SME ควรจะปรับตัวอย่างไร หลังผ่าน COVID-19

SME ควรจะปรับตัวอย่างไร หลังผ่าน COVID-19

By Krungsri Plearn Plearn
ในวันนี้เราต้องเริ่มวางแผนให้ดีแล้วว่า เมื่อถึงวันที่สถานการณ์กลับมาดีขึ้น เราควรจะบริหารจัดการธุรกิจอย่างไร? เพื่อให้ทุกอย่างกลับมาฟื้นตัวได้เร็ว

“แพลทฟอร์มดิจิทัล” จะเป็น “ตลาด” ที่จับคู่ผู้ซื้อและผู้ขายได้อย่างดี


ก่อนหน้าวิกฤต Covid-19 คนที่ทำธุรกิจส่วนใหญ่มักจะโฟกัสไปที่ตลาดออฟไลน์เป็นหลัก ทำให้ไม่ค่อยได้วางแผนการทำตลาดในโลกดิจิทัลเท่าไหร่ แต่เมื่อวิกฤต Covid-19 มาถึง ก็ทำให้ตลาดออนไลน์นั้นคึกคักมากยิ่งขึ้น เพราะหลายคนก็คงจะได้รู้แล้วว่า ตลาดในโลกออนไลน์ทำให้เราเชื่อมต่อกับลูกค้าได้อย่างง่ายที่สุดแล้ว
“ตลาด” แปลตรงตัวคือพื้นที่ที่ให้ผู้ซื้อกับผู้ขายมาเจอกัน คำว่าตลาดที่เป็นพื้นที่ทางกายภาพ จะมีจำนวนผู้ซื้อและจำนวนผู้ขายเท่ากับพื้นที่จริง (ในที่นี้เราจะเรียกว่า “ห้อง”) ทำให้กลไกของตลาดอาจทำงานได้อย่างไม่สมบูรณ์ เพราะอาจมีผู้ซื้อ ที่ยอมจ่ายสินค้าในราคาที่แพงกว่า แต่อยู่ “นอกห้อง” ก็เป็นได้
แต่ “แพลทฟอร์ม” ซึ่งเป็นตลาดแบบดิจิทัล จะมีพื้นที่ที่ไม่จำกัด และมีอัลกอริธึมช่วยจับคู่ผู้ซื้อกับ ผู้ขายคู่ที่ดีที่สุดได้มาเจอกัน ทำให้กลไกของตลาดทำงานได้อย่างสมบูรณ์มากขึ้น นอกจากนี้ แพลทฟอร์มยังเป็นตลาดที่ทำให้ผู้ซื้อสามารถเปรียบเทียบคุณสมบัติอื่น ๆ ของสินค้าได้อย่างง่ายและสะดวกขึ้น ไม่ว่าจะเป็น ราคา สเปค และรีวิว ทำให้ในยุคนี้แพลทฟอร์มจึงเติบโตอย่างมาก จนถึงขนาดที่มีผู้ซื้อบางคนที่ไปดูสินค้าจริงที่หน้าร้านออฟไลน์ แต่กดสั่งซื้อผ่านแพลทฟอร์มออนไลน์ก็มี
เราควรจะบริหารจัดการธุรกิจอย่างไร? เพื่อให้ทุกอย่างกลับมาฟื้นตัวได้เร็ว

&Data เครื่องมือสำคัญที่จะช่วยแก้ปัญหาในหลายมิติ


Data คือทรัพยากรที่มีค่าที่สุด เป็นหนึ่งในปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดการแข่งขันในระบบตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ปัจจุบันระบบตลาดของประเทศไทยยังไม่สามารถแข่งขันกับนานาประเทศได้ นั่นเป็นเพราะต้นทุนการเข้าถึงตลาดยังมีมูลค่าที่สูง มีการแทรกแซงจากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง และมีข้อมูลที่ไม่เพียงพอต่อการวิเคราะห์ภาพรวมของตลาด
หากทุกภาคส่วนทั้งรัฐ เอกชน ประชาชน มีการผลักดันในเรื่องของการใช้ Data เราก็จะสามารถมองเห็นภาพรวมของปัญหาต่าง ๆ และสามารถนำชุดข้อมูลไปวิเคราะห์ต่อได้ว่า ควรแก้ไขปัญหาในแต่ละจุดได้อย่างไร ยิ่งมี Data เยอะ ก็เหมือนเรามีอาวุธเยอะ เพียงแค่จะต้องมีการบริหารจัดการข้อมูลที่ดี และนำมาใช้ให้ถูกกรณี
เช่น การที่ธนาคารจะตรวจสอบว่า ผู้ที่ต้องการกู้เงิน มีคุณสมบัติหรือมีศักยภาพมากน้อยแค่ไหนในการผ่อนชำระหนี้ ก็มาจากการทำ Financial Statement คือสิ่งที่ได้จากการเก็บข้อมูลของลูกค้า ตั้งแต่อุปนิสัยในการใช้จ่าย เงินเดือน จนถึงเรื่องของทัศนคติ ข้อมูลเหล่านี้มีความสำคัญอย่างมาก แต่ลูกค้าหลายคนยังคงกังวลในเรื่องของการนำข้อมูลไปใช้ ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้ว การเก็บข้อมูลทุกอย่างก็เป็นไปเพื่อประโยชน์ของตัวลูกค้าเอง

การแข่งขันในตลาดหลังจบ Covid-19


ก่อนที่โควิดจะมาถึง หลายธุรกิจยังคงเน้นการแข่งขันด้วยเรื่องของราคา แต่หลังจากนี้ประชาชนจะหันไปให้ความสำคัญกับเรื่องของคุณภาพและความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น และนี่คือสิ่งที่ผู้ประกอบการควรทำ เพื่อให้สามารถตอบโจทย์ลูกค้า และยังแข่งขันได้
  • Product-Innovation : ปรับเปลี่ยนเพื่อให้ตอบโจทย์ลูกค้า

  • Self-Innovation : เปลี่ยนแปลงตนเอง เพื่อให้มีประสิทธิภาพมากพอในการแข่งขันกับตลาดโลกได้

  • Trend : คอยมองว่าสิ่งที่เป็นเทรนด์หลักของโลกคืออะไร หรือแนวโน้มของตลาดน่าจะเป็นไปในทิศทางไหน เช่น โลกกำลังจะก้าวเข้าสู่ Aging Society สินค้าแบบเดิม ๆ ของเรา สามารถตอบโจทย์ Mega Trend ได้หรือไม่ หากเราตามเทรนด์ มองเรื่องของอนาคตอยู่เสมอ และปรับเปลี่ยน Product ได้ทัน ก็จะเป็นอีกหนึ่งหนทางที่ทำให้เราอยู่รอด

บทบาทที่เปลี่ยนไปในอนาคตของภาคธุรกิจธนาคาร


วิกฤตนี้ทำให้เราเห็นว่า คนที่ได้รับผลกระทบหนักที่สุดคือ คนที่ขาดการวางแผน หรือยัง Risk Management ยังไม่ดี และวิกฤตนี้ก็เป็นตัวเร่ง ที่ทำให้หลายคนเริ่มวางแผนการเงินในอนาคตอย่างระมัดระวัง ดังนั้นธุรกิจธนาคารก็จะต้องปรับตัว เพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของผู้ใช้บริการ
  • การทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการบริหารความเสี่ยง:
    ภาคธนาคารคือ ภาคธุรกิจที่ทำหน้าที่สำคัญในการ Mobilized เงินให้แก่ธุรกิจ SMEs รายย่อย ในอนาคต ธนาคารต้องโฟกัสให้มากขึ้น ในการเป็นตัวกลางให้แก่ภาคธุรกิจ เพื่อช่วยวางแผนการจัดการ Risk Management
  • การพัฒนา Tech Financial ให้ตอบโจทย์พฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลง:
    ในอนาคตการทำงานของธนาคารในรูปแบบ Open Banking หรือ Cloud Funding นั้นถูก คาดการณ์ไว้ว่าจะเติบโตขึ้นอย่างมาก และอาจกลายเป็น Channel หลักในการเข้ามาของลูกค้า ทำให้โจทย์สำคัญของการปรับตัวของธนาคาร คือ การพัฒนา Tech Financial ให้ตอบโจทย์พฤติกรรมของผู้ใช้ และต้องทำให้การจัดการด้านการเงินง่ายขึ้นในยุคของการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี

การวางแผนเรื่องเงินที่จะเปลี่ยนไปในโลกหลังโควิด


แน่นอนว่าหลังจากนี้การวางแผน การบริหารจัดการเรื่องเงิน จะต้องถูกเปลี่ยนใหม่ทั้งหมด ตั้งแต่การลงทุน ไปจนถึงวิธีการออมเงิน
  • ลงทุนอย่างต่อเนื่อง: การลงทุนจะต้องพิจารณาถึงสิทธิประโยชน์ที่เกิดขึ้นในระยะยาว การใช้จ่ายที่เกิด Critical มากที่สุด อยากแนะนำให้วิเคราะห์การลงทุนมากขึ้น เน้นตัด Luxury Consumption เดิมออก และเก็บ Luxury Investment ไว้ เพราะไม่ว่าจะมีวิกฤตกี่ครั้ง จะมีโอกาสในการแก้ปัญหาเกิดขึ้นเสมอ ในกรณีของวิกฤตโควิด เทคโนโลยีและดิจิตอลได้เข้ามามีบทบาทอย่างมากในชีวิตประจำวัน การตลาดบนโลกออนไลน์เป็นสิ่งที่คนต้องการมากขึ้น และการลงทุนในสิ่งที่กำลังเติบโตเหล่านี้ จะส่งผลให้กับธุรกิจในระยะยาวอย่างแน่นอน
  • ลงทุนในประกันป้องกันความเสี่ยง: การบริหารความเสี่ยงด้านธุรกิจ นอกจากการลงทุนอย่างต่อเนื่องแล้ว สิ่งที่สำคัญมากไม่แพ้กันเลย คือ การลงทุนเพื่อป้องกันความเสียหายที่ไม่สามารถคาดเดาได้ในอนาคต เพราะบทเรียนที่ผู้ประกอบการ ไม่คาดฝันว่าจะพบเจออย่าง “โรคระบาด” ทำให้ธุรกิจโดยเฉพาะกลุ่ม SMEs ล้มกันไปหลายราย เพราะขาดเกราะป้องกันความเสี่ยง และหลังจากนี้การลงทุนในประกันความเสี่ยงจะกลายเป็น “New Normal” ของธุรกิจทุก Sector
  • การออมเงินที่เปลี่ยนไป : ก่อนเกิดวิกฤต แผนการออมเงินทั่วไปออมเพื่อใช้จ่ายในวัยเกษียณ แต่ปัจจุบัน เราต้องออมเงินเพื่อป้องกันการตกงาน และเผื่อให้เหลือใช้ในยามวิกฤต ทำให้แผนการเงินส่วนบุคคลต้องเปลี่ยนตามลำดับความสำคัญ การเริ่มออมเงินที่เร็ว และสม่ำเสมอจึงสำคัญมาก ในอนาคตเราต้องขยับเวลาในการลงทุนให้เร็วขึ้น เพราะการเริ่มก่อนนั้นได้เปรียบกว่า

ประเทศไทยจะเป็นอย่างไรในระยะเวลา 5 ปีข้างหน้า


ประเทศไทยกำลังอยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่าน และเป็นช่วงเวลาสำคัญที่ธุรกิจจะปรับตาม เพื่อให้ Survive กับโลกในอนาคต โดยสิ่งจะที่เปลี่ยนไปคือ คน โครงสร้างเศรษฐกิจ
  • คนเปลี่ยน: ประเด็นแรกคือ ประชากรจำนวนมากเข้าสู่ Aging Society ส่งผลให้พฤติกรรมการบริโภคของคนส่วนใหญ่นั้นเริ่มเปลี่ยนไป และอีกประเด็นคือ ผู้คนจะมองหา Experience ใหม่ ที่คำนึงถึงประเด็นเรื่องสุขอนามัยเป็นสำคัญ และผู้บริโภคอาจจะใช้ช่องทางออนไลน์มากกว่า ออฟไลน์
  • โครงสร้างเศรษฐกิจเปลี่ยน: อะไรที่เคยขายได้ดี อาจไม่ดีแล้วในอนาคต วิธีคิดเดิมที่เคยใช้ได้ดี อาจใช้ไม่ได้อีกแล้ว การเกิดดับของธุรกิจก็จะเร็วขึ้น บริษัทที่รู้จักการ Transform ให้เหมาะสมกับ สังคมที่เปลี่ยน เทคโนโลยีที่เปลี่ยน และพฤติกรรมคนที่เปลี่ยน จะทำให้อยู่รอดต่อไปได้
  • กฎระเบียบรัฐเปลี่ยน: การแก้ไขกฎระเบียบของภาครัฐ ต้องทำเพื่อช่วยภาคประชาชนให้ฟื้นตัวกลับมา และช่วยให้คนทำธุรกิจได้ง่ายขึ้น และภาครัฐต้องคำนึงถึงเรื่อง Health Care สุขอนามัย ความสะอาด ความปลอดภัยมากขึ้น เพราะสิ่งนี้กลายเป็นมาตรฐานใหม่ที่ปรับเปลี่ยนพร้อมกันทั่วโลก เพื่อสร้าง Trusted Economy ให้แก่คนในประเทศ และความเชื่อมั่นของนักท่องเที่ยว

บทความที่เกี่ยวข้อง:
ลงทะเบียนรับข่าวสาร
บริการส่งข้อมูลความรู้ ให้ลูกค้าธุรกิจผ่านอีเมล์
บริการจัดส่งบทวิเคราะห์และข้อมูลข่าวสารทางธุรกิจผ่านทาง E-mail
  • บทวิเคราะห์เศรษฐกิจรายสัปดาห์จากศูนย์วิจัยกรุงศรี
  • ผลการสำรวจดัชนีภาวะธุรกิจ SME รายไตรมาส โดยกรุงศรี
  • ข่าวสาร และกิจกรรมของธนาคาร
  • บริการทางการเงิน และโปรโมชั่นใหม่ๆ ของธนาคาร
Follow us on
ลงทะเบียนรับข่าวสาร
บริการส่งข้อมูลความรู้ ให้ลูกค้าธุรกิจผ่านอีเมล์
บริการจัดส่งบทวิเคราะห์และข้อมูลข่าวสารทางธุรกิจผ่านทาง E-mail
  • บทวิเคราะห์เศรษฐกิจรายสัปดาห์จากศูนย์วิจัยกรุงศรี
  • ผลการสำรวจดัชนีภาวะธุรกิจ SME รายไตรมาส โดยกรุงศรี
  • ข่าวสาร และกิจกรรมของธนาคาร
  • บริการทางการเงิน และโปรโมชั่นใหม่ๆ ของธนาคาร
Powered by
© 2567 ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)
Follow