งบ้าน ปรับปรุงบ้าน
  2. ดอกเบี้ยกู้เงินอเนกประสงค์กับธนาคารที่นำบ้านมาเป็นหลักประกัน
  3. สินเชื่ออเนกประสงค์โดยกู้เพิ่มจากวงเงินกู้บ้านเดิม
จะเห็นได้ว่าโดยทั่วไปแล้วต้องเป็นดอกเบี้ยบ้านที่เกิดจากการซื้อ เช่าซื้อ หรือสร้างบ้านเท่านั้นถึงนำมาลดหย่อนภาษีได้ ดอกเบี้ยจากเงินกู้ประเภทอื่น ๆ ไม่สามารถนำมาใช้ในการลดหย่อนภาษีประเภทดอกเบี้ยเงินกู้บ้านได้
 
มีดอกเบี้ยที่เกี่ยวกับบ้าน แต่ไม่สามารถลดหย่อนภาษีได้

Krungsri The COACH ขอแนะนำวิธีลดดอกเบี้ยบ้านให้ถูกลง ประหยัดเงินก้อน ก่อนลดหย่อนภาษี

นอกจากการลดหย่อนภาษีด้วยดอกเบี้ยบ้านจะช่วยให้เราประหยัดเงินในกระเป๋าเพิ่มขึ้นแล้ว สำหรับผู้ที่กำลังผ่อนบ้านอยู่ แล้วต้องการรีไฟแนนซ์ กรุงศรีมีตัวเลือกดี ๆ อย่าง สินเชื่อบ้านกรุงศรีรีไฟแนนซ์ ที่จะช่วยให้คุณประหยัดดอกเบี้ยรายเดือนได้มากขึ้น พร้อมสิทธิประโยชน์ในการลดหย่อนภาษีจากดอกเบี้ยบ้าน

กู้เท่าที่จำเป็นและชำระคืนไหว
อัตราดอกเบี้ยลดต้นลดดอกตลอดอายุสัญญาอยู่ระหว่าง 4.391% - 5.800% ต่อปี*
*สมมติฐานการคำนวณมาจากอัตราดอกเบี้ย MRR ณ วันที่ 1 พ.ย. 67 = 7.275% ต่อปี
หมายเหตุ : อัตราดอกเบี้ยนี้เป็นข้อมูล ณ วันที่โพสต์บทความ ทั้งนี้อัตราดอกเบี้ยลอยตัวสามารถเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นหรือลดลงได้ สามารถตรวจสอบอัตราดอกเบี้ยปัจจุบัน และรายละเอียดการคำนวณเพิ่มเติมได้ที่ www.krungsri.com

การใช้สิทธิในการลดหย่อนภาษีจะช่วยให้เราสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายทางด้านภาษีได้มากยิ่งขึ้น โดยสำหรับผู้ที่มีการกู้สินเชื่อและต้องชำระดอกเบี้ยบ้านทุกเดือนอยู่แล้ว การใช้สิทธิลดหย่อนภาษีจากดอกเบี้ยบ้านก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่เราจะพลาดไม่ได้ อย่าลืมเตรียมเอกสารให้พร้อม และเพื่อให้การลดหย่อนภาษีสะดวกมากขึ้น เราสามารถแจ้งความประสงค์ให้ธนาคารนำส่งและเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับดอกเบี้ยบ้านของเราให้สรรพากรตรวจสอบได้ สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ แจ้งความประสงค์ขอใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ตามกฎหมายว่าด้วยภาษีอากร

ทั้งนี้ เงื่อนไขและสิทธิประโยชน์ทางภาษีเป็นไปตามที่กรมสรรพากรกำหนด


อ้างอิง
ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง
บทความที่เกี่ยวข้อง
พิมพ์สิ่งที่ต้องการค้นหา