3 ขั้นตอนบริหารเงินสดให้เงินไม่ขาดมือ
เพื่อชีวิตสบาย
icon-Facebook icon-Twitter icon-line

3 ขั้นตอนบริหารเงินสดให้เงินไม่ขาดมือ

icon-access-time Posted On 01 สิงหาคม 2566
By Krungsri the COACH
เรื่องของการบริหารจัดการเงินสดถือว่าเป็นเรื่องพื้นฐานที่สุดสำหรับคนที่เริ่มต้นอยากจะมีเงินเก็บ เนื่องจากในทุก ๆ เดือนเราก็จะได้รับเงินเดือน และเราก็จะต้องบริหารเงินที่ได้รับมาเพื่อให้เพียงพอต่อการใช้จ่าย ถ้าหากเราสามารถบริหารรายจ่ายต่าง ๆ ได้ดีก็จะช่วยทำให้เราสามารถออมเงินและมีเงินลงทุนมากขึ้น
การบริหารจัดการเงินสดถือว่าเป็นเรื่องพื้นฐานสำหรับคนที่เริ่มต้นอยากจะมีเงินเก็บ ทุกครั้งที่เราได้เงินเดือน เราต้องบริหารเงินที่ได้รับมาให้เพียงพอต่อการใช้จ่าย ถ้าเราบริหารรายจ่ายต่าง ๆ ได้ดีก็จะช่วยให้เราสามารถออมเงินและมีเงินลงทุนต่อยอด
 
3 ขั้นตอนจัดการเงินสดได้แบบไม่ขาดมือ
*เงื่อนไขและอัตราดอกเบี้ยเป็นไปตามประกาศของธนาคารกรุงศรีอยุธยา

ขั้นตอนที่ 1 - เริ่มต้นที่การทำ ‘บัญชีรายรับรายจ่าย

การทำ ‘บัญชีรายรับ-รายจ่าย’ ทำให้เราเห็นหน้าตาของรายได้ และค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือนว่ามีอะไรบ้าง ปัญหาหนึ่งสำหรับคนที่ไม่มีเงินเก็บ หรือเงินสดกำลังจะขาดมือก็คือ ไม่รู้ว่าตัวเองมีค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง เงินที่เราหามาได้หมดไปกับอะไร พอจะเริ่มต้นบริหารจัดการเลยไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นลงมือจัดการตรงไหนก่อน แนะนำว่าให้ลองทำสัก 1-2 เดือนจะช่วยทำให้เราเห็นภาพรายรับ รายจ่าย ของตัวเราชัดขึ้น

ขั้นตอนที่ 2 - ‘ปรับลดรายจ่าย’

หลังที่เราทำ ‘บัญชีรายรับ-รายจ่าย’ เราจะเห็นว่ารายจ่ายในแต่ละเดือนสามารถแบ่งออกเป็น ‘รายจ่ายผันแปร’ และ ‘รายจ่ายคงที่

รายจ่ายผันแปรจะเป็นรายจ่ายที่สามารถตัดออกได้โดยไม่กระทบกับการดำเนินชีวิตปกติ ทำให้โดยทั่วไปแล้วเราจะเริ่มจัดการที่รายจ่ายผันแปรก่อน เนื่องจากสามารถปรับลดได้ง่ายกว่า จากนั้นก็จะมาจัดการที่ ‘รายจ่ายคงที่’ กันต่อ ซึ่งรายจ่ายคงที่มักจะเป็นอะไรที่ปรับลดได้ยาก เพราะการลดหรือตัดออกอาจจะทำให้การดำเนินชีวิตปกติเปลี่ยนแปลงไป

ดังนั้น ต้องระมัดระวังก่อนจะสร้างรายจ่ายคงที่ เพราะเป็นรายจ่ายก้อนใหญ่ ส่วนมากจะเป็นรายจ่ายเพื่อผ่อนหนี้สิน ทั้งหนี้บ้าน รถ หรือภาระการผ่อนอื่นๆ ดังนั้นก่อนก่อหนี้ควรคิดให้รอบคอบ และไม่ควรเป็นหนี้มากเกินไปจนทำให้เกิดความเสี่ยงที่จะผิดนัดจ่ายหนี้ในอนาคตได้

ตามหลักแล้วเราไม่ควรก่อหนี้เกิน 45% ของรายได้ต่อเดือน เช่น เรามีรายได้เดือนละ 30,000 บาท ภาระการผ่อนจ่ายหนี้ต่อเดือนไม่ควรเกิน 13,500 บาท ซึ่งภาระหนี้นี้เป็นยอดหนี้รวมทั้งหมด แต่ถ้าเรามีหนี้ผ่อนบ้านด้วยก็ไม่ควรผ่อนเกิน 30% ของรายได้ต่อเดือน จากกรณีนี้ก็แปลว่า เราไม่ควรผ่อนบ้านเกิน 9,000 บาทต่อเดือน เพื่อไม่ให้มีภาระความเสี่ยงที่เราอาจจะจ่ายคืนไม่ได้ในอนาคต ในกรณีที่เราต้องการซื้อบ้านเป็นของตัวเอง แต่รายได้ยังไม่เยอะ ทำให้ความสามารถในการผ่อนมีไม่มาก เราก็ควรเก็บสะสม ‘เงินดาวน์’ ให้มากขึ้นเพื่อให้ภาระในการผ่อนแต่ละเดือนลดลง

ขั้นตอนที่ 3 - เตรียม ‘เงินสำรองฉุกเฉิน’

หลังจากที่เราสามารถบริหารจัดการรายจ่ายได้ลงตัวแล้ว เราก็จะเริ่มมีเงินออม โดยหลักการทั่วไปแล้วเงินก้อนแรกที่เราควรมีเก็บก็คือ ‘เงินสำรองฉุกเฉิน (Emergency Cash)’ อย่างน้อย 3-6 เดือนของค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือน เช่น เรามีรายจ่ายเดือนละ 5,000 บาท เราก็ควรมีเงินสำรองฉุกเฉินเอาไว้เผื่อในกรณีฉุกเฉินอย่างน้อย 15,000 - 30,000 บาท

ซึ่งคำว่ากรณีฉุกเฉินในที่นี้ หมายถึง เมื่อเกิดเหตุการณ์ที่ทำให้รายได้หายไป เช่น ตกงาน พักงาน หรือโดนปรับลดเงินเดือน อย่างช่วงโควิด-19 เราจะเห็นได้อย่างชัดเจนว่าในกรณีที่เราหยุดงาน พักงาน แล้วไม่ได้เตรียมเงินสำรองฉุกเฉินไว้จะทำให้ขาดสภาพคล่อง เพราะในเวลาที่รายได้เราหยุดลงแต่ ‘รายจ่าย’ ไม่ได้หยุดตามไปด้วย เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุสภาพคล่องขาดมือ เงินสำรองฉุกเฉินจึงเป็นเงินก้อนแรกที่ทุกคนต้องมีเตรียมไว้

ซึ่งแหล่งเก็บเงินสำหรับเงินสำรองฉุกเฉินที่เหมาะสมต้องเป็นแหล่งเก็บเงินที่เน้น ‘สภาพคล่องสูง’ เบิกถอนสะดวก เกิดรายได้หยุดชะงักวันนี้ อย่างน้อยที่สุดวันพรุ่งนี้ต้องสามารถถอนเงินออกมาใช้ได้ทันที สำหรับใครที่ต้องการเก็บไว้เพื่อสภาพคล่องก็สามารถนำมาฝากกับบัญชีเงินฝากออมทรัพย์มีแต่ได้ ออนไลน์ ที่จะช่วยให้การออมเงินเป็นเรื่องง่าย สะดวก แถมยังได้รับดอกเบี้ยสูงสุด 1.5% ต่อปี คิดดอกเบี้ยทุกวัน จ่ายดอกเบี้ยทุกเดือน เราสามารถเปิดบัญชีได้เองผ่าน KMA krungsri app

หวังว่าเคล็ดลับ 3 ขั้นตอนบริหารเงินสดให้เงินไม่ขาดมือ ที่เรานำเสนอวันนี้จะช่วยให้ทุกคนมีสภาพคล่อง ไม่ปวดหัวกับปัญหาขาดเงินสดช่วงปลายเดือนกันนะ ทั้งนี้ต้องอย่าลืมนำไปปรับใช้ และทำเป็นประจำจนกลายเป็นวินัยการเงินเพื่อสุขภาพการเงินที่ดีในระยะยาว
 
ตรวจสุขภาพทางการเงินของคุณ เพื่อบริหารเงินสดให้ไม่ขาดมือ
pym logo
ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง
บทความที่เกี่ยวข้อง
พิมพ์สิ่งที่ต้องการค้นหา