การกู้ร่วมซื้อบ้านหรือกู้บ้านร่วม เป็นทางเลือกที่ดีสำหรับผู้ที่ต้องการขอสินเชื่อบ้าน แต่รายได้ไม่เพียงพอในการขอกู้ด้วยตัวเอง การมีคู่หูในการกู้ร่วมจะช่วยเพิ่มโอกาสในการได้รับการอนุมัติสินเชื่อมากขึ้น เนื่องจากรายได้รวมกันของผู้กู้และผู้ร่วมกู้จะเป็นการเสริมความสามารถในการผ่อนชำระ สำหรับใครที่ยังไม่รู้จักว่ากู้ร่วมซื้อบ้านอะไร? หรือใครที่ยังคงสงสัยก่อนเราจะตัดสินใจกู้บ้านร่วมเราต้องรู้อะไรบ้าง? บทความนี้มีคำตอบ
การกู้ร่วมซื้อบ้านคืออะไร?
กู้ร่วมซื้อบ้านคือ การที่มีคนร่วม
กู้ร่วมสินเชื่อเพื่อซื้อบ้าน หรือสินเชื่อกู้เงิน โดยจำเป็นจะต้องร่วมกันตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป แต่ไม่เกิน 3 คน ภายใต้สัญญาข้อตกลงการกู้ในฉบับเดียวกัน โดยเฉพาะอาชีพอิสระอย่างฟรีแลนซ์จะนิยมการกู้ร่วม เพราะการกู้ร่วมจะช่วยให้การอนุมัติง่ายและวงเงินเพิ่มขึ้นอีกด้วย
กู้ร่วมกับใครได้บ้าง?
การกู้ร่วมซื้อบ้านเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ช่วยเพิ่มโอกาสในการได้รับวงเงินกู้สูงขึ้น รวมถึงช่วยกระจายภาระหนี้สินให้กับผู้กู้ร่วมคนอื่น ๆ การกู้บ้านร่วมสามารถทำได้กับใครบ้าง? ส่วนใหญ่ที่เราคุ้นเคยกัน จะเป็นคนในครอบครัวที่มีนามสกุลเดียวกัน อย่างเช่น พ่อแม่พี่น้องหรือคู่รักสามีภรรยาที่แต่งงานกันแล้ว แต่หลาย ๆ คนอาจจะยังไม่รู้ว่า การกู้ร่วมซื้อบ้านสามารถทำได้กับคนที่ใช้นามสกุลต่างกันได้ ไม่จำกัดเฉพาะครอบครัวเท่านั้น ในปัจจุบันญาติพี่น้อง คู่รัก รวมถึงกลุ่มคู่รัก LGBTQ+ ก็สามารถกู้บ้านร่วมได้แล้วนะ
สำหรับ LGBTQ+ ที่กำลังมองหาสินเชื่อบ้าน เราอยากแนะนำ ให้คลิกเพื่อดูรายละเอียดกับ
สินเชื่อบ้านจากธนาคารกรุงศรี สำหรับ “คู่เพื่อน” ที่ต้องการใช้ชีวิตร่วมกัน
อย่างไรก็ตาม การกู้ร่วมบ้านยังช่วยเพิ่มโอกาสกู้ผ่านหรือได้วงเงินกู้เพิ่มขึ้นโดยการกู้ร่วมซื้อบ้านจะทำให้เรามีภาระหนี้สินคนละครึ่ง หรือมีสัดส่วนที่เท่า ๆ กัน แต่หากว่าหนึ่งในผู้กู้ของเราไม่ชำระเงินที่กู้ร่วมซื้อบ้านได้ตามกำหนด และผู้กู้คนอื่นในสัญญาจะต้องรับผิดชอบหนี้แทน ซึ่งหากเกิดเหตุการณ์เหล่านั้นจริง ๆ เราสามารถเลือกที่จะครอบครองบ้านเอาไว้แต่เพียงผู้เดียว หรือแบ่งสัดส่วนออกเป็นตามที่ตกลงกันในผู้กู้ร่วมได้นั่นเอง
มารู้จักข้อดี ข้อควรระวังก่อนตัดสินใจกู้ร่วมซื้อบ้าน
เมื่อพูดถึงกู้ร่วมซื้อบ้านหรือการกู้ร่วมซื้อบ้านกับคู่กู้ อีกหนึ่งเรื่องราวของการกู้ร่วมที่ทุกท่านรู้ไว้ไม่เสียหาย หากเกิดเหตุการณ์ผิดใจกับคู่กู้ร่วม หรือด้วยสาเหตุอื่น ๆ ที่ไม่สามารถกู้ร่วมกันต่อไปอีกได้ เราควรแก้ปัญหาเหล่านั้นอย่างไร?
3 วิธีกู้แก้ปัญหา เมื่อถึงเวลาเลิกราในการกู้ร่วมซื้อบ้าน
1. ถอนชื่อสัญญาผู้กู้ร่วม
เมื่อเกิดปัญหาขึ้นมา การแก้ไขแรกที่สามารถทำได้คือการ
ถอนชื่อของผู้กู้ร่วมซื้อบ้านออกจากสัญญา โดยต้องติดต่อธนาคารและทำการตกลงกับคู่กู้ร่วมของเราให้ชัดเจนว่าใครจะเป็นคนถือสินเชื่อต่อไป พร้อมทั้งนี้เราจะต้องแจ้งความประสงค์ขอถอนชื่อกู้บ้านร่วมออกด้วยกัน หลังจากนั้นธนาคารจะประเมินความสามารถในการผ่อนชำระของผู้กู้ที่รับช่วงต่อว่าสามารถผ่อนชำระได้หรือไม่นั่นเอง และในส่วนของกรณีสามีภรรยาที่จดทะเบียนสมรส จำเป็นจะต้องนำใบหย่ามาแสดงต่อธนาคารเพื่อประกอบการเปลี่ยนสินเชื่อด้วย
2. รีไฟแนนซ์จากกู้ร่วมซื้อบ้านเป็นกู้เดี่ยว
หากว่าเราทำขั้นตอนที่ 1 ไม่สำเร็จ ธนาคารไม่ยอมอนุมัติให้เราถอนชื่อกู้ร่วมซื้อบ้าน หรือประเมินความสามารถในการผ่อนชำระของเราไม่ผ่าน วิธีแก้ไขที่สองคือการรีไฟแนนซ์สินเชื่อ โดยอาจติดต่อธนาคารอื่นเพื่อพิจารณาการกู้ใหม่ในนามของผู้กู้คนเดียว และขั้นตอนการประเมินการรีไฟแนนซ์ โดยส่วนใหญ่แล้วจะถูกพิจารณาจาก
- รายได้ของผู้กู้
- ยอดดาวน์เราที่กู้ซื้อบ้าน
- ประวัติเครดิตบูโร หรือแบล็กลิสต์
3. ทางออกสุดท้ายขายบ้าน
หากวิธีการทั้งสองไม่สำเร็จ การขายบ้านเป็นทางออกสุดท้ายที่อาจจะต้องพิจารณา ผู้กู้บ้านร่วมควรพูดคุยตกลงให้ดี เพื่อจัดการการขายบ้านในขั้นตอนต่าง ๆ เช่น ค่าโอน ค่าตรวจบ้าน และค่าธรรมเนียม ในส่วนนี้เราอาจจะต้องตกลงกันให้ดีเพื่อหาตรงกลางที่ไม่ไม่ให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเสียเปรียบ การขายบ้านจะช่วยปลดภาระหนี้สินและปิดปัญหาการกู้ร่วมซื้อบ้าน ลงได้
ถึงแม้ว่าปัญหาเหล่านี้ไม่มีใครอยากให้เกิด เพราะเราไม่สามารถรู้อนาคตข้างหน้าว่าจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง แต่การที่เรารู้วิธีแก้ไขไว้ก็จะช่วยเราไปได้อีกเยอะ และนี่ก็เป็นเรื่องราวกู้ร่วมที่เราควรรู้ เพื่อไม่ให้พลาดทุกการตัดสินใจ สิ่งสำคัญที่ขาดไม่ได้หลังจากนี้เพราะถึงแม้ว่าการกู้ร่วมจะเปรียบเสมือนมีคู่หูที่เป็นเจ้าของบ้านหลังเดียวกัน การกู้ร่วมซื้อบ้านไม่ได้แปลว่าเป็นเรื่องที่ดีเสมอไป เราต้องเรียนรู้ที่จะรักษาความสัมพันธ์และพูดคุยปรับความเข้าใจกันบ่อย ๆ และบ้านหลังนี้ก็จะอยู่เป็นคู่เจ้าของเดิมตลอดไปนั่นเอง..