รู้จักการวางแผนลงทุนแบบประจำ

ความรู้การลงทุน
รู้จักการวางแผนลงทุนแบบประจำ

ลดเสี่ยง เลี่ยงดอย ทยอยลงทุน

การลงทุนแบบประจำ คือ การลงทุนแบบถัวเฉลี่ยต้นทุน หรือ DCA (Dollar Cost Average) โดยกำหนดจำนวนเงินลงทุนเท่ากันเป็นประจำสม่ำเสมอ สามารถเลือกลงทุนเป็นรายสัปดาห์ รายเดือน หรือรายไตรมาส โดยไม่ต้องคำนึงว่า ณ วันที่ซื้อราคาหน่วยลงทุนเป็นเท่าไหร่ เพราะวัตถุประสงค์ของการลงทุนแบบประจำ คือ การลงทุนต่อเนื่อง เพื่อความมั่งคั่งในระยะยาว

4 ข้อดีของการลงทุนแบบประจำ

สร้างวินัยออม/ลงทุนสม่ำเสมอไม่พลาดโอกาสทุกช่วงเวลา
ลดผลกระทบจากความผันผวน
ของราคากองทุนและลดโอกาสพลาดจังหวะการลงทุนทั้งในช่วงตลาดขาขึ้นและขาลง
เพิ่มโอกาส
รับผลตอบแทนที่ดีในระยะยาว
จากการลงทุนอย่างต่อเนื่อง
เริ่มลงทุนน้อย
ไม่ต้องใช้เงินก้อนแค่ทยอยลงทุนทุกเดือน

มุ่งสู่เป้าหมายทางการเงินได้ง่ายๆ เพียงเริ่มต้นลงทุนแบบประจำ

ตัวอย่าง หากคุณมีเป้าหมายเพื่อเตรียมเงินสำหรับซื้อบ้านราคา 5 ล้านบาท ภายในระยะเวลา 10 ปี
 
จะเห็นได้ว่า หากเรามีการลงทุนที่ยาวนานและต่อเนื่อง ดอกผลจากการลงทุนของเงินต้น รวมถึงเงินที่เราลงทุนเพิ่มเติมจะโตขึ้นเรื่อยๆ จากสิ่งที่เรียกว่า "พลังของดอกเบี้ยทบต้น" และถ้าหากเรายิ่งมีวินัยมาก หรือลงทุนด้วยความถี่ที่เพิ่มมากขึ้น ก็จะทำให้เราก้าวเข้าใกล้เป้าหมายการลงทุนได้มากขึ้นนั่นเอง

จากตัวอย่างข้างต้น หากเรามีเงินลงทุนตั้งต้นไม่ถึง 1 ล้าน เราจะสามารถไปถึงเป้าหมายซื้อบ้านของเราได้ไหม คำตอบก็คือได้ หากเรามีการเพิ่มจำนวนเงินที่เราลงทุนแบบประจำ
 
จะเห็นได้ว่า หากเราเพิ่มจำนวนเงินลงทุนแบบประจำจาก 15,000 บาท เป็น 20,000 บาท หรือคิดเป็น 33% จะช่วยให้เงินลงทุนเริ่มต้นของเราลดลงได้ถึง 50% (จาก 1 ล้าน เหลือ 5 แสนบาท) โดยที่ยังมีโอกาสที่จะสามารถบรรลุเป้าหมายได้ภายในเวลาที่ตั้งใจไว้

หมายเหตุ: ผลตอบแทนของการลงทุนจาก 2 ตัวอย่างข้างต้น มาจากการจัดสรรพอร์ตการลงทุนระดับความเสี่ยงปานกลางของธนาคารกรุงศรีอยุธยา ซึ่งผลตอบแทนเฉลี่ยย้อนหลัง 10 ปี คือ 6.5% ต่อปี (ข้อมูล ณ วันที่ 30 ธ.ค. 63) ทั้งนี้ เป็นการคำนวณบนสมมติฐานว่ามีการปรับสมดุลพอร์ตการลงทุนปีละ 1 ครั้ง สนใจศึกษาข้อมูลพอร์ต การลงทุนแนะนำของธนาคารได้ที่ www.krungsri.com

3 ขั้นตอน เริ่มต้นลงทุนแบบประจำง่ายๆ

กำหนดเป้าหมาย
ว่าต้องการลงทุนเป็นจำนวนเงินเท่าไหร่ต่อปี? คิดเป็นเงินลงทุนต่อเนื่องเดือนละเท่าไหร่?
เลือกกองทุน
ที่มีนโยบายการลงทุน ระดับความเสี่ยง และโอกาสให้ผลตอบแทนที่เหมาะสมกับตนเอง
สมัครวางแผนลงทุนแบบประจำ (Regular Saving Plan : RSP)
กับธนาคารกรุงศรีอยุธยาได้ที่สาขา หรือผ่าน KMA krungsri app

เมื่อตั้งค่าซื้อกองทุนแบบประจำแล้ว ก็อย่าลืมเตรียมเงินในบัญชีให้พร้อมก่อนถึงวันที่หักบัญชี เพื่อให้ไม่พลาดการลงทุนตามที่ได้วางแผนไว้
 

ขั้นตอนการตั้งค่าซื้อกองทุนแบบประจำทุกเดือน
บน KMA krungsri app

   
ขอรับหนังสือชี้ชวน และสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ธนาคารกรุงศรีอยุธยาทุกสาขา

ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน ความเสี่ยง และศึกษาสิทธิประโยชน์ทางภาษีในคู่มือการลงทุน ก่อนตัดสินใจลงทุน

หมายเหตุ: ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) ในฐานะตัวแทนจำหน่ายหน่วยลงทุนให้กับ บลจ. พันธมิตรเท่านั้น

 

คำเตือน

ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน ความเสี่ยง และศึกษาสิทธิประโยชน์ทางภาษีในคู่มือการลงทุนก่อนตัดสินใจลงทุน

  • การลงทุนในหน่วยลงทุนมิใช่การฝากเงิน รวมทั้งไม่ได้อยู่ภายใต้ความคุ้มครองของสถาบันคุ้มครองเงินฝาก จึงมีความเสี่ยงจากการลงทุน ซึ่งอาจทำให้ไม่ได้รับเงินลงทุนคืนเต็มจำนวน
  • ผู้ลงทุนควรลงทุนในกองทุนรวมต่อเมื่อเห็นว่าการลงทุนในแต่ละกองทุนรวมนั้นมีความเหมาะสมกับวัตถุประสงค์ในการลงทุนของผู้ลงทุน และผู้ลงทุนสามารถยอมรับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการลงทุนได้ ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลในหนังสือชี้ชวนของกองทุนรวม โดยเฉพาะ นโยบายการลงทุน ความเสี่ยง ผลการดำเนินงานของกองทุนรวม และคู่มือการลงทุนให้เข้าใจก่อนตัดสินใจลงทุน
  • กองทุนรวมที่มีนโยบายการลงทุนในต่างประเทศบางส่วน บริษัทจัดการอาจจะใช้หรือไม่ใช่เครื่องมือป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศภายใต้ดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน ซึ่งอาจทำให้ผู้ลงทุนขาดทุนหรือได้กำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน และ/หรือ ได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้ และเนื่องจากกองทุนรวมมีการลงทุนในต่างประเทศจึงมีความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงด้านเศรษฐกิจ การเมือง และสังคม ของประเทศที่กองทุนรวมไปลงทุนได้ ผู้ลงทุนควรขอคำแนะนำเพิ่มเติมก่อนตัดสินใจลงทุน
  • กองทุนรวมที่มีนโยบายลงทุนในตราสารหนี้ที่มีอันดับความน่าเชื่อถือต่ำกว่าอันดับที่สามารถลงทุนได้ (Non-investment grade) หรือที่ไม่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ (Unrated Bond) จึงมีความเสี่ยงจากการผิดนัดชำระหนี้ของผู้ออกตราสาร ซึ่งส่งผลให้ผู้ลงทุนขาดทุนจากการลงทุนบางส่วน หรือทั้งจำนวนได้ และในการขายคืนหน่วยลงทุนอาจไม่ได้รับเงินคืนตามที่ระบุไว้ในโครงการ
  • กองทุนรวมบางประเภทอาจมีความเสี่ยงสูงกว่าความเสี่ยงที่ยอมรับได้ (Risk profile) ของผู้ลงทุนที่ได้ประเมินไว้กับธนาคารกรุงศรีอยุธยา ดังนั้น ผู้ลงทุนจะต้องเข้าใจและรับทราบความเสี่ยงของกองทุนรวมดังกล่าวก่อนทำการลงทุนและหากประสงค์จะลงทุนในกองทุนนั้น ผู้ลงทุนจะต้องลงนามรับทราบและยอมรับการลงทุนที่มีความเสี่ยงสูงกว่าความเสี่ยงที่ยอมรับได้ (Risk profile) ของผู้ลงทุนเป็นลายลักษณ์อักษรก่อนทำการลงทุนทุกครั้ง
  • กองทุนรวม SSF/SSFX เป็นกองทุนเพื่อส่งเสริมการออม LTF เป็นกองทุนที่ส่งเสริมการลงทุนระยะยาวในหุ้น และ RMF ลงทุนเพื่อเกษียณอายุ ผู้ลงทุนจะไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีหากไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขการลงทุน และจะต้องคืนสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่เคยได้รับพร้อมเงินเพิ่มตามกฎเกณฑ์ที่กรมสรรพากรกำหนด ทั้งนี้ การลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) ตั้งแต่วันที่ 2 มกราคม 2563 เป็นต้นไป ผู้ลงทุนไม่สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้
ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ในฐานะผู้สนับสนุนการขายและรับซื้อคืนหน่วยลงทุนให้กับบริษัทจัดการเท่านั้น
ผู้ลงทุนสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม และขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่ธนาคารกรุงศรีอยุธยาทุกสาขา
อ่านทั้งหมด

เปิดบัญชีกองทุนและสมัครบริการวางแผนลงทุนแบบประจำบน KMA ได้ทั้งระบบปฏิบัติการ iOS, Android และ Huawei

อยู่ที่ไหนก็สามารถลงทุนได้ ให้คุณไม่พลาดทุกโอกาสการลงทุน
Appstore
Googleplay
Huawei
พิมพ์สิ่งที่ต้องการค้นหา