หลาย ๆ บ้านอาจจะกำลังมองหารถคู่ใจให้กับตัวเองอยู่ใช่ไหม แต่ทว่าเมื่อค่าใช้จ่ายนั้นเพิ่มมากขึ้น หมุนเงินไม่ค่อยจะทัน และเลือกที่จะซื้อรถยนต์ด้วยการผ่อนกับบริษัทที่ปล่อยสินเชื่อ คงมีคำถามในใจว่า เอ๊ะ! จะเลือกสินเชื่อรถยนต์ที่ไหนดี? เพราะการเลือกสินเชื่อก็จะถือเป็นเรื่องสำคัญพอ ๆ กับการเลือกรุ่นรถยนต์/มอเตอร์ไซต์ หรือ
ประกันภัยรถยนต์เลยก็ว่าได้
แน่นอนว่าในปัจจุบันการจัดหา
สินเชื่อรถไม่ได้มีขั้นตอนยุ่งยากเท่ากับเมื่อก่อน เพราะปัจจุบันมีบริษัทสินเชื่อมากมายที่พร้อมจะหยิบยื่นข้อเสนอดี ๆ ให้ แต่รู้หรือไม่ว่าเราสามารถเลือกสินเชื่อรถเองโดยที่เราไม่จำเป็นต้องเลือกจากโชว์รูมรถที่เสนอมาให้… โดยอันดับแรกเรามาทำความรู้จักกับผู้ให้บริการสินเชื่อกันก่อนเลย!
รู้ก่อนขอสินเชื่อกับประเภทของผู้ให้บริการสินเชื่อ!
- สถาบันการเงิน (Bank)
ธนาคารจะมีความมั่นคงในการดำเนินธุรกิจ มีกฎระเบียบในการดำเนินธุรกิจ หรือที่คุ้นหูกันในชื่อ (Market Conduct) คือการบริการทางการเงินอย่างมีคุณภาพ และเป็นธรรมกับลูกค้า โดยจะอยู่ภายใต้คอนเซ็ปต์ ไม่บังคับ ไม่หลอกลวง ไม่รบกวน เปิดเผยโปร่งใส เงื่อนไขเป็นธรรม ดูแลดีเหมือนครอบครัว และสุดท้ายแก้ปัญหาได้เป็นอย่างดี
- ผู้ให้บริการที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน (Non-bank)
คือผู้ให้บริการสินเชื่อที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน เพราะฉะนั้นจะไม่ได้มีการจดทะเบียนกับธนาคารแห่งประเทศไทย โดยจะมีข้อควรระวัง 3 อย่างคือ
- ตรวจสอบรายละเอียด
- ค่าธรรมเนียม
- ตรวจสอบสัญญา
หลาย ๆ คนอาจจะเคยมีประสบการณ์กันมาบ้างแล้วในการขอสินเชื่อ ซึ่งผู้ขอจะต้องเตรียมเอกสารมากมายหลายอย่างมาก ๆ เมื่อเทียบกับไฟแนนซ์อื่น แต่ในความเป็นจริงแล้วสถาบันการเงินได้นำเอกสารของผู้ขอมาพิจารณาว่าผู้ขอแต่ละรายมีกำลังความสามารถในการผ่อนชำระรึเปล่า รวมไปถึงภาระหนี้ในแต่ละเดือนของผู้ขอมีความตึงเครียดเกินไป อาจจะเป็นภาระอันหนักอึ้งในอนาคตได้ เพราะฉะนั้นการที่สถาบันการเงินได้ขอเอกสารมากมายไปนั้น หลายคนอาจจะมองว่ายุ่งยากแต่เหรียญมีสองด้านเสมอ มันจะเป็นผลดีกับตัวผู้ขอเองในอนาคต
ในทางกลับกันการขอเอกสารมากมายนี้จะนำไปสู่การเข้าถึงประวัติการชำระหนี้ของผู้ขอหรือที่เรารู้จักกันในชื่อ “เครดิตบูโร”
ถ้าใครอยากฟังคำแนะนำจากโค้ชผู้เชี่ยวชาญแบบจัดเต็ม ตอบทุกประเด็นเคลียร์ชัดอีกทั้งยังมี Q&A Session คำถามจากทางบ้านอีกด้วย เข้ามาดูได้ที่นี่เลย
Krungsri The COACH Ep.37 ซื้อรถทั้งที ไฟแนนซ์นี้...พี่ขอเลือกเองนะ นะ นะ
สินเชื่อรถยนต์มีกี่แบบและต่างกันยังไง? รู้ก่อนเลือกดีที่สุด!
1. สินเชื่อรถยนต์แบบเช่าซื้อ: สินเชื่อสำหรับคนอยากซื้อรถ
เป็นสินเชื่อสำหรับคนที่ไม่อยากจ่ายเงินก้อนใหญ่ และไม่มีเงินสดสำหรับซื้อรถยนต์ ซึ่งจะเป็นซื้อขายในลักษณะจ่ายเงินดาวน์ก้อนหนึ่ง จากนั้นจึงผ่อนชำระค่างวดรถเป็นงวดโดยไม่จ่ายเต็มครั้งเดียว โดยการกู้สินเชื่อรถประเภทนี้ส่วนใหญ่กรรมสิทธิ์จะเป็นของสถาบันการเงิน และจะตกเป็นของผู้ซื้อเมื่อผ่อนชำระค่างวดหมดแล้ว
ข้อดีการขอสินเชื่อแบบเช่าซื้อรถยนต์
- ถึงแม้จะไม่มีเงินก้อน แต่ก็สามารถซื้อรถได้ โดยไม่ต้องเสียเวลาในการเก็บเงิน
- สามารถซื้อรถมาเพื่ออำนวยความสะดวก หรือต่อยอดประกอบอาชีพได้
- สินเชื่อเช่าซื้อรถส่วนใหญ่แล้วจะมีการคิดดอกเบี้ยอัตราคงที่ ทำให้ผ่อนชำระเท่ากันทุกงวด จึงทำให้วางแผนรายจ่ายต่อเดือนได้ง่ายขึ้น
- มีระยะเวลาในการผ่อนชำระคืนให้กับสถาบันทางการเงินค่อนข้างนาน
- สามารถปิดยอดหนี้ได้หากจำนวนงวดผ่อนชำระเหลือไม่มาก และอาจได้รับส่วนลดด้วย
ข้อเสียของการขอสินเชื่อแบบเช่าซื้อรถยนต์
- ถ้าหากไม่มีกำลังผ่อนชำระได้ตามจำนวนและระยะเวลาที่ระบุเอาไว้ในสัญญา ทางสถาบันการเงินมีสิทธิ์ในการยึดรถที่ทำการกู้สินเชื่อเช่าซื้อรถเอาไว้ทันที โดยที่ไม่จำเป็นที่จะต้องคืนค่างวดที่ชำระไปแล้ว
ดังนั้น เมื่อต้องการกู้
สินเชื่อเช่าซื้อรถ แม้จะสามารถทำได้ แต่ก็ควรมั่นใจด้วยว่าตัวเองนั้น มีศักยภาพและสภาพคล่องที่จะผ่อนชำระ ไม่เช่นนั้นอาจทำให้เกิดปัญหาโดยไม่ทันรู้ตัวได้เช่นกัน
2. สินเชื่อรถยนต์จากไฟแนนซ์: สินเชื่อสำหรับเจ้าของรถที่ต้องการเงินสดเวลาฉุกเฉิน
สินเชื่อรถประเภทนี้มีลักษณะการนำรถไปใช้แทนทรัพย์สินค้ำประกันเพื่อการ
กู้ยืมเงิน โดยที่เจ้าของรถนำรถที่ปลอดภาระหนี้ไปจำนำกับบริษัทไฟแนนซ์ หรือลีสซิ่ง ที่ให้บริการสินเชื่อรถประเภทนี้ จากนั้นก็จะได้เงินสดออกมาจำนวนหนึ่งเพื่อนำไปใช้จ่ายเวลาจำเป็น โดยที่กรรมสิทธิ์ยังเป็นของเจ้าของรถ ซึ่งปัจจุบันเงื่อนไขของสินเชื่อประเภทนี้ไม่เข้มงวดเท่าในอดีต ในกรณีที่รถยังผ่อนไม่หมดก็สามารถนำไปขอสินเชื่อได้เช่นกัน
4 เรื่องควรรู้ก่อนเลือกสินเชื่อรถยนต์มีอะไรบ้าง?
1. ศึกษาข้อมูลรุ่นรถที่ต้องการซื้อ
ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ของรถยนต์ สามารถหาได้จากเว็บไซต์ แค็ตตาล็อก โบรชัวร์รถ นิตยสารรถ หรือเข้าไปดูตามโชว์รูมรถ ให้ผู้ที่จะซื้อดูรถที่เหมาะสมกับการใช้งาน และเข้ากับไลฟ์สไตล์ และตรงตามที่ต้องการไหม ที่ลืมไม่ได้เลยคือ ดูราคารถที่จะซื้อว่าสมเหตุสมผลหรือไม่ และมีกำลังที่จะชำระหรือไม่ในอนาคต หรือง่ายที่สุดเข้าไปที่
www.Krungsrimarket.com มีข้อมูลรถมากมายให้เลือกดู
2. วางแผนการผ่อน
ต้องทำความเข้าใจความสัมพันธ์กันระหว่างเรื่องเงินดาวน์ และดอกเบี้ย (ในรถบางกลุ่ม) เช่น ถ้ามีเงินดาวน์สูง ดอกเบี้ยจะลดลง จะมีค่างวดที่ถูกลง ซึ่งจะนำไปสู่การผ่อนชำระต่อเดือนที่ไม่เป็นภาระจนเกินไป รวมไปถึงระยะเวลาในการผ่อนชำระ ถ้าหากระยะผ่อนยาวเกินไปดอกเบี้ยอาจจะสูง แต่ถ้าระยะสั้นเกินไปอาจจะเซฟดอกเบี้ย แต่ต้องคำนึงถึงว่าต่อเดือนผ่อนไหวรึป่าว
3. ศึกษาเอกสารชี้แจงของไฟแนนซ์นั้น ๆ ว่าเป็นธรรมหรือไม่ (Market Conduct)
Market Conduct มีกรอบแนวคิดที่ชัดเจนอย่างที่ได้กล่าวไปข้างต้น คือ เซฟ ไม่บังคับ ไม่หลอกลวง ไม่รบกวน เปิดเผยโปร่งใส เงื่อนไขเป็นธรรม ดูแลดี และแก้ปัญหาดี แต่ถ้าหากจะเลือกเองในเอกสารจะต้องมีการอธิบาย ค่างวด การผ่อนชำระ ดอกเบี้ยคิดอย่างไร ที่ชัดเจน โดยรวมคือจะต้องพิจารณาว่าเป็นธรรมต่อตัวผู้ซื้อมากที่สุด
4. ศึกษานโยบายการให้ความช่วยเหลือลูกค้า
ปัจจุบันโลกหมุนไปเร็วและมีความไม่แน่นอน ดังนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องหาข้อมูลเกี่ยวกับการให้บริการความช่วยเหลือลูกค้า ไม่ว่าจะเป็นจากสถาบันการเงิน หรือไฟแนนซ์ท้องถิ่นว่า แต่ละที่สามารถเข้ามาช่วยเหลือทางด้านการเงินของคุณได้อย่างไรบ้าง
ตัวอย่าง ในช่วงน้ำท่วมที่ผ่านมานี้ ทางธนาคารต่าง ๆ ก็มีมาตรการในการช่วยเหลือผู้ประสบภัยที่ได้รับความเดือดร้อน เช่น ลูกค้า กรุงศรี ออโต้ ทั้งสินเชื่อเช่าซื้อและสินเชื่อเพื่อคนมีรถ
- ให้ความช่วยเหลือ พักชำระหนี้ ทั้งเงินต้นและดอกเบี้ย สูงสุดนาน 3 เดือน
- ช่วยลดค่างวด และขยายเวลาการผ่อนชำระ* ให้รอดพ้นวิกฤตและค่อยกลับมาชำระหนี้คงค้าง
สรุปโดยรวมควรเลือกผู้ให้บริการสินเชื่อที่มีความรับผิดชอบ และเป็นธรรม หรือถ้าหากมีไฟแนนซ์ในใจอยู่แล้วก็สามารถเดินเข้าไปบอกโชว์รูมรถได้ว่าต้องการไฟแนนซ์นี้นะ
หรือถ้าใครที่ยังไม่รู้ว่าจะต้องไปหาข้อมูลจากที่ไหนลองเข้าไปที่
www.Krungsrimarket.com ได้เลย โดยใน
www.Krungsrimarket.com จะตอบทุกประเด็นที่ว่า รถรุ่นไหนที่เหมาะกับคุณ รวมไปถึงเอกสารอะไรบ้างที่จำเป็นจะต้องใช้ในการขอสินเชื่อ ยิ่งไปกว่านั้นยังมี Loan Calculator
เครื่องช่วยคำนวณค่างวด เพราะฉะนั้นอุ่นใจได้เลย ถ้าพร้อมแล้วก็ไปเลือกสินเชื่อกันเลย!