เทคนิค “ได้ช้อปสมใจ แถมได้เก็บออม”
เพื่อชีวิตสบาย
icon-Facebook icon-Twitter icon-line

เทคนิค “ได้ช้อปสมใจ แถมได้เก็บออม”

icon-access-time Posted On 12 กันยายน 2565
by Krungsri The COACH
คุณเป็นคนที่เก็บเงินไม่ค่อยอยู่หรือเปล่า? ได้เงินมาเท่าไหร่ก็ใช้ไปเรื่อย ๆ บางเดือนชักหน้าไม่ถึงหลัง ไม่มีเงินสำรองเวลาเกิดเหตุฉุกเฉินที่ต้องใช้เงิน

ถ้าใช่! คุณคือ 1 ใน 95% ของคนไทยที่จะไม่มีเงินพอใช้เมื่อยามเกษียณ แปลว่าถึงอายุ 60 คุณก็จะยังไม่ได้พัก ต้องทำงานต่อเพื่อหารายได้มาใช้จ่าย

ถึงเวลาแล้วหรือยัง... ที่คุณต้องเริ่มปฏิวัติการใช้จ่าย และวางแผนเรื่องเงินอย่างจริงจัง ลองอ่านสักนิด เรามีเทคนิคการเก็บเงินที่น่าจะตอบโจทย์คนช้อปเก่ง ใช้เงินเก่ง
 

1. ช้อปได้ แบบมีลิมิต

แต่ละเดือน ให้ตั้งวงเงินช้อปปิ้งและใช้แค่ตามนั้น เช่น ตั้งงบช้อป 2,000 บาทต่อเดือน เราก็วางแผนเลยว่าเดือนนี้จะซื้ออะไรบ้าง เพื่อความมีสติและจะได้ไม่ไปเอาเงินส่วนอื่นมาใช้ แต่ถ้าของที่เราอยากได้ ราคาแพงเกินงบ 2,000 บาทที่ตั้งไว้ เราก็ต้องลดการช้อปของอื่น ๆ และทยอยเก็บเงินไปจนครบ แค่นี้เราก็ยังได้ช้อปอย่างสบายใจ และมีเงินแบ่งมาเก็บ ชัวร์!
 
เทคนิค “ได้ช้อปสมใจ แถมได้เก็บออม”
 

2. ฝึกนิสัย แบ่งเงินมาเก็บทุกครั้งที่ช้อป

สมัยนี้ร้านค้าขยันออกโปรโมชั่นเอาใจนักช้อปตลอด ทำให้เราขาดสติซื้อของที่ไม่จำเป็นบ่อย ๆ เพราะไม่อยากพลาดดีลเด็ด ทำให้การเก็บเงินของเราไม่สำเร็จ ดังนั้นถ้าอยากมีเงินออม เราขอแนะนำเทคนิคง่าย ๆ คือ ทุกครั้งที่ช้อป ให้เราหักเงินไปเก็บเลย 10-20% เช่น ซื้อเสื้อ 300 บาท ก็หักเงินไปเก็บอย่างน้อย 30 บาท ดูแล้วอาจจะไม่เยอะ แต่เชื่อสิ ช้อปเก่งอย่างเรา ๆ เดือนหนึ่ง ๆ เก็บเงินได้เยอะแน่
 
เทคนิค “ได้ช้อปสมใจ แถมได้เก็บออม”
 

3. ยืมเงินตัวเองแล้วคืนให้ครบ

พอเริ่มมีเงินเก็บประมาณหนึ่ง สายช้อปอย่างเรา ก็อาจใจอ่อนแอบเอาเงินเก็บออกมาช้อปอีก และคอยหาเหตุผลมาสนับสนุนเพื่อไม่ให้ตัวเองรู้สึกผิด ไม่เป็นไร พลาดไปแล้ว มีวิธีเอาคืนได้ เวลาเราเผลอเอาเงินเก็บออกมาใช้ ให้คิดไว้เลยว่านี่คือการยืมและต้องใช้คืน ต้องจดว่ายืมวันไหน กี่บาท กำหนดคืนเงินวันไหน และเมื่อถึงกำหนดคืนเงินจริง ๆ ต้องคืนให้ครบด้วยนะ
 

4. รอเวลาที่เหมาะสม

ของบางอย่างไม่จำเป็นต้องซื้อทันทีที่อยากได้ ถ้าพอจะยับยั้งใจเก็บเงินเอาไว้ก่อนได้ก็จะดีมาก แล้วลองแบ่งเงินก้อนนั้นไปลงทุนในกองทุนรวมเพื่อต่อยอดให้เงินเพิ่มขึ้นสักหน่อย แล้วค่อยคิดอีกทีว่ายังอยากซื้อของชิ้นนั้นอยู่ไหม ไม่แน่นะ... เราอาจจะค้นพบความสุขใหม่ที่ได้เห็นเงินงอกเงยแทนการช้อปปิ้งก็ได้

ใครที่ยังไม่คุ้นเคยกับ “กองทุนรวม” ขอเล่าสั้น ๆ ว่า “กองทุนรวม” (Mutual Fund) ก็คือ
  • การที่บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) รวบรวมเงินลงทุนจากนักลงทุนแบบเราหลาย ๆ คนมารวมกันให้เป็นเงินลงทุนก้อนใหญ่ แล้วนำไปลงทุนตามนโยบายที่ระบุไว้ในหนังสือชี้ชวน
  • นักลงทุนจะได้รับจัดสรร “หน่วยลงทุน” เพื่อแสดงสถานะความเป็นเจ้าของในเงินที่ได้ลงทุนไป
  • เมื่อ บลจ. บริหารกองทุนรวมแล้วมีผลตอบแทน ผู้ลงทุนก็จะได้รับส่วนแบ่งผลตอบแทนตามสัดส่วนหน่วยลงทุนที่ถืออยู่ในส่วนของกำไร และอาจจะมีเงินปันผลด้วย ขึ้นอยู่กับนโยบายการลงทุนแต่ละกองทุน
 

กองทุนรวมเป็นทางเลือกการลงทุนที่เหมาะมากสำหรับยุคนี้ เพราะมีโอกาสรับผลตอบแทนที่สูงกว่าการฝากเงินในบัญชีออมทรัพย์ทั่วไป ข้อดีของกองทุนรวม คือ

  • มีผู้เชี่ยวชาญด้านการลงทุนช่วยบริหารและดูแลการลงทุนให้
  • เงินน้อยก็ลงทุนได้ เริ่มต้นลงทุนขั้นต่ำ 500 บาท
  • มีหลากหลายประเภทกองทุนให้เลือกลงทุน ตามความเสี่ยงที่เรารับได้
  • ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ยุคดิจิทัล เพราะสะดวก เปิดบัญชี และซื้อ-ขายกองทุนได้ง่าย ๆ ด้วยตัวเองผ่าน KMA-Krungsri Mobile App

ใครสนใจ ลองเริ่มลงทุนในกองทุนที่มีความเสี่ยงค่อนข้างต่ำดูก่อน ได้แก่ กองทุนรวมตลาดเงิน หรือ กองทุนรวมตราสารหนี้

ที่เราแนะนำ ได้แก่ KFSPLUS (กองทุนเปิดกรุงศรีตราสารเพิ่มทรัพย์) KFSMART (กองทุนเปิดกรุงศรีสมาร์ทตราสารหนี้)

ถ้าอยากได้ข้อมูลเพิ่มเติม ก็สามารถโทรคุยกับที่ปรึกษาทางการเงินธนาคารกรุงศรีให้มั่นใจก่อนได้ ฟรี ๆ โทร 02-296-5959 วันจันทร์-วันศุกร์ เวลา 9.00 - 17.00 น. หรือคลิกที่นี่เพื่อฝากข้อมูลให้ติดต่อกลับ

ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน ความเสี่ยง ก่อนตัดสินใจลงทุน

บทความโดย
สิรภัทร เกาฏีระ CFP®
กลุ่มบริการที่ปรึกษาทางการเงินส่วนบุคคล
ธนาคารกรุงศรีอยุธยา
pym logo
ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง
บทความที่เกี่ยวข้อง
พิมพ์สิ่งที่ต้องการค้นหา