5 ข้อควรรู้ เริ่มลงทุนธุรกิจแฟรนไชส์ให้ปังจนหยุดไม่อยู่

5 ข้อควรรู้ เริ่มลงทุนธุรกิจแฟรนไชส์ให้ปังจนหยุดไม่อยู่

By Krungsri Plearn Plearn
หากคุณเป็นคนหนึ่งที่ชอบความเสี่ยง หรือเป็นผู้ประกอบการที่มองหาหนทางสู่ความสำเร็จอย่างรวดเร็ว แต่ต้องการเริ่มต้นธุรกิจที่มาพร้อมกับแบรนด์และโมเดลธุรกิจที่เป็นที่ยอมรับ การลงทุนในธุรกิจแฟรนไชส์เป็นทางเลือกที่ได้รับความนิยมก็เป็นอะไรที่น่าลงทุนไม่น้อย

เพื่อเป็นการเข้าใจถึงแก่นแท้ความจริงของธุรกิจแฟรนไชส์ และเพื่อให้แน่ใจว่ากำลังใช้เวลาในการลงทุนแฟรนไชส์ได้อย่างคุ้มค่า คุณจำเป็นจะต้องเข้าใจเรื่องของธุรกิจแฟรนไชส์เหล่านี้เสียก่อน
การลงทุนแฟรนไชส์แฟรนไชส์คืออะไร

แฟรนไชส์ (Franchise) คืออะไร มีรูปแบบยังไงบ้าง?

ที่จริงแล้วธุรกิจแฟรนไชส์ที่เราคุ้นหูคุ้นตากันนั้น ก็คือธุรกิจที่เจ้าของได้ให้สิทธิผู้อื่นในการประกอบธุรกิจขายสินค้าหรือบริการได้ โดยที่ “แฟรนไชส์ซอร์” (ผู้ให้สิทธิในการประกอบธุรกิจ) ทำข้อตกลงให้บุคคลอีกคนหนึ่งที่เรียกว่า “แฟรนไชส์ซี” (ผู้รับสิทธิในการประกอบธุรกิจ) โดยใช้ รูปแบบ ขั้นตอน รวมไปถึงสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาของตนหรือที่แฟรนไชส์ซอร์ มีสิทธิที่จะให้ผู้อื่นใช้เพื่อประกอบธุรกิจแฟรนไชส์ของตนเองภายในระยะเวลา หรือภายในเขตพื้นที่ที่กำหนด ซึ่งการประกอบธุรกิจแฟรนไชส์นั้น จะอยู่ภายใต้การส่งเสริม และควบคุมตามแผนการดำเนินธุรกิจของแฟรนไชส์ซอร์ โดยที่แฟรนไชส์ซีมีหน้าที่ต้องจ่ายค่าตอบแทนแก่แฟรนไชส์ซอร์นั่นเอง
  • เจ้าของธุรกิจแฟรนไชส์ (Franchisor) เจ้าของธุรกิจแฟรนไชส์ หรือ แฟรนไชส์ซอร์ คือผู้ให้สิทธิในการประกอบธุรกิจแฟรนไชส์ กับผู้ที่จะมาขอซื้อแฟรนไชส์
  • ผู้ลงทุนธุรกิจแฟรนไชส์ (Franchisee) ผู้ลงทุนธุรกิจแฟรนไชส์ หรือ แฟรนไชส์ซี คือผู้รับสิทธิในการประกอบธุรกิจแฟรนไชส์ ซึ่งจะเป็นผู้ที่ไปขอซื้อแฟรนไชส์จากเจ้าของแฟรนไซส์

ดังนั้นแล้วธุรกิจแฟรนไชส์ จะเหมือนการโคลนนิ่งธุรกิจหรือร้านค้า เพื่อที่จะขยายตลาดให้เติบโต แต่อยู่ภายใต้ข้อกำหนดที่แฟรนไชส์ซอร์กำหนดเอาไว้นั่นเอง แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นการที่เราอยากได้สูตรลับของร้านนั้น ๆ แน่นอนว่ามันไม่ฟรี เพราะมันจะมีค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ตั้งแต่เริ่มทำธุรกิจแฟรนไชส์ไปตลอดจนถึงสัญญาซื้อที่ต้องจ่ายแบบต่อเนื่อง ในการซื้อธุรกิจแฟรนไชส์มาเป็นของตัวเอง

เรามาดูตัวอย่างธุรกิจแฟรนไชส์ที่นิยมในบ้านเรากัน

การลงทุนแฟรนไชส์ มีรูปแบบยังไงบ้าง?
ถ้าเรานึกถึงร้านสะดวกซื้อชื่อดังร้านนึงที่เปิดตลอด 24 ชั่วโมง ที่หลายคนคุ้นหูคุ้นตาเห็นกันตามซอย ปั๊มน้ำมัน หรือเคยเดินเข้าไปใช้บริการกันบ้างแล้ว แน่นอนว่าเป็นอีกหนึ่งธุรกิจแฟรนไชส์ที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในประเทศไทย

โดยที่สินค้าและบริการของร้านสะดวกซื้อนั้น ได้รับความนิยมมีความตอบโจทย์ผู้บริโภคในวงกว้าง และมีแนวโน้มเติบโตได้เร็ว จึงทำให้มีผู้ที่สนใจในธุรกิจแฟรนไชส์เพิ่มมากขึ้น เนื่องมาจากมีทีมงานและบริษัทคอยช่วยเหลือและสนับสนุน โดยที่การเปิดธุรกิจแฟรนไชส์ร้านสะดวกซื้อนั้นจะแบ่งออกเป็น 3 ประเภทหลัก ๆ ดังต่อไปนี้
  1. ร้านสาขาบริษัทดำเนินการเอง
  2. ร้านค้าที่ได้รับสิทธิช่วงอาณาเขต (Sub Area)
  3. ร้านสาขาประเภทร่วมลงทุน (Store Business Partner) ได้รับความนิยมมากในประเทศไทย

ทำไม “Store Business Partner” ถึงเป็นที่นิยมในประเทศไทยนั้น เป็นเพราะว่าผู้ที่ลงทุนแฟรนไชส์ ไม่จำเป็นที่จะต้องมีความรู้ในด้านธุรกิจมาก เพียงแต่ต้องหมั่นหาความรู้เพิ่มเติมตลอดเวลา โดยทางร้านสะดวกซื้อชื่อดังจะมีทีมงานที่ปรึกษาคอยช่วยเหลือในทุกด้าน เช่น ถ้าหากไม่มีทำเลดี ๆ เปิดร้าน ทางทีมงานก็คัดสรรทำเลมาให้ เป็นต้น

เมื่อเราพอจะรู้แล้วว่าธุรกิจแฟรนไชส์คืออะไร… ต่อไปจะเป็นข้อควรรู้ที่ควรพิจารณาก่อนที่จะกระโดดเข้าสู่การลงทุนแฟรนไชส์

5 ข้อควรรู้ ถ้าจะเริ่มต้นธุรกิจแฟรนไชส์ต้องรู้อะไรบ้าง?

เช็คความต้องการของตลาดในแต่ละธุรกิจแฟรนไชส์

1. เริ่มที่ “เช็กความต้องการ” ของตลาดก่อน

ตรงนี้ถือเป็นหัวใจสำคัญเลยล่ะที่ควรพิจารณา ก่อนคิดจะลงทุนในธุรกิจแฟรนไชส์ เราจะต้องลองศึกษาให้มั่นใจก่อนว่าเทรนด์ธุรกิจแฟรนไชส์ในท้องตลาดภาพรวมยังมีความต้องการใช้บริการหรือซื้อผลิตภัณฑ์ของแฟรนไชส์ที่เราสนใจจะลงทุนอยู่หรือเปล่า? เราจะต้องเลือกให้แน่ใจว่าธุรกิจมีความ “ยั่งยืนและสามารถขายได้จริง” เพื่อการเติบโตของธุรกิจแฟรนไชส์ที่เราสนใจเลือกลงทุนในระยะยาว

โดยวิธีที่จะเช็กความต้องการของตลาดธุรกิจแฟรนไชส์ มีข้อควรคำนึงถึงดังต่อไปนี้
  • ธุรกิจแฟรนไชส์นั้นจะต้องมีความน่าเชื่อถือ
  • ยอดการเจริญเติบโตของสาขา และยอดขายของผลิตภัณฑ์นั้น ๆ ในช่วง 2-3 ปีให้หลัง จนถึงปัจจุบัน
  • เจ้าของแฟรนส์ไชส์มีความเชี่ยวชาญและมีประสบการณ์มากพอ
  • Target Market ของธุรกิจแฟรนไชส์นั้นเป็นยังไง
  • Location ที่เจ้าของแฟรนไชส์กำหนดมานั้นดูแล้วมีความเป็นไปได้ในการดำเนินธุรกิจมากน้อยแค่ไหน
ดูงบประมาณในการลงทุนธุรกิจแฟรนไชส์

2. เช็กงบดูเงินในกระเป๋าต้องใช้เงินลงทุนเท่าไหร่?

อุปสรรคที่ใหญ่ที่สุดประการหนึ่งในการซื้อธุรกิจแฟรนไชส์ คือ เงินทุนในการดำเนินงานของคุณ เงินทุนเริ่มต้นส่วนใหญ่ จะตกเป็นของแฟรนไชส์ซอร์ในรูปแบบของค่าธรรมเนียมสำหรับการฝึกอบรม อุปกรณ์ และสิทธิ์ในการออกใบอนุญาต ดูว่าบริษัทแฟรนไชส์จะให้บริการอะไรเพื่อแลกกับค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์ และประเมินเวลาที่ต้องใช้เพื่อรับค่าใช้จ่ายล่วงหน้ากลับคืนมา เพื่อพิจารณาว่าธุรกิจแฟรนไชส์เป็นการลงทุนที่ดีหรือไม่

ถึงแม้ว่าคุณจะมีโมเดลธุรกิจและแนวทางปฏิบัติอยู่แล้วจากเจ้าของธุรกิจแฟรนไชส์ แต่ก็ต้องเตรียมพร้อมสำหรับเส้นทางการเริ่มต้นเพราะในธุรกิจแฟรนไชส์อาจเกี่ยวข้องกับความจำเป็นในการเอาตัวรอดจากจุดคุ้มทุน และช่วงขาดทุนสุทธิก่อนที่ธุรกิจแฟรนไชส์ของคุณจะโฟลว์ ตรงจุดนี้ ต้องบอกเลยว่าคุณจะต้องมีรูปแบบทางการเงินที่ดีระดับหนึ่งเลยหล่ะ เพื่อหล่อเลี้ยงให้ธุรกิจแฟรนไชส์ของคุณ เดินต่อได้แบบไม่สะดุด ขอแนะนำให้คุณเข้าถึงเงินทุนที่ครอบคลุมทั้งค่าใช้จ่ายทางธุรกิจและค่าครองชีพส่วนบุคคลเป็นเวลาประมาณหกเดือน จริงอยู่ว่าแฟรนไชส์ได้ให้แผนความสำเร็จแก่คุณแล้ว แต่คุณจะทำให้ธุรกิจแฟรนไชส์ของคุณสำเร็จหรือไม่ นั้นมันขึ้นอยู่กับคุณแล้วที่จะทำให้ธุรกิจแฟรนไชส์แรกของคุณนั้นไปรอด คำแนะนำคือให้คุณมีเงิน Pocket Money หรือเงินกู้สำรองเผื่อไว้ในกรณีฉุกเฉิน

3. เช็กตัวเองว่า “คุณเป็นคนแบบไหน”

การเป็นเจ้าของแฟรนไชส์ไม่ใช่สำหรับทุกคน หากคุณเป็นคนที่มีความคิดสร้างสรรค์ กล้าหาญ ที่ไม่ทำตามกฎหรือทำอาหารโดยไม่มีสูตร... ลงทุนในธุรกิจแฟรนไชส์ อาจจะไม่ใช่ทางสำหรับคุณ เราต้องขอโทษที่ต้องบอกคุณตรง ๆ แบบนี้ แต่ในโลกของธุรกิจแฟรนไชส์นั้นมันมีกฎที่ต้องปฏิบัติตามอยู่เสมอ ซึ่งนั้นเป็นงานของคุณที่จะทำให้สิ่งต่าง ๆ เกิดขึ้น เพื่อให้ธุรกิจแฟรนไชส์ของคุณดำเนินต่อไปได้ ภายใต้การทำสิ่งนี้ ตามแนวทางของผู้อื่น คุณจะเป็นผู้ดำเนินการแทน หรืออาจกล่าวได้ว่าคุณเป็นผู้ดำเนินการ แต่ไม่ใช่ผู้สร้าง หากคุณเป็นนักฉีกไม่ทำตามกฎ อย่าเพิ่งซื้อธุรกิจแฟรนไชส์มาลงทุนเลย มันอาจจะกลายเป็นหายนะได้!

4. ธุรกิจแฟรนไชส์คืนทุนตอนไหน?

เราทุกคนล้วนคาดหวังผลกำไรจากการลงทุนอยู่แล้วแน่นอน ซึ่งนั่นเป็นสิ่งที่เราสามารถคำนวณได้เมื่อลงทุนในธุรกิจแฟรนไชส์ที่มีระบบที่ดี ซึ่งเราสามารถพูดคุยกับเจ้าของแฟรนไชส์และรับตัวเลขทางการเงิน หรือคำนวณจุดคุ้มทุน (Break-Even Point) จากเจ้าของแฟรนไชส์เพื่อพูดคุยถึงสิ่งที่คาดหวังก่อนเริ่มต้นทำธุรกิจแฟรนไชส์ โดยตัวเลขที่ได้มานั้นจะสามารถคำนวณระยะเวลาและรายได้ในการที่จะคืนทุนในอนาคต อย่างไรก็ตามการลงทุนในแฟรนไชส์ใหม่นั้นก็เปรียบเสมือนเป็นเกมที่ต้องคาดเดา เนื่องจากมีที่ตั้งเพียงไม่กี่แห่ง จึงเป็นเรื่องยากที่จะเข้าใจถึงความลึกหรือขอบเขตที่แท้จริงของโอกาสทางการเงินในธุรกิจแฟรนไชส์

อย่างที่ วอร์เรน บัฟเฟตต์ กล่าว – “ราคาคือสิ่งที่คุณจ่าย คุณค่าคือสิ่งที่คุณได้รับ”
ข้อตกลงและสัญญาการทำธุรกิจแฟรนไชส์

5. เช็กข้อจำกัดของสัญญาและค่าธรรมเนียมของแฟรนไชส์

การซื้อธุรกิจแฟรนไชส์ อาจมีเรื่องของความซับซ้อนทางกฎหมายเข้ามาเกี่ยวข้องในข้อตกลงด้วย ดังนั้นทั้งสองฝ่ายจึงควรปรึกษาผู้ที่มีความรู้ในด้านนี้โดยเฉพาะก่อนที่จะตกลงทำสัญญา ในส่วนของค่าธรรมเนียมผู้ซื้อธุรกิจแฟรนไชส์จะต้องรับรู้และเข้าใจในข้อตกลงว่ามีค่าธรรมเนียมอะไรบ้างที่ต้องจ่าย โดยค่าธรรมเนียมที่ผู้ซื้อธุรกิจแฟรนไชส์จะต้องจ่ายมีดังต่อไปนี้
  • ค่าธรรมเนียมเริ่มต้น เพื่อซื้อแฟรนไชส์ (ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นเงินก้อน) ให้กับผู้ถือสิทธิ์ในการที่จะดำเนินธุรกิจต่อไป
  • ค่าธรรมเนียมการจัดการ หรือเงินรายงวด เป็นสิ่งที่ต้องจ่ายอย่างต่อเนื่อง

โดยการจ่ายเงินครั้งนี้ มักจะเป็นรอบรายเดือน, 2 เดือน, หรือไตรมาส เงินส่วนนี้ เหมือนเป็นการจ่ายเพื่อให้เจ้าของสิทธิ์นำไปพัฒนาสินค้าและบริการให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น

ถ้าอ่านมาถึงตรงนี้แล้ว คุณคงมีความเข้าใจเกี่ยวกับธุรกิจแฟรนไชส์มากขึ้นแล้วล่ะ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นคุณสมบัติที่สำคัญที่สุดที่ต้องมี คือ ทัศนคติ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในการทำธุรกิจแฟรนไชส์มาก ที่จะรู้ว่าคุณกำลังจะทำอะไรและรู้ว่าจะเผชิญหน้ากับอะไร

แต่สิ่งที่อยากให้ได้จากบทความนี้จริง ๆ คือ อย่ารีบเร่ง!! ใช้เวลาในการวิเคราะห์ คิดตรึกตรอง หาข้อมูลศึกษาให้ลึกก่อนเริ่มต้นตัดสินใจลงทุนธุรกิจแฟรนไชส์ และหลังจากทำทั้งหมดนี้ จะตัดสินใจได้ถูกต้อง และจะประสบความสำเร็จในการเริ่มต้นธุรกิจแฟรนไชส์ได้ในระยะยาว
ขอบคุณข้อมูลจาก: -
ลงทะเบียนรับข่าวสาร
บริการส่งข้อมูลความรู้ ให้ลูกค้าธุรกิจผ่านอีเมล์
บริการจัดส่งบทวิเคราะห์และข้อมูลข่าวสารทางธุรกิจผ่านทาง E-mail
  • บทวิเคราะห์เศรษฐกิจรายสัปดาห์จากศูนย์วิจัยกรุงศรี
  • ผลการสำรวจดัชนีภาวะธุรกิจ SME รายไตรมาส โดยกรุงศรี
  • ข่าวสาร และกิจกรรมของธนาคาร
  • บริการทางการเงิน และโปรโมชั่นใหม่ๆ ของธนาคาร
Follow us on
ลงทะเบียนรับข่าวสาร
บริการส่งข้อมูลความรู้ ให้ลูกค้าธุรกิจผ่านอีเมล์
บริการจัดส่งบทวิเคราะห์และข้อมูลข่าวสารทางธุรกิจผ่านทาง E-mail
  • บทวิเคราะห์เศรษฐกิจรายสัปดาห์จากศูนย์วิจัยกรุงศรี
  • ผลการสำรวจดัชนีภาวะธุรกิจ SME รายไตรมาส โดยกรุงศรี
  • ข่าวสาร และกิจกรรมของธนาคาร
  • บริการทางการเงิน และโปรโมชั่นใหม่ๆ ของธนาคาร
Powered by
© 2567 ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)
Follow