การยื่นภาษีออนไลน์ การคืนภาษีทำตามง่ายๆ ได้เงินคืนเร็ว
รอบรู้เรื่องภาษี
icon-Facebook icon-Twitter icon-line

การยื่นภาษีออนไลน์ การคืนภาษีทำตามง่ายๆ ได้เงินคืนเร็ว

icon-access-time Posted On 31 มกราคม 2566
by สิรภัทร เกาฏีระ CFP®, AISA
ยื่นภาษีเงินได้ยังไง ขอคืนเงินภาษีได้หรือเปล่า สำหรับบทความในวันนี้จะเป็นบทความเกี่ยวกับขั้นตอนการยื่นภาษีในรูปแบบออนไลน์ ซึ่งก่อนที่เราจะยื่นภาษีนั้นเราจะต้องเตรียมเอกสารที่เกี่ยวข้องก่อน สำหรับเอกสารที่เกี่ยวข้องมีดังต่อไปนี้

เอกสารยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

  1. เอกสารหลักฐานแสดงรายได้
    1.1 ใบหักภาษี ณ ที่จ่าย (ใบ 50 ทวิ) ซึ่งจะมีรายละเอียดสำคัญ เช่น รายได้รวมที่แสดงให้เห็นว่า ในปีนั้นเรามีรายได้รวมเท่าไหร่ ภาษีที่หักไว้ เงินสมทบประกันสังคม ฯลฯ เป็นต้น
    1.2 เอกสารภาษีปันผล หรือสามารถดาวน์โหลดไฟล์ยื่นภาษี 40(4)(ข) ได้จาก Investor Portal (https://ivp.tsd.co.th/signin)
  2. เอกสารในส่วนของค่าลดหย่อน
    2.1 หนังสือรับรองการหักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดา (ล.ย.03)
    2.2 หนังสือรับรองการหักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูคนพิการหรือคนทุพพลภาพ (ล.ย.04)
    2.3 หนังสือรับรองการเป็นผู้อุปการะเลี้ยงดูคนทุพพลภาพ (ล.ย.04-1)
    2.4 ทะเบียนสมรส
    2.5 เอกสารรับรองบุตร
    2.6 ใบรับรองแพทย์ ใบเสร็จรับรอง หรือหลักฐานอื่นที่แสดงว่าได้จ่ายค่าฝากครรภ์และค่าคลอดให้แก่สถานพยาบาล
    2.7 เบี้ยประกันชีวิต และประกันสุขภาพ ไม่ต้องเตรียมเอกสารแต่ต้องแจ้งความประสงค์ที่จะใช้สิทธิลดหย่อนต่อตัวแทน หรือบริษัทผู้รับประกัน
    2.8 เบี้ยประกันสุขภาพของพ่อแม่ ไม่ต้องเตรียมเอกสารเช่นกัน แต่ต้องแจ้งความประสงค์ที่จะใช้สิทธิลดหย่อนต่อตัวแทน หรือบริษัทผู้รับประกัน
    2.9 เอกสารหนังสือรับรองการซื้อกองทุน SSF RMF
    2.10 ค่าลดหย่อนภาษีกลุ่มกระตุ้นเศรษฐกิจ
    2.11 หากกู้ซื้อบ้านหรือคอนโด ให้ขอหนังสือรับรองการเสียดอกเบี้ยกู้ยืมเพื่อซื้อที่อยู่อาศัยจากธนาคารด้วย
    2.12 หากมีการบริจาคผ่าน e-Donation ไม่ต้องเตรียมเอกสาร เพราะทางสรรพากรสามารถเข้าไปตรวจสอบในระบบได้
    2.13 การบริจาคทั่วไปต้องมีใบอนุโมทนาบุญ หรือใบเสร็จรับเงินที่ระบุชื่อผู้ยื่นภาษีเป็นผู้บริจาค
    2.14 สำหรับการบริจาคเพื่อพรรคการเมือง ใบเสร็จ หรือหลักฐานอื่น ๆ ที่ช่วยยืนยันว่าผู้ยื่นภาษีได้บริจาคช่วยเหลือพรรคการเมือง เช่น ใบโอนกรรมสิทธิ์ต่าง ๆ ที่ผู้ยื่นภาษีบริจาคให้แก่พรรคการเมือง เป็นต้น

เมื่อเราเตรียมเอกสารต่าง ๆ เรียบร้อยแล้ว ผมแนะนำว่าให้สแกนเอกสารทั้งหมดเก็บไว้ด้วยนะครับ สำหรับผู้ที่ยังไม่ได้ลงทะเบียนการยื่นแบบออนไลน์ในเว็ปไซต์ของกรมสรรพากรให้ลงทะเบียนได้ที่ https://efiling.rd.go.th/rd-cms/ เมนูสมัครสมาชิก โดยจะต้องใช้เลขบัตรประชาชนในการลงทะเบียน
 
สมัครสมาชิกยื่นแบบชำระภาษี
 
ลงทะเบียนยื่นแบบภาษี

หลังจากที่เราได้ลงทะเบียนเรียบร้อยแล้วเราจะสามารถ Login ในเว็ปไซต์ของกรมสรรพากรเพื่อทำการยื่นแบบออนไลน์ได้ที่เมนู เข้าสู่ระบบ โดยจะต้องมีการยืนยัน OTP ผ่านเบอร์โทรศัพท์ด้วย
 
เข้าสู่ระบบกรมสรรพากร
 
การยืนยัน OTP ผ่านเบอร์โทรศัพท์

สำหรับการยื่นแบบในลักษณะของบุคคลธรรมดา ให้เราเลือกเมนู ยื่นแบบ ในหัวข้อ ภงด. 90/91
 
ยื่นแบบ ภงด. 90/91

ในส่วนนี้เราจะต้องเลือกสถานะสำหรับการยื่นแบบด้วย ซึ่งถ้าหากเรามีสถานะสมรส เราจะสามารถยื่นแบบแยกกับคู่สมรส หรือยื่นแบบรวมกับคู่สมรสได้ ซึ่งเรามีเกณฑ์ดังนี้
 
สิทธิการลดหย่อยภาษี

สิทธิการลดหย่อยภาษี-ต่อ

ซึ่งการจะเลือกการยื่นภาษีแบบใดให้เหมาะสมนั้น ขึ้นอยู่ว่าแบบใดจะประหยัดภาษีได้มากที่สุด ซึ่งหากเงินได้สุทธิของทั้งสามีและภรรยาอยู่ในฐานภาษีที่สูงทั้งคู่ ควรยื่นภาษีแบบแยกยื่นจะช่วยประหยัดฐานภาษีได้มากกว่าการยื่นรวม เพราะการยื่นภาษีรวมกันนั้นเงินได้สุทธิของทั้งคู่จะนำมารวมกันและตกอยู่ในฐานภาษีที่สูงกว่าเดิม ตัวอย่างเช่น สามีมีเงินได้สุทธิ (หลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนแล้ว) 600,000 บาท ส่วนภรรยามีเงินได้สุทธิ 600,000 บาท ฐานภาษีสูงสุดของทั้งคู่เป็นฐานเดียวกันคือ 15% แต่ถ้ารวมกันยื่นเท่ากับเงินได้สุทธิทั้งคู่เป็น 1,200,000 บาท ฐานภาษีสูงสุดที่จะต้องเสียอยู่ที่ 25% จึงทำให้ต้องเสียภาษีมากขึ้นนั่นเอง

ส่วนต่อมาจะเป็นการระบุรายละเอียดของรายได้ในแต่ละหมวด ได้แก่
  1. รายได้จากเงินเดือน
  2. รายได้จากฟรีแลนซ์, รับจ้างทั่วไป, วิชาชีพอิสระ
  3. รายได้จากทรัพย์สิน, การทำธุรกิจ
  4. รายได้จากการลงทุน
  5. รายได้จากมรดก

ในส่วนต่อมาจะเป็นในส่วนของการลดหย่อนจะแบ่งออกเป็น 4 หัวข้อได้แก่
  1. ค่าลดหย่อนส่วนตัว และครอบครัว
  2. ค่าลดหย่อน/ยกเว้น ด้านการออม และการลงทุน
  3. ค่าลดหย่อน/ยกเว้น จากสินทรัพย์และมาตรการนโยบายภาครัฐ
  4. เงินบริจาค

ในการยื่นแบบออนไลน์นั้นกรมสรรพากรได้แยกมาตราให้เราเรียบร้อยแล้ว โดยในแต่ละหัวข้อเราจะต้องกรอกรายละเอียดตามไฟล์ที่เราได้จัดเตรียมไว้ในตอนแรกให้ครบถ้วน

ชำระภาษีเงินได้เพิ่มเติม หรือขอคืนเงินภาษี

เมื่อเราระบุข้อมูลครบถ้วนแล้ว ต่อไปจะเป็นหน้าสรุปข้อมูลการยื่นแบบ โดยจะมีผลสรุปออกมาใน 2 รูปแบบคือ
  1. กรณีที่ไม่ได้ชำระภาษี หรือมีภาษีที่ชำระไว้เกิน
 
ตรวจสอบข้อมูลกรณีที่ไม่ได้ชำระภาษี หรือมีภาษีที่ชำระไว้เกิน


ในกรณีไม่มีภาษีต้องชำระ ระบบจะแจ้งผลการยื่นแบบ และหมายเลขอ้างอิง พร้อมออกเอกสารแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และใบเสร็จรับเงินเพื่อเป็นหลักฐานในการยื่นแบบ

กรณีมีภาษีชำระไว้เกิน เราจะต้องเลือก “ต้องการขอคืน” ในหัวข้อ “การขอคืนเงิน” ด้วย กรมสรรพากรถึงจะทำการคืนภาษีให้เรา โดยสามารถเลือกรับคืนเงินภาษีที่ชำระเกินได้ทั้งช่องทางพร้อมเพย์ (ติดตามสถานะคืนเงินภาษีได้ผ่านเว็บไซต์ https://efiling.rd.go.th)
 
ยืนยันการขอคืนเงินภาษี
 
  1. กรณีที่จะต้องชำระภาษีเพิ่ม
ในกรณีมีภาษีต้องชำระเพิ่มสามารถเลือกชำระภาษีได้ตามช่องทางที่กรมสรรพากรกำหนด และหากมียอดภาษีที่ต้องชำระตั้งแต่ 3,000 บาท ขึ้นไป สามารถเลือกผ่อนชำระภาษีได้สูงสุด 3 งวดเท่า ๆ กัน โดยไม่มีดอกเบี้ยหรือค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม โดยต้องชำระเงินภายในวันที่กำหนด (หากไม่ชำระภายในวันที่กำหนดจะคิดดอกเบี้ย 1.5% ต่อเดือนหรือเศษของเดือนของเงินภาษีงวดที่เหลือ) โดยระบบจะคำนวณยอดชำระพร้อมกำหนดวันที่ต้องชำระให้ทั้ง 3 งวด และจะมี SMS จากกรมสรรพากรแจ้งเตือนเมื่อครบกำหนดวันที่ต้องชำระภาษี
 
ชำระภาษีด้วยบัตรเครดิต

Tip: สำหรับผู้ที่มีบัตรเครดิตสามารถใช้ข้อได้เปรียบจากการนับรอบบิลของบัตรเครดิตเพื่อยืดระยะเวลาชำระเงินได้ โดยชำระเงินด้วยบัตรเครดิตภายในวันที่กำหนดของแต่ละงวด และชำระเงินสดจริงเมื่อมีการตัดบัตรตามรอบของบัตรเครดิต

ก่อนจบขั้นตอนการยื่นแบบให้เราเลือก “พิมพ์แบบ” เก็บไว้ก่อนกด “ถัดไป” ด้วยนะครับ
 
เลือกพิมพ์แบบการยื่นภาษี

และกดปุ่ม “ยืนยันการยื่นแบบ” เพื่อยื่นแบบ
 
เลือกยืนยันการยื่นแบบภาษี



 
เลือกนำส่งเอกสารการยื่นแบบภาษี

Tip: สำหรับผู้ที่ต้องการความรวดเร็วในการคืนภาษี และเพื่อให้เกิดความสะดวกแก่เจ้าหน้าที่สรรพากร สามารถเลือก “นำส่งเอกสาร” และทำการ upload ไฟล์รายละเอียดที่เกี่ยวข้องได้ด้วย
 
เลือกเก็บไฟล์เอกสารใช้ยื่นภาษี

จากขั้นตอนทั้งหมดที่ผู้เขียนได้อธิบายไปแล้ว เราก็สามารถยื่นภาษีได้เรียบร้อยแล้วนะครับ อย่างไรก็ตาม เราควรเก็บไฟล์เอกสารที่เราใช้ยื่นภาษี แบบ ภงด. 90/91 ที่ได้จากระบบและใบเสร็จที่เราได้ชำระภาษีไว้ด้วย เผื่อกรณีที่มีข้อผิดพลาด หรือทางกรมสรรพากรเรียกตรวจสอบในอนาคต เราก็จะสามารถนำข้อมูลที่เคยยื่นไปมาใช้อ้างอิงได้ครับ

หากท่านต้องการปรึกษาหรือขอคำแนะนำเพิ่มเติม ทางธนาคารกรุงศรีฯ มีผู้เชี่ยวชาญด้านการเงินและการลงทุนโดยเฉพาะ ที่สามารถปรึกษาผ่านช่องทางฮอตไลน์ได้ที่ 02-296-5959 จันทร์ - ศุกร์ เวลา 9.00 น. - 17.00 น. หรือฝากข้อมูลเพื่อให้ที่ปรึกษาทางด้านการเงินจากธนาคารกรุงศรี ติดต่อกลับ และอย่าลืมติดตามข่าวสารได้ที่ Krungsri The COACH โค้ชเรื่องเงิน ให้เป็นเรื่องง่าย

บทความโดย
สิรภัทร เกาฏีระ CFP®
กลุ่มบริการที่ปรึกษาทางการเงินส่วนบุคคล
ธนาคารกรุงศรีอยุธยา
pym logo
ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง
บทความที่เกี่ยวข้อง
พิมพ์สิ่งที่ต้องการค้นหา