เตรียมตัวก่อนซื้อบ้าน 5 รายจ่ายที่ต้องใช้เงินสด
รอบรู้เรื่องบ้าน
icon-Facebook icon-Twitter icon-line

เตรียมตัวก่อนซื้อบ้าน 5 รายจ่ายที่ต้องใช้เงินสด

icon-access-time Posted On 29 มีนาคม 2561
By Krungsri The COACH

พอทำงานมาได้สักพัก เราอาจจะคิดเรื่องการก่อร่างสร้างตัว อยากมีบ้านหลังแรกเป็นของตัวเอง พยายามเก็บหอมรอมริบ ดูลู่ทางธนาคารเพื่อเตรียมกู้เงินมาซื้อบ้าน ผู้ซื้อบ้านมือใหม่อาจคิดว่า หากขอกู้ธนาคารผ่านก็เป็นอันได้บ้านหลังใหม่มาครอบครอง แต่จริง ๆ แล้วมีขั้นตอนการเตรียมตัวก่อนซื้อบ้านที่จะต้องทำให้พร้อม นั่นก็คือ การเตรียมเงินสดสำรองไว้อีกก้อนหนึ่งต่างหาก เพื่อรองรับกับค่าใช้จ่ายต่าง ๆ นานาที่มาพร้อมกับภาระการกู้เงินผ่อนบ้าน

 
เรามาดูเช็กลิสต์กันดีกว่าครับว่า มีสิ่งใดบ้าง ที่เราต้องเตรียมตัวก่อนซื้อบ้าน โดยเฉพาะค่าใช้จ่ายที่เราต้องจ่ายเป็นเงินสดตอนซื้อบ้าน จะได้ประเมินตนเองและตั้งเป้าหมายการเงินไว้ให้พร้อม
 

1. ค่าโอนบ้าน

ก่อนที่เราจะซื้อบ้าน เราต้องทราบก่อนว่าในการซื้อบ้านจะมีค่าโอนบ้านที่จะต้องจ่ายด้วยเงินสด ฉะนั้นเราจะต้องกันเงินส่วนนี้เอาไว้ ซึ่งในเตรียมตัวก่อนซื้อบ้านนั้น หลายคนอาจจะคิดว่าโครงการบ้านหลายๆ โครงการต่างออกโปรโมชันที่มีข้อเสนออย่างฟรีค่าโอน ค่าอากร และค่าธรรมเนียมต่างๆ แต่การเตรียมพร้อมเรื่องเงินเอาไว้ก็ไม่เสียหาย จะได้สร้างความอุ่นใจด้วยครับ
ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายแก่กรมที่ดิน เมื่อต้องการโอนกรรมสิทธิ์บ้านและที่ดิน อันได้แก่
  • ค่าจดจำนอง 1% ของมูลค่าที่จำนอง (จำนวนเงินกู้ทั้งหมด)
  • ค่าธรรมเนียมการโอน 2% ของราคาประเมินหรือราคาขาย
  • ค่าอากร 0.5% ของราคาซื้อขาย
ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ผู้ซื้อและผู้ขายควรทำข้อตกลงกันตั้งแต่ตอนตกลงซื้อขาย เพื่อจะได้ไม่มีปัญหาในภายหลัง ซึ่งเงินในส่วนนี้ต้องเตรียมเป็นเงินสดครับ
แต่หากเราไม่ได้วางแผนเพื่อเตรียมตัวก่อนซื้อบ้าน ณ ช่วงเวลานั้นเราหมุนเงินไม่ทัน เงินสดไม่พอจ่าย สินเชื่อส่วนบุคคลก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่สามารถเลือกกู้ได้ โดยเฉพาะตอนนี้ เราสามารถกู้ได้สบาย ๆ โดยไม่ต้องไปถึงธนาคาร อย่างเช่น สินเชื่อส่วนบุคคล Krungsri iFIN เป็นสินเชื่อเงินกู้ออนไลน์ เพียงแค่มีแอพพลิเคชั่น KMA ก็สามารถยื่นเรื่องกู้ได้ผ่านมือถือ สะดวกสบาย ขั้นตอนไม่เยอะ

2. ค่าจองและค่าส่วนกลาง

ค่าจองและค่าส่วนกลาง เป็นหนึ่งในเช็กลิสต์ของรายการเตรียมตัวก่อนซื้อบ้านที่เราต้องจดไว้ เนื่องจากบ้านหรือคอนโดบางโครงการจะเรียกเก็บค่าส่วนกลางล่วงหน้า บางที่จะเรียกเก็บประมาณ 1 ปี ซึ่งนับเป็นจำนวนเงินหลักหมื่น หากไม่เตรียมการไว้จะขาดสภาพคล่องแน่นอนครับ เราจึงต้องเช็กค่าใช้จ่ายส่วนนี้กับทางโครงการก่อน และเก็บออมเงินก่อนตัดสินใจซื้อ

3. ค่าตกแต่งบ้าน

เชื่อว่าในการเตรียมตัวก่อนซื้อบ้านของหลายคนจะต้องมีการตกแต่ง และต่อเติมบ้านให้เหมาะกับการอยู่อาศัยของเราอยู่ดี เราจึงควรเตรียมเงินสดสำรองส่วนนี้ไว้ ในระหว่างที่โครงการกำลังสร้าง เราอาจจะใช้เวลาช่วงนี้ เก็บเงินเพิ่มเติมเพื่อรอแต่งบ้านก่อนจะย้ายเข้าครับ

4. ค่าประกันอัคคีภัย ค่าประกันภัยพิบัติ

ค่าประกันอัคคีภัย เป็นประกันที่คุ้มครองความปลอดภัยของตัวบ้าน ในกรณีเกิดไฟฟ้าลัดวงจร แก๊สรั่ว ไฟไหม้ ซึ่งเป็นสิ่งที่กฎหมายบังคับว่าต้องทำครับ โดยยอดจะอยู่ที่ 0.1% ของราคาบ้าน
นอกจากนี้เมื่อเราเตรียมตัวที่จะซื้อบ้าน เราควรพิจารณาประกันภัยพิบัติไว้เป็นทางเลือกเสริม เพราะแม้ไม่ได้บังคับให้ทำ แต่อาจจะช่วยผ่อนหนักให้เป็นเบา ในกรณีที่เกิดอุทกภัย แผ่นดินไหว เป็นต้น โดยประกันส่วนนี้จะจ่ายค่าสินไหมชดเชยความเสียหายที่เกิดขึ้นกับบ้านของเราครับ

5. ค่าประกันสินเชื่อบ้าน หรือประกันคุ้มครองหลักทรัพย์

ประกันสินเชื่อบ้าน หรือประกันคุ้มครองหลักทรัพย์ เป็นอีกหนึ่งประกันที่เราต้องพิจารณาในช่วงเตรียมตัวก่อนซื้อบ้าน ซึ่งจะคุ้มครองในกรณีผู้กู้เสียชีวิตหรือไม่สามารถชำระค่างวดบ้านต่อได้ วงเงินส่วนนี้จะคุ้มครองวงเงินที่บริษัทประกันจะชดใช้แก่ธนาคาร ไม่ตกเป็นภาระของคนในครอบครัวประกันตัวนี้จะถูกนำเสนอพร้อมกับการทำสินเชื่อบ้าน โดยไม่บังคับว่าต้องทำ แต่อาจถูกนำเสนอในรูปแบบที่ว่าหากทำประกันตัวนี้จะลดอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อบ้าน ซึ่งยอดค่าทำประกันค่อนข้างสูง บางคนอาจมองว่าไม่จำเป็น แต่หากผู้กู้เป็นหัวหน้าครอบครัวก็ควรพิจารณาทำไว้ครับ
หลังจากทราบค่าใช้จ่ายในการกู้ซื้อบ้านแล้ว หลายคนอาจฉุกคิดและกลับไปประเมินตนเองกันใหม่ว่าพร้อมที่จะซื้อบ้านหรือยัง และเราเตรียมตัวก่อนซื้อบ้านดีแค่ไหน การซื้อบ้านไม่ใช่เรื่องยากครับ บางครั้งสินเชื่อบางธนาคารจะมีโปรโมชั่นผ่อนชำระแบบดอกเบี้ยต่ำด้วย หากเรามีเงินก้อนในอนาคตก็สามารถนำมาโปะได้เพื่อลดต้นลดดอก เรื่องซื้อบ้านเราจึงควรหาข้อมูลให้ถี่ถ้วนก่อนซื้อ หรือหากอยากรู้ว่าควรออมเงินเท่าไหร่ถึงจะเพียงพอ ลองใช้เครื่องมือPlan Your Money ของธนาคารกรุงศรีฯ ดูก็ได้ครับ
ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง
บทความที่เกี่ยวข้อง
พิมพ์สิ่งที่ต้องการค้นหา