รู้ทัน แอปดูดเงินพร้อมวิธีรับมือหากเผลอดาวน์โหลด

รู้ทัน แอปดูดเงินพร้อมวิธีรับมือหากเผลอดาวน์โหลด

By Krungsri Plearn Plearn
ในปัจจุบัน มิจฉาชีพนั้นมีหลากหลายวิธีมาก ๆ ในการที่จะหลอกเอาเงินจากเรา ซึ่งนอกจากเรื่องของคอลเซ็นเตอร์ที่เราต้องคอยหวาดระแวงกันในแต่ละวันแล้ว ก็ยังมีเหล่ามิจฉาชีพรูปแบบใหม่ ๆ หรือสแกมเมอร์ที่ทำแอปดูดเงินซึ่งมักจะปลอมเป็นตำรวจ บก. ปอท. โดยใช้ชื่อแอปฯ ว่า TCSD Protect ซึ่งหากใครที่ได้โหลดแอปฯ นี้ลงเครื่องแล้วก็จะทำให้ข้อมูลส่วนตัวรวมไปถึงข้อมูลทางการเงินถูกนำออกไปด้วย

ซึ่งอาจทำให้เกิดการเสียทรัพย์โดยไม่รู้ตัวได้นั่นเอง การเราที่ได้เห็นปัญหาของการที่โดนมิจฉาชีพหลอกให้เราโหลดแอปดูดเงินเหล่านี้ จึงอยากมาแนะนำและอัปเดตเกี่ยวกับการรู้ทันกลโกงของมิจฉาชีพเหล่านี้
วิธีเช็กแอปดูดเงิน
สำหรับมิจฉาชีพในปัจจุบันมีวิธีการดูดเงินจากบัญชีธนาคารที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งในตอนนี้มิจฉาชีพก็ได้ทำแอปดูดเงินจากบัญชีธนาคารของเรากันอีก นับว่าเป็นปัญหาที่หากใครที่รู้ไม่เท่าทันก็อาจถูกหลอกได้

วิธีเช็กแอปดูดเงินที่แฝงอยู่ในสมาร์ทโฟน

1. ตรวจเช็กแอปดูดเงินระบบ iOS

เข้าไปที่การตั้งค่าทั่วไป > ค้นหาคำว่า VPN และอุปกรณ์ > ตรวจสอบแอปฯ ที่น่าสงสัย หากไม่มั่นใจให้กดติ๊กแอปฯ เหล่านั้นออก ตัวอย่างเช่น แอปฯ ควบคุมจากระยะไกล เช่น Teamviewer เป็นต้น ให้ทำการถอนการติดตั้ง และทำการลบข้อมูล และทำการตั้งค่าอุปกรณ์ใหม่ทั้งหมด เพื่อความสบายใจ

2. ตรวจเช็กแอปดูดเงินระบบ Android

เข้าไปที่การตั้งค่าทั่วไป > กดสัญลักษณ์ 3 จุดไข่ปลาข้างๆ รูปฟันเฟือง > เลือกเมนูย่อย การเข้าถึงพิเศษ > ให้ถอนการติดตั้งแอปฯ ที่น่าสงสัยที่ทำให้สมาร์ทโฟนของเรามีอาการแปลก ๆ เช่น ค้าง รวน เป็นต้น หากไม่สามารถเปิดเมนูนี้ได้ แล้วมีการเด้งไปหน้า Home แสดงว่าเราถูกฝังแอปฯ ดูดเงินเข้าแล้ว เพราะส่วนใหญ่มิจฉาชีพมักจะเขียนสคริปต์ฝังเอาไว้ไม่ให้เราลบแอปดูดเงินได้ด้วยตัวเอง

(แหล่งข้อมูลจาก: droidsans.com)

แต่การสังเกตอย่างเดียวก็คงจะไม่พอ เพราะบางทีแอปดูดเงินเหล่านั้นก็ทำออกมาได้เหมือนจริงมาก ๆ จนบางครั้งคนที่ตั้งใจจะดาวน์โหลดมาใช้งานก็เริ่มเกิดความสับสน สงสัยอยู่ไม่น้อยว่าแอปใช้งานได้หรือไม่ แล้วจะปลอดภัยกับข้อมูลเราหรือเปล่า อย่างในช่วงที่ผ่านมาจากข่าวโครงการเงินดิจิทัล 10,000 บาท ไม่ทันไรก็มี แอปดูดเงินเกิดขึ้นมาอย่างมากมาย ซึ่งทำให้คนที่ไม่รู้นั้นดาวน์โหลดแอปฯ เหล่านี้มาไว้ที่เครื่องเรียบร้อย
หญิงสาวเช็กแอปดูดเงินในสมาร์ทโฟน
ซึ่งทางด้านบริษัท Kaspersky ที่เป็นบริษัทรักษาความปลอดภัยทางอินเทอร์เน็ต ได้ตรวจพบแอปฯ ที่มีมัลแวร์อันตราย ที่ไม่ควรโหลดลงเครื่องเอาไว้ถึง 13 แอปฯ ดังต่อไปนี้
  1. Battery Charging Animations Battery Wallpaper
  2. Classic Emoji Keyboard
  3. Battery Charging Animations Bubble -Effects
  4. Easy PDF Scanner
  5. Dazzling Keyboard
  6. Halloween Coloring
  7. EmojiOne Keyboard
  8. Smart TV remote
  9. Flashlight Flash Alert On Call
  10. Volume Booster Hearing Aid
  11. Now QRcode Scan
  12. Volume Booster Louder Sound Equalizer
  13. Super Hero-Effect
(Ref: facebook.com)

โดยทางบริษัท Kaspersky ได้ให้วิธีการสังเกตแอปฯ ดูดเงินดังนี้

แอปฯ ที่เราใช้งานอยู่ดี ๆ แล้วมีการหยุดทำงานโดยอัตโนมัติโดยที่ไม่ทราบสาเหตุ แอปฯ ที่เมื่อโหลดเข้ามาแล้วทำให้เครื่องเรามีปัญหา เช่น เครื่องร้อน ค้าง หรือรวน ก็อาจจะเข้าข่ายว่าเป็นแอปฯ ปลอม หรือเป็นแอปดูดเงินเราจากบัญชีธนาคารของเราได้นั่นเอง

ซึ่งเชื่อว่าน่าจะมีหลาย ๆ คน ที่อาจจะเคยใช้ แอปฯ เถื่อนกันมาบ้าง เนื่องจากในบางแอปนั้นอาจจะต้องเสียเงินจำนวนหนึ่ง จึงได้มีกลุ่มแฮ็กเกอร์ พัฒนาแอปฯ ก๊อบปี้ แต่สามารถทำงานได้เหมือนแอปฯ จริง

ที่ไม่ได้ผ่านการดาวน์โหลดผ่านทาง Official Store ไม่ว่าจะเป็น Google Play Store หรือ App Store ก็ตาม ซึ่งหากเราได้ทำการดาวน์โหลดแอปฯ ดังกล่าว แน่นอนว่าอาจจะมีการพบเจอกับปัญหาในการใช้งานแอปฯ กว่าเราจะรู้ตัว ก็อาจถูกดูดเงินจากบัญชีธนาคารของเราได้ง่าย ๆ และอาจจะถูกนำข้อมูลธุรกรรมทางการเงินส่วนตัวของเราไปใช้งานอีกด้วย

วิธีรับมือหากเผลอดาวน์โหลดแอปฯ อันตรายเหล่านี้

หากใครที่รู้เท่าไม่ถึงการณ์ ได้ทำการโหลดแอปดูดเงินเหล่านี้ มาติดตั้งกันเป็นที่เรียบร้อย และเกิดความผิดปกติกับทั้งโทรศัพท์ และบัญชีธนาคารของคุณเข้าแล้ว หากไม่สามารถลบแอปดูดเงินดังกล่าวได้ ทางออกที่ดีที่สุดเลย คือรีบปิด WIFI เพื่อตัดสัญญาณ Internet ถอดซิมการ์ด หรือลบ eSIM แล้วนำสมาร์ทโฟนของเราไปที่ศูนย์บริการเพื่อทำการล้างข้อมูล เพราะแอปฯ ดูดเงินมักเป็นมัลแวร์ฝังเครื่อง การล้างข้อมูลด้วยตัวเองอาจลบออกได้ไม่หมด

แต่ก่อนล้างข้อมูลอย่าลืมบันทึกข้อมูลของมิจฉาชีพ แล้วนำไปแจ้งความมิจฉาชีพออนไลน์ โดยสามารถทำตามขั้นตอนต่อไปนี้ได้เลย
  • รวบรวมหลักฐานให้ครบ เช่น ชื่อแอปฯ ดูดเงิน ที่เราดาวน์โหลด รวมถึงภาพการใช้งานแอปฯ ดังกล่าว และนำเอกสารส่วนตัวของเรา เช่น สำเนาบัตรประชาชน
  • เดินทางไปแจ้งความที่สถานีตำรวจ เพื่อเอาใบบันทึกประจำวันไปติดต่อธนาคารของเรา เพื่อดำเนินขั้นตอนเกี่ยวกับธุรกรรมการเงินของเรา
  • ร้องทุกข์ได้ที่ กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บก.ปอท.) หากไม่สะดวกเดินทางไปด้วยตัวเองก็สามารถแจ้งความผ่านช่องทางออนไลน์ได้ที่ https://www.thaipoliceonline.go.th/
  • ส่งเรื่องต่อไปยังสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน หรือสำนักงาน ปปง. เพื่อติดตามเส้นทางการเงินของเราที่ถูกแอปดูดเงินดูดออกไป เพื่อติดตามและจับกุมมิจฉาชีพ สแกมเมอร์ ที่หลอกลวงเงินผ่านทางแอปดูดเงิน

หากพบว่ามีความผิดปกติเกิดขึ้นกับบัญชีเงินฝาก หรือการทำธุรกรรมออนไลน์ เราสามารถติดต่อสอบถามมาได้ที่ Krungsri Call Center โทร 1572 ได้ทันทีตลอด 24 ชั่วโมง ถ้าไม่อยากต้องมาร้อนใจภายหลัง ก่อนดาวน์โหลดแอปฯ อะไรเข้ามาติดตั้งในสมาร์ทโฟน ควรเช็กข้อมูลให้ชัวร์ก่อนใช้ จะดีกับตัวเราเองที่สุด
ขั้นตอนการป้องกันตัวเองจากแอปดูดเงิน
ได้ที่ https://www.thaipoliceonline.go.th/ หรือสอบถามมายังเบอร์โทรของธนาคาร อย่างธนาคารกรุงศรีก็สามารถติดต่อได้โทร 1572
(Ref: droidsans.com)

และนอกจากนี้ทางธนาคารเองก็สามารถตามเรื่องให้กับเราได้อีกแรงหนึ่ง ซึ่งเมื่อพบว่าตัวเองถูกมิจฉาชีพดูดเงินจากบัญชีธนาคารของเราไปเรียบร้อยแล้ว ก็ควรที่จะทำการโทรไปถามทางธนาคารของเราเป็นอันดับแรกเลยว่า เมื่อเกิดเหตุการณ์โดนแอปดูดเงินจากบัญชีธนาคารแบบนี้ขึ้นแล้วควรจะทำอย่างไรดี และหากทางธนาคารนั้นไม่ดำเนินการตามเรื่องหรือชี้แจงข้อควรปฏิบัติ และเพิกเฉยต่อลูกค้านั้น เราก็สามารถที่จะทำการฟ้องธนาคารในฐานละเลยหน้าที่ได้อีกด้วย ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับมาตรการของแต่ละธนาคาร

และนี่ก็คือข้อสังเกตการณ์ตรวจสอบแอปดูดเงินเพื่อให้เราสามารถที่จะรู้ทันกลโกงของมิจฉาชีพ เพราะฉะนั้นหากอยากรู้ทันกลโกงของมิจฉาชีพต้องรู้จักวิธีป้องกัน และเอาตัวรอดให้ดี ที่สำคัญอย่าโหลดแอปฯ ที่ไม่ผ่านการพิจารณาต่าง ๆ เอาไว้ก่อน เพราะอาจทำให้คุณนั้นเป็นหนึ่งในคนที่ตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพได้นั่นเอง
เตือนภัย 13 แอปฯ
ขอบคุณข้อมูลจาก: -
ลงทะเบียนรับข่าวสาร
บริการส่งข้อมูลความรู้ ให้ลูกค้าธุรกิจผ่านอีเมล์
บริการจัดส่งบทวิเคราะห์และข้อมูลข่าวสารทางธุรกิจผ่านทาง E-mail
  • บทวิเคราะห์เศรษฐกิจรายสัปดาห์จากศูนย์วิจัยกรุงศรี
  • ผลการสำรวจดัชนีภาวะธุรกิจ SME รายไตรมาส โดยกรุงศรี
  • ข่าวสาร และกิจกรรมของธนาคาร
  • บริการทางการเงิน และโปรโมชั่นใหม่ๆ ของธนาคาร
Follow us on
ลงทะเบียนรับข่าวสาร
บริการส่งข้อมูลความรู้ ให้ลูกค้าธุรกิจผ่านอีเมล์
บริการจัดส่งบทวิเคราะห์และข้อมูลข่าวสารทางธุรกิจผ่านทาง E-mail
  • บทวิเคราะห์เศรษฐกิจรายสัปดาห์จากศูนย์วิจัยกรุงศรี
  • ผลการสำรวจดัชนีภาวะธุรกิจ SME รายไตรมาส โดยกรุงศรี
  • ข่าวสาร และกิจกรรมของธนาคาร
  • บริการทางการเงิน และโปรโมชั่นใหม่ๆ ของธนาคาร
Powered by
© 2567 ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)
Follow