ปัจจุบันโลกและสังคมได้เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ผู้คนต้องปรับตัวให้ทันกับโลกทั้งการใช้ชีวิต ทักษะ ความรู้ และความสามารถในการทำงานที่ต้องพัฒนาอย่างต่อเนื่อง นำไปสู่ความกดดันรอบด้านโดยเฉพาะคนวัยทำงาน หรือวัยที่เรียกว่า
“เดอะแบก” โดยส่วนใหญ่มักเป็นกลุ่มคน Gen Y ซึ่งเป็นวัยที่กำลังใช้เวลาชีวิตสร้างตัว ใช้ชีวิต รวมทั้งซื้อบ้าน ซื้อรถ สร้างครอบครัว ดูแลลูกที่ยังพึ่งพาตัวเองไม่ได้ ควบคู่ไปกับต้องดูแลพ่อแม่ที่เริ่มแก่ชราลงทุกวัน ชีวิตเต็มไปด้วยภาระหน้าที่ความรับผิดชอบ ภาระค่าใช้จ่าย ท่ามกลางเศรษฐกิจที่ผันผวน
อีกทั้งยังต้องเจอความท้าทายในด้านความสัมพันธ์รอบตัว ไม่ว่าจะเป็นครอบครัว เพื่อนร่วมงานที่ต้องแบกไว้ รวมถึงความต้องการใช้ชีวิตของตัวเอง ทำให้ “เดอะแบก” เต็มไปด้วยความกดดันรอบด้าน ซึ่งสอดคล้องกับผลสำรวจความคิดเห็นจาก LINE TODAY “คนวัยเดอะแบก วัยที่ต้องแบกรับภาระรอบตัว คุณแบกอะไรเอาไว้หนักที่สุด?” 3 อันดับแรก ได้แก่ แบกการเป็นเสาหลักของบ้านที่ต้องดูแลครอบครัว 30.17% รองลงมา แบกความกลัวที่ใช้ชีวิตได้ไม่เต็มที่แถมเงินไม่พร้อม 21.23% และแบกภาระหนี้สินอันหนักอึ้ง 15.64%
(ที่มา:
https://today.line.me)
ด้วย
ความกดดัน และคาดหวังของสังคม อีกทั้งเศรษฐกิจที่ชะลอตัว และค่าใช้จ่ายที่เพิ่มสูงขึ้น ดังนั้น ภาระหนี้สินกลายเป็นปัญหาใหญ่ของเดอะแบกที่คน Gen นี้เป็น Gen ที่หนี้เสียเยอะที่สุด ในปี 2023 มีหนี้เสีย และหนี้ที่มีแนวโน้มกลายเป็นหนี้เสียรวมกันมากถึง 6.4 แสนล้านบาท
(ที่มา:
https://rabbitcare.com)
ต่อมาเมื่อทั้งโลกเจอวิกฤตโควิดต่อเนื่อง มีผลทำให้เศรษฐกิจชะลอตัวอย่างมาก ยิ่งทำให้
หนี้ครัวเรือนของประเทศไทยพุ่งสูงที่สุดเป็นประวัติการณ์ นำไปสู่ปัญหาหนี้นอกระบบที่สามารถสร้างหนี้ที่บานปลายได้ต่อไปไม่รู้จบอีกด้วย ดังนั้นดูเหมือนสถานการณ์หนี้สินบนหลังเดอะแบกทำให้เดอะแบกกำลังตกที่นั่งลำบาก เรามาดูกันว่าเราจะมีวิธีการจัดการภาระหนี้สินต่าง ๆ ได้อย่างไร
4 วิธีจัดการภาระหนี้ของเดอะแบก
1. เริ่มต้นด้วยทบทวนตัวเอง
สิ่งแรกเราควรรู้ก่อนว่าหนี้ที่เกิดขึ้นเป็นหนี้รวย หรือหนี้จน เช่น
หนี้รวย คือ หนี้ที่เกิดจากการนำไปซื้อทรัพย์สินที่ก่อให้เกิดกระแสเงินสด หรือรายได้เข้ามาได้มากกว่าค่าใช้จ่ายที่ต้องผ่อนชำระ เช่น กู้ซื้อคอนโดมิเนียมแล้วสามารถปล่อยเช่าโดยได้รายได้จากผู้เช่ามากกว่าค่าผ่อนคอนโดมิเนียมในแต่ละเดือน ซึ่งหนี้สินประเภทนี้จะช่วยทำมาหากิน เปรียบเสมือนมีกระแสเงินสดเข้ามาเติมเรื่อย ๆ
หนี้จน คือ หนี้ที่เกิดจากการใช้จ่ายฟุ่มเฟือย ใช้แล้วหมดไป ไม่ก่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มใด ๆ และมักสร้างปัญหาเพราะเป็นหนี้ที่ก่อให้เกิดรายจ่าย ไม่มีกระแสเงินสดไหลกลับเข้ามา เช่น หนี้ Shopping หนี้สังสรรค์ หนี้กดเงินเที่ยว เป็นต้น
การที่เราเข้าใจวิเคราะห์ถึงสาเหตุของปัญหา และรู้จักวิธีจัดการหนี้อย่างเป็นระบบ เราก็จะมีความหวังที่จะปลดหนี้ได้มากขึ้น
2. แจกแจงหนี้ทั้งหมดออกมา
เริ่มต้นด้วยการรวบรวม เขียนแจกแจงหนี้ที่มีทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นทั้งหนี้บัตรเครดิต หนี้บัตรกดเงินสด หนี้ผ่อนบ้าน หรือหนี้ผ่อนรถ หรือหนี้นอกระบบ ทำเป็นตาราง ใส่ประเภทหนี้ ยอดหนี้รวม อัตราดอกเบี้ย และยอดที่ต้องจ่ายต่อเดือน รวมถึงวันครบกำหนดชำระของหนี้แต่ละก้อน เริ่มต้นด้วยวิธีนี้ จะทำให้เราเห็นภาพมากขึ้นว่า ภาระหนี้เราในแต่ละเดือน รวม ๆ แล้วเป็นจำนวนเงินเท่าไหร่ ยอดไหนต้องชำระวันที่เท่าไร
วิธีการนี้ทำให้เราสามารถวางแผนชำระหนี้ได้ดียิ่งขึ้น เช่น การจัดลำดับการชำระหนี้ สามารถเลือกได้ว่าจะเลือกแบบไหน
หากเลือกปลดหนี้ก้อนไหนให้หมดเร็วที่สุด เช่น ต้องการปลดหนี้ที่มีภาระดอกเบี้ยสูงที่สุดก่อน จะช่วยลดรายจ่ายที่เกิดจากดอกเบี้ย และทำให้ยอดรวมของหนี้ลดลง หรือจะเลือกชำระหนี้ก้อนเล็กที่สุด สิ่งที่ได้ คือ
กำลังใจในการจัดการหนี้สินก้อนถัดไป
3. ทำงบกระแสเงินสด
ทำรายรับรายจ่ายต่อเดือน ทั้งนี้รายจ่ายให้ลิสต์ออกมาให้หมดว่าเดือน ๆ หนึ่งเราจ่ายค่าอะไรบ้าง ไม่ว่าจะเป็นค่าใช้จ่ายส่วนตัวในชีวิตประจำวัน ค่าผ่อนต่าง ๆ ค่าใช้จ่ายของครอบครัว เป็นต้น เราจะได้รู้ว่าเราจะมีเงินเหลือเพื่อจ่ายหนี้เท่าไหร่ สามารถจ่ายหนี้เพิ่มได้หรือไม่ หนี้จะได้หมดเร็วขึ้น
นอกจากนี้ในส่วนค่าใช้จ่ายส่วนตัวในชีวิตประจำวันให้แยกว่าเป็นค่าใช้จ่ายที่จำเป็น (Need) หรือไม่จำเป็น (Want) เพื่อเราจะได้เห็นว่าเดือน ๆ หนึ่งเราหมดไปกับค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นเยอะเพียงใด เพราะค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นถ้าเราลดได้
ส่วนนั้นสามารถกลับไปเป็นเงินออม เพื่อเป็นเงินสำรองยามฉุกเฉิน หากเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันเกิดขึ้นกับเรา เช่น ตกงาน เราก็ยังมีเวลาตั้งสติรับมือ และยังสามารถชำระหนี้ รวมถึงค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือนได้โดยไม่ต้องกังวล
แต่หากลิสต์ออกมาแล้ว เงินไม่พอใช้ เราควรหาทางเพิ่มรายรับ หาวิธีลดค่าใช้จ่ายส่วนตัว และหาทางลดหนี้โดยด่วนซึ่งอาจจะเจรจากับสถาบันที่เราเป็นหนี้อยู่เพื่อขอยืดหนี้ หรือขอลดดอกเบี้ย เพื่อที่ว่าเมื่อเราชำระหนี้ เงินส่วนนั้นจะได้ไปตัดเงินต้นได้มากขึ้น หนี้เราจะหมดไวขึ้น
4. หาตัวช่วยโดยการรวมหนี้เป็นก้อนเดียว
ในกรณีที่เรามีหนี้บัตรเครดิตหลายใบ หรือหนี้บัตรกดเงินสด การรวมหนี้ถือว่าเป็นตัวช่วยที่น่าสนใจ สำหรับคนที่กำลังประสบปัญหาติดหนี้บัตรเครดิตหลายใบแล้วไม่สามารถจ่ายเต็มจำนวนได้ ต้องจ่ายแบบขั้นต่ำอยู่ทุกเดือนทำให้ต้องรับภาระดอกเบี้ยที่ค่อนข้างสูง ข้อดีของการรวมหนี้เป็นก้อนเดียว จะช่วยให้เรารู้จำนวนหนี้ที่แท้จริง ระยะเวลาผ่อนที่แน่นอน จ่ายดอกเบี้ยน้อยลง รวมทั้งที่สำคัญผ่อนชำระต่อเดือนน้อยลง เหมาะมากสำหรับใครที่เงินตึงมาก จะช่วยเพิ่มสภาพคล่องได้อีกทาง
และสำหรับใครที่มีหนี้บ้านอยู่ลองดูว่าเอาหนี้บัตรเครดิตโอนไปรวมหนี้ด้วยกันได้หรือไม่ เพราะจะได้ดอกเบี้ยที่ต่ำกว่าดอกเบี้ยสินเชื่อส่วนบุคคล แต่ถ้าเราไม่มีหนี้สินเชื่อบ้าน ก็เอาหนี้บัตรเครดิตมารวมกับสินเชื่อส่วนบุคคลแทนเพราะสินเชื่อบุคคลคิดดอกเบี้ยคิดลดต้นลดดอกตามจริง ไม่ต้องแยกผ่อน 2 ทาง ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เช่นค่าบริการรับชำระ ค่าปรับ ค่าทวงถาม (ถ้ามี) ก็จะหายไปครึ่ง ๆ ยังไงก็ประหยัดกว่า อย่างสินเชื่อ Krungsri iFIN เป็นสินเชื่อบุคคล ที่ให้วงเงินสินเชื่อสูงสุด 2 ล้านบาท ดอกเบี้ยลดต้นลดดอก เลือกผ่อนได้สบาย 12-60 เดือน สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้
ที่นี่เลย
ท่ามกลางความกดดันมากมายที่เดอะแบกต้องเผชิญ การหาความสมดุลเป็นกุญแจสำคัญในการจัดการภาระความรับผิดชอบ ความสมดุลนี้มาจากการมีความยืดหยุ่น การเรียนรู้ที่จะรับมือกับความเครียด เช่น การได้พักสงบจิตใจ การได้ไปเที่ยวอยู่กับธรรมชาติ เพื่อเติมพลังชีวิต หรือแม้กระทั่งหาตัวช่วยเรื่องการเงิน เพื่อมีชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้น ซึ่งสินเชื่อ Krungsri iFIN พร้อมให้บริการเพื่อแบ่งเบาภาระทางการเงินของคุณ