รู้จัก DeFi โอกาสและความเสี่ยง การเงินแห่งโลกอนาคต

รู้จัก DeFi โอกาสและความเสี่ยง การเงินแห่งโลกอนาคต

By Krungsri Plearn Plearn
ในยุคที่เทคโนโลยีเติบโตอย่างรวดเร็ว การใช้ชีวิตของเราก็จะต้องมีการปรับเปลี่ยนไปหลายด้าน รวมไปถึงในโลกการเงินเองก็มีเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นมาเพื่อให้ชีวิตของเราง่ายขึ้น สะดวกสบายมากยิ่งขึ้น และปลอดภัยขึ้น หนึ่งในเทคโนโลยีการเงินแห่งโลกอนาคตที่มาแรงมาก ๆ ก็คือ “Decentralized Finance” หรือที่รู้จักกันทั่วไปในชื่อ "DeFi" ซึ่งก็ได้รับความสนใจอย่างมากจากกลุ่ม Generation Y (ช่วงอายุ 24 - 40 ปี) และ Generation Z (ช่วงอายุ 13 - 23 ปี) ในรูปแบบการทำธุรกรรมการเงินแบบใหม่ที่แตกต่างไปจากการลงทุนผ่านธุรกรรมแบบดั้งเดิม

ในบทความนี้ น้องเพลินเพลินจะพาทุกคนมาทำความรู้จักว่า DeFi คืออะไร และจะเข้ามาเปลี่ยนแปลงโลกการเงินและการลงทุนอย่างไรบ้าง!
decentralize finance หรือ defi คืออะไร

Decentralize Finance หรือ DeFi คืออะไร?

Decentralize Finance หรือเรียกสั้น ๆ ว่า DeFi คือ ระบบการเงินแบบกระจายศูนย์หรือระบบการเงินแบบใหม่ที่ไม่ต้องผ่านธนาคารกลางหรือสถาบันการเงินแบบดั้งเดิม ทุกคนสามารถทำธุรกรรมผ่านเทคโนโลยีบล็อกเชนได้อย่างง่ายดาย แถมยังโปร่งใสและปลอดภัยด้วย

DeFi แตกต่างกับระบบการเงินแบบดั้งเดิมอย่างไร?

ช่วงหลายปีมานี้ เราอาจจะได้ยิน FinTech หรือ Financial Technology กันมากยิ่งขึ้น รวมถึง FinTech เองก็เข้ามามีบทบาทในชีวิตเรามากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น e-Wallet, Payment Gateway หรือ Prompt Pay เป็นต้น แต่ FinTech ยังคงอยู่ภายใต้ธนาคารหรือสถาบันการเงินต่าง ๆ จึงยังถือว่าเป็นการเงินแบบดั้งเดิม ซึ่งมีความแตกต่างจาก DeFi ที่ถูกพัฒนามาเพื่อเป้าหมายในการตัดตัวกลางเหล่านี้ เพื่อให้คู่ค้าสามารถทำธุรกรรมกันได้โดยตรงและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น
แตกต่างกับระบบการเงินแบบดั้งเดิมอย่างไร
แม้ว่าสถานการณ์ตอนนี้ในประเทศไทย เทคโนโลยี DeFi อาจจะยังไม่ได้มีความสำคัญมาก เพราะ DeFi ยังคงได้รับความสนใจในวงแคบอยู่ แต่เมื่อประเมินสถานการณ์โลกโดยรวม ในอนาคตอีกประมาณ 20 ปีข้างหน้า กลุ่ม Gen Y และ Gen Z ที่จะเติบโตและกลายเป็นวัยที่มีบทบาทในสังคม และเป็นกลุ่มที่มีความสนใจในเรื่องเทคโนโลยี DeFi อีกด้วย ก็อาจจะทำให้ DeFi ได้รับความสนใจ รวมถึงใช้งานมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้เมื่อสินทรัพย์ในโลกแห่งความจริงเข้าไปอยู่ในโลกดิจิทัลมากยิ่งขึ้น ก็จะทำให้เกิดโอกาสในการลงทุนที่หลากหลายมากขึ้น เพราะเราสามารถควบคุมทรัพย์สินของตัวเองได้มากขึ้น จะเปิดให้กู้ยืมหรือจะยืมก็ง่ายขึ้น การโอนเงินข้ามประเทศจะเป็นเรื่องที่ง่ายและสะดวกมากขึ้น และช่วยลดระยะเวลาลงได้

ข้อดีของ DeFi

  • ตัดตัวกลางออกไป
    • สามารถเข้าถึงง่าย เนื่องจากทุกคนสามารถเข้าถึงบริการทางการเงินบน DeFi โดยไม่ต้องมีบัญชีธนาคาร
    • ค่าธรรมเนียมต่ำ จากการตัดตัวกลางในการทำธุรกรรมออกไป
    • มีความรวดเร็ว เพราะไม่ต้องรออนุมัติจากธนาคารหรือสถาบันทางการเงินต่าง ๆ

ความเสี่ยงที่ต้องระวังของ DeFi

  • ยังมีความผันผวนสูง ทำให้ยังมีความเสี่ยงในอัตราที่สูงอยู่
  • มีความซับซ้อนในระดับหนึ่ง ผู้ใช้ต้องศึกษาข้อมูลและทำความเข้าใจสักระยะ
  • ความเสี่ยงด้านความปลอดภัย อาจถูกแฮ็กหรือโจมตีทางไซเบอร์
หลักการทำงานและเทคโนโลยี defi

หลักการทำงานและเทคโนโลยี DeFi

  • DeFi Protoco คือ ข้อกำหนดของ DeFi หรือภาษากลางทางคอมพิวเตอร์ ใช้ในการสร้าง บริหารจัดการ ดำเนินการ ตรวจสอบข้อมูล และแปลงสินทรัพย์ในโลกจริงให้อยู่ในรูปแบบดิจิทัลโดยอัตโนมัติ
  • DeFi Service คือ บริการการเงินที่อยู่บน DeFi Protoco ระบบจัดการเบื้องหลังและส่วนที่เชื่อมโยงกับผู้ใช้
  • DeFi Users คือ ผู้ใช้งาน DeFi สามารถเข้าไปทำธุรกรรมต่าง ๆ ได้ โดยเมื่อมีธุรกรรมเกิดขึ้น ระบบก็จะตรวจสอบข้อมูลผู้ใช้ทุกคนและจะมีการเขียนข้อมูลบนกล่องใบใหม่มาต่อจากอันเดิมเป็นสาย (Chain) เพื่อป้องกันการถูกโจรกรรมข้อมูลของผู้ใช้

DeFi ถูกใช้งานอย่างไรบ้างในปี 2024 นี้?

  • การให้กู้ยืมเงินดิจิทัล โดยผู้กู้ต้องวางหลักประกันเป็นสินทรัพย์ดิจิทัลและกู้ได้ต่ำกว่ามูลค่าของหลักประกัน โดยผู้ให้กู้จะได้รับดอกเบี้ย รวมถึงถ้าผู้กู้ไม่สามารถจ่ายหนี้ตามเวลาที่กำหนด ก็จะได้หลักประกันที่เป็นสินทรัพย์ดิจิทัลมาแทน
  • Flash Loan การขอสินเชื่อโดยไม่ต้องใช้เอกสารใด ๆ รวมถึงใช้เวลาในการอนุมัติที่ไม่นาน ไม่ต้องเสียเวลารวบรวมเอกสารหรือติดต่อสถาบันทางการเงิน
  • ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลบางประเภทผ่านผู้ซื้อกับผู้ขายได้เลยโดยตรง ไม่ต้องผ่านคนกลาง
  • ออมเงินดิจิทัล โดยจะได้รับดอกเบี้ยในอัตราที่สูงกว่าที่ธนาคารให้
  • ซื้อตราสารอนุพันธ์ทั้งระยะสั้นและระยะยาวด้วยเงินดิจิทัล

แพลตฟอร์ม DeFi ที่เป็นที่นิยมในปัจจุบัน
  • Aave – แพลตฟอร์มที่ให้บริการฝากและกู้ยืมสินทรัพย์ดิจิทัลพร้อมรับดอกเบี้ยแบบอัตโนมัติ
  • Compound – ผู้ใช้สามารถฝากสินทรัพย์ดิจิทัลและรับดอกเบี้ยได้ โดยการกู้ยืมจะใช้สินทรัพย์เป็นหลักประกัน
  • MakerDAO – แพลตฟอร์มที่ใช้เหรียญ DAI ซึ่งเป็น stablecoin สามารถออมเงินและกู้ยืมผ่านสัญญาอัจฉริยะ
  • Celsius Network – เน้นการออมเงินดิจิทัลเพื่อรับดอกเบี้ยสูงและสามารถกู้เงินได้โดยใช้ Crypto เป็นหลักประกัน

Tips by น้องเพลินเพลิน : คว้าโอกาสลงทุนในเทคโนโลยีที่กำลังเติบโตอย่าง DeFi

อย่างที่ทราบกันว่าในปัจจุบัน การเติบโตทางเทคโนโลยีเกิดขึ้นสูงขึ้นเรื่อย ๆ โดยไม่มีแนวโน้มที่จะน้อยลง การเลือกลงทุนในหมวดหมู่เทคโนโลยีก็มีความน่าสนใจมาก ๆ เพราะช่วยให้เราได้รับผลตอบแทนระหว่างที่เทคโนโลยีใหม่ ๆ กำลังพัฒนาไป อย่างเช่น KFHTECH กองทุนหุ้นของบริษัทเทคโนโลยีชั้นนำทั่วโลก
  • ลงทุนในหุ้นของบริษัททั่วโลกที่มีธุรกรรมทางเศรษฐกิจส่วนใหญ่ในหมวดเทคโนโลยี ผ่านกองทุนรวมต่างประเทศ BGF World Technology Fund (Class D2 USD) เฉลี่ยรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่า 80% ของ NAV
  • ระดับความเสี่ยง : 7 (เสี่ยงสูง) – ป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน ≥ 90% ของเงินลงทุนในต่างประเทศ
  • ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน ความเสี่ยง และศึกษาสิทธิประโยชน์ทางภาษีในคู่มือการลงทุนก่อนตัดสินใจลงทุน
ลงทุนในเทคโนโลยีที่กำลังเติบโตอย่าง defi
ปัจจุบัน แม้ว่าเทคโนโลยี DeFi จะยังคงมีข้อจำกัดด้านกฎหมายในหลายประเทศ แต่ก็ยังมีความน่าสนใจและมีแนวโน้มที่จะได้รับการพัฒนาและเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งยังต้องคอยจับตามองทิศทางต่าง ๆ ในอนาคตต่อไป โดยต่อจากนี้อาจจะมีเทคโนโลยีใหม่ ๆ เกิดขึ้นและเข้ามามีบทบาทในโลกการเงินเช่นกัน ดังนั้นเราควรจะต้องติดตามข่าวสารและเตรียมความพร้อมในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้น เพื่อจะได้ปรับตัวให้ทันตามเทคโนโลยีที่มีการเปลี่ยนแปลงไปอยู่เสมอได้นั่นเอง
 
ขอบคุณข้อมูลจาก: -
ลงทะเบียนรับข่าวสาร
บริการส่งข้อมูลความรู้ ให้ลูกค้าธุรกิจผ่านอีเมล์
บริการจัดส่งบทวิเคราะห์และข้อมูลข่าวสารทางธุรกิจผ่านทาง E-mail
  • บทวิเคราะห์เศรษฐกิจรายสัปดาห์จากศูนย์วิจัยกรุงศรี
  • ผลการสำรวจดัชนีภาวะธุรกิจ SME รายไตรมาส โดยกรุงศรี
  • ข่าวสาร และกิจกรรมของธนาคาร
  • บริการทางการเงิน และโปรโมชั่นใหม่ๆ ของธนาคาร
Follow us on
ลงทะเบียนรับข่าวสาร
บริการส่งข้อมูลความรู้ ให้ลูกค้าธุรกิจผ่านอีเมล์
บริการจัดส่งบทวิเคราะห์และข้อมูลข่าวสารทางธุรกิจผ่านทาง E-mail
  • บทวิเคราะห์เศรษฐกิจรายสัปดาห์จากศูนย์วิจัยกรุงศรี
  • ผลการสำรวจดัชนีภาวะธุรกิจ SME รายไตรมาส โดยกรุงศรี
  • ข่าวสาร และกิจกรรมของธนาคาร
  • บริการทางการเงิน และโปรโมชั่นใหม่ๆ ของธนาคาร
Powered by
© 2567 ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)
Follow