เมื่อพูดถึงการเล่น
หุ้น หรือลงทุนหุ้น สำหรับหลาย ๆ คน อาจจะนึกถึงการใช้เงินจำนวนมากในการซื้อ และนึกถึงแต่ความเสี่ยง .. มันจะดีกว่าไหมถ้าเราสามารถศึกษาข้อมูลเรื่องหุ้นก่อนลงทุน ครบจบในบทความเดียว เราไปเริ่มกันเลย…
1. เลือกรูปแบบการลงทุนแบบไหนที่เหมาะสมกับเราดี?
โดยการ
ลงทุนหุ้น จะมีอยู่ 2 แบบหลัก ๆ คือ การ
ออมหุ้น DCA และการลงทุน
Market Timing ส่วนเรื่องที่ว่าแบบไหนจะเหมาะกับเรา ต้องลองให้ตัวเราเองพิจารณาดู
แบบที่ 1 การออมหุ้น DCA (Dollar Cost Averaging) คือ การทยอย
ลงทุนแบบถัวเฉลี่ยต้นทุน ด้วยเงินเท่า ๆ กันทุกงวด โดยไม่สนใจราคาหุ้น ณ ตอนนั้นว่าสูงหรือต่ำ โดยปกติจะมีการกำหนดเป็นรายเดือนทุกเดือน รายไตรมาส หรือแม้แต่รายปี จึงมีโอกาสได้รับผลตอบแทนที่ดีในระยะยาว และออมหุ้น DCA สามารถช่วยลดความเสี่ยงที่จะจับจังหวะตลาดผิดพลาดได้ จากการที่เราถัวเฉลี่ยต้นทุนในการลงทุนช่วงตลาดขาลง อีกทั้งออมหุ้น DCA จะช่วยให้เราได้จำนวนหุ้นมากขึ้น ด้วยเงินลงทุนเท่าเดิมอีกด้วย และถึงแม้ว่าออมหุ้น DCA กำไรไม่มากนัก แต่ก็จะไม่ทำให้เราขาดทุนจนกู่ไม่กลับได้..
ออมหุ้น DCA เหมาะกับเหล่านักลงทุนที่ไม่มีเวลาในการเฝ้าจอ หรือติดตามข้อมูล นักลงทุนที่มีเงินเริ่มต้นลงทุนไม่มาก
นักลงทุนที่ต้องการสร้างวินัยการลงทุน ออมหุ้น DCA จริง ๆ แล้วอาจเป็นการลงทุนที่นักลงทุนส่วนใหญ่เลือกลงทุน เพราะไม่ต้องเฝ้าดูตลาดหุ้นมากนัก แต่อย่างไรก็ตามเราก็อาจจะต้องระวังให้ดีเพราะทุกการลงทุนมีความเสี่ยงเสมอ
แบบที่ 2. การลงทุนแบบ Market Timing หรือบางครั้งอาจเรียกว่า Lump sum คือเป็นการลงทุนแบบเงินก้อน โดยประเมิน และคาดการณ์ทิศทางตลาดหุ้น ใช้เครื่องมือวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน และปัจจัยทางเทคนิค รวมถึงวิเคราะห์เศรษฐกิจประกอบกัน เพื่อหาจังหวะซื้อ-ขาย แล้วตัดสินใจลงทุนให้สามารถเข้าซื้อหุ้นในราคาที่เหมาะสมได้
Market Timing อาจจะเหมาะกับ นักลงทุนที่สามารถวิเคราะห์เศรษฐกิจได้ นักลงทุนที่มีความรู้ด้านวิเคราะห์ทางเทคนิค นักลงทุนที่มีเงินก้อน และลงทุนหุ้น ในจังหวะที่เหมาะสม และการลงทุนแบบ Market Timing อาจจะต้องมีวินัยในการดูตลาดหุ้น และสามารถติดตามข่าวสารเศรษฐกิจธุรกิจควบคู่ไปด้วย
2. สำรวจตัวเองว่าเราเป็นนักลงทุนประเภทไหน?
โดยเราอาจจะต้องค้นหาตัวเองกันสักเล็กน้อยว่าเราเป็นนักลงทุนประเภทไหน โดยเรามาทำความรู้จักกับประเภทของนักลงทุนหุ้นกันเลยดีกว่า โดยนักลงทุนหุ้นหลัก ๆ แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่
- นักลงทุน สายพื้นฐาน (Value Investor) หรือ VI จะเน้นการดูพื้นฐานของหุ้นเป็นหลัก อาทิ งบการเงิน รายงานประจำปี ธุรกิจ
- นักลงทุนสายเทคนิค (Technical) จะเน้นการดูกราฟเป็นหลัก และการวิเคราะห์ทางเทคนิคที่มีรายละเอียดซับซ้อน
- นักลงทุน แบบผสมพื้นฐาน และเทคนิค (Hybrid) จะดูทั้งพื้นฐานธุรกิจ และกราฟ จะช่วยส่งเสริมให้การลงทุนหุ้นของเรามีประสิทธิภาพมากขึ้น
3. ทำความรู้จักกับหุ้นแต่ละประเภทดีแล้วหรือยัง?
เมื่อเรารู้แล้วว่าตัวเองเป็นนักลงทุนประเภทไหน ขั้นตอนต่อไปเราต้องทำความรู้จักกับหุ้นแต่ประเภท โดยเราจะยกตัวอย่างการแบ่งหุ้นแต่ประเภทหลัก ๆ ง่าย ๆ เป็น 6 ประเภท ได้แก่
- หุ้นโตช้า (Slow Growers) หุ้นบริษัทขนาดใหญ่ที่บางครั้งธุรกิจก็ค่อนข้างอิ่มตัวแล้ว แต่สามารถจ่ายปันผลได้ดี
- หุ้นแข็งแกร่ง (Stalwarts) หุ้นบริษัทขนาดใหญ่ที่มีชื่อเสียง ธุรกิจเติบโตเรื่อย ๆ ไม่โตเร็วจนน่าตกใจ และสามารถถือว่าเป็นหุ้นที่ปลอดภัยอยู่รอดได้ แม้จะเกิดวิกฤตอะไรก็ตาม
- หุ้นเติบโต (Fast Growers) หุ้นบริษัทที่มีขนาดเล็ก อยู่ในช่วงขยายธุรกิจ และกำลังเติบโตในธุรกิจ จึงทำให้มีโอกาสให้ผลตอบแทนสูงในระยะเวลาไม่นาน
- หุ้นวัฏจักร (Cyclical) หุ้นบริษัทที่ขายสินค้าโภคภัณฑ์ หรือสินค้าเกษตรต่าง ๆ ที่มีรายได้เป็นฤดูกาล กำไรขึ้นลงตามภาวะเศรษฐกิจ และราคาของสินค้านั้นๆ
- หุ้นฟื้นตัว (Turnaround) หุ้นบริษัทที่เคยขาดทุนมาก่อน แต่เริ่มมีสัญญาณการฟื้นตัวชัดเจนขึ้น จึงมีโอกาสทำกำไรได้มาก แต่ความเสี่ยงก็มากเช่นกัน
- หุ้นสินทรัพย์มาก (Asset Play) หุ้นบริษัทที่มีสินทรัพย์ เช่น ที่ดิน เงินสด หรืออื่น ๆ ที่ไม่สามารถรับรู้มูลค่าเต็ม ๆ ที่ซ่อนอยู่ในงบดุล
ซึ่งเมื่อเราแบ่งหุ้นออกเป็นแต่ละประเภทแบบนี้ อาจทำให้หลาย ๆ คนเห็นภาพชัดมากขึ้น พร้อมทั้งยังสามารถเห็นแนวโน้มการเติบโตของหุ้นที่เราสนใจได้ว่าอยู่ในประเภทไหน รวมไปถึงการที่เราสามารถวางกลยุทธ์การลงทุนหุ้นที่ถูกต้อง และเหมาะกับตัวเราจะนำไปสู่ผลตอบแทนระยะยาวตามที่ต้องการ หรือถ้าหากเราไม่รู้จะลงทุนหุ้น ตัวไหนดี หรือไม่มั่นใจกับการลงทุนหุ้น ในตัวที่เราสนใจ เราอาจจะลองใช้อีกหนึ่งตัวช่วยนั่นก็คือ SET 100
แล้ว SET 100 คืออะไร?
SET100 คือ หุ้นสามัญ 100 ตัว โดยคัดเลือกกลุ่มหลักทรัพย์ที่มีมูลค่าตามราคาตลาด (Market Capitalization) และสภาพคล่องในการซื้อขายสูงสุด 100 อันดับแรก หรือทำความเข้าใจง่าย ๆ คือหุ้นจากธุรกิจที่มั่นคง 100 อันดับที่ตลาดหุ้นประเทศไทยจัดลำดับไว้นั่นเอง
4. เลือก Port หุ้นให้เหมาะสมกับตัวเอง เลือกอย่างไรดี?
และข้อสุดท้ายที่ขาดไม่ได้เลย เลือกประเภทการเปิดบัญชี Port หุ้น ให้เหมาะสมกับตัวเอง โดยเราจะแบ่งการเปิด Port หุ้น หลัก ๆ 3 แบบ
แบบที่ 1 Cash Balance คือการนำเงินสดไปฝากไว้กับโบกเกอร์ที่เราเปิด โดยเราสามารถซื้อขายหุ้นตามจำนวนเงินที่เราฝากไว้ ซึ่งข้อดีคือถ้าเรายังไม่ได้ทำการซื้อขาย เราก็จะได้ดอกเบี้ยจากเงินที่ฝากไว้ใน Port และการเปิด Port แบบนี้ก็เหมาะกับเหล่านักลงทุนเริ่มต้น
แบบที่ 2 Cash Account หรือที่เรียกว่า บัญชีเงินสด คือการที่เรานำเงินลงทุนที่ต้องการจำนวน 20% ไปวางให้โบกเกอร์ก่อน เปรียบได้เสมือนการที่โบกเกอร์ซื้อหุ้นให้เราก่อนโดยเราจ่ายเงินแค่ค่ามัดจำ เมื่อซื้อสำเร็จหลังจากนั้นเราจ่ายส่วนต่างที่เหลือตามไป หรือยกตัวอย่างง่าย ๆ เช่น หากเราต้องการลงทุน 20,000 บาท เราต้องวางเงินไว้ให้โบกเกอร์ก่อน 20% หรือ 4,000 นั่นเอง และหลังจากนั้นภายใน 2 วัน เราจะต้องนำส่วนต่างที่เหลือทั้งหมดมาจ่ายให้กับโบกเกอร์
แบบที่ 3 Credit Balance Account หรือที่เรียกว่า บัญชีมาร์จิน เป็นการกู้ยืมเงินจากโบกเกอร์เพื่อนำจำนวนเงินไปซื้อหุ้น แต่ต้องมีหลักค้ำประกันตามที่โบกเกอร์กำหนด รวมถึงโบกเกอร์จะทำการคิดดอกเบี้ยเราเพิ่มอีกด้วย อีกทั้งมูลค่าการซื้อ ขาย เทรด จะลดหรือเพิ่มขึ้นอยู่กับมูลค่าของหลักค้ำประกัน หรือทำความเข้าใจง่าย ๆ คือยิ่งเรามีหลักค้ำประกันสูงเท่าไหร่ จำนวนเงินที่กู้ยืมจะยิ่งเพิ่มมากขึ้นเท่านั้น
เมื่อเรานำทั้งองค์ประกอบทั้ง 4 ข้อมาหาคำตอบให้ตัวเองได้แล้ว เราจะมองเห็นแผนการลงทุนหุ้นของเราชัดยิ่งขึ้น พร้อมทั้งสามารถเลือกลงทุนในแบบที่ตัวเองต้องการหรือสนใจได้อีกด้วย และท้ายที่สุดแล้วเราอยากฝากไว้ว่า เรื่องของการลงทุนเปรียบเสมือนการเรียนรู้ที่ไม่มีสิ้นสุด เมื่อใดก็ตามที่เราหยุดเรียนรู้เราอาจจะเกิดความเสี่ยงในการลงทุนก็เป็นได้ เพราะฉะนั้นมันจะดีกว่าไหมเราถ้าศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องการลงทุน อาทิ เริ่มต้นที่หุ้นตัวไหนดี แนวโน้มตลาดในอนาคต หรือ มีเงินเพียงหลักร้อย ก็สามารถซื้อหุ้นได้ ข้อมูลเหล่านี้เราขอส่งไม้ต่อให้กับ Krungsri The COACH โค้ชที่จะมาให้ความรู้คุณกันในหัวข้อ “มีเงินหลักร้อย จะซื้อหุ้นได้ จริงหรอ”