5 ปัจจัยสำคัญสำหรับความสำเร็จของทุกๆ ธุรกิจ (ตอนที่ 1)

5 ปัจจัยสำคัญสำหรับความสำเร็จของทุกๆ ธุรกิจ (ตอนที่ 1)

By Tim Pita

เมื่อผมจับปากกาเริ่มเขียนคอลัมน์นี้ตามคำเชิญของธนาคารกรุงศรีอยุธยาให้เขียนกฎของธุรกิจ 5 ข้อ ผมรู้สึกตื่นเต้นอย่างบอกไม่ถูก ทั้งเป็นงานที่สนุก ท้าทาย และยากสำหรับผม เนื่องจากฐานลูกค้าของธนาคารขนาดใหญ่อย่างกรุงศรี ย่อมมีตั้งแต่เด็กไปถึงผู้ใหญ่ ผู้ที่กำลังคิดตั้งธุรกิจ ผู้ที่ดำเนินธุรกิจมาสักพัก หรือผู้ที่ประสบความสำเร็จในธุรกิจแล้ว ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจเล็ก กลาง ใหญ่ เขาเหล่านั้นย่อมมีประสบการณ์ ช่ำชอง และเก่งกว่าผมในยุทธจักรธุรกิจ

หลังจากไตร่ตรองมานาน ผมคิดว่า 5 ข้อที่ผมจะเขียนนั้นควรจะครอบคลุมตรงไปตรงมา และสามารถเป็นประโยชน์ให้กับผู้อ่านไม่ข้อใดก็ข้อหนึ่ง ผมนึกถึงเหล่า “อาจารย์” หรือ “Mentor” ผม 5 ท่าน ที่ผมมีโอกาสทำงานหรือเรียนหนังสือด้วยโดยตรง และเคยแนะนำผมถึงเรื่องธุรกิจในหลายแง่มุม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องคน เรื่องเครือข่ายธุรกิจ เรื่องกลยุทธ์ เรื่องการตลาด ซึ่งผมได้นำมาใช้จริงกับธุรกิจ ลองผิด ลองถูก กับทฤษฎีหรือคำแนะนำนั้นๆ ใช้ได้บ้าง ใช้ไม่ได้บ้าง ประสบการณ์ผมเลยทลายบางทฤษฎีและพยายามทำให้ดีขึ้น อันมี 5 ข้อ ดังต่อไปนี้
1) Freedom & Responsibility By Hans Paul
ผมพบคุณ Hans Paul ซีอีโอ ของ The Boston Consulting Group ในปี 2544 ผมเริ่มทำงานที่นั้นได้เป็นปีแรกที่เริ่มชีวิตทำงาน คุณ Hans Paul บินมาที่กรุงเทพ เพื่อเยี่ยมเยียน ผมจำได้แม่น คุณ Hans Paul พูดในโต๊ะอาหารว่าที่ทำงานที่มีความสุข คือ ที่ที่สามารถหาสมดุลของ Freedom กับ Responsibility ได้ “อิสรภาพ” กับ “ความรับผิดชอบ” เป็นส่วนผสมความสุขของการทำงาน ซึ่งผมจำมาปรับใช้กับชีวิตการทำงานกับการบริหารพนักงาน คนทุกคนคงอยากจะมีอิสรภาพทางความคิด ไม่ต้องการโดนจู้จี้ และสามารถคิดงาน ทำงานที่มีความหมาย แต่ในขณะเดียวกัน ถ้าอิสรภาพสุดโต่งแบบไม่มีความรับผิดชอบเลยก็ทำให้องค์กรหรือบุคคลพังได้เช่นกัน ความรับผิดชอบต่อผลงาน ต่อลูกค้า ต่อเพื่อนร่วมงาน ต่อตนเอง จึงจำเป็นหมดยุคแล้วสำหรับการที่เจ้านายมาคอยจ้ำจี้จ้ำไช ลูกน้องจนหมดอิสระทั้งคู่ เจ้านายหมดอิสระ และเวลาในการคิดนโยบาย วิสัยทัศน์ ว่าจะพาบริษัทไปในทิศทางไหน ลูกน้องหมดอิสรภาพในการคิด ความคิดสร้างสรรค์ในการทำงาน ทั้งหมดนี้จะเกิดขึ้นได้เมื่อความรับผิดชอบเกิดขึ้น เป็นการยื่นหมูยื่นแมวกัน เจ้านายให้อิสรภาพกับลูกน้อง ลูกน้องให้ความรับผิดชอบกลับมา การทำงานเป็นหมู่คณะ จึงจะเป็นสุขและสำเร็จ
2) สร้างเครือข่าย “Cluster” กรอบธุรกิจ จาก Professor Micheal Porter
Professor Porter เป็นอาจารย์ที่ผมรักมากที่สุดตอนเรียนปริญญาโทที่ Harvard ผมมีโอกาสลงเรียนวิชาของอาจารย์ปี 2554 ที่ Havard Business School ท่านผู้อ่าน นักธุรกิจหลายท่านคงจะรู้จักทั้ง Porter’s 5 Forces Model หรือ Cluster approach ซึ่งผมเองก็เคยอ่านอย่างผิวเผินก่อนเรียนกับท่าน พอมาเรียนด้วยทีหลังจึงทราบและเข้าใจว่าทำไม บริษัท องค์กร เมือง หรือประเทศหนึ่งจึงมีความจำเป็นที่ต้องทำงานกันแบบ Cluster พบว่าทำธุรกิจน้ำมันรำข้าวของตัวเองที่ผ่านมายิ่งเข้าใจมากไปอีก จึงเข้าใจว่าหัวเดียวกระเทียมลีบ ไม่ว่ากลยุทธ์คุณจะดีแค่ไหน แต่ถ้าไม่มีขีดความสามารถแล้วไม่สามารถแข่งได้ ทำนองคนตัวเล็กต้องพึ่งคนตัวใหญ่ ผมจึงเลือกสร้างคลัสเตอร์ น้ำมันรำข้าว หรือ กลุ่มธุรกิจหรือสถาบันที่เกี่ยวข้องมารวมตัวกันดำเนินกิจกรรมอยู่ในพื้นที่ใกล้เคียงกัน มีความร่วมมือเกื้อหนุน เชื่อมโยง เพื่อเป็นการประหยัดลดต้นทุน ก่อให้เกิดการกระจายความรู้โดยรอบ คลัสเตอร์ของผมประกอบไปด้วย ธนาคารที่เป็นหุ้นส่วนธุรกิจมากกว่าเจ้าหนี้ โรงสีที่ไว้ใจได้ 300 โรง ทีมช่างในและนอกบริษัทชาวบราซิลและอินเดีย พาร์ทเนอโลจิสติกส์ชาวญี่ปุ่น บริษัทโฆษณาและประชาสัมพันธ์ กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงเกษตร มหาวิทยาลัยคอร์แนล แห่งสหรัฐอเมริกา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และอีกมากมายเพื่อให้ธุรกิจเติบโตต่อเนื่องไปตามวิสัยทัศน์
3) การเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้า (Value add) โดย ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์
ผมมีโอกาสทำงานให้กับท่านสมคิด และทีมงานสมัยท่านเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ปี 2547 ก่อนผมจะไปเรียนปริญญาโท ตลอดระยะปีกว่า ผมตามท่าน ฟังท่านประชุม มาโดยตลอด ท่านพูดเสมอว่าประเทศไทยต้องยกระดับความสามารถในการแข่งขันและต้องเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าที่เราส่งออกไป เราจะส่งออกสินค้าไปแบบคอมโมดิตี้ (Commodity Product) หรือสินค้าประเภทโภคภัณฑ์ที่ไม่มีความแตกต่างของสินค้าไม่ได้อีกต่อไปแล้ว ต้องเป็นสินค้าที่ไม่ High-tech หรือ High-touch เป็น Price maker (ผู้ตั้งราคา) ไม่ใช่เป็น Price taker (ผู้ตามราคา) ผมได้พิสูจน์ข้อเท็จจริงนี้จากการไปฝึกงานที่คิวบา 1 เดือนเต็ม พ่อบ้านแม่บ้านที่ผมไปอยู่ด้วยทำงานอยู่ในโรงม้วนซิการ์ของยี่ห้อ “Cohiba” เขาจึงพาผมไปดูที่โรงงานเป็นประจำ โดยเขานำเสนอซิการ์ให้ผมมวนหนึ่ง ซึ่งเป็น Collection พิเศษ เขาบอกผมราคา 5,000 บาท ต่อ 1 มวน ผมสะดุ้งแล้วรีบคิดเลข นั้นคือข้าวไทยเกือบ 1 ตัน (ขณะเขียนตอนนี้รับซื้อข้าวจากโรงสี ตันละ 6,000-6,500 บาท) ซิการ์ 1 มวน ของคิวบา ราคาเดียวกันกับข้าว 1 ตันของไทย จะซื้อซิการ์ต้องต่อคิวซื้อ ไทยจะขายข้าวต้องตามราคาเขาและรอต่อคิวรับตังค์จากฝรั่ง ทำไมมันต่างกันอย่างนี้? ผมจึงถามพ่อบ้านว่าอะไรที่ทำให้กล้าตั้งราคาขนาดนี้ พ่อบ้านตอบว่า ซิการ์ของที่นี้ มาจาก “Sun, soil & Skill of Cuba” มาจาก แสงแดดคาริบเบียนของคิวบา มาจากดินที่เพราะปลูกใบยาสูบเหมาะสมที่สุดของคิวบา และความสามารถในการปลูก เก็บ มวนซิการ์ ที่มากับประวัติศาสตร์ของคิวบา จริงๆ แล้ว เรื่องราวเล่านี้ ผมคุ้นหู เพราะประเทศอื่นก็ทำกับไวน์ ชา กาแฟ โยเกิร์ต ชอคโกแลต และน้ำมันมะกอก หรือผลผลิตที่โตขึ้นมาจากผืนแผ่นดินนั้นๆ เรื่องราวในการเพิ่มมูลค่ากับข้าวและรำข้าวไทยนั้นก็สามารถทำได้เช่นกัน ข้าวไทยนั้นมีทั้งข้าวหอมมะลิ ข้าวเสาไห้ ข้าวสังข์หยด และอื่นๆ อีกมากมาย รำข้าวที่เคยไม่มีประโยชน์ เอาไว้ถมที่ ทำปุ๋ย เลี้ยงสุกร ทั้งๆที่มันมีไฟเบอร์ โปรตีน วิตามิน และสารต้านอนุมูลอิสระมากมาย ที่ร่างกายของเราจำเป็นในโลกที่เต็มไปด้วย “อสุขภาพ” ผมจึงนำแนวคิดนี้มาปรับใช้กับธุรกิจ
3. ความพร้อมของผลิตภัณฑ์ และเครื่องหมายการค้า –สินค้าที่ถูกกว่าจากประเทศเพื่อนบ้าน เวียดนาม ลาว พม่า กัมพูชา จะเข้ามาตีตลาดเราเมื่ออาเซียนเปิด ไทยคงไม่สามารถลดต้นทุน ค่าวัตถุดิบ ค่าแรง ค่าครองชีพลงไปแข่งกับเขาได้ เมื่อ “ลง” ไม่ได้ ก็ต้อง “ขึ้น” อย่างเดียว จะขึ้นได้ ขายแพงได้ ต้องมี 1) นวัตกรรม หรือ 2) ตราเครื่องหมายการค้า ในขณะที่ สิงคโปร์ เป็น Your Singapore, นิวซีแลนด์ เป็น 100% Pure New Zealand, อินเดีย เป็น Incredible India, เกาหลี เป็น Korea : Be Inspired
ขอบคุณข้อมูลจาก: -
ลงทะเบียนรับข่าวสาร
บริการส่งข้อมูลความรู้ ให้ลูกค้าธุรกิจผ่านอีเมล์
บริการจัดส่งบทวิเคราะห์และข้อมูลข่าวสารทางธุรกิจผ่านทาง E-mail
  • บทวิเคราะห์เศรษฐกิจรายสัปดาห์จากศูนย์วิจัยกรุงศรี
  • ผลการสำรวจดัชนีภาวะธุรกิจ SME รายไตรมาส โดยกรุงศรี
  • ข่าวสาร และกิจกรรมของธนาคาร
  • บริการทางการเงิน และโปรโมชั่นใหม่ๆ ของธนาคาร
Follow us on
ลงทะเบียนรับข่าวสาร
บริการส่งข้อมูลความรู้ ให้ลูกค้าธุรกิจผ่านอีเมล์
บริการจัดส่งบทวิเคราะห์และข้อมูลข่าวสารทางธุรกิจผ่านทาง E-mail
  • บทวิเคราะห์เศรษฐกิจรายสัปดาห์จากศูนย์วิจัยกรุงศรี
  • ผลการสำรวจดัชนีภาวะธุรกิจ SME รายไตรมาส โดยกรุงศรี
  • ข่าวสาร และกิจกรรมของธนาคาร
  • บริการทางการเงิน และโปรโมชั่นใหม่ๆ ของธนาคาร
Powered by
© 2567 ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)
Follow