NFT คืออะไร แชร์ช่องทางสร้างรายได้ฉบับครีเอเตอร์มือใหม่

NFT คืออะไร แชร์ช่องทางสร้างรายได้ฉบับครีเอเตอร์มือใหม่

By Krungsri Plearn Plearn
NFT ยังเป็นกระแสที่ถูกพูดถึงไม่น้อยถึงแม้ตลาดการลงทุน Cryptocurrency ยังมีความผันผวนค่อนข้างสูง นั่นเพราะหลายคนให้ความสำคัญกับ NFT ถึงแม้ราคาเหรียญต่าง ๆ จะลดลง แต่มูลค่าของงานศิลปะผ่าน NFT จะยังมีคุณค่าเพิ่มขึ้นไปอีก ก่อนหน้านี้เราเคยได้อธิบายกันไปแล้วว่า NFT คืออะไร หากใครยังไม่เคยได้อ่านสามารถไปทำความรู้จักกับ NFT แบบเบื้องต้นก่อนได้เลย คลิกตรงนี้
แต่บทความนี้ เราจะพาทุกคนที่อยากก้าวเข้ามาเป็นครีเอเตอร์ หรือเป็นศิลปินวาดภาพ NFT เพื่อวางขายบนโลกออนไลน์ เป้าหมายก็คงเป็นเรื่องของรายได้ที่อาจทำเป็นงานเสริมที่ค่าขนมอาจเป็นหลักหมื่น หรืองาน NFT บางชิ้น สามารถทำราคาได้หลายแสนบาท แล้วถ้าจะต้องเริ่มต้นในวงการ NFT ต้องเตรียมอะไรบ้าง? มีอุปกรณ์การทำงานอะไรเหมาะสมบ้าง? และมีเรื่องอะไรที่ครีเอเตอร์ NFT มือใหม่ต้องทราบเกี่ยวกับวงการ NFT บ้าง มาหาคำตอบไปพร้อม ๆ กันได้เลย
สิ่งที่ครีเอเตอร์ nft มือใหม่ต้องมี

3 สิ่งที่ครีเอเตอร์ NFT มือใหม่ต้องมี

1. ใจรัก และความอดทนในการทำงานศิลปะ


เป็นสิ่งแรกเลย ที่ไม่ว่าจะเป็นครีเอเตอร์ NFT มือใหม่ หรือมือเก่าที่อยู่ในวงการนี้ เพราะกว่าที่เราจะทำงานศิลปะ NFT จนสำเร็จ และมีรายได้เข้ามามันอาจไม่ใช่เรื่องง่าย บางครั้งผลงานชิ้นแรกของเราอาจขายได้เลยในทันที หรือเงียบไม่มีคนสนใจในงาน NFT ของเรา แต่ถ้าเราพยายามฝึกฝนสร้างสรรค์ผลงาน NFT ไว้ให้เยอะ ๆ ลองทำชิ้นงานหลายแบบเป็นคอลเลคชั่น สะสมไว้ในพอร์ตของเรา ใครจะรู้ว่าผลงานศิลปะ NFT ที่เป็นตัวตนของเราอาจถูกใจนักสะสม หรือนักลงทุนสักคนบนโลกอินเทอร์เน็ต แต่ถ้าจนที่สุดแล้ว หากเราไม่ประสบความสำเร็จ อย่าเพิ่งท้อถอย ให้คิดไว้เสมอว่า อย่างน้อยเราก็ทำสำเร็จในความกล้าที่ได้ลงมือทำ

2. เครื่องมือช่วยวาดภาพ ระบายสี


เมื่อเตรียมใจพร้อมเข้ามาสู่วงการ NFT แล้วสิ่งที่ขาดไม่ได้เลย คืออุปกรณ์การทำงานนั่นคือ คอมพิวเตอร์ หรือแท็บเล็ต แต่การวาดภาพ NFT ในสองอุปกรณ์นี้ จะทำได้อย่างยากลำบาก ถ้าไม่มีอุปกรณ์เสริมที่เรียกว่า ‘เมาส์ปากกา’ เพราะส่วนใหญ่เมาส์ปากกา จะมีแรงกดที่มากกว่า การวาดโดยใช้เมาส์ หรือเอานิ้ววาดลงบนจอโดยตรง ทำให้เราสามารถวาดเส้น และลงสีได้อย่างละเอียดคล้ายกับเราวาดและลงสีลงในกระดาษ

ถ้าหากใครที่ถนัดการวาดกับคอมพิวเตอร์ตัวเมาส์ปากกาก็มีให้เลือกด้วยกันหลายยี่ห้ออย่างเช่น Wacom, Gaomon หรือ Parblo เป็นต้น หรือหากใครไม่ถนัดในการวาดภาพ NFT ในคอมพิวเตอร์ ปัจจุบันหลายคนนิยมใช้งานผ่านแท็บเล็ต เช่น iPad หรือ Galaxy tab ก็สะดวกสบายไม่แพ้กัน เพราะสามารถหยิบขึ้นสร้างสรรค์ผลงาน NFT ได้ทุกที่ ทุกเวลา

3. เลือกซอฟต์แวร์วาดรูป ที่เหมาะกับอุปกรณ์


เตรียมใจก็แล้ว อุปกรณ์ก็มีครบสิ่งสุดท้ายเลย คือ การเลือกซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการสร้างสรรค์ผลงาน NFT โดยจะแบ่งเป็นซอฟต์แวร์จากฝั่งคอมพิวเตอร์ และฝั่งแท็บเล็ต เราคัดตัวเด็ด ๆ มาให้ดังนี้
  • ซอฟต์แวร์ฝั่งคอมพิวเตอร์ ที่นิยมใช้ก็มี tratoด้วยกันหลายตัว เช่น Photoshop, Illusr, Rebelle, 3D MAX หรือ Autodesk เป็นต้น ในแต่ละโปรแกรมก็มีข้อดี – ข้อเสียแตกต่างกันไปในเรื่องของการฟังก์ชันการใช้งานอย่างเช่น Illustrator, Autodesk จะเน้นไปที่ีการวาด NFT รูปแบบการใช้เส้น เป็นหลัก และสามารถสร้างผลงาน NFT ได้หลากหลายรูปแบบ ตามที่เราต้องการ แต่ Illustrator มีข้อดีอีกอย่างคือสามารถทำงานร่วมกับโปรแกรมอื่นในตระกูล Adobe หากต้องการลูกเล่นที่เพิ่มขึ้นให้กับงาน NFT ของเรา ส่วน 3D Max จะเป็นการสร้างผลงาน NFT ในรูปแบบของภาพโมเดล 3D เช่นการปั้นโมเดลใช้สำหรับงาน NFT Game

ข้อแตกต่างของซอฟต์แวร์แต่ละตัวคือ ราคาที่เราต้องจ่าย มีทั้งจ่ายแบบรายเดือน เลือกชนิดแพ็กเกจได้ และแบบซื้อขาด แต่มีราคาที่สูงจ่ายทีเดียวจบ ส่วนนี้แนะนำว่าให้มองหาซอฟต์แวร์ที่สามารถเลือกจ่ายรายเดือนได้ดีกว่า เพราะเราสามารถยกเลิกสมาชิกได้ตลอดเวลา และสิ่งที่เหมือนกันของซอฟต์แวร์เหล่านี้คือ รองรับการทำงานร่วมกับเมาส์ปากกา ทำให้ไม่ว่าจะวาด ลงสี หรือตัดเส้นก็ทำได้ลื่นไหลเหมือนวาดอยู่บนกระดาษจริง ๆ

*ข้อแนะนำหากใช้งานบนคอมพิวเตอร์ให้หาหน้าจอมอนิเตอร์มาเสียบใช้งานแยก เพื่อการทำงานที่สบายตามากยิ่งขึ้น ไม่ต้องเพ่งหากทำงานบนคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดหน้าจอเล็ก
ซอฟต์แวร์ยอดนิยมสำหรับครีเอเตอร์ nft
  • ซอฟต์แวร์ฝั่งแท็บเล็ต มีด้วยกันหลายตัวที่ครีเอเตอร์นิยมใช้วาดภาพ NFT อย่างเช่น Procreate, SketchBook หรือ MediBang Paint เป็นต้น แต่จะมีซอฟต์แวร์ยอดนิยมสำหรับสาย NFT คือ Procreate ที่ภายในจะมีหัวแปรงให้เลือกใช้ได้หลากหลาย หรือถ้าไม่ถูกใจเราสามารถซื้อหัวแปรงที่นักวาดคนอื่น ๆ ทำมาขาย หรือสร้างหัวแปรงที่เป็นสไตล์ของเราคนเดียวก็ได้ โดยซอฟต์แวร์แต่ละชนิดส่วนใหญ่จะเป็นแบบซื้อแบบครั้งเดียว ไม่ต้องจ่ายรายเดือน แต่ถ้าอยากได้อะไรเพิ่มจะมีขายในโปรแกรมแยกอีก ช้อปได้ตามใจ และซอฟต์แวร์ทุกอันจะรองรับการทำงานร่วมกับปากกาวาดรูป แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าอุปกรณ์แท็บเล็ตที่เราใช้งาน ต้องใช้งานคู่กับปากกาแบบไหน อย่างเช่น iPad ก็มีปากกาด้วยกันหลายรุ่น ตอนเลือกซื้อปากกาวาดรูปควรเช็กให้ดีว่า สามารถใช้งานร่วมกับแท็บเล็ตที่เรามีได้หรือไม่

*ข้อแนะนำหากใช้งานบนแท็บเล็ต ให้หาอุปกรณ์เสริมอย่างเช่น ถุงมือวาดรูป เพื่อป้องกันคราบมัน หรือคราบเหงื่อ ลดความสกปรกของหน้าจอแท็บเล็ตตอนที่เรากำลังวาดภาพ NFT ไม่อย่างนั้นเราต้องคอยมาเช็ดหน้าจอ อาจทำให้เกิดความผิดพลาด ผลงานที่กำลังตัดเส้น หรือลงสีผิดเพี้ยนได้
วิธีขายภาพ NFT

วิธีขายภาพ NFT ต้องเริ่มจากตรงไหน

เมื่อเราวาดภาพ NFT เสร็จแล้วสิ่งที่เราต้องทำต่อไปคือการนำภาพ NFT มาลงตลาดให้นักลงทุน หรือผู้สะสมงานศิลปะได้เลือกซื้อ โดยตลาดของ NFT ที่ฮิต ๆ ในตอนนี้ Opensea.com, foundation.app หรือ mintable.app หรือ makersplace.com เป็นต้น แต่ก่อนที่จะเริ่มวางขายผลงาน NFT ของเรา เราจำเป็นต้องมีเหรียญ Ethereum กระเป๋าเงินดิจิทัลไว้สักหน่อย เพื่อค่า Gas Fee ในการใช้งานตลาดซื้อ-ขาย NFT

*ข้อแนะนำใครที่เป็นมือใหม่วงการ NFT ที่ยังไม่ได้เป็นสมาชิกกับตลาดซื้อขายเจ้าไหนมาก่อน สิ่งแรกที่ต้องทำคือจ่ายค่าแรกเข้าเป็นสมาชิก ในส่วนนี้จำเป็นต้องจ่ายค่า Gas Fee เป็นค่าแรกเข้า แต่ราคาจะผันผวน ไม่ได้เป็นราคาตายตัว เราสามารถเช็กราคาในแต่ละช่วงเวลาได้คร่าว ๆ ผ่านทางเว็บไซต์ ethereumprice.org/gas/ เพื่อประมาณราคาค่า Gas fee ได้ประหยัดที่สุด จำง่าย ๆ ว่าถ้าช่วงเวลาไหนที่มีคนทำธุรกรรมเยอะ เราจะต้องจ่ายค่า Gas Fee แพงขึ้น เว็บไซต์นี้จะทำให้เราประหยัดเหรียญ Ethereum เพื่อนำไปใช้จ่ายบนตลาดซื้อ-ขาย ได้คุ้มค่าและไม่ต้องเสียเงินเยอะ ถ้าเรายังเป็นมือใหม่ที่ทุนยังน้อย
สำหรับการทำ NFT เพื่อขายตอนนี้กำลังเป็นที่นิยมอย่างมาก เพราะเราทุกคนสามารถเป็นศิลปินสร้างสรรค์ผลงาน NFT บนโลกดิจิทัลได้ทั้งนั้น ไม่จำเป็นว่าเราต้องมีชื่อเสียง ถึงแม้ในวันนี้เราอาจยังขายงานได้น้อย แต่เป็นโอกาสดีที่เราได้รู้จักกับเทรนด์ใหม่ ๆ ในโลกดิจิทัลที่กำลังมาถึงอย่างเช่น Metaverse ที่มีการนำผลงาน NFT เข้าไปผสมผสานด้วย และเรื่องของวงการ Cryptocurrency ยังมีเรื่องไหนที่น่าสนใจอีกบ้าง ติดตามเรื่องราวใหม่ ๆ ได้ที่ Plearn เพลิน by krungsri GURU ไว้ได้เลย เพราะเราจะมีอัปเดตเรื่องราวข่าวสารใหม่ ๆ อีกเพียบ
ขอบคุณข้อมูลจาก: -
ลงทะเบียนรับข่าวสาร
บริการส่งข้อมูลความรู้ ให้ลูกค้าธุรกิจผ่านอีเมล์
บริการจัดส่งบทวิเคราะห์และข้อมูลข่าวสารทางธุรกิจผ่านทาง E-mail
  • บทวิเคราะห์เศรษฐกิจรายสัปดาห์จากศูนย์วิจัยกรุงศรี
  • ผลการสำรวจดัชนีภาวะธุรกิจ SME รายไตรมาส โดยกรุงศรี
  • ข่าวสาร และกิจกรรมของธนาคาร
  • บริการทางการเงิน และโปรโมชั่นใหม่ๆ ของธนาคาร
Follow us on
ลงทะเบียนรับข่าวสาร
บริการส่งข้อมูลความรู้ ให้ลูกค้าธุรกิจผ่านอีเมล์
บริการจัดส่งบทวิเคราะห์และข้อมูลข่าวสารทางธุรกิจผ่านทาง E-mail
  • บทวิเคราะห์เศรษฐกิจรายสัปดาห์จากศูนย์วิจัยกรุงศรี
  • ผลการสำรวจดัชนีภาวะธุรกิจ SME รายไตรมาส โดยกรุงศรี
  • ข่าวสาร และกิจกรรมของธนาคาร
  • บริการทางการเงิน และโปรโมชั่นใหม่ๆ ของธนาคาร
Powered by
© 2567 ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)
Follow