มนุษย์เงินเดือนคงคุ้นเคยกับคำว่า “ประกันสังคม” กันเป็นอย่างดี เพราะเป็นสิ่งที่ทุก ๆ บริษัทมีให้ เรารู้ว่าประกันสังคมสำหรับลูกจ้างหรือประกันสังคมมาตรา 33 (หรือ ม33) หักจากเงินเดือนทุกเดือน เดือนละ 5% สูงสุดไม่เกิน 750 บาท รู้ว่าสามารถใช้สิทธิรักษาพยาบาลตามสถานพยาบาลที่เลือกไว้ สิทธิประกันสังคมอย่างอื่น ๆ นอกเหนือจากนี้มีอะไรบ้าง ส่วนใหญ่มักไม่ค่อยทราบกันแล้ว หรือบางทีก็ไม่ทราบว่ามีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลไปจากเดิม มาอัปเดตข่าวคราวล่าสุดของประกันสังคมด้วยกัน ว่า ม33 รอบใหม่นี้ ลูกจ้างต้องจ่ายเงินสมทบเดือนละเท่าไร และได้รับสิทธิประโยชน์อะไรบ้าง
ประกันสังคมคืออะไร
ว่ากันอย่างง่าย ๆ ประกันสังคมก็คือการทำประกันกับรัฐบาล ด้วยการจ่ายเบี้ยประกันซึ่งในที่นี้เรียกว่าเงินสมทบ ให้กับกองทุนประกันสังคมเป็นรายเดือนโดยหักจากเงินเดือนเป็นจำนวน 5% เพื่อรับความคุ้มครองเมื่อว่างงาน, ประสบอันตราย/เจ็บป่วย, คลอดบุตร, ทุพพลภาพ, เสียชีวิต, สงเคราะห์บุตร หรือชราภาพ
เงินสมทบที่ว่านี้มาจาก 3 ส่วนด้วยกัน คือ ลูกจ้าง 5% นายจ้าง 5% รัฐบาล 2.75% โดยในส่วนของลูกจ้างและนายจ้างทางสถานประกอบการสามารถใช้บริการ
ชำระเงินสมทบกองทุนประกันสังคมทางอิเล็กทรอนิกส์ ได้ เพื่อไม่ให้พลาดทุกการชำระเงินในแต่ละเดือน
ประกันสังคมมีกี่ประเภท
คนส่วนใหญ่จะคุ้นเคยกับประกันสังคมมาตรา 33 แต่ความจริงแล้วประกันสังคมมีอยู่ด้วยกัน 3 ประเภท คือ ม33 ม39 และ ม40 โดยแต่ละประเภทมีความแตกต่างกันที่สถานะของผู้ประกันตน ซึ่งมีผลต่อเงินสมทบที่ต้องจ่ายในแต่ละเดือนและความคุ้มครองที่ได้รับ
จะเห็นว่าในตารางอธิบายความแตกต่างฯ เงินสมทบของแต่ละมาตรามีทั้งแบบเดิมและแบบอัปเดต นั่นเป็นเพราะเงื่อนไขต่าง ๆ ของประกันสังคมมักจะมีการเปลี่ยนแปลงไปมาตามนโยบายของรัฐบาล เพื่อให้ลูกจ้างและนายจ้างทุกท่านรู้ทันข้อมูลข่าวสาร บทความนี้จึงจะสรุปข้อมูลล่าสุดให้ทุกท่านได้รับทราบ โดยจะขอพูดถึงเฉพาะประกันสังคมมาตรา 33 เพียงประเภทเดียว
สิทธิประโยชน์ของการทำประกันสังคม
ประกันสังคมให้สิทธิประโยชน์แก่ลูกจ้างดังนี้ 1. ได้รับความคุ้มครอง 7 กรณี 2. สามารถลดหย่อนภาษีได้
ความคุ้มครอง
1. กรณีว่างงาน เมื่อจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่ต่ำกว่า 6 เดือน ภายใน 15 เดือนก่อนว่างงาน และต้องรายงานตัวที่
https://e-service.doe.go.th ภายใน 2 ปีนับแต่ว่างงาน จะได้รับเงินชดเชยประกันสังคมดังนี้
2. กรณีประสบอันตราย/เจ็บป่วย เมื่อจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่ต่ำกว่า 3 เดือน ภายใน 15 เดือนก่อนไปรักษา
- รักษาฟรีที่สถานพยาบาลที่เลือกไว้
- ถ้าหมอให้หยุดพักเพื่อรักษาตัว ได้เงินทดแทนการขาดรายได้ 50% ของค่าจ้าง แต่ไม่เกิน 15,000 บาท ครั้งละไม่เกิน 90 วัน ปีละไม่เกิน 180 วัน (เฉพาะโรคเรื้อรังปีละไม่เกิน 365 วัน)
- รักษาฟันฟรี ปีละ 900 บาท
3. กรณีคลอดลูก เมื่อจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่ต่ำกว่า 5 เดือน ภายใน 15 เดือนก่อนวันคลอด
4. กรณีทุพพลภาพ เมื่อจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่ต่ำกว่า 3 เดือน ภายใน 15 เดือนก่อนเกิดเหตุ
5. กรณีเสียชีวิต เมื่อจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่ต่ำกว่า 1 เดือน ภายใน 6 เดือนก่อนเสียชีวิต
6. กรณีสงเคราะห์บุตร เมื่อจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่ต่ำกว่า 12 เดือน ภายใน 36 เดือนก่อนได้รับเงินทดแทน
7. กรณีชราภาพ
สิทธิประกันสังคมเงินชราภาพล่าสุดยังคงเป็นตามตารางด้านบนอยู่ อย่างไรก็ตาม ขณะนี้กำลังมีการปรับแก้ร่าง พ.ร.บ.ประกันสังคม ฉบับใหม่ ทำให้ในอนาคตผู้ประกันตนมาตรา 33 จะมีทางเลือกมากขึ้นสำหรับการรับเงินชราภาพ ตามรายละเอียดดังนี้
การจะเลือกรับเงินชราภาพแบบใดนั้นไม่มีหลักเกณฑ์ตายตัว แต่เป็นไปตามสถานการณ์และการตัดสินใจของแต่ละบุคคล อย่างไรก็ดี สำหรับผู้ที่มีความกังวลในเรื่องของอนาคตควรวางแผนล่วงหน้าเพื่อรักษาสภาพคล่องหลังเกษียณโดยพิจารณจากยอดเงินชราภาพและเงินเก็บส่วนอื่น
หากยังไม่วางใจในเรื่องของเงินบำเหน็จบำนาญ เรายังมี
กรุงศรีประกันบำนาญ แฮปปี้รีไทร์ ทางเลือกที่จะช่วยให้ไม่ต้องกังวลถึงค่าใช้จ่ายในวันข้างหน้า ให้คุณสามารถใช้ชีวิตหลังเกษียณได้เหมือนวันที่ผ่าน ๆ มา
ลดหย่อนภาษี
เงินสมทบประกันสังคมสามารถใช้ลดหย่อนภาษีประจำปีได้ตามการจ่ายจริง เช่น จ่ายเงินสมทบเดือนละ 750 บาทครบ 12 เดือน สามารถขอลดหย่อนภาษีได้ 9,000 บาท โดยในปี พ.ศ. 2565 ผู้ประกันตน ม33 สามารถลดหย่อนภาษีได้ 6,300 บาท
สำหรับในปีนี้ ม33 มีอัตราการจ่ายเงินสมทบดังนี้
- ม.ค. - เม.ย. 65 : 5% ของค่าจ้าง สูงสุดไม่เกิน 750.-
- พ.ค. - ก.ค. 65 : 1% ของค่าจ้าง สูงสุดไม่เกิน 150.-
- ส.ค. - ก.ย. : 5% ของค่าจ้าง สูงสุดไม่เกิน 750.-
- ต.ค. - ธ.ค. : 3% ของค่าจ้าง สูงสุดไม่เกิน 450.-
สรุปแล้วเงื่อนไขและสิทธิประโยชน์ของประกันสังคมรอบล่าสุดนี้ ภาพรวมไม่แตกต่างจากเดิมมากนัก มีการปรับลดการจ่ายเงินสมทบสำหรับ ม33 จาก 5% เหลือ 3 % สิทธิประโยชน์ที่ปรับใหม่จะเป็นส่วนของความคุ้มครองต่อไปนี้
- กรณีคลอดลูก ได้รับค่าคลอด 15,000 บาท (จากเดิม 13,000 บาท)
- กรณีเสียชีวิต ได้ค่าทำศพ 50,000 บาท (จากเดิม 40,000 บาท)
- กรณีสงเคราะห์บุตร ได้รับเดือนละ 800 บาท/บุตร 1 คน (จากเดิม 600 บาท)
ดังที่ได้กล่าวไว้เมื่อข้างต้นว่าประกันสังคมมักมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ในอนาคตจะปรับเปลี่ยนเป็นอย่างไรรอติดตามข่าวสารได้ที่ Krungsri The COACH โค้ชเรื่องเงิน ให้เป็นเรื่องง่าย
หากท่านต้องการปรึกษาหรือขอคำแนะนำเพิ่มเติม ทางธนาคารกรุงศรีฯ มีผู้เชี่ยวชาญด้านการเงินและการลงทุนโดยเฉพาะ ที่สามารถปรึกษาผ่านช่องทางฮอตไลน์ได้ที่ 02-296-5959 จันทร์ - ศุกร์ เวลา 9.00 น. - 17.00 น. หรือฝากข้อมูลเพื่อให้ที่
ปรึกษาทางด้านการเงินจากธนาคารกรุงศรี ติดต่อกลับ