ทำไมเวลาที่ดีที่สุดที่จะมองหาโอกาสคือในช่วงภาวะวิกฤต

ทำไมเวลาที่ดีที่สุดที่จะมองหาโอกาสคือในช่วงภาวะวิกฤต

By Tim Pita

ชีวิตผมเอง ถึงแม้จะวัยวุฒิไม่มาก ก็ผ่านวิกฤตมาเยอะ เล็กบ้าง ใหญ่บ้าง ตามประสาเมื่อมองย้อนหลังหลับไป แต่ ณ ตอนที่วิกฤตเกิดนั้นรู้สึกว่ามันหนักหนา สาหัสเหลือเกิน ตอนเป็นนักเรียนก็เจอวิกฤตแบบนักเรียน เป็นลูกจ้างเขาก็เจอวิกฤตแบบลูกจ้าง เป็นเจ้าของธุรกิจก็เจอวิกฤตแบบธุรกิจ ด้วยความที่ผมไม่ได้เป็นคนที่เก่งมาก หรือฉลาดมากนัก ผมจึงต้องทำงานหนักมากเป็นพิเศษ (Work hard) สิ่งหนึ่งที่เป็นหลักความคิดของผมตั้งแต่เด็กก็คือ “จะเจ็บในสนามซ้อม หรือจะตายในสนามรบ” เป็นคำถามที่ผมเจอปัญหามาตั้งแต่สมัยนักเรียน จนเดี๋ยวนี้ ผมเชื่อว่า “ความเครียดจากวิกฤตเป็นยา เป็นน้ำมัน เป็นอดรีนาลีน” ที่ทำให้เราตั้งใจมากขึ้น และพร้อมสำหรับโอกาสที่จะเข้ามาถึงไม่เร็วก็ช้า ถ้าธุรกิจเรามีขีดความสามารถในการแข่งขัน ไม่ว่าจะวิกฤตหรือโอกาส น้ำขึ้นหรือน้ำลงเราก็จะพร้อมที่รับมือกับมัน

เมื่อ 7-8 ปีที่แล้ว คุณพ่อผมเสีย วันที่ 19 กันยายน ผมอายุ 25 และเพิ่งเข้าไปปฐมนิเทศน์ที่ Harvard University ได้เพียง 1 สัปดาห์ ครอบครัวผมแทบยืนกันไม่ได้ เพราะคุณพ่อเข้าโรงพยาบาลไป 2-3 วันแล้วเสีย คุณย่า คุณแม่ น้องชาย ยังตั้งหลักกับความสูญเสียไม่ได้ ผมอยากเดินทางกลับบ้านให้เร็วที่สุด แต่ก็ไม่มีเครื่องบินกลับ ส่วนสถานการณ์ธุรกิจตอนนั้น ผมเพิ่งเริ่มบริหารบริษัท ซีอีโออกริฟู้ด จำกัด (CEO) ที่ผลิตน้ำมันรำข้าว (ปัจจุบันผมได้บริหารอยู่ และใช้บริการธนาคารกรุงศรีฯ) ณ ตอนที่คุณพ่อเสีย ผมเพิ่งเริ่มบริหารงานได้ราว 3 เดือน พูดง่ายๆ ยังป็นทารกอยู่ ไม่มีอะไรเลย ยกเว้นหนี้จากธนาคาร 100 ล้านบาท กับชีวิตลูกจ้าง 200 คน
เมื่อมองย้อนกลับไป สิ่งที่ละลายให้น้ำแข็งเป็นน้ำได้ ให้ธุรกิจไหลลื่นต่อได้ คือ “การเรียงลำดับความสำคัญ” (Prioritization) ของปัญหา เมื่อทุกอย่างมะรุมมะตุ้มเป็นปมใหญ่ ฟังดูอาจจะเรียบง่าย และอาจจะไม่น่าเป็นหัวใจสำคัญ ในการเปลี่ยนวิกฤติเป็นโอกาสแต่การที่จะคิดว่าอะไรก่อน อะไรหลังในภาวะคับขันนั้นต้องมีทั้งสติในปัจจุบันและความหวังในอนาคต ถ้าไม่มีสติก็คิดไม่ออก ถ้าไม่มีความหวังก็ไม่รู้จะคิดไปทำไม ถ้าไม่เรียงลำดับความสำคัญ ก็ลงมือทำไม่ถูก อะไรที่สำคัญมากก็ทำก่อน อะไรสำคัญน้อยก็ทำหลัง ต้องรู้ เร็ว ช้า หนัก เบา หรือจังหวะ ของธุรกิจ
ณ ตอนนั้น มีวิกฤตความเชื่อมั่นของพนักงานที่สูญเสียกัปตันเรือไปก่อนเริ่มธุรกิจ เครื่องจักรไม่พร้อม เงินทุนเหลือน้อย วัตถุดิบไม่มีคนกล้าขายเชื่อให้ ลูกค้าไม่กล้าซื้อ กลัวของไม่มีคุณภาพ เละเทะไปหมด แต่มนุษย์นี้มีสัญชาติญาณแปลก ยิ่งเละยิ่งมีพลัง นึกถึงภาพ คุณป้ามีอายุแบกตู้เย็นวิ่งหนีออกมาจากบ้านไฟไหม้ได้ไหมครับ? ผมก็รูสึกอย่างนั้น รู้สึกเหมือนไฟไหม้บ้านผมอยู่ แต่จะกระวนกระวายต่อไปไฟก็ไม่หยุดไหม้ ต้องมีสติและหาถังใส่น้ำไปราดเท่านั้นถึงจะหยุดไหม้ เราเป็นโรงงานถ้าเครื่องงานไม่เดินก็ไม่มีประโยชน์ การเรียงลำดับความสำคัญของปัญหาผม จึงเป็น
คน >> เครื่อง >> ซื้อ >> ขาย >> เงิน
คนหมายถึงต้องทำให้พนักงานกลับมาเชื่อมั่นว่าเรายังสู้ และพอรู้ว่าเรากำลังทำอะไรอยู่ เครื่องต้องจัดการให้สามารถเดินหน้าได้อย่างมีคุณภาพ เมื่อเครื่องมีคุณภาพก็สามารถซื้อวัตถุดิบได้ ผลิตได้ ก็ง่ายที่จะขายได้ เมื่อธุรกิจเริ่มเดินหน้า ก็ไม่มีเหตุผลอะไรที่ธนาคารจะไม่สามารถช่วยให้ธุรกิจของคุณเดินหน้าไปได้ และขยายตัวได้เรื่อยๆ ข้อสังเกต ก็คือ ถ้าผมไม่เรียงลำดับความสำคัญ หรือเริ่มที่อื่นก่อน แก้ปัญหาไม่ถูกจุด ผมเชื่อว่าวิกฤติจะยิ่งเละเข้าไปใหญ่
ในฐานะผู้ประกอบการหน้าใหม่ (Start-Up Entrepreneur) พวกเราคงจะมีวิกฤติต่างๆ มากมาย และทำผิดพลาดอยู่บ่อยครั้ง ที่สำคัญที่สุด คงจะไม่ใช่ว่าจะหลีกเลี่ยงมันอย่างไร แต่คงจะเป็นว่าเราจะเรียนรู้อะไร อย่างไร กับวิกฤตนั้นได้ และไม่เศร้าโศกกับมันจนเดินหน้าต่อไปไม่ได้ต่างหาก
ขอบคุณข้อมูลจาก: -
ลงทะเบียนรับข่าวสาร
บริการส่งข้อมูลความรู้ ให้ลูกค้าธุรกิจผ่านอีเมล์
บริการจัดส่งบทวิเคราะห์และข้อมูลข่าวสารทางธุรกิจผ่านทาง E-mail
  • บทวิเคราะห์เศรษฐกิจรายสัปดาห์จากศูนย์วิจัยกรุงศรี
  • ผลการสำรวจดัชนีภาวะธุรกิจ SME รายไตรมาส โดยกรุงศรี
  • ข่าวสาร และกิจกรรมของธนาคาร
  • บริการทางการเงิน และโปรโมชั่นใหม่ๆ ของธนาคาร
Follow us on
ลงทะเบียนรับข่าวสาร
บริการส่งข้อมูลความรู้ ให้ลูกค้าธุรกิจผ่านอีเมล์
บริการจัดส่งบทวิเคราะห์และข้อมูลข่าวสารทางธุรกิจผ่านทาง E-mail
  • บทวิเคราะห์เศรษฐกิจรายสัปดาห์จากศูนย์วิจัยกรุงศรี
  • ผลการสำรวจดัชนีภาวะธุรกิจ SME รายไตรมาส โดยกรุงศรี
  • ข่าวสาร และกิจกรรมของธนาคาร
  • บริการทางการเงิน และโปรโมชั่นใหม่ๆ ของธนาคาร
Powered by
© 2567 ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)
Follow