เพื่อคุ้มครองคุณและครอบครัว
ในปัจจุบัน ความเสี่ยงของ
การเกิดโรคในเด็กมีอัตราเพิ่มขึ้นสูงมาก เพราะเด็ก ๆ อาจมีภูมิคุ้มกันที่ยังไม่สมบูรณ์ ทำให้ป่วยบ่อย หลายคนป่วยเฉลี่ย 2 - 4 ครั้งต่อปี จากข้อมูลของกรมควบคุมโรค กองโรคติดต่อทั่วไป พบว่า โรคติดต่อในเด็กอายุไม่เกิน 5 ปี ที่พบมากที่สุด ได้แก่ โรคมือเท้าปาก โรคติดเชื้อไวรัส RSV โรคปอดอักเสบ และโรคไข้หวัดใหญ่ ซึ่งในปี 2566 พบว่า มีเด็กกว่า 220,000 คน เป็นโรคในกลุ่มดังกล่าว (ข้อมูลจากรายงานการเฝ้าระวังโรคทางระบาดวิทยา (รง.506) กองระบาดวิทยา)
จากข้อมูลสถิติเหล่านี้อาจเริ่มทำให้คุณแม่และคุณพ่อหลายคนเริ่มกังวลใจในการดูแลลูก ๆ ให้ห่างไกลจากโรคเหล่านี้ ดังนั้นการวางแผนซื้อ
ประกันสุขภาพเด็กให้ลูก จึงเป็นเรื่องที่ต้องใส่ใจอย่างมากเพื่อแบ่งเบาค่ารักษาที่สูงลิ่ว เนื่องจากอัตราค่ารักษาพยาบาลสำหรับเด็ก ๆ เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี
วันนี้ Krungsri The COACH จะพาคุณแม่และคุณพ่อมารู้จักกับประกันสุขภาพเด็ก พร้อมเจาะลึกรายละเอียดข้อควรรู้ก่อนตัดสินใจเลือกซื้อประกันสุขภาพเด็กให้เหมาะกับลูกน้อยของเรา เพื่อให้เกิดความคุ้มค่ามากที่สุด
ประกันสุขภาพเด็ก คืออะไร?
ประกันสุขภาพเด็ก คือ ประกันชีวิตรูปแบบหนึ่งที่ออกแบบมาเพื่อให้ความคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลทั้งจากอุบัติเหตุและการเจ็บป่วย โดยประกันสุขภาพเด็กจะมีแผนกรมธรรม์ลักษณะคล้ายของผู้ใหญ่ แต่จะมีการกำหนดช่วงอายุและเงื่อนไขแตกต่างกันไปตามแผนของประกัน
คุณแม่ควรเริ่มทำประกันสุขภาพให้ลูกเมื่อไร?
Krungsri The COACH อยากจะขอแนะนำให้คุณแม่เริ่มทำประกันสุขภาพให้ลูกน้อยตั้งแต่เนิ่น ๆ โดยสามารถทำประกันสุขภาพให้ลูกได้เร็วที่สุดคือ อายุครบ 1 เดือนหลังคลอด ตั้งแต่ลูกของเรายังไม่เคยเป็นโรคอะไร และไม่มีประวัติการรักษาโรคอะไรเลยจะดีที่สุด เพราะหากลูกเราเกิดป่วยเป็นโรคไหนขึ้นมาแล้ว อาจมีโอกาสสูงมากที่บริษัทประกันจะปฏิเสธความคุ้มครองโรคที่เคยเป็นมาก่อนทำประกัน หรือถ้าตัดสินใจทำประกันช้าเกินไปจนลูกเจ็บป่วยมาก่อน เราก็อาจต้องเผชิญกับค่ารักษาโรคในเด็กที่มีค่ารักษาแพงไม่น้อย โดยเฉพาะโรค RSV มือเท้าปาก หรือไข้เลือดออก ที่เด็กวัย 0 - 10 ปี มีอัตราการป่วยสูง มีอัตราค่ารักษาโดยเฉลี่ยหลัก 60,000 - 120,000 บาทต่อครั้งได้ (ขึ้นอยู่กับแต่ละโรงพยาบาลและระดับของการเจ็บป่วย) และมีโอกาสกลับมาเป็นซ้ำได้บ่อยครั้งตามสภาพความแข็งแรงของเด็กแต่ละคนที่แตกต่างกัน
นอกจากนี้เมื่อเด็ก ๆ เริ่มโตขึ้นจะออกนอกบ้านและทำกิจกรรมนอกบ้านมากขึ้น ทำให้มีความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุต่าง ๆ ได้ง่าย ดังนั้นควรพิจารณาทำประกันอุบัติเหตุเพิ่มเติมเพื่อคุ้มครองค่ารักษาที่อาจจะเกิดจากอุบัติเหตุโดยที่ไม่ต้องนอนโรงพยาบาล ควบคู่ไปกับการทำประกันสุขภาพด้วยเช่นกัน
3 รูปแบบประกันสุขภาพสำหรับเด็กในปี 2567
ปัจจุบัน ประสุขภาพสำหรับเด็กมีอยู่ 3 รูปแบบด้วยกัน ได้แก่
1. ประกันสุขภาพเด็กแบบแยกค่าใช้จ่าย
เป็นแบบที่กำหนดวงเงินค่ารักษาในแต่ละรายการเอาไว้
ข้อดี
- อัตราค่าเบี้ยไม่สูงมากนัก
- ไม่มีกำหนดวงเงินค่ารักษาสูงสุดต่อปี
ข้อจำกัด
- มีวงเงินกำหนดค่ารักษาต่อครั้ง มีโอกาสไม่เพียงพอกับค่ารักษาในแต่ละครั้ง
- ไม่ครอบคลุมค่ารักษาบางรายการที่ไม่ได้ระบุไว้
2. ประกันสุขภาพเด็กแบบเหมาจ่าย
เป็นแบบที่กำหนดวงเงินค่ารักษาสูงสุดต่อปีเอาไว้ และจ่ายค่ารักษาให้ตามจริงภายในวงเงินค่ารักษาสูงสุดต่อปี โดยอาจมีการกำหนดวงเงินค่ารักษาบางรายการเอาไว้อยู่ เช่น ค่าห้อง ค่ายากลับบ้าน หรือค่าแพทย์ตรวจเยี่ยมไข้ เป็นต้น
ข้อดี
- มีวงเงินเหมาจ่ายค่ารักษาก้อนใหญ่ มีโอกาสเพียงพอกับค่ารักษาที่สูงขึ้นได้
- ไม่ต้องพะวงกับค่ารักษายิบย่อยแต่ละเรื่อง เพราะคุ้มครองค่ารักษาให้ตามค่าใช้จ่ายจริง
ข้อจำกัด
- อัตราค่าเบี้ยค่อนข้างสูง โดยเฉพาะกับเด็กเล็ก
- ส่วนใหญ่จะรับประกันตั้งแต่เด็กอายุ 6 ปีขึ้นไป อายุต่ำกว่า 6 ปี มักจะมีแผนให้เลือกน้อย
3. ประกันสุขภาพเด็กแบบเฉพาะโรค
เป็นแบบที่คุ้มครองค่ารักษาเฉพาะกรณีจากโรคที่กำหนดไว้เท่านั้น หากเป็นกรณีอื่นจะไม่คุ้มครอง
ข้อดี
- อัตราค่าเบี้ยต่ำที่สุด
- ไม่มีกำหนดวงเงินค่ารักษาสูงสุดต่อปี
ข้อจำกัด
- คุ้มครองเฉพาะโรคที่กำหนดเท่านั้น ไม่คุ้มครองโรคอื่น ๆ
- วงเงินคุ้มครองค่อนข้างต่ำ
4 ปัจจัยที่คุณแม่ต้องพิจารณาก่อนซื้อประกันสุขภาพให้ลูก
การจะซื้อประกันสุขภาพเด็กสักฉบับ อาจจะมีปัจจัยที่สำคัญให้ต้องประเมินด้วยกัน 4 เรื่อง ดังนี้
1. ความเสี่ยงในการเจ็บป่วยของลูก
ต้องประเมินก่อนว่าลูกของเรามีความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยบ่อยแค่ไหน ไม่ว่าจะจากอุบัติเหตุหรือโรคภัย เพราะอาจจะส่งผลต่อการเลือกวงเงินค่ารักษาได้
เช่น หากเป็นเด็กที่เจ็บป่วยง่าย หรืออยู่ในภาวะสุ่มเสี่ยงจะติดเชื้อได้ง่าย ควรเลือกแผนประกันที่วงเงินคุ้มครองเหมาจ่ายต่อปีสูงขึ้น เปลี่ยนเป็นแผนที่คุ้มครองแบบแยกค่าใช้จ่ายที่มีวงเงินคุ้มครองรายการค่ารักษาต่อครั้งที่สูง มากกว่าจะเลือกแผนคุ้มครองแบบเหมาจ่ายที่วงเงินไม่สูงนัก เป็นต้น
2. อัตราค่ารักษาพยาบาล
อัตราค่ารักษาพยาบาลของแต่ละโรงพยาบาลมีความถูกแพงต่างกัน ส่งผลต่อการเลือกวงเงินความคุ้มครองของแผนประกันสุขภาพ
ดังนั้น จึงควรสำรวจเบื้องต้นก่อนว่า หาก
เกิดเหตุเจ็บป่วยฉุกเฉินกับลูกน้อยแล้ว จะพาไปเข้าโรงพยาบาลไหนดี ส่วนใหญ่คุณแม่คุณพ่อมักจะไปโรงพยาบาลที่เดินทางสะดวก ใกล้บ้าน ที่ทำงาน หรือสถานศึกษาบุตร หรือเป็นโรงพยาบาลที่อัตราค่ารักษาสอดคล้องกับฐานะรายได้ของครอบครัว
3. รายละเอียดความคุ้มครองของประกันสุขภาพเด็ก
ควรพิจารณารายละเอียดความคุ้มครองในแต่ละรายการ หรือเงื่อนไขความคุ้มครองอื่น ๆ ที่อาจจะแตกต่างกันในแต่ละแผน เช่น
- แผนที่เน้นคุ้มครองเฉพาะค่ารักษาผู้ป่วยใน (IPD) - เหมาะกับบุตรที่มีโอกาสเจ็บป่วยพอสมควร และป่วยมาที่มักจะเป็นหนักจนต้องเข้าโรงพยาบาลเอกชนฉุกเฉิน
- แผนที่มีพ่วงความคุ้มครองค่ารักษาผู้ป่วยนอก (OPD) - เหมาะกับบุตรที่อาจจะไม่ได้เจ็บป่วยหนัก แต่มักจะเจ็บป่วยเล็ก ๆ น้อย ๆ แต่เป็นบ่อย
- แผนที่มีให้เลือกความรับผิดส่วนแรก (Deduction) - เหมาะกับครอบครัวที่ผู้ปกครองต้องการลดค่าเบี้ย และมีสวัสดิการอื่นที่สามารถร่วมเบิกค่ารักษาให้บุตรได้ส่วนหนึ่ง
- แผนที่มีให้เลือกมีส่วนร่วมจ่าย (Co-Payment) - เหมาะกับครอบครัวที่ผู้ปกครองต้องการลดค่าเบี้ยเช่นกัน และมีสวัสดิการที่มีความคุ้มครองสูงมาช่วยแบ่งเบาค่ารักษาที่ต้องร่วมจ่าย เป็นต้น
ซึ่งคุณแม่สามารถพิจารณาเลือกได้ตามปัจจัยต่าง ๆ ที่มี เช่น ความเสี่ยงและโอกาสในการเจ็บป่วยของลูก รวมทั้งสวัสดิการการรักษาพยาบาลของลูกที่มีอยู่แล้ว เป็นต้น
4. อัตราค่าเบี้ยประกันที่เหมาะสม
ควรจะอยู่ในระดับที่คุณแม่จ่ายให้ลูกไหวในระยะยาว อาจจะอยู่ในระดับที่ไม่เกิน 5 - 10% ของรายได้ทั้งปี (ขึ้นอยู่กับภาระการเงินของแต่ละครอบครัว) ซึ่งถ้าหากแผนที่เล็งไว้มีค่าเบี้ยที่ค่อนข้างสูง ก็อาจจะต้องลดแผนความคุ้มครองลงมา หรือเลือกแบบที่มีส่วนร่วมจ่าย (หากมีให้เลือก) ร่วมกับการใช้สวัสดิการอื่น ๆ ที่มีอยู่ ก็อาจช่วยให้การวางแผนทำประกันมีความคุ้มค่าเพิ่มขึ้นได้เช่นกัน
เทคนิคเลือกประกันสุขภาพเด็กฉบับปี 2567 ตามช่วงอายุให้คุ้มค่าที่สุด
หลังจากที่รู้จักประกันสุขภาพในรูปแบบต่าง ๆ และปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกแผนประกันที่เหมาะสมแล้ว คุณแม่อาจจะนำข้อมูลดังกล่าว มาจัดเรียงในรูปแบบของตาราง เพื่อช่วยในการเปรียบเทียบและคัดเลือกแผนประกันสุขภาพเด็กที่เหมาะกับลูกได้ง่ายขึ้น ดังนี้
*คำนวณจากค่าเบี้ยรายเดือนของสัญญาเพิ่มเติม ประกันสุขภาพเฮลท์ ฟิต ดีดี สำหรับชั้นอาชีพ 1 และ 2 เท่านั้น ซึ่งยังไม่รวมค่าเบี้ยของสัญญาหลักและสัญญาเพิ่มเติมอื่น ๆ (ถ้ามี) ทั้งนี้ค่าเบี้ยจะปรับเปลี่ยนตามเพศ อายุ ขั้นอาชีพ จำนวนเงินเอาประกันภัยของสัญญาหลัก แผนความคุ้มครอง และงวดการจ่ายชำระค่าเบี้ย
สำหรับคุณแม่ที่กำลังมองหาประกันสุขภาพเด็กให้กับลูกของตัวเอง Krungsri The COACH มีแพ็กเกจแผนประกันสุขภาพที่น่าสนใจ สำหรับบุตรที่อายุตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไปมาแนะนำ นั่นก็คือ แผน
“กรุงศรีประกันสุขภาพ ตามใจ พลัส” ที่มีการให้คุณแม่เลือกปรับแผนได้ตามใจ ทั้งวงเงินความคุ้มครอง ค่าเบี้ยที่ต้องชำระ และงวดการชำระค่าเบี้ยนอกจากนี้ยังสามารถเลือกซื้อความคุ้มครองเพิ่มเติมได้สำหรับบุตรที่มีอายุ 16 ปีขึ้นไป ทั้งค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยนอก (OPD) ความคุ้มครองโรคร้ายแรง และค่าชดเชยรายวัน ทำให้คุณแม่หรือผู้ปกครอง สามารถเลือกวางแผนทำประกันสุขภาพให้ลูกได้อย่างเหมาะสม ตามช่วงวัย วงเงินคุ้มครองที่เหมาะสม ภายใต้ค่าเบี้ยที่วางแผนบริหารจัดการได้
การเปรียบเทียบจุดเด่นของประกันสุขภาพตามใจ พลัส กับประกันสุขภาพเด็กทั่วไป
หมายเหตุ รายละเอียดข้างต้นเป็นเพียงการสรุปโดยสังเขปเท่านั้น โดยเงื่อนไข ความคุ้มครอง และผลประโยชน์เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในกรมธรรม์
สรุปจุดเด่นของ
กรุงศรีประกันสุขภาพตามใจ พลัส
- เลือกซื้อง่าย จากแพ็กเกจแผนความคุ้มครองสำเร็จรูป
- เลือกความคุ้มครองเสริมได้ ค่าเบี้ยโดยเฉลี่ยต่ำกว่าประกันสุขภาพทั่วไปอื่น ๆ เริ่มต้นหลักพัน
- มีรายการความคุ้มครองที่จ่ายค่ารักษาตามจริง แบบไม่ล็อควงเงิน เกือบทุกรายการ
- มีให้เลือกความรับผิดส่วนแรก (Deduction)
การวางแผนประกันสุขภาพ นับเป็นเรื่องที่มีความสำคัญ และความจำเป็นมากขึ้นเรื่อย ๆ ไม่ว่าจะทั้งกับตัวคุณแม่เอง หรือแม้กระทั่งกับลูกและคนในครอบครัว จากการที่ค่ารักษาพยาบาลปรับตัวสูงขึ้น รวมถึงความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยจากโรคต่าง ๆ ที่เพิ่มมากขึ้นในปัจจุบัน ดังนั้น คงต้องบอกว่าเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้จึงต้องศึกษาและทำความเข้าใจหลักการในการวางแผนทำประกันสุขภาพอย่างถูกต้อง และรู้จักหาข้อมูลแผนประกันแบบต่าง ๆ ให้กับครอบครัว เพื่อที่จะสามารถเลือกวางแผนทำประกันได้อย่างถูกต้องเหมาะสม ที่จะช่วยให้ครอบครัวมีความมั่นคงปลอดภัยในชีวิตมากขึ้นด้วยเช่นกัน
อ้างอิง