อยากมีบ้านสักหลัง ที่จะเริ่มต้นด้วยกันกับคนที่เรารัก
รอบรู้เรื่องบ้าน
icon-Facebook icon-Twitter icon-line

อยากมีบ้านสักหลัง ที่จะเริ่มต้นด้วยกันกับคนที่เรารัก

icon-access-time Posted On 23 มีนาคม 2565
by Krungsri The COACH

จากสถานการณ์โควิด ”บ้าน” กลายเป็นมากกว่าที่อยู่อาศัย หลายๆ คนต้อง Work From Home ซึ่งดูเหมือนนอกจากจะเป็น New normal แล้วยังจะกลายเป็น Now normal ไปอีกด้วย ทำให้บ้านเป็นสถานที่ที่เราจะต้องใช้ชีวิตอยู่เกือบตลอด 24 ชั่วโมง ทั้งพักผ่อนอยู่บ้านแบบที่ผ่านมา และเพิ่มเติมคือทำงานอยู่ที่บ้านด้วย สำหรับคู่รักที่บ้านมีพื้นที่กว้างขวางอยู่แล้วอาจจะไม่มีปัญหานัก แต่สำหรับคนที่อยู่ด้วยกันในอพาร์ทเม้น/คอนโด หรือบ้านที่มีพื้นที่ใช้สอยไม่มากนัก อาจพบข้อติดขัดหลายอย่าง

  • ไม่มีพื้นที่ส่วนตัวของแต่ละคนเวลาทำงาน ทำให้ไม่มีสมาธิ เวลาประชุมหรือโทรศัพท์คุยเรื่องงาน คนอื่นในบ้านก็นั่งฟังไปด้วยตลอด หรือถ้าประชุมพร้อมกันและต้องเปิดไมค์พูดคุย เสียงที่คุยจะเข้าไปรบกวนการประชุมของอีกฝ่าย
  • รู้สึกเซ็งกับชีวิตที่ออกไปไหนได้ไม่มาก บรรยากาศที่บ้านกลายเป็นที่ทำงาน ทำให้อยู่บ้านแล้วไม่รู้สึกผ่อนคลายจากการทำงานเหมือนแต่ก่อน
  • เกิดอาการออฟฟิศซินโดรม เพราะการทำงานที่บ้านทำให้มีการเดิน การขยับร่างกายในชีวิตประจำวันน้อยลงไปมาก
 
อยากมีบ้านสักหลัง ที่จะเริ่มต้นด้วยกันกับคนที่เรารัก

จากความไม่สบายกายไม่สบายใจเหล่านี้ ทำให้หลายคนคิดถึงเรื่องการหาบ้านหรือคอนโดที่มีพื้นที่มากขึ้น คำถามที่มักวนในหัว คือ
“แล้วเราจะกู้ผ่านไหม จะผ่อนไหวรึเปล่า?”


สมัยก่อน การกู้สินเชื่อบ้านร่วมกันสามารถทำได้เฉพาะคู่สามี-ภรรยา หรือบุคคลในครอบครัวเดียวกัน แต่เดี๋ยวนี้ คู่รัก LGBTQ ก็สามารถขอกู้ร่วมได้แล้ว ทำให้ช่วยกันผ่อนบ้านหรือคอนโดที่มีพื้นที่กว้างขวางขึ้นตามฝันของคู่ของคุณได้ สำหรับการกู้ร่วมที่ธนาคารกรุงศรี ก็ง่ายมาก แค่ 3 ขั้นตอน
 
3 Step สำหรับคู่รักที่สนใจมีบ้านร่วมกัน

และเพื่อเตรียมรับความเสี่ยงถ้าเกิดเหตุไม่คาดฝันขึ้นในชีวิต เวลาทำเรื่องกู้บ้าน อยากแนะนำให้ลองศึกษาเรื่องซื้อประกันคุ้มครองสินเชื่อบ้าน (หรือ ที่เรียกกันว่า MRTA) เอาไว้ด้วย เพื่อเป็นหลักประกันให้กับคนรักของเรา อย่างกรณีที่คนใดคนหนึ่งเสียชีวิต คู่ชีวิตที่เหลืออยู่ตัวคนเดียวก็ไม่ต้องกังวลกับภาระการผ่อนบ้านที่หนักอึ้ง เพราะบริษัทประกันจะช่วยเข้ามาจ่ายเงินกู้ที่ยังค้างอยู่กับธนาคารให้แทน (ในกรณีที่จำนวนเงินเอาประกันภัยมากกว่าจำนวนเงินกู้คงค้าง ณ วันที่เสียชีวิต) และบริษัทประกันก็จะมอบจำนวนเงินส่วนเกินให้กับผู้รับผลประโยชน์ตามที่ระบุไว้ ซึ่งเราสามารถระบุชื่อคนรักไว้ให้เป็นผู้รับผลประโยชน์ได้ โดยจะทำประกันทั้งคู่หรือเพียงคนใดคนหนึ่งก็ได้ และเบี้ยประกันภัยอาจนำไปลดหย่อนภาษีได้ ทั้งนี้เป็นไปตามเงื่อนไขของกรมสรรพากร

*การพิจารณารับประกันขึ้นอยู่กับกฎเกณฑ์การพิจารณาของบริษัท

แค่นี้ เราก็สามารถใช้เวลากับคนที่เรารักสุดหัวใจในบ้านในฝันของ “เรา” กันได้แล้ว
 
3 Step สำหรับคู่รักที่สนใจมีบ้านร่วมกัน
ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง
บทความที่เกี่ยวข้อง
พิมพ์สิ่งที่ต้องการค้นหา