ลงทุนอย่างไรให้งอกเงย ฉบับวัยเกษียณ
เพื่อยามเกษียณ
icon-Facebook icon-Twitter icon-line

ลงทุนอย่างไรให้งอกเงย ฉบับวัยเกษียณ

icon-access-time Posted On 13 เมษายน 2559
By Krungsri the COACH
เมื่อถึงวันที่จะต้องเกษียณอายุหรือวัยเริ่มขึ้นเลขหก หลาย ๆ คนอาจจะรู้สึกแปลก ๆ เล็กน้อยกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นงานที่ลดลง สุขภาพที่เริ่มเสื่อมโทรมไปตามกาลเวลา รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงทางด้านการเงิน เพราะรายได้ประจำจะหายไปในขณะที่รายจ่ายยังคงมีต่อเนื่อง ยิ่งคนโสดเมื่อแก่ชราไปยิ่งต้องดูแลตัวเองมากกว่าคนอื่น การวางแผนทางการเงิน

1. เงินส่วนที่ 1 (เงินลงทุนระยะสั้น)

เงินในส่วนนี้จะนำไว้ใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน เคยเห็นเทคนิคการเก็บเงินหยอดกระปุกวันละ 50 บาท นั่นก็เป็นเหมือนการฝากได้เช่นกัน เพราะข้อดีของมันก็คือ ไม่ต้องเสี่ยงไปกับการลงทุนในรูปแบบต่าง ๆ ทั้งยังได้คุณค่าทางใจจากการเก็บหอมรอมริบไว้เป็นประจำ เพียงแต่วิธีนี้ไม่มีดอกเบี้ยไว้ทำกำไรให้งอกเงย อีกทั้งเมื่อนับวันไปเงินในกระปุกก็อาจมีมูลค่าน้อยลงเนื่องจากภาวะเงินเฟ้อที่มีเปอร์เซ็นต์เพิ่มสูงขึ้นทุก ๆ ปี การลงทุนในการฝากธนาคารในรูปแบบออมทรัพย์และฝากแบบประจำระยะสั้น ก็อาจเป็นทางเลือกหนึ่งในการลงทุนระยะสั้น เพราะมีความเสี่ยงต่ำ แต่ผลตอบแทนอาจจะน้อยไปนิด ซึ่งจะให้อัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำแต่ก็ถือว่ายังดีกว่าไม่ได้อะไรเลย หรือถ้าอยากได้ผลตอบแทนที่ดีขึ้น ก็ลองฝากธนาคารแบบประจำระยะยาว โดยสามารถปรึกษารูปแบบการฝากได้จากเจ้าหน้าที่ซึ่งจะทำให้รับทราบข้อมูลต่าง ๆ อย่างละเอียดได้ดียิ่งขึ้น

2. เงินส่วนที่ 2 (เงินลงทุนระยะกลาง)

เงินลงทุนในส่วนนี้จะเน้นไปที่การรักษาเงินต้นที่ลงทุนแต่ก็พยายามให้มีการขาดทุนน้อยที่สุด หรือพูดง่าย ๆ คือ พยายามให้ชนะเงินเฟ้อ โดยนำไปลงทุนในตราสารหนี้ซะส่วนใหญ่ เพื่อลดโอกาสเสี่ยงที่จะขาดทุน ขณะเดียวกันก็มีโอกาสที่จะได้ผลตอบแทนจากการที่ชนะอัตราเงินเฟ้อ หรือการไปฝากประจำที่สามารถรับดอกเบี้ยเป็นรายเดือนก็น่าลงทุนเช่นกัน เพราะการฝากเงินในลักษณะนี้เหมือนมีบำนาญไว้ใช้ซึ่งจะสร้างความอุ่นใจให้แก่ผู้สูงอายุ เมื่อเกิดเหตุอะไรขึ้นก็ยังสามารถไปถอนเงินก้อนออกมาใช้ก่อนกำหนดได้ และในขณะเดียวกันก็ยังได้รับดอกเบี้ยเป็นรายเดือนเหมือนเดิมอีกด้วย

3. เงินส่วนที่ 3 (เงินลงทุนระยะยาว)

เหมาะกับการลงทุนที่มีระยะ 10 ปีขึ้นไป โดยเป้าหมายจะเน้นไปที่ผลตอบแทนที่แน่นอนและมีการงอกเงยของจำนวนเงิน คุณก็อาจจะเพิ่มการลงทุนไปที่พวกตราสารทุนมากหน่อย และลดสัดส่วนของตราสารหนี้ลงเล็กน้อย แบบนี้จะทำให้ผลตอบแทนจากการลงทุนระยะยาวมีโอกาสสูงเพิ่มมากขึ้น
แต่การลงทุนหลังเกษียณก็อาจมีความเสี่ยงอยู่ไม่มากก็น้อย ดังนั้น ควรกระจายความเสี่ยงในการลงทุนหลาย ๆ ประเภท เช่น ลงทุนกับตราสารหนี้ไทย ตราสารหนี้ต่างประเทศ หุ้น ทองคำ น้ำมัน อสังหาริมทรัพย์ต่าง ๆ ซึ่งจะช่วยให้ลดความเสี่ยงที่จะขาดทุนและอาจช่วยเพิ่มผลตอบแทนจากการลงทุนได้
pym logo
ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง
บทความที่เกี่ยวข้อง
พิมพ์สิ่งที่ต้องการค้นหา