เอกสารที่ต้องเตรียมก่อนค้ำประกัน

เอกสารที่ต้องเตรียมก่อนค้ำประกัน

By Krungsri Guru

“การค้ำประกัน” เป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อน หากมีคนมาขอให้เราเซ็นค้ำประกันอะไรก็ตาม และเราไม่ยอมเซ็น ก็อาจจะเกิดเหตุการณ์ “หักหาญน้ำใจ” กันได้ง่าย ๆ ครับ เพราะฉะนั้น ผมอยากแนะนำให้คุณศึกษาข้อมูลให้ละเอียดก่อนทุกครั้ง ก่อนที่จะเซ็นค้ำประกันนะครับ

สำหรับผู้ประกอบการนั้นการเซ็นค้ำประกันเงินกู้ให้กับบริษัทของตนเอง เพื่อนำเงินมาใช้จ่ายบริหารงานภายในบริษัทถือเป็นเรื่องที่ทำได้ สำหรับสินเชื่อผู้ประกอบการทั้งขนาดกลาง และขนาดเล็กนั้นมีหลายรูปแบบอันได้แก่ วงเงินกู้เบิกเกินบัญชี (Overdraft) วงเงินกู้ระยะสั้น (Short Term Loan) และวงเงินกู้ระยะยาว (Long Term Loan) โดยมีเอกสารประกอบการพิจารณาขอสินเชื่อ ดังต่อไปนี้

สำหรับผู้ขอเงินกู้: ประเภทบุคคลธรรมดา 


  • บัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรประจำตัวข้าราชการ หรือบัตรประจำตัวรัฐวิสาหกิจ หรือบัตรประจำตัวพนักงานองค์การของรัฐ หรือบัตรประจำตัวคนต่างด้าว หรือหนังสือเดินทาง หรือใบอนุญาตขับขี่รถยนต์รุ่นใหม่ที่ระบุเลขประจำตัวประชาชน
  • สำเนาทะเบียนบ้านที่ระบุหมายเลขประจำตัวประชาชน (กรณีที่บัตรแสดงตนไม่ระบุที่อยู่)

สำหรับผู้ขอเงินกู้: ประเภทร้านค้าทั่วไป 


  • บัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรประจำตัวข้าราชการ หรือบัตรประจำตัวรัฐวิสาหกิจ หรือบัตรประจำตัวพนักงานองค์การของรัฐ หรือบัตรประจำตัวคนต่างด้าว หรือหนังสือเดินทางของเจ้าของร้านค้า
  • สำเนาทะเบียนบ้าน (กรณีที่บัตรแสดงตนไม่ระบุที่อยู่)
  • ใบสำคัญจดทะเบียนพาณิชย์ ที่ระบุชื่อผู้ขอจดทะเบียน
  • บัตรประจำตัวผู้เสียภาษีอากร
  • ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ถ้ามี)

สำหรับผู้ขอเงินกู้: ประเภทห้างหุ้นส่วนจำกัด หรือห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล 


  • บัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรประจำตัวข้าราชการ หรือบัตรประจำตัวคนต่างด้าว หรือหนังสือเดินทางของหุ้นส่วนผู้จัดการ
  • ผู้มีอำนาจลงนามสั่งจ่ายและผู้ถือหุ้นตั้งแต่ 20 % ขึ้นไป
  • สำเนาทะเบียนบ้านของหุ้นส่วนผู้จัดการ ผู้มีอำนาจลงนามสั่งจ่าย และผู้ถือหุ้นตั้งแต่ 20 % ขึ้นไป
  • หนังสือรับรองของสำนักทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทรับรองถึงรายนามหุ้นส่วนผู้จัดการ และอำนาจของหุ้นส่วนผู้จัดการ
  • หนังสือข้อตกลงของผู้เป็นหุ้นส่วน หรือข้อบังคับ
  • บัตรประจำตัวผู้เสียภาษีอากร

สำหรับผู้ขอเงินกู้: ประเภทบริษัทจำกัด 


  • หนังสือรับรองของสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทรับรองถึงรายนามกรรมการ และกรรมการผู้มีอำนาจลงชื่อผูกพันบริษัท
  • บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น
  • รายงานการประชุมคณะกรรมการให้บริษัทเปิดบัญชีกับธนาคาร พร้อมด้วยกำหนดผู้มีอำนาจลงนามสั่งจ่ายเช็ค
  • หนังสือมอบอำนาจ (ถ้ามี)
  • บัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรประจำตัวข้าราชการ หรือบัตรประจำตัวคนต่างด้าว หรือหนังสือเดินทาง พร้อมสำเนาบัตรที่เซ็นรับรองสำเนาถูกต้องของบุคคลดังนี้ ผู้ถือหุ้นมากกว่า 20 %, กรรมการบริหาร 2 ท่าน (เป็นกรรมการผู้จัดการ 1 ท่าน ) กรรมการผู้มีอำนาจลงนาม (กรณีผู้ถือหุ้นที่ไม่ใช่เป็นกรรมการผู้มีอำนาจลงนามต้องรับรองสำเนาถูกต้องโดยกรรมการผู้มีอำนาจลงนามพร้อมตราประทับของบริษัท) (ยกเว้นบริษัทมหาชนที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ไม่ต้องขอสำเนาเอกสารการแสดงตนของผู้ถือหุ้นเกิน 20% และกรรมการบริหาร 2 ท่าน)
  • งบการเงินย้อนหลังอย่างน้อย 3 ปี
  • เอกสารแสดงผลการเดินบัญชีย้อนหลังอย่างน้อย 6 เดือน
  • สำเนาทะเบียนบ้านของผู้มีอำนาจเซ็นสั่งจ่ายในนามบริษัท (กรณีที่บัตรแสดงตนไม่ระบุที่อยู่)
  • ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
  • แบบ บอจ.3 หรือ บอจ.4
  • หนังสือบริคณห์สนธิ
  • บัตรประจำตัวผู้เสียภาษีอากร
(สำหรับผู้ประกอบการคนไหนที่ทำ SME แล้วต้องการแนวทางการกู้เงิน ลองอ่านบทความนี้ได้นะครับ)
สำหรับการค้ำประกันสินเชื่อเพื่อนำมาใช้ประกอบกิจการนั้น แม้เราจะเป็นผู้ถือหุ้นก็ต้องพิจารณาว่า การกู้เงินในครั้งนี้สมเหตุสมผลหรือไม่ เงินที่ได้จากการกู้ยืมจะถูกนำไปใช้เพื่อประกอบธุรกิจจริง และสร้างผลกำไรกลับมาคุ้มค่ากับดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายหรือเปล่า สำหรับผู้ที่ต้องการสินเชื่อ หรือต้องการข้อมูลด้านการเงินสำหรับผู้ประกอบการลองเข้าไปหาข้อมูลเพิ่มเติมที่ Plearn เพลิน by Krungsri GURU นะครับ
ขอบคุณข้อมูลจาก: -
พิมพ์สิ่งที่ต้องการค้นหา