ในช่วงที่ผ่านมา “โรคซึมเศร้า” เป็นหนึ่งในปัญหาทางสุขภาพจิตที่สังคมให้ความสนใจมากขึ้น เนื่องจากเป็นโรคที่เกิดขึ้นได้กับผู้คนทุกเพศทุกวัยและเป็นปัจจัยเสี่ยงที่อาจนำไปสู่ “การฆ่าตัวตาย” แล้วถ้าคนรอบข้างมีความเสี่ยงหรือกำลังป่วยเป็นโรคซึมเศร้าอยู่ เราในฐานะคนใกล้ชิดพวกเขามีวิธีดูแลคนเป็นโรคซึมเศร้าอย่างไรบ้าง
แต่ก่อนจะไปพูดถึงวิธีดูแลคนเป็นโรคซึมเศร้า ผู้ที่ดูแลต้องเข้าใจโรคว่าคนเป็นโรคซึมเศร้าต้องการอะไร และเข้าใจอาการของคนเป็นโรคซึมเศร้า เนื่องจากโรคซึมเศร้าเป็นภาวะโรคที่เกี่ยวข้องกับจิตใจโดยตรง หากผู้ดูแลไม่เข้าใจอย่างละเอียด อาจนำไปสู่การดูแลและรับมือกับคนเป็นโรคซึมเศร้าที่ผิดวิธี ซึ่งอาจทำให้อาการย่ำแย่ลงกว่าเดิมได้
สาเหตุของโรคซึมเศร้า
1. เกิดขึ้นจากพันธุกรรม
ถือว่าเป็นกลโกงยอดฮิตในขณะนี้ เนื่องจากเทคโนโลยี AI พัฒนารุดหน้าไปไกล จนสามารถเลียนแบบเสียงมนุษย์ได้อย่างใกล้เคียง จึงถูกมิจฉคนที่มีประวัติครอบครัวเป็นโรคซึมเศร้ามีโอกาสเป็นโรคซึมเศร้ามากกว่าคนทั่วไป เช่น หากมีฝาแฝดเป็นโรคซึมเศร้า ฝาแฝดอีกคนมีโอกาสเป็นโรคซึมเศร้าได้สูงถึง 60 – 80% หรือหากมีคนในครอบครัวป่วยเป็นโรคซึมเศร้า ก็มีโอกาสป่วยเป็นโรคซึมเศร้าได้มากกว่าคนทั่วไปถึง 20%
2. เกิดขึ้นจากสภาพแวดล้อม
ความเครียด ปัญหาชีวิต การสูญเสียคนสำคัญหรือประสบการณ์เชิงลบที่เป็นผลมาจากการเลี้ยงดู ซึ่งอาจสรุปได้ว่าระหว่างพันธุกรรมกับสิ่งแวดล้อม ปัจจัยที่ส่งผลให้เป็นโรคซึมเศร้าอยู่ที่สัดส่วน 40:60
ทีนี้เมื่อทราบถึงสาเหตุของโรคซึมเศร้าแล้ว ก็ต้องหมั่นสังเกตกันสักหน่อยว่าคนรอบข้างที่มีความเสี่ยงหรือกำลังป่วยเป็นโรคซึมเศร้า มีอาการเป็นอย่างไรบ้าง จะได้ประเมินระดับความรุนแรงของอาการได้ถูกต้อง ซึ่งถือเป็นข้อมูลที่สำคัญที่ส่งผลต่อการรักษาและวิธีรับมือกับคนเป็นโรคซึมเศร้าได้ด้วย
9 อาการของคนเป็นโรคซึมเศร้า
คนเป็นโรคซึมเศร้าจะมีอาการหลากหลาย และอาจแตกต่างกันไปตามบุคคล อาการของคนเป็นโรคซึมเศร้าประกอบไปด้วย
- รู้สึกเศร้า ท้อแท้กับชีวิตและหงุดหงิดง่าย
- เลิกสนใจกับสิ่งที่ชอบทำในอดีต ขาดความสนใจต่อสิ่งรอบข้าง
- ความอยากอาหารเปลี่ยนไป ทำให้น้ำหนักขึ้นลงผิดปกติ
- นอนไม่หลับหรือนอนมากเกินกว่าปกติ
- มีอาการกระวนกระวายและเฉื่อยชา แสดงออกให้เห็นชัด
- ดูหมดเรี่ยวแรง หมดไฟ อ่อนเพลีย ไม่มีพลัง
- โทษตัวเองในทุกเรื่อง มองตัวเองว่าไร้ค่าอยู่เสมอ
- ไม่มีสมาธิ ไม่สามารถตัดสินใจกับปัญหาต่าง ๆ ได้
- คิดถึงความตาย อยากฆ่าตัวตายบ่อย ๆ
ข้อสำรวจดังกล่าวเป็นเกณฑ์ที่จิตแพทย์ใช้ในการวินิจฉัยโรคซึมเศร้า หากพบว่าคนรอบข้างมีอาการเหล่านี้ 5 ข้อขึ้นไป โดยต้องมีข้อ 1 และข้อ 2 อยู่ด้วย และมีอาการติดต่อกันเกินกว่า 2 สัปดาห์ ถือว่าเข้าข่าย เสี่ยงควรปรึกษาจิตแพทย์อย่างใกล้ชิดเพื่อหาแนวทางรักษาและวิธีรับมือกับคนเป็นโรคซึมเศร้า
เมื่อเข้าใจว่าคนเป็นโรคซึมเศร้าต้องการอะไรและอาการเริ่มต้นของโรคซึมเศร้าแล้วก็มาถึงแนวทางวิธีดูแลคนเป็นโรคซึมเศร้า ซึ่งต้องแยกออกเป็น 4 ส่วน ได้แก่ สิ่งที่ควรทำ, สิ่งที่ควรพูด, สิ่งที่ไม่ควรทำและสิ่งที่ไม่ควรพูด
DO สิ่งที่ควรทำกับคนเป็นโรคซึมเศร้า
- หมั่นพูดคุยและให้กำลังใจ
คนเป็นโรคซึมเศร้ามักมีความรู้สึกต่ำต้อย เพื่อให้ผู้ป่วยได้หันมามองเห็นคุณค่าของตัวเองที่จะทำให้มีกำลังใจสู้ต่อและอยากใช้ชีวิตต่อไป
- รับฟังอย่างตั้งใจ
การฟังที่ดีเป็นสิ่งสำคัญมาก ผู้ป่วยโรคซึมเศร้ามักคิดอยู่เสมอว่าตัวเองเป็นภาระของผู้อื่น การจะให้ผู้ป่วยระบายความรู้สึกในใจ จึงต้องให้เขารู้สึกว่ามีคนอยากรับฟังเขาอยู่จริง ๆ ไม่กดดัน ไม่ตัดสินและต้องสร้างความไว้วางใจ ซึ่งการฟังที่ดีจะช่วยให้เราสามารถสังเกตอาการของคนเป็นโรคซึมเศร้าได้อย่างใกล้ชิด
- หมั่นชวนผู้ป่วยโรคซึมเศร้าออกมาทำกิจกรรมที่ได้เคลื่อนไหว
การกระตุ้นให้ผู้ป่วยออกมาทำกิจกรรม เช่น การเล่นกีฬา เล่นเกม ทำงานศิลปะ งานฝีมือและอื่น ๆ จะช่วยให้ร่างกายของผู้ป่วยหลั่งสารสร้างความสุขอย่างเอ็นโดรฟินออกมาแล้ว ยังช่วยลดอาการของโรคซึมเศร้าและความเครียดได้ กิจกรรมเหล่านี้เป็นวิธีหนึ่งในการรับมือกับอาการเริ่มต้นของโรคซึมเศร้าที่มีประสิทธิภาพ
สิ่งที่ควรพูดกับคนเป็นโรคซึมเศร้า
- อยากให้ฉันกอดไหม
- เธอไม่ได้อยู่คนเดียวนะ
- เธอสำคัญสำหรับฉันเสมอนะ
- ฉันอาจไม่เข้าใจเธอ แต่ฉันจะอยู่ข้าง ๆ เธอนะ
- ฉันรักเธอ อดทนไว้นะ
- ออกไปเดินเล่นกันไหม
DON’T สิ่งที่ไม่ควรทำกับคนเป็นโรคซึมเศร้า
- อย่าตีตัวออกห่าง
หากทำแบบนี้จะทำให้ผู้ป่วยโรคซึมเศร้ารู้สึกว่าไม่มีที่พึ่งพิง รู้สึกว่าตัวเองเป็นภาระ อาจทำให้เกิดความคิดที่ไม่อยากมีชีวิตอยู่ต่อได้ เมื่อพูดถึงเรื่อง “ความตาย” ห้ามทำเป็นไม่ได้ยิน
- อย่าละเลยเมื่อพูดถึง “ความตาย”
หากคนเป็นโรคซึมเศร้าเอ่ยถึงเรื่อง “ความตาย” แล้วคนใกล้ชิดกลับเพิกเฉยหรือแสดงมีท่าทีต่อต้าน อาจทำให้สภาวะจิตใจของผู้ป่วยรู้สึกแย่ลงได้ การพูดถึงความตายเป็นสัญญาณที่สำคัญว่าอาการอาจกำลังรุนแรงขึ้น
- ห้ามกดดัน เร่งรัดหรือตัดสิน
หากพูดคำนี้ “ทำไมยังไม่หายอีก” อาจทำให้ผู้ป่วยรู้สึกกดดันว่าตัวเองเป็นภาระมากขึ้น คำพูดเช่นนี้ทำให้อาการของคนเป็นโรคซึมเศร้าแย่ลงกว่าเดิม
สิ่งที่ไม่ควรพูดกับคนเป็นโรคซึมเศร้า
- ทำไมถึงทำไม่ได้
- อย่าคิดมากเลย
- สู้ ๆ นะ (เปรียบเสมือนการปล่อยให้ผู้ป่วยต่อสู้เพียงลำพัง)
- ไม่อยากรู้สึกแบบนี้ ก็ต้องเลิกคิด
- ไม่เป็นไรหรอก เดี๋ยวก็ผ่านไป
- จะเศร้าไปถึงไหนกัน
- ทำไมยังไม่หายอีก
- เข้าใจว่ารู้สึกอย่างไร ฉันก็เคยเป็น
- เลิกเศร้าได้แล้ว
วิธีดูแลคนเป็นโรคซึมเศร้าไม่ใช่เรื่องยาก เป็นเรื่องของการเข้าใจและใส่ใจ การสังเกตอาการเริ่มต้นของโรคซึมเศร้า และรู้ว่าคนเป็นโรคซึมเศร้าต้องการอะไร สำหรับผู้ที่มีคนรอบข้างมีความเสี่ยงหรือกำลังป่วยเป็นโรคซึมเศร้าอยู่ แล้วต้องการรักษาหรือปรึกษาจิตแพทย์ สามารถใช้สิทธิ์ “ประกันสังคม” ของผู้ป่วยรักษาได้ แต่ในส่วนของ “
ประกันสุขภาพ” ต้องตรวจสอบเงื่อนไขกันให้ดี เพื่อให้มั่นใจว่าแผนประกันที่ทำไว้ ครอบคลุมเรื่องการรักษาโรคซึมเศร้าหรือไม่