รู้จัก เกณฑ์ 5C คุณสมบัติผู้กู้ที่ตรงใจธนาคาร
รอบรู้เรื่องยืมเงิน
icon-Facebook icon-Twitter icon-line

รู้จัก เกณฑ์ 5C คุณสมบัติผู้กู้ที่ตรงใจธนาคาร

icon-access-time Posted On 22 ตุลาคม 2567
By Krungsri The COACH
เมื่อทุกความฝันใหญ่ ๆ ในชีวิต ล้วนมีเงินเป็นองค์ประกอบสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นการอยากมีบ้านเป็นของตัวเอง อยากมีรถดี ๆ ไว้ขับไปทำงาน อยากเริ่มธุรกิจ หรือต้องการขยายกิจการให้ประสบความสำเร็จมากขึ้น ทุกอย่างล้วนต้องใช้เงินสนับสนุน ซึ่งมักเป็นจำนวนเงินที่ค่อนข้างมาก

การขอสินเชื่อจากธนาคารจึงเป็นหนึ่งตัวช่วยในการเปลี่ยนความฝันให้เป็นความจริง ซึ่งการจะกู้สินเชื่อให้ผ่านนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายเพราะมีเกณฑ์ต่าง ๆ ที่ธนาคารใช้พิจารณาปล่อยกู้ โดยในบทความนี้เราจะมาทำความรู้จักเกณฑ์ต่าง ๆ ที่ใช้พิจารณาพร้อมเคล็ดลับที่จะช่วยให้ขอสินเชื่อได้อย่างราบรื่น ผ่านหลัก 5C ที่หากเข้าใจและเตรียมตัวมาเป็นอย่างดีแล้ว ก็จะช่วยให้การขอสินเชื่อผ่านได้ง่ายมากขึ้น
การพิจารณาถึงหลักประกันใช้ในการขอสินเชื่อ

เกณฑ์ 5C คืออะไร?

หลัก 5C เป็นเกณฑ์ที่ธนาคารหรือสถาบันการเงินใช้เพื่อวิเคราะห์การปล่อยสินเชื่อให้กับผู้ที่มาขอกู้ โดยพิจารณาครบคลุมในทุกมิติ ทั้งเรื่องของประวัติความเป็นมาของผู้กู้ ประวัติเครดิต ความสามารถในการชำระหนี้ รวมถึงความเสี่ยงที่อาจจะทำให้ผู้กู้ไม่สามารถชำระหนี้คืนได้ตามกำหนด นอกจากนี้ ยังรวมถึงการพิจารณาถึงหลักประกันใช้ในการขอสินเชื่อ

Krungsri The COACH ขอบอกว่า หากใครที่กำลังจะยื่นขอสินเชื่อ และได้เตรียมตัวให้พร้อมในทุกด้านตามหลัก 5C อย่างรอบคอบ ก็เปรียบเสมือนการเตรียมตัวมาอย่างดีสำหรับการสอบครั้งสำคัญ เพราะโอกาสที่จะสอบผ่าน หรือได้รับการอนุมัติสินเชื่อนั้น ย่อมมีสูงกว่าคนที่ไม่ได้เตรียมตัวอย่างแน่นอน

เกณฑ์ 5C ที่ต้องรู้ก่อนขอกู้ มีอะไรบ้าง

มาทำความรู้จักกับ 5C เกณฑ์สำคัญที่จะช่วยให้เตรียมตัวได้อย่างมั่นใจ และเพิ่มโอกาสในการอนุมัติสินเชื่อให้สูงขึ้น
 

1. คุณลักษณะและความน่าเชื่อถือของผู้กู้ (Character)

โดยส่วนมากธนาคารจะพิจารณาความน่าเชื่อถือจากปัจจัย 2 ข้อ ดังต่อไปนี้
  • อาชีพและรายได้
    ธนาคารต้องมั่นใจว่าผู้กู้ (ทั้งผู้กู้เดี่ยว และผู้กู้ร่วม) ต้องมีงานทำที่มั่นคง มีรายได้สม่ำเสมอเพียงพอต่อการชำระหนี้คืน เช่น มีอายุงานรวมที่ทำงานเดิมและปัจจุบันตั้งแต่ 2 ปี ขึ้นไป (งานปัจจุบันต้องผ่านการทดลองงานแล้ว) หรือเจ้าของธุรกิจที่มีผลประกอบการดี โดยประกอบธุรกิจมาแล้ว ตั้งแต่ 2 ปี ขึ้นไปและมีโอกาสเติบโตในธุรกิจอย่างต่อเนื่อง หากเป็นฟรีแลนซ์ อาจต้องเตรียมเอกสารเพิ่มเติมเพื่อแสดงให้เห็นถึงแหล่งที่มาของรายได้และความสามารถในการหารายได้อย่างต่อเนื่อง
  • ประวัติเครดิตต้องดี
    พิจารณาจากประวัติการชำระหนี้ของผู้กู้ โดยสามารถเช็กได้จากเครดิตบูโร หากมีประวัติการชำระหนี้ที่ดี ไม่ว่าจะเป็นบัตรเครดิต สินเชื่อส่วนบุคคล หรือหนี้อื่น ๆ ก็จะช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับผู้กู้ได้ แต่หากมีประวัติการผิดนัดชำระหนี้ อาจส่งผลให้การขอสินเชื่อในอนาคตเป็นไปได้ยากขึ้น ดังนั้น การรักษาประวัติการชำระหนี้ที่ดีจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งในการสร้างความน่าเชื่อถือทางการเงินของผู้กู้
 

2. ความสามารถในการจ่ายชำระหนี้คืน (Capacity)

ธนาคารจะพิจารณาอย่างละเอียดว่าผู้กู้มีศักยภาพในการผ่อนชำระหนี้คืนได้อย่างสม่ำเสมอหรือไม่ โดยทั่วไปแล้ว ยอดผ่อนชำระหนี้ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นหนี้บัตรเครดิต สินเชื่อส่วนบุคคล หรือหนี้อื่น ๆ รวมกัน ไม่ควรเกิน 40% ของรายได้ต่อเดือน ยิ่งผู้กู้มีภาระหนี้น้อย เทียบกับรายได้ ก็แสดงให้เห็นว่าผู้กู้มีความสามารถในการผ่อนชำระหนี้ใหม่มากขึ้นเท่านั้น

ยกตัวอย่าง หากเรามีรายได้ 35,000 บาทต่อเดือน ภาระหนี้ทั้งหมดไม่ควรเกิน 14,000 บาทต่อเดือน (35,000 x 40%) ตัวเลขนี้จะเป็นปัจจัยสำคัญที่ธนาคารใช้ในการพิจารณาวงเงินกู้ที่สามารถขอได้
 

3. เงินทุนและสินทรัพย์ (Capital)

สำหรับในข้อนี้ ธนาคารจะให้ความสำคัญเป็นพิเศษกับผู้ที่กู้เพื่อนำไปลงทุนในธุรกิจ โดยจะพิจารณาถึงเงินทุนหมุนเวียนที่มีอยู่ในธุรกิจ เพื่อประเมินความมั่งคั่งและความมั่นคงทางการเงินของธุรกิจนั้น ๆ ซึ่งจะช่วยให้ธนาคารมั่นใจได้ว่าธุรกิจของผู้กู้มีศักยภาพในการเติบโตและสามารถสร้างรายได้เพียงพอที่จะชำระหนี้คืนได้ในภายหลัง แต่หากเป็นการกู้เงินส่วนบุคคลที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับธุรกิจ บางธนาคารก็จะดูงบการเงินของบริษัทที่จ้างงานประกอบด้วย เพื่อประเมินความมั่นคงของการรับรายได้ของลูกหนี้ เพราะหากกิจการล้มละลาย หรือต้องยกเลิกกิจการ ลูกหนี้รายบุคคลก็อาจตกงาน หากหางานใหม่ไม่ได้ ก็จะไม่มีเงินมาชำระหนี้
 

4. หลักประกัน (Collateral)

ธนาคารอาจขอให้มีการวางหลักประกัน เพื่อสร้างความมั่นใจว่า หากผู้กู้ไม่สามารถชำระหนี้ได้ ธนาคารยังมีหลักประกันในการนำไปขายทอดตลาดเพื่อชำระหนี้ ซึ่งหลักประกันที่ธนาคารใช้พิจารณาจะเป็นทรัพย์สินที่มีมูลค่าเพียงพอ ตัวอย่างของหลักประกันที่นิยมใช้ ได้แก่ บ้าน ที่ดิน รถยนต์ หรือแม้กระทั่งสินทรัพย์ทางการเงิน เช่น เงินสด พันธบัตร และหุ้น
 
เกณฑ์ที่ใช้พิจารณาในการขอสินเชื่อ
 

5. ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการกู้ (Conditions)

ธนาคารจะพิจารณาปัจจัยรอบข้างทั้งภายในและภายนอกประเทศ ที่อาจจะส่งผลต่อการปล่อยกู้ เช่น ปัญหาเศรษฐกิจโลก ปัญหาสงคราม ปัญหาโรคระบาด หรือแม้แต่นโยบายทางการเงินของประเทศ ซึ่งปัญหาเหล่านี้อาจจะส่งผลต่อความสามารถในการชำระหนี้ของผู้กู้ในอนาคต

ถ้าอยากรู้เคล็ดลับเพิ่มเติมในการเตรียมตัวขอสินเชื่อให้ผ่านฉลุย Krungsri The COACH แนะนำให้อ่านบทความเพิ่มเติม 5 วิธีเตรียมตัวขอสินเชื่อธนาคารให้ผ่านฉลุย เพื่อสร้างความมั่นใจและความพร้อมมากยิ่งขึ้นในการเดินหน้าสู่เป้าหมายทางการเงินของเรา
 
เกณฑ์ 5C ที่ต้องรู้ก่อนขอกู้ มีอะไรบ้าง

เลือกสินเชื่อให้เหมาะกับความต้องการใช้เงิน เพิ่มโอกาสกู้ผ่านได้มากขึ้น

หลังจากที่ได้ทำความรู้จักกับหลัก 5C กันไปแล้ว Krungsri The COACH ขอแนะนำขั้นตอนสำคัญต่อไปคือการเลือกสินเชื่อที่ตอบโจทย์ความต้องการและตรงวัตถุประสงค์ เพื่อให้สอดคล้องกับเงื่อนไขการปล่อยกู้ของธนาคารแต่ละแห่ง และเพิ่มโอกาสในการอนุมัติสินเชื่อให้สูงขึ้น โดยวัตถุประสงค์หลักที่ผู้กู้มักจะขอสินเชื่อจากธนาคาร สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ ตามวัตถุประสงค์ ได้แก่
 

ต้องการเงินเสริมสภาพคล่องธุรกิจ

หากธุรกิจกำลังต้องการเงินทุนหมุนเวียนเพื่อขยายกิจการ หรือเสริมสภาพคล่องในช่วงเวลาที่ยากลำบาก สินเชื่อ SME Quick Loan อาจเป็นคำตอบที่ใช่ ด้วยวงเงินกู้สูงสุดถึง 15 ล้านบาท และระยะเวลาผ่อนชำระที่ยืดหยุ่นยาวนานสูงสุดถึง 12 ปี จะช่วยให้ธุรกิจเดินหน้าต่อไปได้อย่างมั่นคง
 

ต้องการเงินหมุนเวียนเพื่อใช้ส่วนตัว

หากต้องการเงินทุนเพื่อใช้จ่ายส่วนตัวในยามฉุกเฉิน หรือเพื่อเติมเต็มความต้องการต่าง ๆ สินเชื่อ Krungsri iFIN สินเชื่อส่วนบุคคลแบบหมุนเวียน จบทุกความต้องการทางการเงิน ก็เป็นทางเลือกที่น่าสนใจ ด้วยวงเงินสูงสุด 2 ล้านบาท และระยะเวลาผ่อนชำระที่ยืดหยุ่นตั้งแต่ 12 - 60 เดือน สามารถเลือกผ่อนชำระได้ตามความสะดวก และยังสามารถสมัครสินเชื่อได้ง่าย ๆ ผ่าน KMA krungsri app

*กู้เท่าที่จำเป็นและชำระคืนไหว | อัตราดอกเบี้ยลดต้นลดดอกปกติ 21% - 25% ต่อปี*
**ศึกษารายละเอียด เงื่อนไข และอัตราดอกเบี้ยพิเศษเพิ่มเติมที่ www.krungsri.com
 

ต้องการกู้เงินเพื่อซื้อบ้าน/คอนโด

หากความฝันคือการมีบ้านหรือคอนโดเป็นของตัวเอง สินเชื่อบ้านกรุงศรีเพื่อซื้อที่อยู่อาศัย พร้อมสนับสนุนให้ความฝันนั้นเป็นจริง ด้วยดอกเบี้ยคงที่ในปีแรกที่ 2.50% และสิทธิพิเศษฟรีค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ทั้งค่าสำรวจ ค่าประเมินหลักประกัน และค่าจดจำนอง

*กู้เท่าที่จำเป็นและชำระคืนไหว | อัตราดอกเบี้ยลดต้นลดดอกตลอดอายุสัญญาอยู่ระหว่าง 4.39% - 5.93% ต่อปี*
** สมมติฐานการคำนวณมาจากอัตราดอกเบี้ย MRR ณ วันที่ 6 ต.ค. 66 = 7.40% ต่อปี ทั้งนี้อัตราดอกเบี้ยลอยตัวสามารถเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นหรือลดลงได้

หมายเหตุ : อัตราดอกเบี้ยนี้เป็นข้อมูล ณ วันที่โพสต์บทความ สามารถตรวจสอบอัตราดอกเบี้ยปัจจุบัน และรายละเอียดการคำนวณเพิ่มเติมได้ที่ www.krungsri.com
 
เลือกสินเชื่อให้เหมาะกับความต้องการใช้เงิน

การขอสินเชื่อจากธนาคารนั้นไม่ใช่เรื่องยากเกินเอื้อมอย่างที่หลายคนเข้าใจ แต่สาเหตุที่ทำให้หลายคนรู้สึกว่ามันยาก อาจเป็นเพราะความไม่พร้อมในด้านต่าง ๆ ตามหลัก 5C ที่ธนาคารใช้พิจารณา หากคุณสมบัติทางการเงินของผู้กู้ไม่ตรงตามเกณฑ์ที่ธนาคารกำหนด หรือมีข้อมูลที่ไม่ชัดเจน ก็อาจทำให้ธนาคารเกิดความลังเลและต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ซึ่งแน่นอนว่าจะส่งผลให้กระบวนการอนุมัติสินเชื่อล่าช้าออกไป หรือในกรณีที่แย่ที่สุด อาจนำไปสู่การปฏิเสธการขอสินเชื่อได้

ดังนั้น ก่อนที่จะยื่นขอสินเชื่อ การเตรียมตัวให้พร้อมและทำความเข้าใจหลักเกณฑ์ของธนาคาร จึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้การขอสินเชื่อราบรื่นและได้รับการอนุมัติโดยเร็ว

และหากรู้สึกว่าการเตรียมตัวขอสินเชื่อเป็นเรื่องที่ซับซ้อนหรือต้องการคำแนะนำเพิ่มเติม Krungsri The COACH พร้อมให้คำปรึกษาและช่วยเหลือในทุกขั้นตอน เพื่อสร้างความมั่นใจและพร้อมที่จะเดินหน้าสู่เป้าหมายทางการเงินของคุณได้อย่างมั่นคง เพราะ Krungsri The COACH เชื่อว่าทุกความฝันทางการเงินของทุกคนสามารถเป็นจริงได้ เพียงแค่มีการวางแผนและเตรียมตัวที่ดี


อ้างอิง
ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง
บทความที่เกี่ยวข้อง
พิมพ์สิ่งที่ต้องการค้นหา