ความสำคัญของ เครื่องหมายการค้า ที่แบรนด์หรือธุรกิจควรต้องรู้

ความสำคัญของ เครื่องหมายการค้า ที่แบรนด์หรือธุรกิจควรต้องรู้

By Krungsri Plearn Plearn
ในการทำธุรกิจ เครื่องหมายการค้าถือว่าเป็นสิ่งที่มีความสำคัญเป็นอย่างมาก ที่สามารถทำให้ธุรกิจนั้นสามารถขยายตัวได้อย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพจนเป็นที่พูด อย่างในกรณีดรามาในช่วงที่ผ่านมาบนโลกโซเชียล เกี่ยวกับเรื่องของการละเมิดเครื่องหมายการค้าที่มีการนำไปใช้ในการทำธุรกิจว่าเหมือนหรือไม่เหมือนต้นฉบับกันแน่
ธุรกิจเรียนรู้เรื่องเครื่องหมายทางการค้า
และในวันนี้เราจึงอยากพาทุกคนที่กำลังธุรกิจ หรือคนที่กำลังสนใจอยากเริ่มทำธุรกิจไปทำความรู้จักในเรื่องของเครื่องหมายการค้าให้มากขึ้น เพื่อที่จะเซฟเก็บเป็นความรู้นำไปใช้ในวันที่ธุรกิจของเราต้องเจอปัญหาในการใช้เครื่องหมายการค้านั่นเอง เตรียมสมุดจดให้พร้อม แล้วตามเราไปดูกันเลย

เข้าใจ “เครื่องหมายการค้า” ให้มากขึ้น

สำหรับเครื่องหมายการค้า (Trade Mark) คือ ทรัพย์สินทางปัญญาอีกหนึ่งประเภทที่เป็นตัวการันตีความสำเร็จของธุรกิจ โดยเครื่องหมายทางการค้านี้จะมีบทบาทที่สำคัญในการทำให้แบรนด์เป็นที่น่าจดจำ และยังเป็นอีกหนึ่งในกลยุทธ์การตลาดที่แต่ละแบรนด์ควรมีเอาไว้เพื่อทำให้ลูกค้า หรือผู้บริโภคนั้นสามารถจดจำเอกลักษณ์ และความพิเศษของร้าน และสินค้านั้น ๆ ได้นั่นเอง

พูดมาแบบนี้หลายคนคงคิดว่า LOGO แบรนด์ คือเครื่องหมายการค้าใช่ไหม คงต้องตอบว่า เครื่องหมายการค้า และ LOGO มีข้อแตกต่าง คือ เครื่องหมายการค้า สามารถเป็นได้ทั้งข้อความ รูปภาพ ตัวอักษร หรือสัญลักษณ์ แต่ LOGO มักเป็นภาพกราฟิก ประกอบไปด้วยสัญลักษณ์ ตัวอักษร หรือภาพประกอบ
ธุรกิจออกแบบเครื่องหมายทางการค้า
และในช่วงที่ผ่านมานี้ก็มีการพูดถึงทรัพย์สินทางปัญญากันเยอะมาก ๆ ทำให้หลายคน ๆ เกิดความสงสัยอยู่ว่า ทรัพย์สินทางปัญญา คืออะไรกันแน่ ซึ่งทรัพย์สินทางปัญญานั้นก็คือสิ่งใด ๆ ที่เกิดจากการประดิษฐ์ คิดค้น หรือความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ ที่ได้นำเอาความชอบ หรือความชำนาญมาทำให้เกิดสิ่งใหม่ที่มีความแตกต่างขึ้นมา และทำให้ผู้คนนั้นชื่นชอบ และเป็นที่น่าจดจำนั่นเอง

นอกจากนี้ผู้ที่ทำการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าแล้วยังมีสิทธิในการใช้เครื่องหมายการค้าของตนอยู่เสมอ เว้นแต่ในกรณีที่ผู้ทำการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าได้ทำสินค้า หรือแบรนด์ที่มีความเหมือน หรือคล้ายคลึงกับเครื่องหมายการค้านั้นให้กับบุคคลอื่น เจ้าของที่เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าตัวจริงก็สามารถที่จะดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไปได้เพื่อแสดงตนว่าตนเองนั้นเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่ถูกต้องนั่นเอง

5 เรื่องกฎหมายของทรัพย์สินทางปัญญา รู้เอาไว้ก็ไม่เสียหาย!

1. Q: ถ้าอยากจดเครื่องหมายการค้าให้ถูกต้อง ต้องทำอย่างไร?

A: การจดเครื่องหมายทางการค้าไม่ใช่เรื่องที่ยากอย่างที่คิด เพียงแต่จะต้องยึดถือตามหลักทั้ง 3 ข้อนี้ ได้แก่
  • เครื่องหมายการค้าจะต้องมีลักษณะที่เฉพาะ จะต้อง “ไม่มีคำ” ที่บ่งบอกถึงคุณลักษณะ และสินค้าโดยตัวมันเอง เพราะคำเหล่านี้ เป็นคำที่ใคร ๆ ที่ขายสินค้าสามารถใช้ได้ ไม่สามารถจดเอาไว้เป็นของเราคนเดียว ตัวอย่างเช่น ข้าวไข่เจียว, ข้าวราดแกง เป็นต้น
  • เครื่องหมายการค้าที่เราต้องการจดต้องไม่เหมือน หรือคล้ายคลึงกับแบรนด์ หรือสินค้าของแบรนด์อื่น ๆ โดยสามารถเช็กได้จากเว็บไซต์ของ กรมทรัพย์สินทางปัญญา ตรงนี้เลย
  • เครื่องหมายการค้าของเราจะต้องไม่เป็นเครื่องหมายที่มีลักษณะต้องห้ามตามกฎหมาย เช่น เครื่องหมายที่มีลักษณะสื่อไปในทางลามก หยาบคาย หรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือเครื่องหมายทางราชการ

2. Q: ลิขสิทธิ์ Vs เครื่องหมายการค้า แตกต่างกันอย่างไร?

A: ลิขสิทธิ์ และเครื่องหมายทางการค้า แม้คำนิยามจะมีความคล้ายคลึงกันแต่จะแตกต่างกันตรงที่ ลิขสิทธิ์นั้น หมายถึง ทรัพย์สินทางปัญญาที่เกิดมาจากการแสดงออกของความคิด และผู้ที่สร้างสรรค์ หรือผู้ประดิษฐ์ ซึ่งจะมีสิทธิในสิ่งนั้นแต่เพียงผู้เดียว เป็นสิทธิที่คุ้มครองงานสร้างสรรค์เกือบทั้งหมด เช่น งานเขียนของศิลปิน, ภาพวาด หรือผลงานเพลงต่าง ๆ เป็นต้น

ส่วนเครื่องหมายการค้าจะเป็นทรัพย์สินทางปัญญาที่คุ้มครองการบริการเสียส่วนใหญ่ และยังครอบคลุมถึง ชื่อสินค้า, ชื่อบริการ รวมไปถึงคำโฆษณา หรือสโลแกนอีกด้วย
(อ้างอิง: idgthailand.com)

3. Q: เครื่องหมายการค้ามีเวลาคุ้มครองนานแค่ไหน?

A : เครื่องหมายการค้าที่ได้รับการจดทะเบียนแล้ว จะมีอายุการให้ความคุ้มครอง 10 ปี นับตั้งแต่วันที่ยื่นคำขอจดทะเบียน และสามารถต่ออายุได้คราวละ 10 ปี โดยไม่จำกัดจำนวนครั้ง แต่การยื่นคำขอต่ออายุต้องดำเนินการภายใน 90 วัน ก่อนวันที่เครื่องหมายการค้านั้นสิ้นอายุ

ดังนั้น ระยะเวลาคุ้มครองเครื่องหมายการค้าทั้งหมดจึงอยู่ที่ 20 ปี ยกเว้นในกรณีที่เจ้าของเครื่องหมายการค้ามีพฤติการณ์ใช้เครื่องหมายการค้าไม่ถูกต้องตามกฎหมาย เช่น ไม่ได้ใช้เครื่องหมายการค้าจริงจัง หรือใช้เครื่องหมายการค้าเพื่อฉ้อโกงผู้บริโภค เป็นต้น ในกรณีนี้ กรมทรัพย์สินทางปัญญาอาจพิจารณาเพิกถอนเครื่องหมายการค้านั้นก่อนครบกำหนดอายุ 10 ปี

นอกจากนี้ เจ้าของเครื่องหมายการค้ายังสามารถรักษาความคุ้มครองเครื่องหมายการค้าของตนไว้ได้ โดยการใช้เครื่องหมายการค้าจริงจังอย่างต่อเนื่อง และโปรโมตเครื่องหมายการค้าของตนอย่างสม่ำเสมอ

4. Q: เจ้าของเครื่องหมายการค้ามีสิทธินำไปใช้เรื่องอะไรได้บ้าง?

A: ผู้ที่ได้ทำการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าแล้ว จะมีสิทธิได้รับการคุ้มครองดังนี้
  1. สิทธิในการใช้เครื่องหมายการค้าในการทำธุรกิจ หรือการค้าขาย เว้นแต่จะมีการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่มีลักษณะเหมือน หรือคล้ายของบุคคลอื่น
  2. สิทธิในการขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า
  3. สิทธิคัดค้านการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของผู้อื่น ว่าด้วย "บุคคลใดเห็นว่าตนมีสิทธิดีกว่าผู้ขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้น อาจยื่นคำคัดค้านต่อนายทะเบียนภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้ประกาศโฆษณาคำขอจดทะเบียนนั้น"
  4. สิทธิขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของผู้อื่น
  5. สิทธิในการต่อสู้คดีเกี่ยวกับเครื่องหมายการค้า
  6. สิทธิฟ้องคดีเกี่ยวกับการลวงขาย มาตรา 46 วรรค 2 ว่าด้วย "เจ้าของเครื่องหมายการค้ามีสิทธิฟ้องร้องดำเนินคดีต่อบุคคลใดก็ตามที่ละเมิดสิทธิในเครื่องหมายการค้าของตน"
  7. สิทธิดำเนินคดีอาญาตามกฎหมายซึ่งคุ้มครองเจ้าของเครื่องหมายการค้า
    (dharmniti.co.th)

5. Q: หากมีการละเมิดเครื่องหมายการค้าจะมีความผิดอะไร?

A: ตามที่ พรบ. เครื่องหมายการค้าได้ระบุไว้ในมาตราที่ 273 ความว่า การปลอมเครื่องหมายการค้าของผู้อื่น ซึ่งได้จดทะเบียนแล้ว ไม่ว่าจะได้จดทะเบียนภายใน หรือภายนอกราชอาณาจักร ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 6 พันบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
(อ้างอิง : ipthailand.go.th)
กฎหมายเครื่องหมายทางการค้า

จะทำอย่างไรดี? เมื่อธุรกิจของเราโดนคดีการละเมิดเครื่องหมายทางการค้า

1. มีสติอย่าเพิ่งตื่นตกใจ

เมื่อเราได้รับหมายเรียกจากทางเจ้าหน้าที่ตำรวจให้ไปให้การในคดีเกี่ยวกับเครื่องหมายการค้า สิ่งสำคัญคืออย่าเพิ่งตกใจ หรือตื่นตระหนก ควรทำความเข้าใจข้อกล่าวหา และหลักฐานที่คู่กรณีนำมากล่าวหาอย่างละเอียด

2. ปรึกษาทนายผู้เชี่ยวชาญ

ควรปรึกษาทนายความที่มีความเชี่ยวชาญด้านทรัพย์สินทางปัญญา เพื่อขอคำแนะนำ และความช่วยเหลือในการต่อสู้คดี

3. รวบรวมหลักฐานทั้งหมดที่มี

ให้รวบรวมพยานหลักฐานทั้งหมดที่เรามี เช่น เอกสารหลักฐานที่แสดงว่าไม่ได้ละเมิดเครื่องหมายการค้าของคู่กรณี และเอกสารหลักฐานที่แสดงว่าได้ใช้เครื่องหมายการค้านั้นมาก่อนมอบให้กับทนายความ เป็นต้น

4. ส่งเรื่องต่อไปให้ศาลตัดสินคดี

ตัวเราจะต้องต่อสู้คดีในชั้นศาลตามกระบวนการยุติธรรม โดยสามารถต่อสู้คดีด้วยตนเองหรือมอบหมายให้ทนายความดำเนินการแทน โดยศาลจะพิจารณาจากหลักฐานที่เรามีทั้งหมด

สรุป

การศึกษาเรื่องของเครื่องหมายทางการค้านั้นจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ไม่ว่าใครก็ควรที่จะเรียนรู้เอาไว้เพื่อเป็นประโยชน์แก่ตนเอง โดยเฉพาะผู้ประกอบการที่จดทะเบียนเครื่องหมายทางการค้าที่ถูกต้องสำหรับทำ Start Up หรือธุรกิจ SME ที่จะได้เข้าใจ และระวังในเรื่องของเครื่องหมายทางการค้าไม่ให้ธุรกิจ หรือบริการของเรากลายเป็นของละเมิดลิขสิทธิ์ทางปัญญาอาจนำมาสู่การฟ้องร้องได้ในอนาคตนั่นเอง
ขอขอบคุณข้อมูลดี ๆ จาก
ขอบคุณข้อมูลจาก: -
ลงทะเบียนรับข่าวสาร
บริการส่งข้อมูลความรู้ ให้ลูกค้าธุรกิจผ่านอีเมล์
บริการจัดส่งบทวิเคราะห์และข้อมูลข่าวสารทางธุรกิจผ่านทาง E-mail
  • บทวิเคราะห์เศรษฐกิจรายสัปดาห์จากศูนย์วิจัยกรุงศรี
  • ผลการสำรวจดัชนีภาวะธุรกิจ SME รายไตรมาส โดยกรุงศรี
  • ข่าวสาร และกิจกรรมของธนาคาร
  • บริการทางการเงิน และโปรโมชั่นใหม่ๆ ของธนาคาร
Follow us on
ลงทะเบียนรับข่าวสาร
บริการส่งข้อมูลความรู้ ให้ลูกค้าธุรกิจผ่านอีเมล์
บริการจัดส่งบทวิเคราะห์และข้อมูลข่าวสารทางธุรกิจผ่านทาง E-mail
  • บทวิเคราะห์เศรษฐกิจรายสัปดาห์จากศูนย์วิจัยกรุงศรี
  • ผลการสำรวจดัชนีภาวะธุรกิจ SME รายไตรมาส โดยกรุงศรี
  • ข่าวสาร และกิจกรรมของธนาคาร
  • บริการทางการเงิน และโปรโมชั่นใหม่ๆ ของธนาคาร
Powered by
© 2567 ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)
Follow