ถึงเวลาแก้เผ็ด Scammer ปกป้องตัวเอง! ด้วย 3 วิธี สุดคูล

ถึงเวลาแก้เผ็ด Scammer ปกป้องตัวเอง! ด้วย 3 วิธี สุดคูล

By Krungsri Plearn Plearn
วันนี้เราจะขอแบไต๋ทริคที่มิจฉาชีพ สแกมเมอร์ ใช้มาหลอกเราให้ได้รู้กันแบบกระจ่าง เพื่อให้เราสามารถป้องกันตัวเองจากกลลวงเหล่านี้ได้ หากใครกำลังเจอปัญหาแบบนี้ หรือคนใกล้ตัวกำลังโดนหลอกอยู่ นี่ล่ะถึงเวลาที่เราจะได้ วิธีแก้เผ็ด Scammer กันสักที!

3 สตอรี่ยอดฮิตที่มิจฉาชีพ สแกมเมอร์ ชอบใช้

มิจฉาชีพ แก๊งคอลเซนเตอร์

1. ได้มรดกแต่ติดภาษียังเอามาใช้ไม่ได้..โอนมาหน่อยเดี๋ยวแบ่งให้

สตอรี่แบบนี้เป็นยุคแรก ๆ รูปแบบที่สแกมเมอร์จะชอบใช้เพื่อหาเหยื่อที่ต้องการ และเหยื่อส่วนใหญ่มักเป็นผู้หญิงโสด ฐานะ สักหน่อย โดยจะเข้ามาตีสนิทกับเราผ่านแชทในแอปพลิเคชันหาคู่ หรือในโซเชียลมีเดีย จะใช้การสร้างภาพว่าตัวเองเป็นคนมีฐานะ ขับรถแพง ๆ ใช้ชีวิตหรูหรา มีเงินเยอะ ตอนนี้ได้รับมรดกจากครอบครัว แต่ติดปัญหาไม่สามารถเอาเงินออกมาใช้จ่ายได้ เพราะต้องจ่ายภาษีให้ทางหน่วยงานก่อน เลยอยากยืมเงินเราเพื่อจ่ายภาษีก้อนนั้น

โดยมิจฉาชีพ สแกมเมอร์พวกนี้จะล่อลวงให้เราโอนเงินก้อนใหญ่ไปให้จ่ายภาษีตามสตอรี่ที่อ้างมาก แล้วจะโอนเงินก้อนคืนกลับมา เป็นค่าตอบแทนให้เราในตัวเลขที่สูงเกินความเป็นจริง

หากใครกำลังเจอสถานการณ์แบบนี้ให้รีบบล็อกทันที ขอเตือนเอาไว้ว่า อย่าให้ความโลภเด็ดขาด เพราะชีวิตจริงไม่มีใครใจดีให้เงินกับเราเยอะ ๆ หรอก สตอรี่นี้หลอกชัวร์
มิจฉาชีพ สแกมเมอร์ หลอกให้รัก

2. เข้ามาทัก หลอกให้รัก..แล้วหลอกให้โอนเงินให้

สตอรี่ถัดมาที่เรามักเห็นกันบ่อย ๆ คือ มีคนเข้ามาทักทาย พูดคุยหลอกให้รัก แล้วให้เราเปย์เงินทองให้ แน่นอนไม่ว่าใครก็อยากมีความรักที่สมหวังจนได้แต่งงาน แต่ถ้าต้องโอนเงินไปให้ตลอดเวลาแบบนี้ไม่น่าจะใช้ความรักแล้ว แต่มันคือมิจฉาชีพชัด ๆ

สำหรับรูปแบบของมิจฉาชีพ สแกมเมอร์ แบบนี้คือ จะใช้ภาพโปรไฟล์ที่หน้าตาดี หนุ่มหล่อสาวสวย พูดจาออดอ้อน ให้เราเคลิ้มแล้วค่อย ๆ หลอกให้เราโอนเงินครั้งละเป็นก้อนใหญ่ ๆ

โดยให้เหตุผลว่า มีเรื่องเดือดร้อน ต้องจ่ายค่าเทอม พ่อป่วย แม่เข้าโรงพยาบาล สัตว์เลี้ยงไม่สบาย สารพัดเรื่องดราม่าให้เราช่วยเหลือ ถ้าหากตกหลุมพรางล่ะก็ มีเงินเท่าไหร่ ก็โดนหลอกหมดตัว ใครกำลังเจอคนเข้ามาตีสนิทแบบนี้ รีบบล็อกให้หมด อย่าไปเสียเวลาคุย เดี๋ยวจะตกหลุมรักโจร โดยไม่รู้ตัว
มิจฉาชีพ สแกมเมอร์ หลอกให้โอนเงิน

3. คุณกำลังเจอหมายศาล ไม่อยากโดนคดีต้องโอนมา

สำหรับสตอรี่นี้เป็นเรื่องที่หลายคนมักเจอกันบ่อย ๆ โดยมิจฉาชีพ สแกมเมอร์จะอ้างตัวเป็นเจ้าหน้าที่รัฐ ติดต่อมาหาเราในหลาย ๆ ช่องทาง ไม่ว่าจะโทรเข้ามาด้วยเบอร์ส่วนตัว หรือส่งข้อความให้เรากดลิงก์ เพื่อหลอกเอาเงินของเราไปจากบัญชี

โดยมักอ้างว่าเราโดนคดีต่าง ๆ เช่น มีใบสั่งขับรถเร็วเกินกำหนด หรือมีภาษีค้างจ่าย ต้องรีบให้เราโอนเงินไป ไม่อย่างนั้นจะถูกจับ ติดคุก เมื่อเจออย่างนี้แล้วทำให้หลายคนกลัว แล้วรีบโอนเงินไปให้มิจฉาชีพ สแกมเมอร์

พอรู้ตัวอีกทีก็พบว่าเราโดนหลอกเข้าให้แล้ว จะตามเงินคืนก็ยาก เพราะมิจฉาชีพพวกนี้ใช้วิธีการเปลี่ยนเบอร์โทรศัพท์ไปเรื่อย ๆ ให้ตามตัวไม่ได้ ถ้าใครที่มีเบอร์แปลกโทรเข้ามา หรือส่งข้อความในลักษณะแบบนี้ อย่าไปหลงเชื่อเด็ดขาด

เจ้าหน้าที่รัฐตัวจริง จะใช้เบอร์คอลเซนเตอร์ของหน่วยงานนั้น ๆ ติดต่อเรามา ไม่ใช้เบอร์ส่วนตัว หรือส่งข้อความมาหาเราโดยตรง ให้รีบตัดสาย หรือลบข้อความทิ้ง หากมีข้อสงสัยให้เราโทรติดต่อไปที่หน่วยงานนั้น ๆ ด้วยตัวเองจะดีที่สุด

วิธีเอาคืนแก๊งมิจฉาชีพ สแกมเมอร์ แบบไหน ให้อยู่หมัด?

1. เอาคืนมิจฉาชีพด้วยการสอบถามข้อมูล เพื่อแจ้งจับโจรตัวจริง

วิธีแก้เผ็ด Scammer ง่าย ๆ เราอาจใช้วิธีการพูดคุย หรือแกล้งมิจฉาชีพกลับไปเพื่อหลอกสอบถามข้อมูลคืนบ้าง หลังจากปล่อยให้มิจฉาชีพทำเราอยู่ฝ่ายเดียว หากเป็นแก๊งสแกมเมอร์ ที่ติดต่อมาทางโทรศัพท์ ซึ่งส่วนใหญ่มักติดต่อเข้ามาเป็นภาษาไทย พูดคุยเพื่อให้เราหลงเชื่อ

ให้เราลองปฏิบัติตามนี้ อย่างเช่น แกล้งสอบถามชื่อ-นามสกุล หรือเลขบัตรประชาชนของมิจฉาชีพ เพื่อยืนยันตัวกับเรา ถ้าหากมิจฉาชีพหลงเชื่อ เราอาจส่งสลิปปลอมที่บันทึกจากอินเทอร์เน็ตส่งกลับไป แล้วเราก็นำข้อมูลที่ได้ติดต่อกับหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการทางกฎหมายต่อไป
ป้องกันมิจฉาชีพ สแกมเมอร์

2. จับไต๋มิจฉาชีพ สแกมเมอร์ให้ชัวร์ แล้ว Report ปิดบัญชีให้หมด

ในโซเชียลมีเดียตอนนี้ การพูดคุยกับคนไม่รู้จักทำได้ค่อนข้างง่าย และยิ่งถ้าเรามีไลฟ์สไตล์ที่ดี ชอบแชร์ชีวิตความเป็นอยู่บ่อย ๆ ด้วยแล้ว เราก็อาจตกเป็นเหยื่อให้มิจฉาชีพพุ่งเป้ามาได้ วิธีการรับมือนั้นง่ายมาก ๆ
 
  • เช็กความน่าสงสัยของบัญชีดังกล่าว เช่น สังเกตจากอายุของบัญชีโซเชียลมีเดีย หากเป็นมิจฉาชีพมักนิยมสมัครบัญชีใหม่ เพื่อมาหลอกลวงเรา ชอบโพสต์เนื้อหาติด ๆ กันทุกวัน และมักลงแต่ภาพไลฟ์สไตล์ สวยหรู เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือ

    หรือสังเกตุจากการมียอด Following เยอะเกินไป แต่ในส่วนของ Followers กลับน้อยเกินไปหลายเท่าตัว ก็มีความเป็นไปได้ที่บัญชีนั้นจะเป็นของปลอม

  • กดบล็อกผู้ใช้ ไม่ให้ติดตาม และส่งข้อความมาหาเราได้อีก และกดรายงานต่อระบบว่าผู้ใช้ดังกล่าวว่าเป็นสแปม เพื่อให้ระบบของโซเชียลมีเดียช่วยตรวจสอบ และจัดการแบนบัญชีโซเชียลมีเดียนั้น ไม่ให้ไปหลอกลวงใครได้อีก

    แล้วต่อจากนี้ให้เราเล่นโซเชียลด้วยความไม่ประมาท ให้คิดเราอาจตกเป็นเหยื่อของ มิจฉาชีพ สแกมเมอร์ ได้ตลอดเวลา
ป้องกันมิจฉาชีพ สแกมเมอร์ ลิงก์ดูดเงิน

3. ติดตั้งแอปพลิเคชัน ช่วยบล็อกเบอร์โทรศัพท์ และข้อความจาก สแกมเมอร์

อีกหนึ่งวิธีที่เราสามารถป้องกันตัวเองจากมิจฉาชีพ สแกมเมอร์ด้วยตัวเอง หรือสามารถทำให้ผู้สูงอายุในครอบครัว คือการติดตั้งแอปพลิเคชัน อย่างเช่น Whoscall หรือ Hiya ข้อดีของแอปพลิเคชันแบบนี้คือ สามารถช่วยคัดกรองสายเข้า หากเป็นมิจฉาชีพ หรือหน่วยงานไหนจะขึ้นโชว์บอกข้อมูลให้เรารู้ก่อนรับสาย และนอกจากนี้ยังช่วยบล็อกข้อความประเภทหลอกลวงให้เราได้อีกด้วย

แอปพลิเคชันเหล่านี้นำข้อมูลมาจากการให้ผู้ใช้งานช่วยกันอัปเดตเบอร์โทรศัพท์ และข้อมูลของมิจฉาชีพลงไปในฐานข้อมูลส่วนกลางได้ เพื่อจะคอยอัปเดตข้อมูลใหม่ ๆ อยู่เสมอ

โดยเราสามารถเลือกตั้งแอปพลิเคชันนี้ ระบบปฏิบัติการ iOS และ Android ได้แบบฟรี ๆ ถ้าหากใครมีผู้สูงอายุในบ้าน อย่าลืมติดตั้งแอปพลิเคชันแบบนี้ให้ด้วยนะ รับรองได้เลยปัญหาโดนมิจฉาชีพ สแกมเมอร์ โทรมาหลอกจะหมดไป

จะทำอย่างไร? เมื่อเรา..ตกเป็นเหยื่อแก๊งมิจฉาชีพ สแกมเมอร์

รวบรวมเอกสารฟ้อง มิจฉาชีพ สแกมเมอร์
  1. รวมรวมหลักฐานให้ครบ ทั้งแชทที่คุย หรือข้อความที่ได้รับ ข้อมูลเบอร์โทรศัพท์ หลักฐานสลิปโอนเงิน ข้อมูลทั้งหมดที่มี และนำเอกสารส่วนตัวของเรา เช่น สำเนาบัตรประชาชน
  2. ไปแจ้งความที่สถานีตำรวจ เพื่อเอาใบบันทึกประจำวันไปติดต่อธนาคารของเรา เพื่อดำเนินขั้นตอนเกี่ยวกับธุรกรรมการเงินของเรา
  3. ร้องทุกข์ได้ที่ กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บก.ปอท.) หากไม่สะดวกเดินทางไปด้วยตัวเองจะเข้าไปกรอกข้อมูลก็ได้ที่ https://www.thaipoliceonline.go.th/
  4. ส่งเรื่องต่อไปยังสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน หรือ สำนักงาน ปปง. เพื่อติดตามเส้นทางการเงินของเพื่อติดตาม และจับกุมมิจฉาชีพ สแกมเมอร์ ที่หลอกลวงเงินของเราไป เพียงแค่นี้เราก็อุ่นใจได้ หากอยากได้เงินของเราทั้งหมดคืนมา
เราไม่คลิกลิงก์ที่ถูกส่งมาทางข้อความในโทรศัพท์ เพราะส่วนใหญ่ลิงก์เหล่านั้นมีปลายทางไปที่ไวรัส หรือคำสั่งติดตั้งแอปพลิเคชันดูดเงิน และทางธนาคารกรุงศรี ไม่มีนโยบาย ส่ง SMS ไปหาลูกค้าโดยตรง หากได้ข้อความลักษณะแบบนี้ให้ทำการลบข้อความทิ้งโดยทันที เพราะเป็นมิจฉาชีพอย่างแน่นอน

หากพบว่ามีความผิดปกติเกิดขึ้นกับบัญชีเงินฝาก หรือการทำธุรกรรมออนไลน์ เราสามารถติดต่อสอบถามมาได้ที่ Krungsri Call Center 1572 ได้ทันทีตลอด 24 ชั่วโมง อย่าปล่อยให้เวลาผ่านไปเฉย ๆ ป้องกันไว้ก่อน จะปลอดภัยกับเราที่สุด
ขอบคุณข้อมูลจาก: -
ลงทะเบียนรับข่าวสาร
บริการส่งข้อมูลความรู้ ให้ลูกค้าธุรกิจผ่านอีเมล์
บริการจัดส่งบทวิเคราะห์และข้อมูลข่าวสารทางธุรกิจผ่านทาง E-mail
  • บทวิเคราะห์เศรษฐกิจรายสัปดาห์จากศูนย์วิจัยกรุงศรี
  • ผลการสำรวจดัชนีภาวะธุรกิจ SME รายไตรมาส โดยกรุงศรี
  • ข่าวสาร และกิจกรรมของธนาคาร
  • บริการทางการเงิน และโปรโมชั่นใหม่ๆ ของธนาคาร
Follow us on
ลงทะเบียนรับข่าวสาร
บริการส่งข้อมูลความรู้ ให้ลูกค้าธุรกิจผ่านอีเมล์
บริการจัดส่งบทวิเคราะห์และข้อมูลข่าวสารทางธุรกิจผ่านทาง E-mail
  • บทวิเคราะห์เศรษฐกิจรายสัปดาห์จากศูนย์วิจัยกรุงศรี
  • ผลการสำรวจดัชนีภาวะธุรกิจ SME รายไตรมาส โดยกรุงศรี
  • ข่าวสาร และกิจกรรมของธนาคาร
  • บริการทางการเงิน และโปรโมชั่นใหม่ๆ ของธนาคาร
Powered by
© 2567 ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)
Follow