ต้องการใช้เงินด่วน จะหาเงินจากที่ไหนมาใช้ได้บ้าง? ตอนนี้หลายคนอาจหมุนเงินกันไม่ทัน เงินที่มีในกระเป๋าเริ่มร่อยหรอ ในสถานการณ์แบบนี้อาจจะมีใครอีกหลายคนหรือบางธุรกิจที่มีเหตุทำให้ต้องการเงินด่วนฉุกเฉิน แต่ก็ไม่อยากไปหยิบยืมเงินคนใกล้ตัว รวมถึงไม่อยากกู้เงินนอกระบบ หรือกู้เงินรายเดือนด้วย เพราะทั้งดอกเบี้ยที่แพงและไม่ค่อยมีความปลอดภัยเท่าไหร่นัก เราเลยรวบรวมช่องทางที่ทุกคนสามารถนำเงินก้อนออกมาใช้ได้ในยามที่ต้องการใช้เงินด่วน ซึ่งเป็นช่องทางที่ทำได้อย่างปลอดภัย ได้รับความนิยม และมีความน่าเชื่อถือ
ต้องการใช้เงินด่วน จะหาเงินจากที่ไหนมาใช้ได้บ้าง?
ตอนนี้หลายคนอาจหมุนเงินกันไม่ทัน เงินที่มีในกระเป๋าเริ่มร่อยหรอ ในสถานการณ์แบบนี้อาจจะมีใครอีกหลายคนหรือบางธุรกิจที่มีเหตุทำให้
ต้องการเงินด่วนฉุกเฉิน แต่ก็ไม่อยากไปหยิบยืมเงินคนใกล้ตัว รวมถึงไม่อยาก
กู้เงินนอกระบบ หรือกู้เงินรายเดือนด้วย เพราะทั้งดอกเบี้ยที่แพงและไม่ค่อยมีความปลอดภัยเท่าไหร่นัก
เราเลยรวบรวมช่องทางที่ทุกคนสามารถนำเงินก้อนออกมาใช้ได้ในยามที่ต้องการใช้เงินด่วน ซึ่งเป็นช่องทางที่ทำได้อย่างปลอดภัย ได้รับความนิยม และมีความน่าเชื่อถือ
4 แหล่งเงินด่วนทันใจ เชื่อถือได้
1. เงินเก็บสำรองฉุกเฉิน
เงินเก็บสำรองฉุกเฉิน คือ เงินที่เราเก็บออมสะสมไว้ เพื่อใช้ในยามฉุกเฉินเท่านั้น เช่น เจ็บป่วย ตกงานกะทันหัน มีเหตุที่ต้องใช้เงินก้อน รวมถึงนำมาใช้ในกรณีที่เกิดสถานการณ์ที่จะมากระทบกับการเงินของเราได้เช่นกัน ดังนั้น เงินก้อนนี้จึงถือได้ว่าเป็นแหล่งยืมเงินมาใช้ในตอนที่ต้องการเงินด่วนที่ดีที่สุด เพราะเงินทั้งหมดนั้นเป็นสินทรัพย์ของเรานั่นเอง แถมยังไม่ต้องจ่ายดอกเบี้ยกู้ยืมด้วย ใครที่มีก้อนนี้ก็ดึงออกมาใช้จ่ายเมื่อยามจำเป็นได้เลย
ตามหลักทฤษฎีมักจะบอกว่าควรมีเงินเก็บสำรองฉุกเฉินอย่างน้อย 3-6 เท่าของค่าใช้จ่ายรายเดือน แต่เมื่อเกิดวิกฤตในช่วงแบบนี้ 3-6 เท่าอาจจะดูน้อยไป สำหรับคนทั่วไปหรือพนักงานประจำอาจจะปรับเป็น 6-12 เท่าของค่าใช้จ่ายรายเดือน สำหรับฟรีแลนซ์หรือเจ้าของธุรกิจก็ควรจะมีเยอะกว่า อย่างน้อยควรมี 12 เท่าของค่าใช้จ่ายรายเดือน เผื่อถ้าเราไม่มีงานหรือรายได้เข้ามาเป็นเวลายาวนานกว่าปกติก็จะได้มีเงินก้อนนี้ไว้ใช้เมื่อถึงคราวจำเป็น
2. บัตรเครดิต
บัตรเครดิตเป็นผลิตภัณฑ์การเงินที่มีจุดประสงค์เพื่อเสริมสภาพคล่องการเงินส่วนบุคคล โดยธนาคารจะกำหนดวงเงินให้ตามความสามารถในการ
ชำระหนี้ของผู้ถือบัตร และจะมีกำหนดรอบระยะเวลาชำระเงิน ถ้าชำระเงินครบจำนวนของรอบบิลภายในวันที่กำหนดก็ไม่ต้องเสียดอกเบี้ยเลย แต่ถ้าจ่ายชำระหลังวันครบกำหนดก็จะต้องชำระดอกเบี้ยในอัตราสูงสุด 20% ต่อปีของยอดหนี้ นับตั้งแต่วันที่ใช้รูดบัตร
นอกจากนี้ บัตรเครดิตยังสามารถใช้กดเงินสดได้ด้วย แต่จะต้องจ่ายดอกเบี้ยตั้งแต่วันที่กดเงินสดออกมาใช้ โดยส่วนใหญ่จะคิดค่าธรรมเนียมการกดเงินสดที่ 3% ของจำนวนเงินสดที่เบิกถอนไป (ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของบัตรแต่ละใบ) จึงไม่แนะนำให้กดเงินสดออกจากบัตรเครดิตถ้าไม่จำเป็นจริง ๆ
เทคนิคการใช้บัตรเครดิตให้คุ้มค่า คือ ต้องดูก่อนว่าเงินด่วนที่เราต้องการใช้นั้นคืออะไร ถ้าเป็นพวกค่ารักษาพยาบาลหรือค่าซ่อมรถ หากผู้ให้บริการรายนั้นรับบัตรเครดิต การใช้บัตรเครดิตรูดจ่ายแทนการจ่ายเงินสดก็ย่อมดีกว่าเสมอ เพราะบัตรเครดิตจะมีช่วงระยะเวลาปลอดดอกเบี้ย ช่วยชะลอการใช้จ่ายด้วยเงินสด ทำให้เราสามารถหมุนเวียนเงินในช่วงระยะเวลาสั้น ๆ ได้ รวมถึงการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตยังมีสิทธิประโยชน์ให้เราด้วย เช่น ได้สะสมคะแนนเพื่อแลกของ ได้รับส่วนลดจากร้านค้าที่เข้าร่วม และอย่าลืมชำระคืนให้ทันช่วงเวลาที่กำหนดของรอบบิลนั้น ๆ มิเช่นนั้นแล้วเราอาจจะต้องจ่ายดอกเบี้ย
3. บัตรกดเงินสด
บัตรกดเงินสดเป็นผลิตภัณฑ์การเงินในรูปแบบของสินเชื่อทางการเงินที่ให้แก่บุคคลธรรมดา โดยทางธนาคารจะออกให้เป็นบัตร ซึ่งสามารถนำไปใช้ได้กับตู้ ATM คนส่วนใหญ่จะนิยมใช้กดเงินสดมากที่สุด เพราะไม่มีค่าธรรมเนียมในการกดถอนเงิน สามารถกดเงินสดได้ทันทีตลอดเวลา นอกจากนี้บัตรกดเงินสดบางใบยังสามารถใช้ในการ
ซื้อสินค้าเงินผ่อนได้อีกด้วย
จุดเด่นของบัตรกดเงินสด คือ ผู้ถือบัตรสามารถเบิกถอนเงินสดได้มาใช้จ่ายจำนวนเท่าใดก็ได้ ไม่จำกัดจำนวนครั้ง แต่จำนวนเงินทั้งหมดรวมแล้วต้องไม่เกินวงเงินที่ได้รับอนุมัติ โดยไม่ต้องมีเงินในบัญชีหรือทรัพย์สินเพื่อเป็นหลักประกันก็อนุมัติผ่าน แต่ก็ต้องแลกมากับอัตราดอกเบี้ยกว่า 20% ขึ้นไป ซึ่งสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยของสินเชื่อประเภทอื่น ๆ ตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกกฎให้สถาบันการเงินต่างเรียกเก็บดอกเบี้ยได้ไม่เกิน 28% ต่อปี (ขึ้นอยู่กับแต่ละสถาบันการเงินหรือธนาคาร) พร้อมคิดอัตราดอกเบี้ยแบบลดต้นลดดอก และถ้าไม่มีการใช้บัตรก็จะไม่มีค่าใช้จ่ายในการรักษาสถานภาพของบัตร
ดังนั้น บัตรกดเงินสดจึงเหมาะกับคนที่ต้องการหาเงินด่วนฉุกเฉินในรูปแบบของเงินสด หรือต้องการเงินสดมาใช้เป็นทุนหมุนเวียนในระยะเวลาหนึ่ง เพราะบัตรกดเงินสดไม่สามารถนำไปรูดจ่ายแทนการจ่ายเงินสดได้เหมือนกับบัตรเครดิต และเนื่องจากอัตราดอกเบี้ยของบัตรกดเงินค่อนข้างสูงมาก จึงควรตรวจสอบดอกเบี้ยที่จะเกิดขึ้น และก่อนตัดสินใจกดเงินสดเราต้องมั่นใจว่าจะสามารถผ่อนเงินได้ครบจำนวน
4. สินเชื่อหมุนเวียนส่วนบุคคล
เป็นสินเชื่ออเนกประสงค์แบบไม่ต้องมีหลักประกันหรือผู้ค้ำประกัน ไม่ว่าเราจะต้องการหาหรือใช้เงินด่วนด้วยวัตถุประสงค์ใด ก็สามารถขอกู้สินเชื่อส่วนบุคคลกับธนาคารได้ โดยธนาคารจะกำหนดวงเงินสินเชื่อและอัตราดอกเบี้ยที่เราจะได้รับนั้นเอง เป็นแหล่งเงินกู้ฉุกเฉินที่ไม่ต้องมีหลักประกันหรือผู้ค้ำประกัน อนุมัติไว และมีความปลอดภัยแน่นอน คิดอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำกว่าเงินกู้นอกระบบ ด้วยวิธีการคิดดอกเบี้ยแบบลดต้นลดดอก และสามารถเลือกระยะเวลาการผ่อนชำระคืนได้ระหว่าง 12 - 60 เดือน โดยส่วนใหญ่ทางธนาคารจะอนุมัติวงเงินสินเชื่อส่วนบุคคลได้สูงสุดประมาณ 5 เท่าของรายได้ ซึ่งก็น่าจะมากพอที่จะนำไปใช้จัดการเหตุการณ์ฉุกเฉินนั้นได้ นอกจากนี้อัตราดอกเบี้ยจะแตกต่างกันตามวงเงินที่ขอกู้ โดยยิ่งวงเงินกู้เพิ่มสูงขึ้น อัตราดอกเบี้ยที่ได้ก็จะลดลง
ดังนั้น สินเชื่อส่วนบุคคลจึงเหมาะกับคนที่รายได้มั่นคง เช่น ข้าราชการ พนักงานประจำ รวมถึงเจ้าของธุรกิจส่วนตัว ที่ต้องการนำเงินก้อนเพื่อไปใช้จ่ายตามความต้องการและความจำเป็น เช่น นำไปชำระค่าเทอม ใช้จ่ายในเหตุการณ์ฉุกเฉิน
สำหรับคนที่ต้องการและกำลังมองหาเงินด่วนฉุกเฉินแบบทันใจ และกำลังตัดสินใจอยู่ว่าจะสมัครกับที่ไหนดี ทางธนาคารกรุงศรีก็มี
“สินเชื่อ Krungsri iFIN” สินเชื่อแบบดิจิทัลครบวงจร ตั้งแต่สมัคร ติดตามสถานะ รับเงินกู้ ทำง่าย ๆ ด้วยตัวเอง
- ให้วงเงินกู้สูง 2 ล้านบาท หรือไม่เกิน 5 เท่าของรายได้
- สมัครง่าย
- รู้ผลไวใน 1 วัน (เฉพาะการยื่นกู้ผ่าน Krungsri Mobile App โดยนับจากวันที่ธนาคารได้รับใบสมัครและเอกสารประกอบการสมัครครบถ้วนสมบูรณ์เข้าระบบ)
- อัตราดอกเบี้ยสูงสุดไม่เกิน 25% ต่อปี พิเศษ!! ดอกเบี้ยต่ำกว่าปกติสูงสุด 3% เมื่อสมัครผ่าน Krungsri Mobile App (เงื่อนไขเป็นไปตามที่ธนาคารกำหนด)
- ศึกษารายละเอียดและเงื่อนไขเพิ่มเติมได้ที่ www.krungsri.com
ตารางเปรียบเทียบช่องทางสำหรับขอเงินด่วน
สิ่งที่เราต้องรู้ เมื่อมองหาเงินด่วน
1.อัตราดอกเบี้ย
ควรรู้ก่อนว่าคิดอัตราดอกเบี้ยกี่ % ต่อปี และวิธีการคิดดอกเบี้ยเป็นอย่างไร เช่น คิดอัตราดอกเบี้ยแบบลดต้นลดดอก เป็นต้น รวมถึงต้องรู้เรื่องดอกเบี้ยกรณีผิดนัดชำระหนี้
2. ค่าธรรมเนียม
ค่าบริการและค่าธรรมเนียมอื่น ๆ เพิ่มเติมหรือไม่ เช่น หากกดเงินสดออกจากบัตรเครดิต จะต้องเสียค่าธรรมเนียมเพิ่ม 3% หรือค่าใช้จ่ายในการติดตามทวงถามหนี้ เมื่อเราค้าง
ชำระหนี้แล้วทางสถาบันการเงินมาทวงถาม
3. วันเวลาที่ต้องชำระคืน
เราควรรู้วันเวลาที่ชำระคืน และควรจะชำระให้ตรงตามที่กำหนดในแต่ละงวด เพราะเมื่อเราไม่ผิดนัดชำระก็จะส่งผลต่อเครดิตทางการเงินด้วยนะ สุดท้ายนี้ ก่อนที่เราจะตัดสินใจหาเงินด่วนหรือเงินก้อนมาใช้จ่าย แนะนำให้ลองคิดทบทวนและถามตัวเองให้แน่ใจว่า จำเป็นต้องใช้เงินก้อนนี้หรือไม่ ตอนนี้เรามีรายรับและรายจ่ายในแต่ละเดือนเท่าไหร่ เรายังมีความสามารถชำระหนี้เพิ่มอีกก้อนได้หรือไม่ ถ้าหากมั่นใจแล้วว่า เงินก้อนนี้จะช่วยให้ฝ่าวิกฤติที่เผชิญอยู่ได้ ทั้งนี้เมื่อเราได้เงินก้อนมาใช้จ่ายแล้ว ต้องไม่ลืมการมีวินัยในการชำระเงินคืนนะ เพื่อที่จะได้ประหยัดเงินจ่ายดอกเบี้ยได้มากที่สุด