3 ขั้นตอนบริหารเงินง่าย ๆ ด้วยบัญชีฝากออมทรัพย์
เพื่อชีวิตสบาย
icon-Facebook icon-Twitter icon-line

3 ขั้นตอนบริหารเงินง่าย ๆ ด้วยบัญชีฝากออมทรัพย์

icon-access-time Posted On 01 เมษายน 2559
By อภินิหารเงินออม
คนส่วนใหญ่มักจะนำเงินออมและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในแต่ละเดือนเก็บไว้ในบัญชีเดียวกัน เช่น เงินฉุกเฉิน ค่ากิน ค่าเดินทาง ค่าผ่อนบ้าน ค่าผ่อนบัตรเครดิตค่าผ่อนรถ ค่าน้ำ ค่าไฟฟ้า ค่าโทรศัพท์ ค่าอินเทอร์เน็ต และอีกสารพัดรายจ่าย เพราะมองว่า เลือกบัญชีออมทรัพย์สำหรับเก็บทั้งหมดไว้ที่เดียวกันมันจัดการง่ายดี
เมื่อเงินเดือนเข้าบัญชีก็ทยอยถอนออกไปเป็นค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน เช่น ค่ากิน ค่าเดินทาง สังสรรค์กับเพื่อนบ้าง ในขณะที่บิลรายจ่ายก็ถึงกำหนดชำระไม่เท่ากัน หลายครั้งใช้เงินเพลินจนไม่มีเงินจ่ายบิลค่าน้ำ ค่าไฟ ทำให้ต้องดึงส่วนที่เป็นเงินฉุกเฉินออกมาใช้ก่อน สุดท้ายเงินที่ตั้งใจจะออมกลับใช้หมดไม่เหลือ แถมยังจ่ายบิลไม่ครบอีกด้วย หวังว่าบทความบริหารเงินด้วยการเลือกบัญชีออมทรัพย์ให้เป็นบทนี้จะช่วยทำให้ปัญหาเหล่านี้ลดลง ไปดู 3 ขั้นตอนที่สำคัญกันเลย

3 ขั้นตอนบริหารเงินด้วยบัญชีฝากออมทรัพย์

1. แยกบัญชีเงินฉุกเฉิน

ช่วงนี้มีทั้งข่าวปลดพนักงาน ข่าวธุรกิจหลายเจ้าไปไม่รอด หลายคนอาจจะกำลังลุ้นว่าจะเกิดกับบริษัทของตนเองหรือไม่ หากไม่เกิดก็ดีไป แต่ความจริงแล้วเราไม่ควรรอให้เกิดขึ้นก่อน แต่ควรเตรียมแผนฉุกเฉินให้ตนเองพร้อมตลอดเวลา หากไม่อยากลุ้นกับชีวิตที่เหลืออยู่ เราควรสร้างความอุ่นใจ ด้วยการเลือกบัญชีออมทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนน่าพอใจมาใช้ “เก็บเงินฉุกเฉิน” เพื่อไว้ต่อลมหายใจในช่วงรองานใหม่ จะได้ไม่เครียดมากเกินไป เงินออมส่วนแรกที่ควรมีเก็บไว้ คือ เงินฉุกเฉินที่ควรเก็บไว้เป็นจำนวน 3-6 เดือนของค่าใช้จ่าย ในขณะที่บางคนอาจจะเก็บมากกว่านี้ก็ได้ เช่น คนทำงานฟรีแลนซ์ที่มีงานขึ้น ๆ ลง ๆ อาจจะเก็บเงินฉุกเฉินเผื่อไว้นาน 1 ปี หากไม่มีคนจ้างงานเลยก็ยังสามารถใช้เงินก้อนนี้ใช้จ่ายในชีวิตประจำวันเพื่อรองานได้ แต่ที่สำคัญคือต้องแยกบัญชี เลือกบัญชีออมทรัพย์เป็นอีกบัญชีหนึ่งเฉพาะเพื่อเงินฉุกเฉินไปเลย เพราะสามารถเบิกถอนออกมาใช้ยามฉุกเฉินได้รวดเร็วกว่าการนำเงินเก็บไปลงทุนในช่องทางอื่น

2. แยกสารพัดรายจ่าย

หากนำรายจ่ายทั้งหนี้สินและส่วนตัวมารวมเป็นก้อนอาจจะทำให้จัดการยาก เพราะบางครั้งเราอาจจะเอาไปใช้จ่ายส่วนตัวจนลืมจ่ายหนี้สินก็เป็นได้ ดังนั้น ทางที่จะทำให้เราจัดการรายจ่ายได้อยู่หมัดก็คือ เลือกเปิดบัญชีออมทรัพย์แยกเป็น 2 ส่วน เพื่อให้ง่ายต่อการดูแล คือ
  • บัญชีหนี้สินคือ รายจ่ายที่ต้องจ่ายทุกเดือน เช่น ผ่อนบ้าน ผ่อนบัตรเครดิต ผ่อนรถ เป็นต้น เมื่อเงินเดือนเข้าบัญชีแล้วควรจ่ายส่วนนี้ก่อน เหลือจากนี้ค่อยนำมาใช้จ่ายส่วนตัว
  • บัญชีส่วนตัว คือ รายจ่ายในชีวิตประจำวันที่เราสามารถยืดหยุ่นได้ว่าจะจ่ายมากหรือน้อย ควรเลือกบัญชีออมทรัพย์ที่ยืดหยุ่นตอบโจทย์สำหรับค่าใช้จ่ายส่วนนี้ เช่น ค่ากิน ค่าเดินทาง ค่าท่องเที่ยว ค่าช็อปปิ้ง เป็นต้น

3. จับคู่รายจ่ายกับบัญชีฝากออมทรัพย์

เมื่อเราเลือกบัญชีออมทรัพย์ที่เหมาะสมสำหรับแยกเงินฉุกเฉิน รายการหนี้สิน และรายจ่ายส่วนตัวออกจากกันแล้ว ก็จะรู้จำนวนเงินที่ต้องใช้จ่าย จากนั้นเราก็จะมาจับคู่ว่า เงินส่วนนี้เหมาะสมกับบัญชีออมทรัพย์อะไรเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด เคล็ดลับในการเลือกบัญชีออมทรัพย์ มีดังนี้
  • บัญชีเงินฉุกเฉิน การเก็บเงินฉุกเฉินนั้น ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่าใช้เฉพาะเรื่องเร่งด่วน คอขาดบาดตายเท่านั้น จึงควรเก็บเงินไว้ในที่จำกัดการถอนเพราะจะได้ไม่ถอนออกมาใช้บ่อย ๆ จึงควรเลือกบัญชีฝากออมทรัพย์ที่จำกัดการถอน เพื่อให้ตอบโจทย์ตรงนี้ได้ แล้วมันจะยิ่งดีมากขึ้นถ้าบัญชีนี้ให้ผลตอบแทนดอกเบี้ยสูงกว่าการฝากออมทรัพย์ทั่วไป เช่น “เงินฝากออมทรัพย์มีแต่ได้”ที่ดอกเบี้ยสูง คิดดอกเบี้ยทุกวัน รับดอกเบี้ยทุกเดือน แบบนี้เราจะมีทั้งเงินฉุกเฉินและรับผลตอบแทนที่สูงขึ้นอีกด้วย
  • บัญชีเพื่อสารพัดรายจ่าย ทุกเดือนเราจะมีบิลรายจ่ายต่าง ๆ รออยู่แล้ว เราก็เลือกบัญชีฝากออมทรัพย์นี้เอาไว้จ่ายบิลโดยเฉพาะ ซึ่งการจ่ายบิลผ่านธนาคารที่ไม่คิดค่าธรรมเนียมก็จะทำให้เราประหยัดมากขึ้น เช่น “เงินฝากออมทรัพย์จัดให้” ที่ฟรีค่าธรรมเนียม 5 บิล/บัญชี/เดือน เมื่อหักออกไปจ่ายหนี้ครบแล้ว ส่วนที่เหลือก็นำมาใช้จ่ายในชีวิตประจำวันต่อไป
หากหลายคนยังสับสนไม่รู้จะเริ่มต้นจัดการเงินในชีวิตประจำวันอย่างไร ก็อาจจะใช้วิธีการแยกบัญชีนี้ โดยจับคู่เป้าหมายทางการเงินและเลือกประเภทของบัญชีออมทรัพย์ที่จะทำให้เรามีทั้งเงินฉุกเฉินที่ได้รับดอกเบี้ยสูง และมีเงินจ่ายหนี้ครบทุกบิลที่ยังประหยัดค่าธรรมเนียม นอกจากนั้นยังมีเคล็ดลับการฝากเงินให้เหมาะกับไลฟ์สไตล์ที่สามารถนำมาปรับใช้ให้เข้ากับเราด้วยค่ะ
pym logo
ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง
บทความที่เกี่ยวข้อง
พิมพ์สิ่งที่ต้องการค้นหา