แนวทางการทำธุรกิจจากเกษตรกรรมไทย ๆ สู่ตลาดโลก (ตอนที่ 1)

แนวทางการทำธุรกิจจากเกษตรกรรมไทย ๆ สู่ตลาดโลก (ตอนที่ 1)

By Tim Pita

ถ่ายทอดประสบการณ์ Study Mission: “Agriculture innovation and competitiveness” จาก Cornell University

เนื่องจากบทความฉบับนี้ค่อนข้างพิเศษและยาว ผมจะขอแบ่งเป็น 2 ตอนนะครับ การเขียนบทความนี้เริ่มต้นจากที่ผมได้เป็นตัวแทนประเทศไทยเดินทางสู่มหาวิทยาลัยคอร์แนล ด้วยความอนุเคราะห์จากสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติเป็นเวลา 3 สัปดาห์ ในหัวข้อ Food & Agriculture Innovation โดยมหาวิทยาลัยคอร์แนล ที่ถือว่าเป็นอันดับหนึ่งของโลกในเรื่องนวัตกรรมอาหาร นวัตกรรมการเกษตร มีผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับข้าว ข้าวโพด มัน ยาง นม ชีส ดิน ชลประทาน การจัดการเมล็ดพันธุ์ ไม่เป็นสองรองใคร ผมไม่อยากให้ทริปนี้เสียเปล่า จึงขอถือโอกาสอันดีที่จะนำความรู้มาเผยแพร่ให้กับเพื่อน ๆ ชาวกรุงศรีกูรูได้อ่านกัน ใครอยากทราบว่าเทรนด์สุขภาพที่อเมริกาอันไหนมาแรง ต้องอ่าน เทรนด์ Social enterprise ยี่ห้อไหนมาแรง ต้องอ่าน ใครสนใจโลกของ Start-up ต้องอ่าน ใครอยากส่งสินค้าไปอเมริกามีขั้นตอนอย่างไร ยิ่งต้องอ่านครับ
วัตถุประสงค์ของโครงการ Study Mission กับมหาวิทยาลัยคอร์แนล ณ มลรัฐนิวยอร์ค ในครั้งนี้ เพื่อศึกษาการพัฒนานวัตกรรม และขีดความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจของภาคเกษตรและอาหาร ซึ่งจะเน้นตัวอย่างที่ดี (Best Practice) จากเครือข่ายของมหาวิทยาลัยคอร์แนล อาทิ คณาจารย์ นักเรียน สถาบัน Institute of Food Science ศูนย์นวัตกรรม The Center for Technology ศูนย์ค้าปลีก ตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์ ผู้เชี่ยวชาญจากองค์กรอาหารและยาของสหรัฐฯ เป็นต้น
ศาสตราจารย์ Ralph Christy หัวหน้าทีมจากมหาวิทยาลัยคอร์แนล เริ่มอภิปรายโดยการใช้กรอบ Framework เพื่ออธิบาย Cluster ของอุตสาหกรรมที่สำคัญ โดยแบ่งเป็นฝั่งอุปทาน และฝั่งอุปสงค์ โดยให้นัยสำคัญในการวางน้ำหนักลงที่ฝั่งอุปสงค์ของอุตสาหกรรมอาหารในโครงการนี้ เพื่อชี้ให้เห็นถึงนวัตกรรมและขีดความสามารถในการแข่งขัน อันเกิดจากการตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคที่ยังไม่เห็นในท้องตลาด (Unmet needs)
ผู้เข้าร่วมแต่ละคนต้องยกตัวอย่างประเด็นขององค์กรของตัวเองมาอยู่ในจุดใดของ Framework และต้องการจะก้าวไปสู่จุดไหนของ Framework ในอนาคตเพราะเหตุใด การฝึกให้คิดเช่นนี้เพื่อให้ผู้เข้าร่วมตระหนักคิดถึงอดีต ปัจจุบัน และอนาคต โดยการเชื่อมจุดอ่อน จุดแข็ง เข้ากับโอกาส กับความเสี่ยง คล้าย ๆ กับการทำ SWOT Analysis นั่นเอง
ยกตัวอย่างในกรณีของบริษัท ซีอีโอ อกริฟู้ด จำกัด ซึ่งเป็นผู้ผลิตน้ำมันรำข้าวรายใหญ่ของประเทศไทย มีปณิธานที่จะเพิ่มมูลค่าให้กับรำข้าวไทยที่ถูกละเลยว่าเป็นเพียงอาหารสัตว์หรือปุ๋ยมาเพิ่มมูลค่าต่อยอดเป็นน้ำมันพืช น้ำมันเครื่องสำอาง กระทั่งการสกัดเอาสารต้านอนุมูลอิสระจาก “โอไรซานอล” ที่ใช้ในการแพทย์เพื่อลดคลอเลสเตอรอล ซึ่งสารชนิดนี้พบได้ในรำข้าวเท่านั้น ทำให้มูลค่าของสินค้าเพิ่มขึ้นถึง 500 เท่า (รำข้าวกิโลกรัมละ 10 บาท โอไรซานอลสกัดบริสุทธิ์นำเข้าจากญี่ปุ่น กิโลกรัมละ 5,000 บาท : ข้อมูลปี 2557) ประเทศไทยได้เปรียบเรื่องวัตถุดิบอันเป็นผลพลอยได้จากความแข็งแกร่งในด้านพื้นฐานของอุตสาหกรรมข้าว แต่ขาดเทคโนโลยีต่าง ๆ ของประเทศพัฒนาแล้วอย่างญี่ปุ่น เยอรมัน และอเมริกา โดยเฉพาะอย่างยิ่งอเมริกาที่เป็นผู้นำด้านถั่วเหลือง ข้าวโพด และคาโนล่า จึงมีองค์ความรู้ด้านศาสตร์ของไขมัน (Lipid Science) เป็นอย่างมาก โดยมหาวิทยาลัยคอร์แนล และมหาวิทยาลัยเท็กซัส เอ แอนด์ เอ็ม เป็นผู้เชี่ยวชาญเรื่องดังกล่าวเป็นอย่างสูง
การอภิปรายหัวข้อต่าง ๆ ตั้งแต่ต้นจนจบโครงการจึงถูกวางให้เหมาะสมกับโครงสร้างนี้โดยมีเนื้อหา ดังต่อไปนี้

หัวข้อ “Synergistic Thinking for Innovation Food Solutions at Connell” โดยอาจารย์ Julie Strafford

ในยุคที่อุตสาหกรรมเริ่มมีปัญหาด้านผลผลิต ประชากรโลกเพิ่มมากขึ้น ความต้องการอาหารย่อมเพิ่มตาม และแน่นอนว่าต้องเป็นอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการมากขึ้นเพื่อแก้ปัญหาโรคไม่ให้ติดต่อเรื้อรั้ง เช่น โรงมะเร็ง หัวใจ เบาหวาน ในขณะเดียวกัน ทรัพยากรในการสร้างแหล่งอาหารกลับน้อยลง มหาวิทยาลัยคอร์แนล จึงคิดว่า “Smart Agriculture” การทำเกษตรจะต้องฉลาดขึ้น จึงมีการจัดตั้ง Cornell Institute for Food System ขึ้น เมื่อการทำงานอย่างบูรณาการในการแก้ปัญหาไม่ว่าจะเป็นทีมอาจารย์ นักเรียนจากภาค Animal Science, Bio Engineering, Civil Engineering, Crop & Soil Science, Food Science, Nutrition USDA Center ซึ่งล้วนแต่เป็นแขนงวิชาที่เมืองไทยต้องการทั้งสิ้น อีกทั้งยังเปิดโอกาสให้บริษัทไทยหรือชาติอื่นเข้าร่วมเป็น Industry partner บริษัทใหญ่ ๆ อย่าง Frito Lay, Nestle ก็เป็นตัวอย่างของบริษัทที่เข้าร่วมโครงการนี้ ในการบูรณาการความรู้ทั้งสายวิทย์ สายคณิต และสายศิลป์ ผนวกด้วยภาคการศึกษา เอกชน และรัฐบาล ทั้งในและนอกประเทศ

หัวข้อ “Slim by design, Mindless Eating Solution” โดย Dr. Brian Wansink

ศาสตราจารย์ Wansink เป็นที่ปรึกษาให้กับประธานาธิบดีโอบามา ในเรื่องโภชนาการโดยเฉพาะอย่างยิ่ง สำหรับภาคการศึกษา เด็ก ๆ ที่จะเป็นกำลังสำคัญของชาติ เนื่องด้วยเด็กอเมริกากินอาหารอย่างไร้เหตุผล (Mindless) ด้วยตัวเลือกที่น้อยในโรงอาหารของโรงเรียน ทำให้เกิดโรคอ้วนเป็นอย่างมากและทำให้เติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่ไม่แข็งแรง ทำให้รัฐบาลต้องใช้เงินภาษีเป็นสวัสดิการรักษาโรคให้กับคนอ้วนเหล่านี้
อีกการทดลองที่น่าสนใจ คือ การเฝ้าดูร้านอาหารบุฟเฟต์หลาย ๆ แห่ง ในหลาย ๆ ประเทศ โดยเฝ้าดูพฤติกรรมระหว่างคนอ้วนและไม่อ้วน คนอ้วนนั้นมักจะหยิบจานใหญ่ พุ่งเข้าตักและมักนั่งหันหน้าเข้าไลน์ของอาหาร ในขณะที่คนผอมมักจะหยิบจานเล็ก และเดินดูรอบ ๆ ไลน์บุฟเฟต์ และนั่งหันหลังและไกล สิ่งที่ศาสตราจารย์ Wansink ค้นพบได้ถูกนำมาประยุกต์กับโรงเรียนรัฐบาล โดยให้โรงอาหารนั้นลดขนาดของจานลง ตั้งโต๊ะให้ไกลจากโรงอาหารมากขึ้นและให้หันหลัง เพิ่มน้ำเปล่าและผลไม้ในไลน์อาหารให้เด่นชัด ผลปรากฏว่าน้ำหนักของเด็กที่อยู่ในเกณฑ์อ้วนลดลงถึง 23%
อีกการทดลอง ซึ่งอาจจะเป็นประโยชน์ผู้ประกอบการไทย โดยการทดลองกับเมนูร้านอาหารหลายแห่งในสหรัฐ ที่ไม่ค่อยเป็นที่นิยมนัก เช่น ปลากระพงซึ่งมีประโยชน์ ไขมันน้อย มักขายสู้แฮมเบอเกอร์ไม่ได้ วิธีแก้ คือ เพิ่มชื่อจาก Grilled Sea bass เป็น Grill Local Sea bass หรือ BBQ Chicken Breast เป็น BBQ Texas Style Chicken Breast การใส่คำขยายหรือจุดเจาะจงสถานที่ ทำให้ยอดขายพุ่งขึ้น 35% ทั้ง ๆ ที่รสชาติอาหารเหมือนเดิมทุกอย่าง เป็นการพิสูจน์ว่า “ความน่ากิน” ของอาหารนั้นไม่ได้ถูกวัดด้วย “ลิ้น” เพียงอย่างเดียว
ในบทความส่วนแรกนี้ ผมจะขอหยุดการบอกเล่าหัวข้อการอภิปรายเชิงการทดลองไว้เท่านี้ก่อนนะครับ ยังมีเนื้อหาอีกยาวทีเดียว ที่ผมอยากจะถ่ายทอดให้กับ SME และว่าที่อนาคต Startup ไปจนถึง Social entrepreneurs ได้นำแนวทางนี้ไปปรับแต่งกลยุทธ์ทางการตลาดโดยมีพื้นฐานจากวัตถุดิบของบ้านเรา รอติดตามกันตอนต่อไปนะครับ
(อ่านบทความคำแนะนำ 7 ข้อจากคุณ Tim Pita ในฐานะนักธุรกิจคนหนึ่ง)
ขอบคุณข้อมูลจาก: -
ลงทะเบียนรับข่าวสาร
บริการส่งข้อมูลความรู้ ให้ลูกค้าธุรกิจผ่านอีเมล์
บริการจัดส่งบทวิเคราะห์และข้อมูลข่าวสารทางธุรกิจผ่านทาง E-mail
  • บทวิเคราะห์เศรษฐกิจรายสัปดาห์จากศูนย์วิจัยกรุงศรี
  • ผลการสำรวจดัชนีภาวะธุรกิจ SME รายไตรมาส โดยกรุงศรี
  • ข่าวสาร และกิจกรรมของธนาคาร
  • บริการทางการเงิน และโปรโมชั่นใหม่ๆ ของธนาคาร
Follow us on
ลงทะเบียนรับข่าวสาร
บริการส่งข้อมูลความรู้ ให้ลูกค้าธุรกิจผ่านอีเมล์
บริการจัดส่งบทวิเคราะห์และข้อมูลข่าวสารทางธุรกิจผ่านทาง E-mail
  • บทวิเคราะห์เศรษฐกิจรายสัปดาห์จากศูนย์วิจัยกรุงศรี
  • ผลการสำรวจดัชนีภาวะธุรกิจ SME รายไตรมาส โดยกรุงศรี
  • ข่าวสาร และกิจกรรมของธนาคาร
  • บริการทางการเงิน และโปรโมชั่นใหม่ๆ ของธนาคาร
Powered by
© 2567 ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)
Follow