A+ วิชาการเงินด้วยบัตรเครดิตสำหรับนักศึกษา
ฉลาดใช้บัตร
icon-Facebook icon-Twitter icon-line

A+ วิชาการเงินด้วยบัตรเครดิตสำหรับนักศึกษา

icon-access-time Posted On 01 มกราคม 2567
By Krungsri the COACH
ณ โรงอาหารมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง แพร นักศึกษาปี 4 กำลังซื้อแอพพลิเคชันบนมือถือผ่านบัตรเครดิต
เจนนี่: แพร นี่บัตรเครดิตของแxพรเองเลยเหรอ บัตรเรายังใช้บัตรเสริมของพ่ออยู่เลย
แพร: ใช่ บัตรเราเอง เป็นบัตรเครดิตสำหรับนักศึกษา เราว่า สะดวกดีนะเจนนี่ สมัครก็ง่าย ใช้งานได้เหมือนบัตรเครดิตทั่ว ๆ ไป ไม่ว่าจะซื้อของหรือช็อปปิ้งออนไลน์ แถมได้ฝึกวิชาการเงินหลายอย่างแบบไม่รู้ตัวเลย
เจนนี่: เดี๋ยวนี้ เค้ามีบัตรเครดิตสำหรับนักศึกษาด้วยเหรอ ว่าแต่เมื่อกี๊ เธอพูดถึงบัตรเครดิตกับการฝึกวิชาการเงินเนี่ยนะ มันเกี่ยวกันยังไงเหรอ
แพร: ก็อย่างแรก พอเรามีบัตรเครดิตเป็นของตัวเองแล้ว เราก็ต้องรู้จักบริหารเงิน โดยจำกัดการใช้จ่ายของเราเองให้เหมาะสมกับค่าขนมที่พ่อแม่เราให้ในแต่ละเดือนใช่ป่ะ
เจนนี่: จริงของเธอนะ ทุกวันนี้ เราไม่ค่อยได้คิดอะไรมากเวลาใช้บัตรเครดิตซื้อของ เพราะบัตรเสริมเราไปตัดเงินกับบัตรพ่อ แต่พอฟังอย่างนี้แล้ว เหมือนการมีบัตรเครดิตเป็นของตัวเองสามารถฝึกให้เราเป็นผู้ใหญ่ มีความรับผิดชอบมากขึ้นนะเนี่ย
แพร: ใช่เลย ถึงการใช้บัตรเครดิตจะทำให้เราได้ของมาก่อน แล้วจ่ายทีหลัง แต่เราก็ต้องบริหารเงินในระหว่างเดือน จะได้มั่นใจว่า มีเงินพอไปจ่ายค่าบัตรตามกำหนดในแต่ละเดือน อย่างเราเอง เวลาซื้อของแต่ละครั้ง เราก็ทำบัญชีรายรับ รายจ่ายไว้ตลอด จะได้มั่นใจว่า ใช้เงินไม่เกินงบ แล้วยังใช้ตรวจสอบกับใบแจ้งหนี้ได้ด้วยว่า ยอดเรียกเก็บเงินถูกต้อง
เจนนี่: ไม่แปลกใจเลยแพรที่เธอเรียนบัญชี แล้วนี่ถ้าเราเอาบัญชีหลาย ๆ เดือนมาดู เราสามารถทำวิเคราะห์งบการเงินได้เลยนะว่ารวม ๆ แล้ว เรามีวินัยทางการเงิน
แพร: เคยสิ ก็มือถือเครื่องนี้แหละ แต่ขอเตือนไว้ก่อนเลยนะว่า ก่อนจะซื้อของเงินผ่อน เธอต้องเข้าใจระบบ และเข้าใจตัวเองให้ดีก่อน ที่สำคัญเลยคือ เราต้องมั่นใจว่า มีความสามารถในการผ่อนได้จนครบจำนวน จากนั้นในแต่ละเดือน ก็ต้องคอยเตือนตัวเองว่า ต้องกันเงินค่างวดไว้ เพราะการผิดนัดชำระทำให้เราต้องเสียดอกเบี้ย แล้วถ้าช่วงผ่อนเงินมีแพลนจะใช้เงินเยอะเป็นพิเศษล่ะก็ ยิ่งต้องเตรียมการให้ดีเลย อย่างที่เราจะไปออกค่ายกันเดือนหน้า เราเตรียมเก็บเงินไว้ตั้งแต่สองเดือนที่แล้วเลยนะ ค่าใช้จ่ายส่วนไหนไม่จำเป็นก็เก็บไปก่อน เดือนนี้เราเลยไม่ชอร์ต
เจนนี่: ไม่คิดเลยนะเนี่ยว่า จะซื้อของแต่ละทีต้องคิดเยอะขนาดนี้ ว่าแต่ซื้อของเงินผ่อนนี่ดูน่ากลัวเหมือนกันเนอะ
แพร: ถ้าเราเข้าใจและมีวินัย เราก็สามารถใช้บัตรเครดิตให้เป็นประโยชน์แบบฉบับนักศึกษาได้นะ อย่างการใช้สิทธิประโยชน์ เช่น ใช้คะแนนสะสมในบัตรเป็นส่วนลดเวลาไปซื้อของในห้าง ส่วนลดเติมน้ำมัน หรือแลกตั๋วหนังก็ได้ นับว่าเป็นการบริหารจัดการเพื่อลดค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือนด้วยนะ นอกจากนี้การใช้บัตรเครดิตยังเป็นการเริ่มสร้างประวัติทางการเงินในระบบ ซึ่งเป็นประโยชน์สำหรับการทำธุรกรรมกับธนาคารในอนาคตหลังเรียนจบ เช่น การขอสินเชื่อบ้าน สินเชื่อรถยนต์ และสินเชื่อเพื่อการทำธุรกิจ เป็นต้น
เจนนี่: คุยกันไม่ถึง 5 นาที เห็นภาพเลยว่า ได้ฝึกทั้งการทำบัญชี การทำพยากรณ์รายรับ รายจ่าย ฝึกบริหารการเงิน วิเคราะห์งบการเงิน แถมด้วยการบริหารค่าใช้จ่ายอีก
แพร: นี่ยังไม่หมดนะ เราสามารถบริหารความเสี่ยงได้ด้วยการกำหนดวงเงินการใช้จ่าย ไม่ว่าจะเป็นความเสี่ยงที่เราจะเผลอใช้เงินจนเกินงบเอง หรือความเสี่ยงบัตรโดนโขมยแล้วคนเอาไปรูด อย่างเรามีวงเงินในบัตร 10,000 บาท ความเสียหายสูงสุดที่จะเกิดขึ้นก็คือ 10,000 บาท ซึ่งกรณีถูกคนเอาบัตรไปรูดเนี่ย เราสามารถทำเรื่องร้องเรียนกลับไปที่ศูนย์บัตรเครดิตเพื่อไม่รับผิดชอบค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น หากเราพิสูจน์ได้ว่าเราไม่ได้ใช้จ่ายเงินก้อนนั้น
เจนนี่: ในแง่นี้ การใช้บัตรเครดิตนี่ก็ดีกว่าถือเงินสดนะ ถึงจะถูกใครแอบเอาไปบัตรไปใช้ เราก็ยังมีทางเรียกร้องสิทธิ์ทำให้ไม่ต้องเสียเงิน แต่ถ้าโดนขโมยเงินสดไปแล้วล่ะก็ เราคงไม่มีโอกาสได้คืน นี่ถ้าไม่ติดเรื่องความมีวินัยในตัวเองแล้วล่ะก็ การมีบัตรเครดิตเป็นของตัวเองนี่น่าสนใจมาก ๆ เลยนะ แล้วแพรรู้มั้ยว่าการใช้บัตรเครดิตสำหรับนักศึกษา แตกต่างจากบัตรเดบิตยังไง
แพร: บัตรเดบิตก็ใช้รูดซื้อของ หรือซื้อของออนไลน์ได้เหมือนกัน ต่างกันที่เวลารูดบัตร ธนาคารเจ้าของบัตรเดบิตจะเช็กก่อนว่า มีเงินให้ตัดหรือเปล่า ถ้ามีเงินในบัญชีเพียงพอก็สามารถรูดได้ และเงินก็จะถูกตัดออกจากบัญชีทันที แต่ถ้าเป็นบัตรเครดิตสำหรับนักศึกษา เงินที่เราฝากค้ำประกันไว้จะยังคงอยู่และยังได้รับดอกเบี้ยเงินฝากตามปกติ แต่ยอดที่เรารูดใช้จ่ายจะไปตัดจากวงเงินบัตรเครดิตของเราจ้ะ ซึ่งเราก็แค่ต้องไปชำระคืนทุกเดือน
เจนนี่: จริง ๆ การมีบัตรเครดิตนับว่าเป็นการเริ่มต้นที่ดีสำหรับเราเหมือนกันนะ จะได้เริ่มดูแลการเงินของตัวเองอย่างจริงจังเสียที สอบการเงินเทอมหน้ารับรองว่า เราสองคนได้ A แน่ ๆ
บัตรเครดิตนักศึกษา สำหรับนักศึกษาอายุ 20-25 ปี เพียงมีเงินฝากออมทรัพย์เริ่มต้น 10,000 บาท สนใจติดต่อธนาคารกรุงศรีอยุธยา ทุกสาขา
  • อัตราดอกเบี้ยปกติ 16% ต่อปี ใช้เท่าที่จำเป็นและชำระคืนได้เต็มจำนวนตามกำหนด จะได้ไม่เสียดอกเบี้ย 16% ต่อปี
  • เงื่อนไขเป็นไปตามที่บริษัท บัตรกรุงศรีอยุธยา จำกัด กำหนด
ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง
บทความที่เกี่ยวข้อง
พิมพ์สิ่งที่ต้องการค้นหา