ก้าวแรกในชีวิต จงพิชิตเงิน 1 ล้านบาทแรกให้สำเร็จ
เพื่อชีวิตสบาย
icon-Facebook icon-Twitter icon-line

ก้าวแรกในชีวิต จงพิชิตเงิน 1 ล้านบาทแรกให้สำเร็จ

icon-access-time Posted On 10 กรกฎาคม 2561
By Maibat
เงินไม่สามารถซื้อทุกอย่างได้ แต่แทบทุกอย่างต้องใช้เงินซื้อมา คำกล่าวนี้เป็นเครื่องเตือนสติว่าเงินมีบทบาทสำคัญกับชีวิตของคนเราทุกวันตลอด 24 ชม. เคยลองคิดไหมครับว่าตั้งแต่เกิดจนโต เราใช้เงินไปแล้วเท่าไร? หากลองนึกเล่น ๆ ดู เงินที่พ่อแม่ส่งเสียเลี้ยงดูเรามาคงหมดไปเป็นหลักล้านแล้วครับ

“เงินไม่สามารถซื้อทุกอย่างได้ แต่แทบทุกอย่างต้องใช้เงินซื้อมา” คำกล่าวนี้เป็นเครื่องเตือนสติว่าเงินมีบทบาทสำคัญกับชีวิตของคนเราทุกวันตลอด 24 ชม. เคยลองคิดไหมครับว่าตั้งแต่เกิดจนโต เราใช้เงินไปแล้วเท่าไร? หากลองนึกเล่น ๆ ดู เงินที่พ่อแม่ส่งเสียเลี้ยงดูเรามาคงหมดไปเป็นหลักล้านแล้วครับ

นั่นหมายถึงเงินจำนวนมากโขที่เราไม่ได้ออกตังค์เอง เพราะมีคนคอยอุปถัมภ์ค้ำจุน แต่พอโตเป็นผู้ใหญ่แล้วต้องรู้จักทำงานหาเงินใช้เองและมีหน้าที่เป็นเสาหลักเลี้ยงดูครอบครัวด้วย ดังนั้น ผมถือว่าเงินเป็นเป้าหมายหลักในชีวิตที่ต้องพิชิตให้ได้ เพื่อความเป็นอยู่ที่ดีของคนในครอบครัว ซึ่งการพิชิตเป้าหมายจนมีฐานะมั่งคั่งอย่างมั่นคงเป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลาและความอดทน รวมถึงต้องมีวิธีคิดที่ถูกต้อง (Mindset) เปรียบเหมือนเข็มทิศที่จะพาเราโลดแล่นไปสู่เส้นทางสำเร็จ
คนเราเกิดมาเพื่อหาเงินหรือใช้เงิน? เป็นคำถามที่บ่อยครั้งผมถามตัวเอง เพราะดูเหมือนว่าการกระทำจะขัดกับความคิด ผมคนหนึ่งล่ะเป็นมนุษย์เงินเดือนที่เวลาส่วนใหญ่หมดไปกับการทำงานหาเงิน วันธรรมดาทำงานตั้งแต่เช้าถึงเย็นและทำอาชีพเสริมต่อตอนกลางคืน วันหยุดถึงได้พักผ่อนออกไปใช้เงิน ซึ่งขัดกับความคิดที่เชื่อว่าคนเราน่าจะเกิดมาเพื่อใช้เงินมากกว่า เพราะการใช้เงินทำให้เรามีความสุข เวลาที่เราจ่ายเงินไปเพื่อแลกกับสิ่งที่เราต้องการมันมีความหมายทางใจ แต่บนโลกแห่งความจริง เงินไม่ได้งอกมาตามต้นไม้และไม่มีใครเลี้ยงดูเราได้ตลอดชีวิต เราจึงต้องยอมทำงานหนักหน่อยในช่วงต้นของชีวิต เพื่อแลกกับสุขภาพการเงินที่แข็งแกร่งของครอบครัว ซึ่งจะทำให้บั้นปลายชีวิตมีความเป็นอยู่สุขสบาย
เป้าหมายแรกในชีวิต ผมแนะนำให้เริ่มจากการพิชิตเงิน 1 ล้านบาทแรกให้สำเร็จในระยะเวลาไม่เกิน 10 ปี เพราะเงิน 1 ล้านบาทแรกถือเป็นเป้าหมายระยะสั้น (Short term win) ที่ไม่ยากและไม่ง่ายจนเกินไป พอเราทำสำเร็จจะมีกำลังใจหาเงินล้านต่อ ๆ ไปได้ง่ายขึ้น ประกอบกับประสบการณ์หาเงินเป็นแล้ว จะช่วยให้ระยะเวลาเก็บเงินล้านต่อ ๆ ไปสั้นลง
ส่วนเหตุผลที่กำหนดระยะเวลาไม่เกิน 10 ปี เพราะในชีวิตคนเราต้องใช้เงินจำนวนมากหลายล้านบาทจึงควรเก็บเวลาที่เหลือไว้หาเงินล้านต่อ ๆ ไป เพื่อมั่นใจว่าก่อนเกษียณเราเก็บเงินได้พอใช้จนถึงวาระสุดท้ายของชีวิต หรือเก็บไว้บางส่วนให้ลูกหลานเป็นทุนในการเริ่มต้นชีวิต
ผมเป็นคนที่ไม่ประมาทในการใช้ชีวิต ตั้งแต่เริ่มต้นทำงานผมวางแผนเก็บเงินครบ 1 ล้านบาทแรกภายในระยะเวลา 10 ปีเหมือนที่แนะนำคุณ โดยคำนวณตัวเลขลงในตาราง Microsoft Excel และพบว่าสุดท้ายทำได้ดีกว่าแผนที่วางไว้ ด้วยการเก็บเงินครบภายในระยะเวลา 6 ปี สิ่งที่ได้เรียนรู้คือการวางแผนเก็บเงินช่วยให้เราจดจ่อในสิ่งที่ทำ ความสำเร็จย่อมอยู่ไม่ไกล และปัจจัยแห่งความสำเร็จประกอบด้วย 3 อย่างคือ
  • อัตราการเติบโตของรายได้ (Income Growth)
  • อัตราการออม (Saving Rate)
  • ผลตอบแทนจากการลงทุน (Investment Return)
ตามตารางผมแสดงให้เห็นว่าใคร ๆ ก็ทำได้ถ้าพยายามขยับตัวเลขทั้ง 3 อย่างนี้ให้ดีขึ้นเรื่อย ๆ จนถึงระดับที่เหมาะสมเก็บเงินได้มากพอ ปัจจัยแรก การเติบโตของรายได้ในระดับ 10% สามารถเพิ่มจากการเลื่อนตำแหน่ง ย้ายงาน หรือหาอาชีพเสริม ปัจจัยที่สอง อัตราการออมในระดับ 40% สามารถเพิ่มจากการใช้เงินอย่างประหยัด หาทางลดหย่อนภาษี หรือออมก่อนใช้คือ รายได้เข้ามาหักไปออมก่อนเลยแล้วพยายามใช้ไม่เกินเงินในส่วนที่เหลือ และปัจจัยสุดท้าย ผลตอบแทนจากการลงทุนในระดับ 7% สามารถเพิ่มจากการลงทุนในหุ้น กองทุนรวม หรืออสังหาฯ ซึ่งการลงทุนมีความเสี่ยงต้องศึกษาให้ดีก่อนลงทุน

ตารางแสดงวิธีการเก็บเงินให้ครบ 1 ล้านบาทแรก

  ปีที่ 1 ปีที่ 2 ปีที่ 3 ปีที่ 4 ปีที่ 5 ปีที่ 6 ปีที่ 7 ปีที่ 8 ปีที่ 9 ปีที่ 10
รายได้เติบโต   5% 6% 7% 8% 9% 10% 10% 10% 10%
รายได้ต่อเดือน 17,000 17,850 18,921 20,245 21,865 23,833 26,216 28,838 31,722 34,894
อัตราการออม   20% 25% 30% 35% 35% 35% 40% 40% 40%
เงินออมต่อปี 40,800 48,960 58,752 70,502 84,603 101,523 121,828 146,194 175,433 210,519
เงินออมสะสม 40,800 89,760 148,512 219,014 303,617 405,141 526,969 673,163 848,595 1,059,114
ผลตอบแทน 3% 3% 3% 3% 3% 3% 3% 3% 3% 3%
ผลตอบแทนต่อปี   1,224 2,730 4,537 6,707 9,310 12,434 16,182 20,680 26,078
ผลตอบแทนสะสม 0 1,224 3,954 8,431 15,197 24,507 36,941 53,123 73,803 99,881
สินทรัพย์รวม 40,800 90,984 152,466 227,505 318,815 429,648 563,909 726,285 922,398 1,158,995
คนเรามีความเก่งไม่เท่ากัน บางคนหาเงินเก่ง บางคนออมเก่ง และบางคนลงทุนเก่ง ผมจะบอกว่าล้วนมีโอกาสเก็บเงิน 1 ล้านบาทแรกได้สำเร็จ โดยสมมุติว่ารายได้เติบโตมากถึง 20% ต่อปี แต่มีอัตราการออมเพียง 20% และมีผลตอบแทนจากการลงทุนเพียง 3% ต่อปี สุดท้ายก็สามารถเก็บครบ 1 ล้านบาทแรก

ตัวอย่าง คนที่หาเงินเก่งเก็บเงินครบ 1 ล้านบาทแรก

  ปีที่ 1 ปีที่ 2 ปีที่ 3 ปีที่ 4 ปีที่ 5 ปีที่ 6 ปีที่ 7 ปีที่ 8 ปีที่ 9 ปีที่ 10
รายได้เติบโต   20% 20% 20% 20% 20% 20% 20% 20% 20%
รายได้ต่อเดือน 17,000 20,400 24,480 29,376 35,251 42,301 50,762 60,914 73,097 87,716
อัตราการออม 20% 20% 20% 20% 20% 20% 20% 20% 20% 20%
เงินออมต่อปี 40,800 48,960 58,752 70,502 84,603 101,523 121,828 146,194 178,433 210,519
เงินออมสะสม 40,800 89,760 148,512 219,014 303,617 405,141 526,969 673,163 848,595 1,059,114
ผลตอบแทน 3% 3% 3% 3% 3% 3% 3% 3% 3% 3%
ผลตอบแทนต่อปี   1,224 2,730 4,537 6,707 9,310 12,434 16,182 20,680 26,078
ผลตอบแทนสะสม 0 1,224 3,954 8,491 15,197 24,507 36,941 53,123 73,803 99,881
สินทรัพย์รวม 40,800 90,984 152,466 227,505 318,815 429,648 563,909 726,285 922,398 1,158,995
สมมุติว่าอัตราการออมสูงถึง 40% แต่มีรายได้เติบโตเพียง 5% ต่อปี และมีผลตอบแทนจากการลงทุนเพียง 3% ต่อปี สุดท้ายก็สามารถเก็บครบ 1 ล้านบาทแรก ซึ่งผมคิดว่าการฝึกวินัยการออมเป็นสิ่งที่ทำง่ายที่สุด เพราะเป็นการแข่งกับตัวเอง ไม่เหมือนรายได้กับการลงทุนต้องอาศัยคนอื่น

ตัวอย่าง คนที่ออมเงินเก่งเก็บเงินครบ 1 ล้านบาทแรก

  ปีที่ 1 ปีที่ 2 ปีที่ 3 ปีที่ 4 ปีที่ 5 ปีที่ 6 ปีที่ 7 ปีที่ 8 ปีที่ 9 ปีที่ 10
รายได้เติบโต   5% 5% 5% 5% 5% 5% 5% 5% 5%
รายได้ต่อเดือน 17,000 17,850 18,743 19,680 20,664 21,697 22,782 23,921 25,117 26,373
อัตราการออม 40% 40% 40% 40% 40% 40% 40% 40% 40% 40%
เงินออมต่อปี 81,600 85,680 89,964 94,462 99,185 104,145 109,352 114,819 120,560 126,588
เงินออมสะสม 81,600 167,280 257,244 351,706 450,892 555,036 664,388 779,207 899,768 1,026,356
ผลตอบแทน 3% 3% 3% 3% 3% 3% 3% 3% 3% 3%
ผลตอบแทนต่อปี   2,448 5,092 7,870 10,787 13,850 17,067 20,444 23,990 27,713
ผลตอบแทนสะสม 0 2,448 7,540 15,410 26,197 40,048 57,114 77,558 101,547 129,260
สินทรัพย์รวม 81,600 169,728 264,784 367,116 477,089 595,084 721,502 856,765 1,001,315 1,155,616
สมมุติว่าอัตราผลตอบแทนจากการลงทุนสูงถึง 20% ต่อปี แต่มีรายได้เติบโตเพียง 5% ต่อปีและมีอัตราการออมเพียง 20% สุดท้ายก็สามารถเก็บครบ 1 ล้านบาทแรก ซึ่งผมคิดว่าการลงทุนเป็นสิ่งที่ออกแรงน้อยที่สุด เพราะส่วนหนึ่งเราให้เงินทำงานให้เรา ไม่ต้องทำงานนั่งเฝ้าอยู่ตลอดเวลา

ตัวอย่าง คนที่ลงทุนเก่งเก็บเงินครบ 1 ล้านบาทแรก

  ปีที่ 1 ปีที่ 2 ปีที่ 3 ปีที่ 4 ปีที่ 5 ปีที่ 6 ปีที่ 7 ปีที่ 8 ปีที่ 9 ปีที่ 10
รายได้เติบโต   5% 5% 5% 5% 5% 5% 5% 5% 5%
รายได้ต่อเดือน 17,000 17,850 18,743 19,680 20,664 21,697 22,782 23,921 25,117 26,373
อัตราการออม 20% 20% 20% 20% 20% 20% 20% 20% 20% 20%
เงินออมต่อปี 40,800 42,840 44,982 47,231 49,593 52,072 54,676 57,410 60,280 63,294
เงินออมสะสม 40,800 83,640 128,622 175,853 225,446 277,518 332,194 389,604 449,884 513,178
ผลตอบแทน 20% 20% 20% 20% 20% 20% 20% 20% 20% 20%
ผลตอบแทนต่อปี   8,160 18,360 29,396 41,050 53,299 66,163 79,671 93,855 108,748
ผลตอบแทนสะสม 0 8,160 26,520 55,916 96,966 150,265 216,429 296,100 389,955 498,703
สินทรัพย์รวม 40,800 91,800 155,142 231,770 477,089 322,412 721,502 856,765 1,001,315 1,155,616
ผมเชื่อมั่นว่าทุกคนสามารถสร้างฝันให้ถึงเงินล้านได้ เพียงแค่เริ่มต้นด้วยการวางแผนและเริ่มต้นบริหารรายได้อย่างมีวินัยก็สามารถบรรลุเป้าหมายที่วางไว้ได้อย่างไม่ยากเย็นครับ ขอเป็นกำลังใจให้กับก้าวแรกในการพิชิตเงินล้านในชีวิตนะครับ
บัญชีออมทรัพย์จัดให้ และบัตรกรุงศรี เดบิต จัดให้ D ใช้จ่ายปกติ ได้ทั้งฟรี แถมมีได้คืน
pym logo
ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง
บทความที่เกี่ยวข้อง
พิมพ์สิ่งที่ต้องการค้นหา