“Perplexity AI” ที่ถูกพัฒนาโดยบริษัท Perplexity ก่อตั้งโดย Aravind Srinivas อดีตนักวิจัย AI จาก OpenAI และ Meta ชาวอินเดีย ซึ่งเปิดตัวเดือนสิงหาคม ปี 2022 โดยมีเป้าหมายเพื่อท้าทาย Search Engine ชื่อดังอย่าง Google ด้วยการนําเสนอ
AI Search ที่ชาญฉลาดและแม่นยำกว่า นอกจากนี้ยังได้รับเงินลงทุนจาก Jeff Bezos ผู้เป็น CEO ของ Amazon อีกด้วย ซึ่ง Perplexity AI มีความน่าสนใจอย่างไรบ้าง น้องเพลินเพลิน by Krungsri จะพาทุกคนมาทำความรู้จักกัน
Perplexity AI คืออะไร?
Perplexity AI คือ AI Search Engine หรือ Answer Engine ที่ใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ขั้นสูงในการค้นหาข้อมูล และตอบคําถามที่มีความซับซ้อนจากผู้ใช้งานได้ โดยการทำงานของ Perplexity AI จะใช้โมเดลภาษาขนาดใหญ่ (LLM) ร่วมกับการค้นหาข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ บนอินเทอร์เน็ต เพื่อให้ได้คําตอบที่แม่นยํา ครอบคลุม และเป็นปัจจุบันมากที่สุด นอกจากนี้ยังมีการแนบ Resources หรือลิงก์อ้างอิงต่าง ๆ ของแหล่งข้อมูลนั้น ๆ มาให้ด้วย พร้อมทั้งอีกหลายฟีเจอร์ที่น่าสนใจ ไม่ว่าจะเป็นการที่สามารถ Input ไฟล์ภาพ, ข้อความ หรือ PDF ได้ เป็นต้น
การเติบโตของ Perplexity AI
หลังจากเปิดตัวเพียงแค่ 1 ปี Perplexity AI มีการเติบโตถึง 1,000 เท่าโดยมีผู้ใช้งานรายเดือนอยู่กว่า 10 ล้านคน จน Jeff Bezos CEO ของ Amazon สนใจมาร่วมลงทุนด้วย นอกจากนี้ Jonathan Cohen รองประธานฝ่ายวิจัยประยุกต์ของ Nvidia ยังเคยกล่าวว่า “Perplexity AI เป็นหนึ่งในผลิตภัณฑ์ปัญญาประดิษฐ์สำหรับผู้บริโภคไม่กี่รายที่สามารถบรรลุเป้าหมายสำคัญนี้ นั่นคือ มีผู้ใช้งานต่อเดือน (MAUs) 10 ล้านคน ซึ่งจะส่งผลให้
ปัญญาประดิษฐ์จะเปลี่ยนแปลงวิธีการเข้าถึงข้อมูลของเรา”
ฟีเจอร์ที่น่าสนใจของ Perplexity AI
- สามารถตอบคําถามที่ซับซ้อนได้อย่างชาญฉลาด โดยไม่ต้องพึ่งพาแค่คีย์เวิร์ด
- แสดงคำตอบที่มีความแม่นยำ โดยจะถูก Generated ด้วย AI
- แสดงลิงก์เว็บไซต์ (Website Sources) เหมือนที่ Google Search แสดงรายชื่อเว็บ
- สามารถสรุปเอกสาร ตอบคําถามจากไฟล์ PDF หรือวิดีโอ YouTube ได้
- แชร์ลิงก์หน้า Search Result ของเราได้ทั้งแบบ Public และ Private ไปให้เพื่อนได้
- สามารถแชตโต้ตอบกับผู้ใช้แบบ Chatbot ได้ เหมือนมีผู้เชี่ยวชาญคอยให้คําปรึกษา
ข้อจํากัดของ Perplexity AI
- ความถูกต้องของข้อมูล แม้ว่าคำตอบที่ Perplexity AI แสดงออกมาจะมีความแม่นยำและเป็นปัจจุบันสูงสุด แต่ก็ควรถูกนำไปใช้ในช่วงนั้น ๆ เลย หากจะนำไปใช้ในช่วงเวลาถัดมา ควรจะต้องมีการตรวจสอบข้อมูลเพื่อให้เป็นปัจจุบันมากยิ่งขึ้นอีกครั้ง
- ความลึกของการวิเคราะห์ แม้ว่า Perplexity AI จะสามารถวิเคราะห์ประเด็นที่ซับซ้อนได้ดีแต่ยังไม่มีผลการทดสอบที่แน่ชัดจากทีมผู้สร้างในเชิงการเปรียบเทียบความสามารถกับโปรแกรมอื่น ๆ
- ข้อจำกัดด้านภาษา Perplexity AI ยังคงมีข้อจำกัดในการเข้าใจและตอบคำถามในบางภาษา เช่น สามารถใช้งานภาษาไทยได้ แต่อาจจะไม่เข้าใจบริบทของภาษาได้ทั้งหมด คำตอบจึงอาจมีการคลาดเคลื่อนได้
Tips by น้องเพลินเพลิน : คว้าโอกาสลงทุนในเทคโนโลยีที่กำลังเติบโต
อย่างที่เห็นว่า การเติบโตแบบก้าวกระโดดของ Perplexity AI แสดงถึงความก้าวหน้าของเทคโนโลยีที่กำลังเติบโต จึงนับว่าเป็นจังหวะที่ดีในการลงทุนในอุตสาหกรรมทางด้านเทคโนโลยี เช่นการลงทุน
กองทุน KFHTECH ที่ลงทุนในหุ้นของบริษัททั่วโลกที่มีธุรกรรมทางเศรษฐกิจส่วนใหญ่ในหมวดเทคโนโลยี ผ่านกองทุนรวมต่างประเทศ BGF World Technology Fund (Class D2 USD) เฉลี่ยรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่า 80% ของ NAV โดยมีระดับความเสี่ยง : 7 (เสี่ยงสูง) – ป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน ≥ 90% ของเงินลงทุนในต่างประเทศ*
*บทความนี้ไม่ได้ชักชวนให้ลงทุนและรับประกันผลตอบแทนที่จะเกิดขึ้น ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน ความเสี่ยง และศึกษาสิทธิประโยชน์ทางภาษีในคู่มือการลงทุนก่อนตัดสินใจลงทุน
สำหรับผู้ใช้งานทั่วไปแบบเรา ๆ อาจจะไม่ได้กำลังมองหาเครื่องมือที่ดีที่สุด แต่อาจจะกำลังมองหาเครื่องมือที่ตอบโจทย์การทำงานของเราที่สุด ซึ่งก็สามารถทดลองใช้ Perplexity AI เพื่อดูว่าตอบโจทย์การใช้งานของเราได้หรือไม่ ซึ่งเราก็ควรที่จะติดตามข่าวสารเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นใหม่เรื่อย ๆ เพื่อให้เราก้าวทันและเท่าทันเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่จะสามารถช่วยให้เราปรับตัวและนำมาพัฒนาชีวิต อาชีพ และธุรกิจของเราได้ด้วยนะ