พวกเราเหล่ามนุษย์เงินเดือนทั้งหลายเคยตั้งคำถามกับตัวเองไหมว่า เรียนจบทำงานมาหลายปีแล้ว อายุเท่านี้ควรมีเงินเก็บเท่าไหร่? หรือว่าเราดำเนินชีวิตให้ล่วงเลยไปโดยที่ไม่สนใจเรื่องเงินเก็บให้เพียงพอในวัยเกษียณมานานเท่าไหร่แล้ว
กิจวัตรประจำวันของมนุษย์เงินเดือนที่ต้องตื่นแต่เช้ารีบออกไปทำงาน เบียดเสียดกันบนท้องถนนเพื่อเข้าทำงานได้ทันเวลา เมื่อถึงที่ทำงานก็ต้องซื้อของกินรองท้องเพื่อจะได้มีเรี่ยวแรงในการทำงานในช่วงเช้า พอเข้าสู่ช่วงกลางวันก็ต้องรีบออกไปรับประทานอาหาร พนักงานพักเที่ยงพร้อมกันทำให้ร้านอาหารมีคนต่อคิวรอเยอะ อดทนได้ก็รอต่อไป ถ้าทนหิวไม่ไหวก็ต้องไปร้านอื่น กินข้าวเสร็จก็เดินออกกำลังกายเบา ๆ ย่อยอาหารในตลาดนัดใกล้ที่ทำงาน โดยบางคนอาจไม่ได้สนใจเลยว่าอายุเท่านี้ควรมีเงินเก็บเท่าไหร่ หรือควรวางแผนอย่างไรต่อไปในอนาคต
"เราทุกคนต้องใช้เงินทุกวันเพื่อใช้ในการดำรงชีพ แต่เรารับเงินเดือนเพียงเดือนละ 1 ครั้ง จะทำอย่างไรให้เงินเดือนที่ได้รับมีพอใช้ในแต่ละเดือนจนกระทั่งมีใช้เหลือเฟือไปตลอดชีวิต"
แม้ว่าเงินเก็บจะไม่จีรัง แต่การเดินเล่น ๆ แต่ได้ของกลับมาจริง ๆ สิแน่นอน และเรามักจะมีคำพูดสั้น ๆ ว่า “ไม่ได้ตั้งใจจะซื้อหรอกนะ เห็นมันลดราคา” โดยไม่ได้ตระหนักเลยว่า เราซื้อของเพราะแค่ลดราคา หรือตกเป็นทาสการตลาดมากเท่าไหร่ เพราะเราคิดว่า “ของมันต้องมี” แต่ลืมคิดว่า อายุเท่านี้เราควรมีเงินเก็บเท่าไหร่ ต่างหากถึงจะถูกต้อง
พอตกเย็นเป็นเวลาเลิกงาน เราก็อยากจะกลับไปใช้เวลาส่วนตัวกับครอบครัวที่บ้าน แต่ว่าพอเลิกงานปุ๊บ ฝนตกปั๊บ พอกลับถึงบ้านไม่มีเวลาทำอย่างอื่นแล้วนอกจากนอนพักเพื่อจะได้มีแรงลุกไปทำงานในวันต่อไป
มนุษย์เงินเดือนทำกิจวัตรแบบนี้แทบทุกวัน ถึงแม้ว่าในแต่ละวันที่เราไปทำงานจะมีหลายเหตุการณ์เกิดขึ้นแตกต่างกัน เช่น วันนี้ฝนตกตอนเช้า วันต่อมาตกตอนเย็น รถติดมากโดยไม่รู้สาเหตุ ฯลฯ ภายใต้เหตุการณ์เหล่านี้มีสิ่งหนึ่งที่เกิดขึ้นเหมือนกัน คือ รายจ่าย เราทุกคนต้องใช้เงินทุกวันเพื่อใช้ในการดำรงชีพ แต่เรารับเงินเดือนเพียงเดือนละ 1 ครั้ง จะทำอย่างไรให้เงินเดือนที่ได้รับมีพอใช้ในแต่ละเดือนจนกระทั่งมีใช้เหลือเฟือไปตลอดชีวิต นี่แหละค่ะ ความสำคัญของการออมเงิน ที่ทำให้เราต้องกลับมาคิดว่า อายุเท่านี้ควรมีเงินเก็บเท่าไหร่? เพื่อเป็นการวางแผนเกษียณอย่างมั่นคงและเพียงพอตราบจนวันสุดท้ายของชีวิต
ลองนึกย้อนหลับไปในวันแรกของการทำงาน เราเป็นน้องใหม่ที่ยังทำอะไรไม่ค่อยเป็น เวลาผ่านไปอย่างรวดเร็วจนวันนี้กลายเป็นรุ่นพี่ใหญ่ในที่ทำงาน เราเคยสำรวจตัวเองไหมคะว่าทำงานจนป่านนี้ อายุเท่านี้ควรมีเงินเก็บเท่าไหร่? ลองใช้สูตรในการคำนวณดูว่าเราทำงานมาจนอายุเท่านี้ควรมีเงินเก็บเท่าไหร่กันแน่
สูตรเงินออม = 2 x (อายุปัจจุบัน – อายุเริ่มงาน) x (เงินเดือนปัจจุบัน + เงินเดือนเริ่มงาน)
ตัวอย่างวิธีคำนวณ
คุณศรีทำงานมาตั้งแต่อายุ 22 ปี เงินเดือน 15,000 บาท ตอนนี้อายุ 32 ปี เงินเดือน 40,000 บาท ตอนนี้คุณศรีน่าจะมีเงินเก็บไว้เท่าไหร่
เงินเก็บของคุณศรี = 2 x (32 – 22) x (40,000 + 15,000) = 1,100,000 บาท
ดังนั้นถ้าถามว่าคุณศรีอายุเท่านี้ควรมีเงินเก็บเท่าไหร่ คำตอบคือ 1,100,000 บาท เงินจำนวนนี้ไม่จำต้องอยู่ในรูปเงินสด 100% ควรแบ่งสัดส่วนเก็บไว้ในสินทรัพย์ต่าง ๆ ตามระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้และเป้าหมายการออม เช่น
- สินทรัพย์ที่จับต้องได้ เช่น บ้าน ที่ดิน สินทรัพย์ให้เช่า
- สินทรัพย์ที่จับต้องไม่ได้ เช่น สลากออมสิน เงินสด ฝากออมทรัพย์ ฝากประจำ ตราสารหนี้ กองทุนรวม หุ้น ทองคำ ฯลฯ
สำหรับคนที่ลองคำนวณดูว่าอายุเท่านี้ควรมีเงินเก็บเท่าไหร่ แต่เงินสดและสินทรัพย์ยังไม่ถึงยอดที่คำนวณไว้ ไม่เป็นไร ยังพอมีเวลา
เราทุกท่านรู้ว่าจะทำอย่างไรให้สร้างรายได้เพิ่มขึ้น แต่จะมีเพียงไม่กี่คนที่รู้ว่าควรใช้เงินอย่างไรให้คุ้มค่าและมีเงินออม สมมติว่าเรามีรายได้ 100 บาท แล้วใช้จ่าย 100 บาท เราใช้เงินเท่ากับที่หาได้ถ้าหากวันหนึ่งเกิดเจ็บป่วย จำเป็นต้องใช้เงิน จะมีเงินส่วนไหนมาจ่ายเป็นค่ารักษาพยาบาลตัวเองเพราะไม่มีเงินออม ดังนั้น ควรให้ความสำคัญในเรื่องการใช้เงินเท่ากับการสร้างรายได้เพื่อสุขภาพการเงินที่แข็งแรง เมื่อเรารู้แล้วว่าอายุเท่านี้ควรมีเงินเก็บเท่าไหร่ ต่อไปเป็นเรื่องของการลงมือทำจริงเพราะถ้ารับรู้แล้วไม่ลงมือทำจะเหมือนกับว่าเราไม่รู้อะไรเลย
*หมายเหตุ สูตรเงินออมโดยคุณคธาฤทธิ์ สิทธิกูล ผู้บรรยายหลักสูตร CFP ชุดวิชาที่ 1