เมื่อก่อน ถ้าถามว่าเราอยากเกษียณอายุเมื่อไหร่ หลายคนก็อาจจะตอบว่า 55 ปีบ้าง 60 ปีบ้าง แต่เดี่ยวนี้ เชื่อว่าถ้าถามคำถามเดียวกันกับคนรุ่นใหม่ คำตอบมักจะออกมาต่ำกว่า 50 ปี เรียกได้ว่าคนรุ่นใหม่มีแนวโน้มอยากเกษียณเร็วมากขึ้น
ถ้ามองลึกลงไปในรายละเอียดของคนที่อายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป จำนวนมากกว่า 84% มองว่าหลังอายุ 60 ปีขึ้นไป ยังคงต้องทำงานอยู่เนื่องจากจากมีเงินเก็บไม่เพียงพอ ทำให้ไม่สามารถเกษียณอายุได้อย่างที่ตั้งใจไว้
นอกจากนี้จากการเก็บข้อมูลยังแสดงให้ว่า ยิ่งเรามีอายุมากขึ้น แนวโน้มการใช้จ่ายยิ่งมีมากขึ้น จากสถิติชี้ว่าคนที่มีอายุตั้งแต่ 20-40 ปี ส่วนใหญ่จะมองว่าตัวเองมีค่าใช้จ่ายต่อเดือนหลังเกษียณเพียง 10,000-30,000 บาท ก็เพียงพอต่อค่าใช้จ่าย แต่เมื่อมาดูตัวเลขสถิติจากกลุ่มคนอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป ส่วนใหญ่จะมองว่าตัวเองต้องมีรายจ่ายมากกว่าเดือนละ 50,000 บาทขึ้นไปถึงจะเพียงพอต่อค่าใช้จ่าย
คนที่ใกล้เกษียณอายุมีแนวโน้มยังคงต้องทำงานต่อหลังอายุเกษียณ เนื่องจากมีเงินเก็บไม่เพียงพอสำหรับเกษียณ
จากข้อมูลที่เก็บได้ทั้งหมดจะแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนเลยว่า ณ ปัจจุบันปัญหาเรื่องการเกษียณอายุของคนไทยนั้นอยู่ในระดับที่เรียกว่ามีปัญหามาก ทำให้ไม่สามารถเกษียณได้อย่างที่ตั้งใจ และเมื่อถึงวัยเกษียณอายุแล้วยังคงต้องทำงานต่อไป
สำหรับใครที่ต้องการแก้ปัญหาการเกษียณอายุไม่ได้อย่างตั้งใจไว้ วิธีการลดปัญหาที่ดีสุด คือ
การลงมือวางแผนเกษียณ เพื่อให้ภาพความต้องการในการเกษียณอายุของเรานั้นชัดเจนที่สุด เพื่อเราสามารถประเมิน
“แผนปฏิบัติการ
” และนำไปสู่เป้าหมายนั้นได้อย่างสมเหตุสมผล
สมมติว่านาย A ต้องการใช้เงินหลังเกษียณอายุเดือนละ 30,000 บาท ตั้งใจไว้ว่าจะเกษียณตอนอายุ 60 ปี และมีอายุถึง 85 ปี ถ้าหากคำนวณแบบอย่างง่ายโดยไม่คำนึงถึงเงินเฟ้อแปลว่า นาย A จะต้องมีเงินเก็บอย่างน้อยเท่ากับ 30,000 บาท x 12 เดือน x 25 ปี จะเท่ากับ 9,000,000 บาทเป็นอย่างน้อย
แต่สมมติว่านาย B ต้องการใช้เงินหลังเกษียณอายุเดือนละ 50,000 บาท ตั้งใจไว้ว่าจะเกษียณตอนอายุ 50 ปี และมีอายุถึง 85 ปีเช่นเดียวกับนาย A ถ้าหากคำนวณแบบอย่างง่ายโดยไม่คำนึงถึงเงินเฟ้อแปลว่า นาย B จะต้องมีเงินเก็บอย่างน้อยเท่ากับ 50,000 บาท x 12 เดือน x 35 ปี จะเท่ากับ 21,000,000 บาทเป็นอย่างน้อย
ยิ่งต้องการเกษียณเร็วมากเท่าไหร่ ยิ่งต้องเตรียมเงินสำหรับเกษียณไว้มากขึ้นเท่านั้น
เราจะเห็นได้ว่า ถ้าหากเรามีเป้าหมายเกษียณที่อยู่ในระดับที่สูง ทั้งมีค่าใช้จ่ายหลังเกษียณสูงหรือต้องการเกษียณเร็ว ก็จะทำให้เราต้องยิ่งเตรียมเงินสำหรับการเกษียณอายุไว้สูงมากกว่าปกติ เพราะเรามีแนวโน้มมีชีวิตหลังเกษียณที่นานมากขึ้น ในกรณีนี้นาย B ก็จะต้องออมเงินมากกว่า เตรียมแผนลงทุนให้งอกเงยที่มากกว่านาย A เพื่อให้ไปถึงเป้าหมายที่วางไว้
แต่ในการวางแผนเกษียณอายุ จริง ๆ แล้ว เราจะต้องคำนึงถึง
“เงินเฟ้อ
” ที่ทำให้มูลค่าเงินเราลดน้อยลงด้วย ทำให้เราต้องเตรียมการนำเงินไปลงทุนเพื่อให้เงินงอกเงยตามระดับความเสี่ยงที่เราสามารถรับได้ แนะนำว่าให้ทุกคนลองเข้าไปคำนวณจำนวนเงินที่เราต้องมีหลังเกษียณอายุได้
ที่นี่ เพียงกรอกข้อมูลการเกษียณตามความต้องการของเรา และข้อมูลสินทรัพย์เพื่อการเกษียณที่มีอยู่ในปัจจุบัน ก็เราจะรู้ทันทีว่า เราต้องมีเงินสำหรับเกษียณเท่าไหร่แล้ว ณ ปัจจุบันยังขาดอีกเท่าไหร่ ซึ่งระบบก็จะคำนวณสรุปผลออกมาให้ทันทีว่า เราจะต้องเก็บเงินอีกนานเท่าไหร่ และนำไปลงทุนตามระดับความเสี่ยงที่แนะนำถึงจะสามารถเกษียณได้อย่างที่ตั้งใจไว้
ณ ปัจจุบันสังคมทั่วโลกกำลังเข้าสู่โลกที่เรียกว่า “สังคมผู้อายุสูง” ปัญหาเรื่องเงินที่ไม่เพียงพอหลังเกษียณอายุนั้นไม่ได้เป็นปัญหาเฉพาะประเทศไทยเท่านั้น แต่ตอนนี้เรียกว่าเป็นปัญหาระดับโลกเลยก็ว่าได้ การเตรียมตัวเกษียณอายุด้วยตัวเองโดยไม่หวังพึ่งพาคนอื่น ไม่ว่าหวังสวัสดิการจากภาครัฐหรือจากลูกหลานของเรา ถือเป็นวิธีการเกษียณอายุที่มีคุณภาพมากที่สุด สุดท้ายแล้วเราจะสามารถ “เกษียณสุข” หรือ “เกษียณทุกข์” ก็ขึ้นอยู่กับการวางแผนและเตรียมการณ์ของเราเองทั้งนั้น หากเรายิ่งเตรียมตัวได้รวดเร็วและวางแผนมาเป็นอย่างดี ก็จะยิ่งช่วยเพิ่มโอกาสที่จะเกษียณสุขได้มากกว่าคนอื่น ๆ นั่นเอง
หากอยากรู้ว่าต้องออมเพิ่มเพื่อเกษียณเท่าไหร่ เพียงทำตามขั้นตอนง่ายๆ ตามนี้
- Add Line @KrungsriSimple
- พิมพ์คำว่า เกษียณ
- ตอบคำถามง่ายๆ ภายใน 1 นาทีก็รู้ผล