ใครบอกว่านักศึกษายังเด็ก ยังไม่คิดเรื่องรวย ไม่จริง! เพราะนักศึกษายุคนี้หารายได้เสริมกันเยอะ บางคนขายของออนไลน์ บ้างก็ผันตัวเป็น Influencer ทำเพจรีวิว หรือทำช่อง YouTube มีรายได้เสริมเป็นกอบเป็นกำ แต่รู้ไหมว่ามีอีกวิธีหนึ่ง ที่ทำให้นักศึกษามีเงิน ช่วยต่อยอดเงินให้งอกเงยได้ โดยที่ไม่ต้องลงแรงทำงาน เพียงแค่เปิดใจเริ่มต้นลงทุน
การลงทุนมีหลายรูปแบบ วันนี้เราขอแนะนำการลงทุนใน
กองทุนรวม นักศึกษาฟังแล้วอาจรู้สึกว่าเป็นเรื่องยาก และไกลตัว แต่ไม่ใช่อย่างที่คิด เมื่อยุคสมัยเปลี่ยนไป อะไรที่เคยยากกลับง่ายขึ้น การลงทุนในกองทุนรวมก็เช่นกัน
เพียงแค่ 3 ขั้นตอน กับเงิน 500 บาท นักศึกษาก็ลงทุนได้ทันที
ขั้นตอนที่ 1 จะเริ่มลงทุน ต้องเปิดบัญชีกองทุนรวมก่อน
ในอดีต การเปิดบัญชีกองทุนรวมต้องไปสาขาธนาคาร กรอกเอกสารมากมาย แต่ปัจจุบันนักศึกษาสามารถ
เปิดบัญชีกองทุนรวมผ่าน KMA - krungsri app หากมีบัญชีเงินฝากกับธนาคารกรุงศรีอยู่แล้ว ชิล ๆ แค่ 5 ขั้นตอน แป๊บเดียวเสร็จ
เพียงแค่นี้ก็พร้อมลงทุนแล้ว แต่การจะเป็นนักลงทุนที่ทำเงินงอกเงยได้นั้น ต้องมีเป้าหมายที่ชัดเจนและเลือกกองทุนรวมที่ใช่ด้วย
ขั้นตอนที่ 2 ตั้งเป้าหมาย
กำหนดเป้าหมายว่าเราลงทุนเพื่ออะไร ตั้งเป้ามีเงินกี่บาท ภายในระยะเวลาเท่าไหร่ ซึ่งเป้าหมายระยะสั้นของนักศึกษา ก็อย่างเช่น ลงทุนเพราะอยากมีเงินไปเที่ยว มีเงินไว้ซื้อของที่อยากได้ หรือหากเป็นเป้าหมายระยะยาวก็ลงทุนเพื่อจะได้มีเงินเรียนต่อ หรือลงทุนเพราะอยากรวยเพื่อความมั่นคงในชีวิต ซึ่ง
ไม่ว่าเราจะมีเป้าหมายการลงทุนเพื่ออะไรก็ตาม สิ่งสำคัญ คือ ความสม่ำเสมอ ต่อเนื่อง เช่น ลงทุนทุกเดือน เดือนละ 500 บาท เป็นเวลา 5 ปี ซึ่งวิธีการลงทุนแบบนี้ เราเรียกว่าการ
DCA (Dollar-Cost Averaging) คือ การลงทุนแบบถัวเฉลี่ยต้นทุน ทยอยลงทุนเป็นงวด ๆ ในจํานวนเงินที่เท่า ๆ กัน วิธีนี้นอกจากจะช่วยเฉลี่ยความผันผวนในด้านราคาแล้ว ผลลัพธ์ที่ได้อาจจะดีกว่าการคอยจับจังหวะลงทุนด้วยตัวเอง แถมยังช่วยสร้างวินัยและทำให้เกิดความต่อเนื่องในการลงทุน
เราลองมาดูกันว่า ถ้าเราลงทุนในกองทุนรวมด้วยเงิน 500 บาท ทุกเดือน อย่างต่อเนื่อง เราจะมีเงินเท่าไหร่
หมายเหตุ: เงินลงทุนและผลตอบแทนข้างต้น มาจากการคำนวณมูลค่าของเงินตามเวลา (Time Value of Money: TVM) โดยลงทุนด้วยเงินจำนวน 500 บาทต่อเดือน เป็นระยะเวลา 5 ปี 10 ปี 20 ปี และ 30 ปี ตามลำดับ ที่อัตราผลตอบแทน 8% ต่อปี ซึ่งไม่ได้เป็นการรับประกันผลตอบแทนจากการลงทุนในกองทุนรวม
เห็นได้ชัดเลยว่า เงินหลักร้อยสามารถกลายเป็นหลักแสนได้ ลองคิดดูว่าถ้าเราลงทุนด้วยเงินที่มากขึ้น ก็จะยิ่งมีโอกาสเข้าใกล้เป้าหมายรวยเป็นล้านของเรามากขึ้น น้อง ๆ นักศึกษาสามารถลองตั้งเป้าหมายและวางแผนลงทุนเองได้ที่นี่
คลิก
ขั้นตอนที่ 3 เลือกกองทุนรวมที่ใช่ ตามความเสี่ยงที่รับได้
มือใหม่แค่ไหนก็ไม่ต้องกลัว เพราะก่อนลงทุนในกองทุนรวม ระบบจะให้เราทำ
แบบประเมินความเสี่ยง เพื่อจะรู้ว่าเรารับความเสี่ยงได้มากน้อยแค่ไหน หากรับความเสี่ยงได้น้อย ก็ควรเลือกลงทุนในกองทุนรวมตลาดเงิน หรือกองทุนรวมตราสารหนี้ แต่ถ้ารับความเสี่ยงได้มากขึ้น ก็อาจเลือกลงทุนในกองทุนรวมตราสารทุน กองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศ หรือกองทุนรวมสินทรัพย์ทางเลือกอย่าง น้ำมัน ทอง อสังหาริมทรัพย์ เป็นต้น
แต่หากน้อง ๆ นักศึกษายังรู้สึกว่าการเลือกกองทุนรวมเองเป็นเรื่องยาก หรือไม่มีเวลาศึกษาข้อมูลติดตามสถานการณ์ตลาด ธนาคารกรุงศรีขอแนะนำ
กองทุนรวมที่เหมาะกับนักศึกษา นั่นก็คือ กองทุนรวม
กรุงศรี The One ที่มีจุดเด่นเพียบ อาทิ
- เพิ่มโอกาสในการสร้างผลตอบแทน เพราะลงทุนในหลากหลายสินทรัพย์ทั่วโลกทั้ง หุ้น ตราสารหนี้ สินทรัพย์ทางเลือก
- เป็นกองทุนรวมแบบ Asset allocation กระจายความเสี่ยงให้โดยอัตโนมัติ ลงทุนในกองทุนรวมเดียวก็เหมือนได้จัดพอร์ต
- มีผู้เชี่ยวชาญคอยดูแลปรับพอร์ตให้สอดคล้องกับสภาพตลาดที่เปลี่ยนแปลง
- มี 3 กองทุนรวมให้เลือกตามความเสี่ยงที่รับได้ ได้แก่ KF1MILD KF1MEAN KF1MAX
- ลงทุนง่ายผ่าน KMA - krungsri app ทั้งเปิดบัญชี ซื้อ-ขายกองทุนรวม ตั้งรายการซื้อกองทุนรวมแบบประจำ และดูพอร์ตการลงทุนได้เอง
เห็นไหมว่าเพียงทำตาม 3 ขั้นตอนง่าย ๆ นี้ นักศึกษาก็เริ่มต้นลงทุนในกองทุนรวมด้วยเงิน 500 บาท เพื่อตอบโจทย์รวยเป็นล้านได้แล้ว ใครสนใจอย่ารอช้า เริ่มลงทุนก่อน มีโอกาสรวยกว่า
อยากได้ข้อมูลการลงทุนเพิ่มสามารถขอรับคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญฟรีผ่านบริการที่ปรึกษาทางด้านการเงินจากธนาคารกรุงศรี หรือช่องทางฮอตไลน์ได้ที่ 02-296-5959 จันทร์ - ศุกร์ เวลา 9.00 น. - 17.00 น. สอบถามจนมั่นใจแล้วค่อยเริ่มลงทุนก็ได้นะ
ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน
- ผลการดำเนินงานในอดีตของกองทุนรวม มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต
- กองทุน KF1MILD / KF1MEAN / KF1MAX ป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน จึงมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งอาจทำให้ผู้ลงทุนขาดทุนหรือได้รับกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน หรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้
บทความโดย
สิรภัทร เกาฏีระ CFP
กลุ่มบริการที่ปรึกษาทางการเงินส่วนบุคคล
ธนาคารกรุงศรีอยุธยา