อยากส่งตัวเองเรียน ต้องทำยังไง
เพื่อชีวิตสบาย
icon-Facebook icon-Twitter icon-line

อยากส่งตัวเองเรียน ต้องทำยังไง

icon-access-time Posted On 24 ธันวาคม 2557
By Nani
วัยรุ่นวัยเรียนทั้งที่ทางบ้านพอมีฐานะหรือที่บางคนทางบ้านยังมีปัญหาทางการเงิน ซึ่งเป็นคนใฝ่ดีหลายคนอาจมีคำถามนี้ในใจ “อยากส่งตัวเองเรียน ต้องทำยังไง” นานิเองก็คิดเรื่องนี้มาตลอดตั้งแต่ตัวเองเข้าสู่ช่วงมัธยม เข้าใจความรู้สึกนี้ดีค่ะ เราควรวิเคราะห์ค่าใช้จ่ายออกมาให้ชัดเจน ไม่ใช่เฉพาะแค่ตอนนี้เรื่องเรียนอย่างเดียวนะคะ ต่อไป จะซื้อบ้าน ซื้อรถ ฯลฯ ล้วนต้องทำแบบนี้ทั้งนั้น นานิมองว่าการส่งตัวเองเรียนนั้นแบ่งค่าใช้จ่ายหลักๆ ออกเป็น 2 อย่างคือ 1. ค่าเทอม 2. ค่าใช้จ่ายด้านอุปกรณ์และชีวิตประจำวัน ขออนุญาตไม่รวมเรื่องค่าเรียนพิเศษละกันนะคะ เพราะนานิไม่ค่อยเห็นด้วยกับระบบการศึกษาที่แกมบังคับให้นักเรียนต้องทิ้งชีวิตวันหยุดไปอยู่แต่ที่โรงเรียนกวดวิชา
Nani วัยรุ่นวัยเรียนทั้งที่ทางบ้านพอมีฐานะหรือที่บางคนทางบ้านยังมีปัญหาทางการเงิน ซึ่งเป็นคนใฝ่ดีหลายคนอาจมีคำถามนี้ในใจ “อยากส่งตัวเองเรียน ต้องทำยังไง” นานิเองก็คิดเรื่องนี้มาตลอดตั้งแต่ตัวเองเข้าสู่ช่วงมัธยม เข้าใจความรู้สึกนี้ดีค่ะ เราควรวิเคราะห์ค่าใช้จ่ายออกมาให้ชัดเจน ไม่ใช่เฉพาะแค่ตอนนี้เรื่องเรียนอย่างเดียวนะคะ ต่อไป จะซื้อบ้าน ซื้อรถ ฯลฯ ล้วนต้องทำแบบนี้ทั้งนั้น นานิมองว่าการส่งตัวเองเรียนนั้นแบ่งค่าใช้จ่ายหลักๆ ออกเป็น 2 อย่างคือ 1. ค่าเทอม 2. ค่าใช้จ่ายด้านอุปกรณ์และชีวิตประจำวัน ขออนุญาตไม่รวมเรื่องค่าเรียนพิเศษละกันนะคะ เพราะนานิไม่ค่อยเห็นด้วยกับระบบการศึกษาที่แกมบังคับให้นักเรียนต้องทิ้งชีวิตวันหยุดไปอยู่แต่ที่โรงเรียนกวดวิชา
สำหรับนานิแล้ว ไม่ค่อยอยากแนะนำให้น้องๆ วัยเรียนขวนขวายหาเงินมาจ่ายค่าเทอมของตัวเองเท่าไหร่นัก ไม่ใช่เพราะไม่สนับสนุนให้ช่วยเหลือพ่อแม่นะ การหัดหาเงินเองตั้งแต่เด็กมีข้อดีหลายอย่างคือ นอกจากจะทำให้เราได้แบ่งเบาภาระพ่อแม่ แล้วก็ยังทำให้เราได้มีประสบการณ์ใหม่ๆ ด้านการทำงานและบริหารเงินด้วย อีกอย่าง เพราะเราหาเอง เราก็มักจะ ‘งก’ (ฮ่าๆๆ) คือรู้จักประหยัดอดออม ทำให้เรารู้จักคุณค่าของเงิน แต่การหาค่าเทอมซึ่งอาจจะเป็นหลักหมื่นหรือแสน มันก็มีข้อเสียเหมือนกัน เพราะด้วยความที่จำนวนเงินมันเยอะอาจจะทำให้เราโฟกัสผิดเรื่อง กลายเป็นมาหมกมุ่นอยู่กับการหาเงินอย่างเดียว วัยเรียนเป็นวัยที่เราควรมีชีวิตหลายๆด้าน คือไม่ใช่เอาแต่หมกมุ่นเรื่องเรียนอย่างเดียว ควรใช้เวลาหาประสบการณ์ ทำกิจกรรม กีฬา บำเพ็ญประโยชน์ กล่าวคือ ควรหัด ‘ใช้ชีวิต’ การหาเงินในวัยเรียนก็ควรเป็นกิจกรรมอย่างนึงที่เราหัดเหมือนการหัดเดิน ดังนั้นสิ่งที่เราควรทำก็คือค่อยๆ เริ่ม ไม่ใช่พอหัดเดินได้ก็จะไปสมัครแข่งวิ่งมาราธอน คือหาเงินปีละเป็นแสนๆ มาจ่ายค่าเทอม อันนั้นมันไม่ใช่แล้ว
ดังนั้นแล้วสำหรับคนที่อยากส่งตัวเองเรียน นานิมีข้อแนะนำ 2 ข้อ
  • พัฒนาตัวเองเพื่อจะได้สามารถชิงทุนมาจ่ายค่าเล่าเรียนได้
  • หัดเริ่มทำงานพิเศษและเก็บออมเพื่อจะได้สามารถจ่ายค่าอุปกรณ์และค่าใช้จ่ายประจำวันของตัวเองได้
แค่นี้ก็จะสามารถขึ้นชื่อว่า ‘ส่งตัวเองเรียน’ โดยที่ไม่เสียการเรียน ได้หัดหารายได้ แบ่งเบาภาระพ่อแม่ แล้วยังได้โอกาสพัฒนาฝีมือตัวเองอีกด้วย ซึ่งเรามีแต่ได้กับได้ค่ะ
 
"การหารายได้พิเศษในวัยเรียน ... นานิอยากให้น้องๆ นึกถึงสิ่งที่ตัวเองทั้งชอบและถนัด เพราะมันจะทำให้เราทำสิ่งนั้นออกมาได้ดีที่สุด ... เลือกทำงานที่จะช่วยเราในอนาคต คือนอกจากได้เงินแล้วยังมีประโยชน์และได้ความรู้ใหม่ๆ ด้วย"
การหาทุนสำหรับน้องๆ ม.ต้น จริงๆ แล้วมีหลากหลายทุนมากๆ และขึ้นอยู่กับว่าเราจะขวนขวายหาข้อมูลมากแค่ไหน เสาร์-อาทิตย์นี้ ใครว่างก็เข้าอินเตอร์เน็ต search หาเลย แหล่งข้อมูลเกี่ยวกับทุนการศึกษานั้นมีมากมาย เช่น เว็บไซต์ทุนเรียนต่อต่างประเทศ หรือไม่งั้นก็เข้าร้านหนังสือ มีหนังสือแนะนำทุนเรียนต่างประเทศบรึม แต่สำหรับตอนนี้ นานิซึ่งเคยเป็นนักเรียนทุน ASEAN ของรัฐบาลสิงคโปร์มาก่อน ก็คงหนีไม่พ้นที่จะแนะนำให้น้องๆ ลองสอบชิงทุนนี้ค่ะ รัฐบาลสิงคโปร์เปิดรับสมัครน้องๆ ม. 2-3 กับน้อง ม. 4-5 โดยจะจัดสอบคัดเลือกทุกๆ ต้นปี มีสอบข้อเขียนกับสัมภาษณ์ค่ะ ทุนนี้ส่งเรียนฟรี มีหอให้ แล้วแถมยังมีเงินเดือนด้วยน้า ลองเข้าไปหาข้อมูลได้ที่นี่ ลองไปสอบดูนะคะ ได้ก็ดี ไม่ได้ก็ถือว่าได้เปิดหูเปิดตา ว่าเราเก่งด้านไหน ขาดอะไร จะได้กลับมาพัฒนาตัวเองกันได้
ส่วนเรื่องการหารายได้พิเศษในวัยเรียน เราควรเริ่มจากการทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายก่อน ซักหนึ่งอาทิตย์ก็ยังดี จะได้รู้ว่าเอ๊ะ สัปดาห์นึงเราใช้เงินประมาณเท่าไหร่ อาจดูไม่สำคัญนะคะ แต่บัญชีรายรับ-รายจ่ายเนี่ย ทำแล้วจะรู้เลยว่าเราใช้เงินเปลืองแค่ไหน (ฮ่าๆๆ) เพราะตอนใช้ไม่ค่อยได้คิดไง จึงอาจเกิดเหตุการณ์แบบนี้บ่อยๆ คือเพิ่งกดตังค์หรือพ่อแม่เพิ่งให้มา เอ๊ะทำไมหมดเร็วจัง หลังจากทำและกะค่าใช้จ่ายส่วนตัวได้แล้ว สมมติว่าใช้อาทิตย์ละ 1,000 บาท แบบนี้ก็มาดูว่าเราควรจะหาเงินอาทิตย์ละ 1 พันยังไง
ทีนี้ที่สำคัญก็คือ เวลาจะนึกถึงเรื่องการหาเงิน นานิอยากให้น้องๆ นึกถึงสิ่งที่ตัวเองทั้งชอบและถนัด เพราะมันจะทำให้เราทำสิ่งนั้นออกมาได้ดีที่สุด อย่างเช่นนานิสอนได้ เพราะติวให้เพื่อนๆ มาตั้งแต่สมัยเรียนมัธยม แล้วก็ชอบสอนด้วย เพราะสนุกดี ทำให้เรารู้สึกฉลาดขึ้นด้วย พอสอนหลายๆ ทีเข้า นานิก็เลยเลือกที่จะหารายได้พิเศษจากการสอนนี่แหละ ถ้าให้นานิไปทำขนมขาย หรือไปเสิร์ฟอาหาร ซุ่มซ่ามอย่างนานิคงเละกันทั้งร้าน สอนชั่วโมงละ 300 บาท อาทิตย์นึงสอนแค่ชั่วโมงเดียวก็ได้แล้วเดือนละ 1,200 แต่การสอนก็ไม่ใช่ทางเดียวน้า บางคนถนัดด้านแฟชั่น หรือของสวยๆ งามๆ ก็ซื้อครีม หรือกระเป๋าเสื้อผ้า มาขายออนไลน์ก็เวิร์คเหมือนกัน หรือถ้าจะคิดให้ไกลกว่านั้น นานิแนะนำว่าให้เลือกทำงานที่จะช่วยเราในอนาคต คือนอกจากได้เงินแล้วยังมีประโยชน์และได้ความรู้ใหม่ๆ ด้วย เช่น ถ้าอยากเป็นเจ้าของร้านอาหาร ก็ไปเป็นเด็กเสิร์ฟ อยากทำงานเกี่ยวกับการเงินการลงทุน ก็ขอสมัครไปเป็นเด็กฝึกงานในบริษัทการเงิน เราจะได้เห็นภาพว่างานแต่ละสายเป็นยังไงบ้าง งานที่เราได้รับมอบหมายให้ทำตอนฝึกงานอาจดูเป็นงานที่ไม่สำคัญ แต่อย่างน้อยเราได้รับค่าตอบแทนมาเป็นค่าขนม แล้วก็ยังมีโอกาสได้คลุกคลีอยู่กับพี่ๆ ที่ทำงานประจำอยู่ที่นั่น เค้ามีประสบการณ์มากกว่าเรา ดังนั้นพอทำงานเสร็จ เราก็ยังสามารถถามนู่นถามนี่ได้อีก นี่เท่ากับเค้าจ้างเรามาเรียนเลยนะเนี่ย!
เอาเป็นว่าตอนนี้ภารกิจของเราก็คือ ทุกคืนก่อนนอน เราต้องหาความรู้พัฒนาฝีมือตัวเอง เพื่อสอบชิงทุน และเสาร์หรืออาทิตย์ ก็หาเวลาไปรับงานพิเศษที่ตัวเองถนัดมาเป็นรายได้เสริม แค่นี้ก็เป็นวัยรุ่นยุคใหม่ ไม่ใช้ตังค์พ่อแม่ได้แล้วค่ะ
pym logo
ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง
บทความที่เกี่ยวข้อง
พิมพ์สิ่งที่ต้องการค้นหา