ย้อนกลับไปหลังช่วงเกิดวิกฤตการณ์ทางการเงินเมื่อปี 2551 ตลาดหุ้นพบกับภาวะที่เรียกว่า “ตลาดกระทิง (Bull Market)” ซึ่งได้สร้างผลตอบแทนในเชิงบวกเป็นระยะเวลาหลายปีเลยทีเดียว โดยที่ผลตอบแทนนั้นสูงพอที่จะดึงดูดใจนักลงทุนจำนวนมาก เพื่อให้เข้าสู่ตลาดตราสารทุน และประกอบกับการที่สถาบันการเงินให้อัตราดอกเบี้ยที่ต่ำในการฝากเงินในบัญชีออมทรัพย์ สิ่งนี้จึงยิ่งเป็นจุดที่ทำให้นักลงทุนสนใจในหุ้นมากยิ่งขึ้น
ถึงแม้ว่า ในปี 2565 ตลาดหุ้นได้มีการปรับตัวลง และในขณะเดียวกันธนาคารกลางของสหรัฐ ก็ได้เพิ่มอัตราดอกเบี้ยให้สูงขึ้นเพื่อที่จะสู้กับภาวะเงินเฟ้อ ในจุดนี้ทำให้การถือเงินสดได้เปรียบมากกว่า
การลงทุนในหุ้น เมื่อเรานำเงินสดที่ถืออยู่ไปฝากกับสถาบันการเงิน ดอกเบี้ยที่ได้รับจะเพิ่มขึ้นตามอัตราดอกเบี้ยที่ปรับเพิ่ม ณ ตอนนั้น แต่ในขณะเดียวกัน อัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มสูงขึ้นอาจจะชะลอการเติบโตของเศรษฐกิจ หรือกระทั่งทำให้เศรษฐกิจกลับเข้ามาสู่ภาวะถดถอย ซึ่งคำถามที่จะตามมาก็คือผลตอบแทนในอนาคตของหุ้นจะเป็นอย่างไร? และการถือเงินสดไว้จะดีรึเปล่า?
มาดูปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญบางประการที่ควรพิจารณาเมื่อถือเงินสดและหุ้นกัน แล้วเราจะจัดการความเสี่ยงให้เหมาะสมได้อย่างไร?
เงินสด VS การลงทุนหุ้น แบบไหนดีกว่ากัน?
นักลงทุนที่ตัดสินใจว่าจะลงทุนในหุ้น หรือถือเงินสดจะต้องพิจารณาดูที่อัตราดอกเบี้ยอย่างใกล้ชิด เพราะการที่ถือเงินสด มูลค่าของเงินที่เราถือจะลดลงเนื่องจากอัตราเงินเฟ้อที่เกิดขึ้นในช่วงที่ผ่านมา ตัวอย่างเช่น การถือเงินสดในรูปแบบเงินฝาก และได้รับผลตอบแทนที่ต่ำ แถมอัตราดอกเบี้ยแต่ละปี ยังน้อยกว่าอัตราเงินเฟ้อเสียอีก ยิ่งทำให้การฝากเงินไว้กับธนาคาร ดูแล้วเหมือนจะมีผลตอบแทนติดลบไปโดยปริยาย แต่ในทางกลับกันแม้การลงทุนในหุ้นจะมีความเสี่ยงในระดับหนึ่ง แต่การลงทุนในหุ้น ยังเป็นที่สนใจของนักลงทุนทำให้หลายคนยังคงลงทุนในหุ้นอย่างต่อเนื่อง
3 ข้อควรพิจารณาเพิ่มเติมสำหรับการถือเงินสดในปี 2566 และปีต่อ ๆ ไป
- ถือเงินสดไว้ในรูปแบบของการฝากไว้ในพอร์ตลงทุน จะช่วยจำกัดความเสี่ยงช่วงที่ Valuation ของตลาดหุ้นเมื่อเริ่มตึงตัว (ราคาแพง) และไปต่อลำบาก การถือเงินสดไว้เพื่อรอดูสถานการณ์ ย่อมเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ดี
- ได้รับผลตอบแทนจากสินทรัพย์สูงขึ้น สวนทางกับตลาดหุ้นที่ดิ่งลงทุนวัน ทำให้ Valuation ของหุ้นบางบริษัท เริ่มมีมูลค่าถูก และเป็นโอกาสลงทุนของผู้มีกระเเสเงินสดนั่นเอง
- พิจารณาตลาดอื่นที่น่าสนใจกว่า ถ้าเกิดเราเจอตลาดอื่นที่น่าสนใจก็สามารถโยกเงินเข้าไปลงทุนในตลาดนั้นได้ทันที โดยเฉพาะในตลาดที่พัฒนาแล้ว ทำให้เราเห็นความแตกต่างที่ชัดเจนระหว่างอุตสาหกรรมที่เป็น Best-Performing Sector และ Worst-Performing Sector
3 ข้อควรพิจารณาเพิ่มเติมสำหรับการลงทุนหุ้นในปี 2566 และปีต่อ ๆ ไป
- ดูที่กำไรของบริษัทว่าเติบโตหรือมีความมั่นคงหรือไม่ นักลงทุนหลายคนอาจมองว่าบางบริษัทมีราคาหุ้นที่ลดลง เลยทำให้อยากจะช้อนซื้อตอนราคาต่ำ แต่ผู้ซื้อโปรดระวังเพราะตลาดอาจไม่เสถียรและดีขึ้นอย่างรวดเร็วอย่างที่บางคนคาดการณ์เอาไว้
- ดูที่การจ่ายเงินปันผลในปัจจุบันมีเสถียรภาพหรือดีไหม? เนื่องจากผลตอบแทนส่วนใหญ่มาจากเงินปันผลเกือบทั้งหมดที่เราได้รับจากหุ้น ซึ่งหากบริษัทมีประวัติการจ่ายเงินปันผลที่มั่นคง เราอาจพิจารณาซื้อหุ้นจากบริษัทนั้นได้
- หุ้นที่จะซื้อปลอดภัยที่จะเป็นถือในระยะยาวหรือไม่? เมื่อพิจารณาจากสภาวะตลาดในปัจจุบัน หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ เรามีความเชื่อมั่นในมูลค่าของหุ้นหรือแนวโน้มการเติบโตของหุ้นมากพอที่จะรับมือกับความผันผวนของตลาดได้หรือไม่นั่นเอง
จากที่อธิบายมาข้างต้นหลายคนอาจมองว่า “ทำจริงมันยาก” เนื่องจากการจับจังหวะการลงทุนในหุ้นก็ไม่ใช่เรื่องง่าย เลยมีแนวคิดที่ว่า การลงทุนแบบสม่ำเสมอระยะยาวจะเป็นการดีกว่าไหม? คำตอบ ก็คือ "ใช่" อีกนั่นแหละ เพราะเป็นการกระจายความเสี่ยงที่ดี
แต่หากเราดูวิธี และกลยุทธ์ของนักลงทุนที่ประสบความสำเร็จอย่าง "วอร์เรน บัฟเฟตต์" หรือแม้แต่ท่านอื่น ๆ จะเห็นได้ว่า พวกเขาเหล่านี้มักจะขายเมื่อ
ตลาดหุ้นไม่มีความผันผวนมากนัก และจะลงทุนเมื่อตลาดมีความคาดเดาค่อนข้างยาก หมายถึง ผู้คนยังมีความกังวลในการที่จะลงทุน ณ เวลานั้น ซึ่งการถือครองเงินสด จะเป็นการช่วยให้เราไม่เสียโอกาสนั้นไปนั่นเอง
ถือเงินสดหรือลงทุนดีกว่ากัน?
สำหรับจุดนี้ก็จะขึ้นอยู่กับการยอมรับความเสี่ยงของแต่ละบุคคล รวมถึงข้อกำหนดทางการเงิน และระยะเวลา ความเร่งรีบที่จะใช้เงินดังกล่าว การลงทุนมีศักยภาพในการสร้างผลตอบแทนที่สูงกว่าฝากเงินไว้ในบัญชีออมทรัพย์ แต่ผลประโยชน์นั้นมาพร้อมกับความเสี่ยง โดยเฉพาะในกรอบเวลาที่สั้นกว่า
ถ้าหากเรากำลังถือเงินสดเพื่อเป้าหมายระยะสั้น และจำเป็นต้องถอนเงินในอนาคตอันใกล้นี้ ก็ควรเก็บเงินไว้ในบัญชีออมทรัพย์จะดีกว่า ในทางกลับกันหากเป้าหมายของเราเป็นระยะยาวไม่ได้รีบร้อนใช้เงิน สามารถรอเงินปันผลได้ก็ควรที่จะลงทุนในหุ้น
ตัวอย่างเช่น ในปี 2565 ที่ดอกเบี้ยจะเพิ่มขึ้นเมื่อนำเงินไปฝากในบัญชีเงินแบบออมทรัพย์ หรือรายการที่เทียบเท่าเงินสด นั่นก็ทำให้ผู้คนต่างก็ให้ความสนใจที่จะนำเงินไปฝากเพิ่มมากขึ้น เป็นต้น
เรามาดูในส่วนของข้อแตกต่างระหว่าง “เงินสด” และ “หุ้น” กันเลย
ข้อดีการถือเงินสด
- เงินสดไม่เปลี่ยนแปลงมูลค่า ยอดเงินในบัญชีออมทรัพย์จะไม่ผันผวนตามปัจจัยภายนอก ในทางกลับกันตลาดหุ้น อาจเกิดการสูญเสียมูลค่าไปได้ถึง 50% ในหนึ่งวันก็ย่อมเกิดขึ้นได้
- เราสามารถใช้เงินสดของเราได้ทันที เงินสดเปรียบเสมือนน้ำ ซึ่งหมายความว่าเราสามารถใช้ซื้อสิ่งของ จ่ายบิล และชำระหนี้ได้โดยตรง ซึ่งเราไม่สามารถ "ใช้จ่าย" ในลักษณะนี้กับหุ้น และพันธบัตรได้ เพราะจะต้องทำการแปลงหุ้นและพันธบัตรเป็นเงินสดซะก่อน
- ถือเงินสดดีตรงที่เราจะเอาเงินก้อนนั้นไปลงทุนในอะไรก็ได้ที่เราสนใจ เพราะในทุกการลงทุนก็ต้องเริ่มมาจากการที่เราถือเงินสดในมือ ซึ่งการลงทุนระยะยาวก็ต้องเป็นเงินเย็น ที่ไม่จำเป็นที่จะต้องรีบใช้
- เงินสดที่เราถือไว้ส่วนนี้จะครอบคลุมค่าใช้จ่ายฉุกเฉินของเราได้ ไม่ว่าจะเป็น ค่ารักษาพยาบาล ค่าผ่อนบ้าน ผ่อนรถ ฯลฯ ซึ่งถ้าเรามีเงินสดในมือเราไม่จำเป็นจะต้องนำสินทรัพย์ที่เรามีอยู่ เช่น ที่ดิน อสังหาฯ ไปแปลงเป็นเงินสด
ข้อเสียการถือเงินสด
- เมื่อเกิดภาวะเงินเฟ้อ การถือเงินสดจะติดลบขึ้นมาทันที อำนาจการใช้จ่ายของเงินสดจะลดลงเมื่อเวลาผ่านไป เนื่องจากราคาของสินค้าหรือสิ่งต่าง ๆ ที่สูงขึ้นหรือที่เรียกว่า “อัตราเงินเฟ้อ” ตัวอย่างเช่น ในปี 2022 เราสามารถซื้อข้าวหนึ่งจานได้ในราคา 60 บาท แต่ในปี 2023 ข้าวหนึ่งจานเราจะต้องซื้อในราคา 70 บาท
- ยิ่งสภาพคล่องมากเท่าไหร่ โอกาสที่จะหยิบออกมาใช้แบบไม่ยั้งคิดก็ยิ่งมากขึ้นเท่านั้น แต่ถ้ามีสภาพคล่องน้อยเกินไปก็จะทำให้มีโอกาสไปกู้หนี้ยืมสินมาเมื่อยามที่เราต้องการที่จะใช้เงิน
ข้อดีการลงทุน
- การลงทุนที่ให้ผลตอบแทนสูง ในระยะยาวการเติบโตเฉลี่ยต่อปีของตลาดหุ้นอยู่ที่ประมาณ 7% หลังจากเงินเฟ้อ
- หุ้นสามารถนำมาค้ำประกันเพื่อกู้ยืมเงินไปใช้ประโยชน์อื่น ๆ ได้ ซึ่งไม่จำเป็นต้องขายหุ้นออกมา และยังได้รับเงินปันผลตามสิทธิผู้ถือหุ้นที่ควรจะได้รับด้วย
- แอปพลิเคชันเทรดหุ้นออนไลน์เหมาะกับไลฟ์สไตล์ในปัจจุบัน สะดวก ลงทุนได้ทุกที่ ทุกเวลา
- หากต้องการเข้าถึงตลาดหุ้น เราจะต้องลงทุนในกองทุนดัชนีที่มีการกระจายความเสี่ยง และมีค่าธรรมเนียมที่ต่ำ เช่น ลงทุนในกองทุน RMF หรือ SSF
ข้อเสียการลงทุน
- การลงทุนของเราจะคุ้มค่ากับสิ่งที่ลงทุนก็ต่อเมื่อเรายินดีที่จะรับความเสี่ยงที่สามารถขึ้นหรือลงได้ตามปัจจัยที่อยู่เหนือการควบคุมของเรา ดังนั้น ทรัพย์สินของเราอาจสูญเสียมูลค่าได้ทุกเมื่อขึ้นอยู่กับจังหวะ และการผันผวนของตลาดการลงทุนในขณะนั้น
- เราต้องขายทรัพย์สินของเราก่อนจึงจะสามารถใช้เงินก้อนนั้นได้ ตัวอย่างเช่น การซื้อขายหุ้นและพันธบัตรรัฐบาล กระบวนการเหล่านี้ใช้เวลาสองสามวันในการถอน หรือสินทรัพย์อื่น ๆ เช่น อสังหาริมทรัพย์อาจใช้เวลาหลายเดือนในการขาย ทำให้เสียเวลาและไม่สามารถที่จะนำทรัพย์สินเหล่านั้นออกมาใช้ได้โดยทันที
ดังนั้นการที่ถือเงินสดเป็นจำนวนมากในระยะยาวอาจจะไม่ค่อยดีมากนัก ณ วันนี้เราอาจจะคิดว่าเงินอยู่ในมือไม่ได้หายไปไหน แต่เมื่อเวลาผ่านไป และเกิดภาวะเงินเฟ้อ หรือภาวะเศรษฐกิจอื่น ๆ เงินที่เราถืออยู่จะมีมูลค่าที่ลดลง
การถือเงินสด และการลงทุนเป็น 2 กลไกที่เราสามารถทำได้เพื่อให้ได้มาซึ่งความมั่นคงทางการเงิน การถือเงินสดมีไว้สำหรับความต้องการระยะสั้น และการลงทุนมีไว้สำหรับระยะยาว ดังนั้นการใช้ทั้งสองอย่างให้เชี่ยวชาญเพื่อบรรลุเป้าหมายทางการเงินของเรา เราจะพบกับความสำเร็จในอีกด้านหนึ่งของการวางแผนการเงินได้อย่างแน่นอน