ช่วงนี้คนไทยอาจได้คุ้นหูกับชายที่ชื่อ ‘อีลอน มัสก์’ (Elon Musk) กันอยู่บ่อยครั้ง มัสก์เป็น CEO ของบริษัทเทคโนโลยีชื่อดัง อาทิ Tesla รถยนต์ไร้คนขับ และโครงการสำรวจอวกาศ SpaceX มัสก์ได้รับการจัดอันดับจากนิตยสาร Forbes ให้เป็นบุคคลที่รวยที่สุดเป็นอันดับ 83 ของโลกในปี 2016
ล่าสุดมัสก์ได้เรียกความสนใจจากสายตาชาวโลกอีกครั้งด้วยการปล่อยจรวดฟัลคอน เฮฟวี (Falcon Heavy) จากฐาน Kennedy Space Center แท่นปล่อยจรวด Apollo ขึ้นสู่ดาวอังคารเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2018 ที่ผ่านมา
อีลอน มัสก์ คือใคร?
มัสก์มีชีวิตที่น่าสนใจและสร้างแรงบันดาลใจให้กับนักธุรกิจได้หลายคน แม้แต่นักแสดงชื่อดัง โรเบิร์ต ดาวนีย์ จูเนียร์ ดารานำจากภาพยนตร์เรื่อง ไอรอนแมน (Iron Man) ยังยกให้มัสก์เป็นต้นแบบของตัวละคร “Tony Stark” ในเรื่อง
เรียกได้ว่ามัสก์
ฉายแววความเป็นอัจฉริยะตั้งแต่เด็ก เมื่อเขาอายุ 8 ขวบ มัสก์อ่านหนังสือหมดห้องสมุด อายุ 10 ขวบเริ่มสนใจคอมพิวเตอร์ อายุ 12 เรียนเขียนโปรแกรม BASIC จบใน 3 วัน (ในขณะที่คนทั่วไปอาจใช้เวลาถึง 6 เดือน) แถมยังเขียนเกมขายอีกด้วย
ที่น่าสนใจคือ ตอนอายุ 14 มัสก์
อ่านหนังสือเรื่อง The Ultimate Hitchhiker’s Guide to the Galaxy ซึ่งเป็นเรื่องราวของการท่องอวกาศ แล้วเกิดได้แรงบันดาลใจขึ้นมา จนตัดสินใจว่าจะใช้ชีวิตเพื่อการดำรงอยู่ของมวลมนุษย์
ฟังดูอาจจะเหลือเชื่อนะครับ เด็กอายุแค่นี้ ทำไมการอ่านหนังสือเล่มเดียวถึงเปลี่ยนจุดโฟกัสในชีวิตของคน ๆ หนึ่งไปได้
แต่เรื่องราวหลังจากนี้ คือ
บทพิสูจน์สิ่งที่เขาตั้งใจทำครับ...
ร่วมก่อตั้ง PayPal ตอนอายุเพียง 29 ปี
มัสก์และเพื่อนได้ร่วมก่อตั้งเว็บไซต์ X.com ในปี 1999 ซึ่งเป็น
ธนาคารออนไลน์ ตอนเขาอายุได้เพียง 28 ปี โดยใช้เงินตัวเองลงทุนถึง 10 ล้านดอลล่าร์ จนปีถัดมา บริษัทของเขาก็ซื้อ
กิจการสตาร์ทอัพฟินเทคแห่งหนึ่งที่นำไปสู่การพัฒนาเป็นเว็บไซต์ PayPal ที่เรารู้จักกันในปัจจุบันนี่ล่ะครับ
อยากพาเพื่อนมนุษย์ไปเที่ยวดาวอังคาร
ด้วยความที่มองการณ์ไกลและเปี่ยมด้วยจินตนาการ มัสก์เลยกลายเป็นนักธุรกิจตัวยงที่ผุดบริษัทล้ำ ๆ ขึ้นมากลางซิลิคอนวัลเลย์ เขาใช้เงินถึง 70 ล้านดอลล่าร์ในการก่อตั้ง Tesla Motors รถยนต์ที่มีเทคโนโลยีขับเคลื่อนด้วยตนเอง พร้อม ๆ กับนำร่องโครงการที่เกี่ยวกับอวกาศของเขา คือ SpaceX ซึ่งมีภารกิจที่จะนำร่องธุรกิจสำรวจอวกาศ
ทั้งสองบริษัทผ่านช่วงเวลาล้มลุกคลุกคลาน หวิดจะล้มละลายไปแล้วหลายครั้งครับ จรวดของมัสก์เองก็ทดสอบล้มเหลวถึง 3 ครั้ง
จนเขาพบว่า เขามีเงินเหลือสำหรับการปล่อยจรวดครั้งที่ 4 อีกแค่ครั้งเดียวเท่านั้น หากล้มเหลวอีก...โครงการ SpaceX ก็เป็นอันโดนพับเก็บไปพร้อมกับความฝันของเขา
SpaceX เปลี่ยนหน้าใหม่ในธุรกิจอวกาศอย่างไร
การปล่อยจรวด Falcon ครั้งที่ 4 นอกจากประสบความสำเร็จแล้ว ยังมีความสำคัญที่พลิกเกมใหม่ในธุรกิจอวกาศ ด้วยคอนเซ็ปต์
“Reusable Rocket” ของ Space X ที่ช่วย
ลดต้นทุนการปล่อยจรวดได้ 100% เพราะ
จรวดในโครงการนี้สามารถนำกลับมา “ใช้ได้ใหม่อีกครั้ง”
จรวด ก็คือ ยานพาหนะที่นำพาดาวเทียมหรืออุปกรณ์สำคัญต่าง ๆ ไปส่งยังเป้าหมายในอวกาศ โดยทั่วไปจรวดจะกลายเป็นขยะหลังจากถูกปล่อยขึ้นสู่อวกาศแล้ว โดยมันจะทิ้งชิ้นส่วนเหล่านั้นตกลงมาในมหาสมุทร แทนที่จะนำกลับมาใช้ได้ใหม่อีกครั้ง เป็นผลให้การปล่อยจรวดแต่ละครั้งต้องสร้างจรวดขึ้นมาใหม่ทั้งหมด ซึ่ง
ต้นทุนการผลิตมีมูลค่าหลายสิบล้านถึงหลายร้อยล้านเหรียญสหรัฐ
แต่จรวด SpaceX Falcon 9
ถูกสร้างมาให้ลงจอดในฐานจรวดได้เหมือนเดิมหลังจากขนส่งสัมภาระไปยังสถานีอวกาศนานาชาติเรียบร้อยแล้ว และสามารถทำความสะอาด เติมเชื้อเพลิงเพื่อเตรียมใช้ต่อไปได้อีก
เท่านี้ก็น่าตื่นตาตื่นใจสำหรับอุตสาหกรรมอวกาศมากแล้วล่ะครับ
เพราะมันหมายถึง
ในอนาคตเราไม่ต้องเสียเงินเยอะเหมือนแต่ก่อน ในการไปสำรวจดวงจันทร์และดาวอังคารแล้ว
Credit: SpaceX
สตาร์แมน ภาพจำลองทางการตลาด ที่แย่งซีนและสร้างกระแสไวรัล
Credit: Outerplaces
Credit: AFP
การที่มัสก์ส่งรถยนต์ Tesla Roadster สีแดงก่ำ รถยนต์พลังงานไฟฟ้าที่จะผลิตสู่ตลาดรุ่นใหม่ พร้อมด้วยหุ่นมนุษย์อวกาศที่ตั้งชื่อว่า สตาร์แมน
(Starman) นั่งอยู่หลังพวงมาลัย เข้าสู่วงโคจรของดาวอังคาร เหมือนมัสก์ได้เอาสินค้าของตัวเองไปลงพื้นที่โฆษณาบนดาวอังคารเป็นรายแรกของโลก
แถม
ข้อความที่โชว์ขึ้นบนหน้าจอในรถ Tesla คันนี้ว่า “Don’t panic” (อย่าตื่นเต้นตกใจไปเลย)
มาจากหนังสือ The Ultimate Hitchhiker’s Guide to the Galaxy ของ Douglas Adams ที่มัสก์ชื่นชอบตั้งแต่เด็ก ๆ นั่นเอง
แม้ว่ารถยนต์ Tesla จะหลุดจากวงโคจรของดาวอังคาร เพราะแรงเหวี่ยงที่แรงเกินไป แต่ภาพนี้กลายเป็นภาพแห่งประวัติศาสตร์ที่สร้างภาพจดจำและเรียกเสียงฮือฮาได้จากคนดูบนโลก ถือเป็นการโปรโมทรถยนต์ Tesla ได้อย่าง “หลุดโลก” จริง ๆ
ขอบคุณข้อมูลจาก : Space X,
ceoblog.co,
spaceth.co,
beartai,
express.co.uk,
dailymail.co.uk