สำหรับมนุษย์เงินเดือน คงคุ้นเคยกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Provident Fund หรือ PVD) คือ เงินที่นายจ้าง และลูกจ้างร่วมกันเก็บออม ซึ่งตามกฎหมายกำหนดให้นายจ้างและลูกจ้างส่งเงินสะสม และเงินสมทบได้ตั้งแต่ 2 – 15% แต่รู้หรือไม่ว่าเงินส่วนนี้สามารถทำให้งอกเงยได้ และช่วยเพิ่มโอกาสช่วยให้แผนเกษียณถึงเป้าหมายได้ง่ายขึ้น วิธีนั้นคือ การปรับแผนการออมใน PVD
4 ขั้นตอน สะสมเงิน PVD อย่างไร ให้มีเงินมากขึ้นในยามเกษียณ
1. สำรวจเงินออม PVD ในปัจจุบัน
เป้าหมายการออมเงินใน PVD คือการมีเงินเก็บก้อนใหญ่ไว้ใช้ในยามเกษียณ ซึ่งการหักเงินสะสมของแต่ละคนจะไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับอัตราเงินเดือน และการเลือกหักสะสมของแต่ละคน ในส่วนของเงินสมทบนั้นส่วนใหญ่นายจ้างจะสมทบในรูปแบบขั้นบันได ขึ้นอยู่กับอายุงาน นอกจากนี้การที่ลงทุนใน PVD ยังได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนของกองทุนที่เราเลือกลงทุนด้วย ซึ่งเราสามารถตรวจสอบยอดเงิน PVD ที่มีอยู่ในปัจจุบันได้จากเอกสารบลจ. ส่งให้เราทุก 6 เดือน
2. คำนวณเงินเป้าหมายเกษียณ และเงินออมในปัจจุบัน
แผนเกษียณจะเป็นไปได้ก็เมื่อเรามีการวางแผน โดยเราต้องมีเป้าหมายว่าต้องการใช้หลังเกษียณเท่าไหร่? ซึ่งเป้าหมายการใช้เงินหลังเกษียณของแต่ละคนไม่เท่ากัน ทั้งนี้การคำนวณเงินใช้หลังเกษียณจะต้องครอบคลุมค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน ค่ารักษาพยาบาล ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ และเงินที่จะส่งต่อเป็นมรดกให้ลูกหลาน จากนั้นนำเงินออม PVD ที่มีปัจจุบัน มารวมกับเงินที่ต้องใช้ตอนเกษียณแล้ว ถ้ายังขาดอยู่ ต้องวางแผนออมเพิ่มเติมเพื่อให้ครอบคลุมตามแผนที่วางไว้
3. วางแผนออมเพิ่มใน PVD
เมื่อรู้ว่าเงินออมใน PVD อาจไม่เพียงพอสำหรับใช้ในยามเกษียณ ต้องวางแผนออมเพิ่ม ซึ่งมี 2 วิธี คือ
- ออมให้เต็มสิทธิ์ โดยการหักเงินสะสมในอัตราสูงสุดของค่าจ้างทุกเดือน
- เพิ่มผลตอบแทนผ่านนโยบายการลงทุน (Emplyee’s Choice) โดยจัดสัดส่วนการลงทุนในสินทรัพย์ประเภทต่าง ๆ หรือเรียกว่า “พอร์ตการลงทุน” โดยเลือกให้เหมาะกับอายุ ผลตอบแทนที่ต้องการ และระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้
4. ติดตามผลและปรับสัดส่วนมูลค่าเงินลงทุน
ทุก 6 เดือน หรือ 1 ปี ควรกลับมาติดตามผลว่าพอร์ตการลงทุน PVD ของเราว่ามีความเสี่ยงเกินไปหรือไม่ ควรปรับสัดส่วนเงินลงทุนอย่างไร และหากภาวะตลาดผันผวน หรือสถานการณ์การลงทุนเปลี่ยนไป ก็สามารถปรับพอร์ตการลงทุน PVD ให้สอดรับกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไปได้
แต่หากออมเงินจนเต็มสิทธิ์แล้ว และเลือกนโยบายการลงทุนที่เหมาะสม หากเกิดกรณีไม่คาดฝัน ต้องออกจากงานก่อนกำหนด อย่าเพิ่งหมดหวัง ยังมีทางเลือกอื่น ๆ ที่จะทำให้คุณไปถึงเป้าหมายมีเงินพอใช้หลังเกษียณอย่างมีความสุข อย่างการลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) ที่กองทุน PVD สามารถย้ายมาได้โดยไม่ต้องเสียสิทธิใด ๆ อาทิ
กองทุนเปิดกรุงศรีแอคทีฟตราสารหนี้เพื่อการเลี้ยงชีพ (KFAFIXRMF)
- เน้นลงทุนในตราสารหนี้คุณภาพดี อายุของตราสารหนี้ที่เลือกลงทุนในพอร์ต 0-5 ปี และอาจมีลงทุนในตราสารหนี้ที่มีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือต่ำกว่าระดับ A-
- เพิ่มโอกาสสร้างผลตอบแทนที่ดีกว่าตราสารหนี้ทั่วไป เพราะกองทุนมีความยืดหยุ่นในการกระจายการลงทุนมาก กองทุน KFAFIXRMF เหมาะกับลูกค้าที่ต้องการใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีโดยมีระยะเวลาลงทุนตามเงื่อนไขกรมสรรพากร และสามารถรับความผันผวนจากกองทุนที่มีโอกาสติดลบในบางช่วงระยะเวลาที่ลงทุน แนะนำให้ลงทุนตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป
กองทุนเปิดกรุงศรีหุ้นไดนามิคเพื่อการเลี้ยงชีพ (KFDNMRMF)
- เน้นลงทุนในหุ้นไทยจำนวน 15-20 ตัว โดยไม่จำกัดประเภทและขนาดของหุ้น
- ผู้จัดการกองทุนมีวิธีการคัดเลือกหุ้นโดยการวิเคราะห์รายตัว เลือกหุ้นที่มีแนวโน้มเติบโตสูง เพื่อโอกาสสร้างผลตอบแทนที่สูงกว่าตลาด
กองทุน
KFDNMRMF เหมาะกับลูกค้าที่ต้องการใช้สิทธิลดหย่อนภาษี และชอบลงทุนในหุ้นไทย หลากหลายประเภท โดยไม่มีข้อจำกัดในเรื่องของขนาดหุ้น
กองทุนเปิดกรุงศรีโกลบอลแบรนด์อิควิตี้เพื่อการเลี้ยงชีพ (KFGBRANRMF)
- เน้นลงทุนในหุ้นบริษัทเจ้าของแบรนด์ชั้นนำที่มีลูกค้าทั่วโลก เช่น กลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค กลุ่มสุขภาพ และเทคโนโลยี ที่ทนทานต่อวัฎจักรเศรษฐกิจ
- กองทุนหลัก Morgan Stanley Investment Funds – Global Brands Fund เฟ้นหาบริษัทที่มีความสามารถในการทำกำไรสูง
กองทุน
KFGBRANRMF เหมาะกับลูกค้าที่ต้องการใช้สิทธิลดหย่อนภาษี และชอบลงทุนในหุ้นต่างประเทศที่สามารถสร้างโอกาสรับผลตอบแทนที่มั่นคงในช่วงตลาดขาขึ้น และสามารถปกป้องความเสี่ยงในช่วงตลาดขาลง
กองทุน PVD และ RMF มีประโยชน์ต่อการวางแผนเกษียณอายุเป็นอย่างมาก และถ้ามีการวางแผนเป็นอย่างดีจะช่วยให้เงินสะสมของเรามีโอกาสออกดอกออกผล มีเงินใช้หลังเกษียนอย่างสบาย ๆ ตามเป้าหมายที่วางไว้ แต่หากยังไม่มั่นใจว่าจะเริ่มปรับพอร์ตการลงทุน PVD อย่างไร หรือพอร์ต RMF มีอยู่เหมาะกับเป้าหมายเกษียณหรือยัง ธนาคารกรุงศรีมีผู้เชี่ยวชาญพร้อมให้คำปรึกษา สามารถติดต่อขอรับคำปรึกษาได้ที่ช่องทางฮอตไลน์ 02-296-5959 ทุกวันจันทร์ - ศุกร์ เวลา 9.00 น. - 17.00 น. หรือ
ฝากข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับก็ได้เช่นกัน
- ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน ความเสี่ยง และศึกษาสิทธิประโยชน์ทางภาษีในคู่มือการลงทุนก่อนตัดสินใจลงทุน ทั้งนี้ ผลการดำเนินงานในอดีตของกองทุนรวม มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต
- KFGBRANRMF ป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน จึงมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งอาจทำให้ผู้ลงทุนขาดทุนหรือได้รับกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน/หรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้
- KFAFIXRMF อาจลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งตราสารหนี้ที่มีอันดับความน่าเชื่อถือต่ำกว่าอันดับที่สามารถลงทุนได้ (Non-Investment Grade) หรือที่ไม่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ (Unrated Bond) ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากการผิดนัดชำระหนี้ของผู้ออกตราสาร ซึ่งส่งผลให้ผู้ลงทุนขาดทุนจากการลงทุนบางส่วนหรือทั้งจำนวนได้ และในการขายคืนหน่วยลงทุนอาจไม่ได้รับเงินคืนตามที่ระบุไว้ในโครงการ
บทความโดย
ปริตา ธิติปรีชาพล
กลุ่มบริการที่ปรึกษาทางการเงินส่วนบุคคล
ธนาคารกรุงศรีอยุธยา