เพื่อคุ้มครองคุณและครอบครัว
ในยุคที่ค่ารักษาพยาบาลแพงขึ้นทุกวัน การเข้าโรงพยาบาลจึงอาจเป็นเรื่องกังวลสำหรับใครหลาย ๆ คน หลายคนไม่ได้เจ็บป่วยหนัก ถึงขั้นต้องนอนโรงพยาบาล แต่ต้องไปหาหมอเป็นประจำ ด้วยอาการป่วยเล็ก ๆ น้อย ๆ เช่น ไข้หวัด แพ้อากาศ หรือท้องเสีย เป็นต้น ซึ่งค่าใช้จ่ายเหล่านี้ก็สามารถบานปลายกลายเป็นเงินก้อนใหญ่ได้ หากเราต้องไปหาหมอบ่อย ๆ หรือต้องรับยาหลายขนานเป็นเวลานาน
ประกันสุขภาพ OPD หรือประกันผู้ป่วยนอก จึงเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่าย หากยังไม่รู้ว่าจะเลือกซื้อประกันสุขภาพแบบไหนถึงจะคุ้มค่าและตอบโจทย์ความต้องการมากที่สุด Krungsri The COACH จะพาไปทำความรู้จัก "ประกันสุขภาพ OPD" แตกต่างจากประกันสุขภาพ IPD และประกัน PA อย่างไร พร้อมไขข้อข้องใจว่าจะเลือกซื้อประกันสุขภาพ OPD อย่างไรให้คุ้มค่าที่สุด
ประกันแต่ละแบบแตกต่างกันอย่างไร
ประกันสุขภาพ OPD คือ ประกันสุขภาพที่คุ้มครองค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลของผู้ป่วยนอก โดย OPD ย่อมาจาก Out-Patient Department คือ ผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาแบบไม่ต้องนอนพักรักษาตัวที่โรงพยาบาล เมื่อตรวจรักษาและรับยาเรียบร้อย สามารถกลับบ้านได้เลย หรือรอสังเกตอาการน้อยกว่า 6 ชั่วโมง ซึ่งส่วนใหญ่ผู้ป่วยนอกจะเข้ารับการรักษาอาการเจ็บป่วยที่ไม่รุนแรง ไม่จำเป็นต้องนอนรพ. เพื่อรอดูอาการ เช่น ปวดหัว ไข้หวัดธรรมดา ผดผื่น คันอักเสบ อุบัติเหตุรุนแรง
ประกันสุขภาพ IPD คือ ประกันสุขภาพที่คุ้มครองค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลของผู้ป่วยใน โดย IPD ย่อมาจาก In-Patient Department คือ ผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาด้วยการนอนพักที่โรงพยาบาลไม่น้อยกว่า 6 ชม. หลังการตรวจวินิจฉัยของแพทย์ และได้รับคำแนะนำให้ต้องเข้าพักรักษาตัวที่โรงพยาบาล ยังไม่สามารถกลับบ้านได้ทันที เช่น ไข้หวัดใหญ่ ไส้ติ่งอักเสบ อุบัติเหตุรุนแรง
ประกัน PA คือ ประกันอุบัติเหตุ โดย PA ย่อมาจาก Personal Accident ประกันภัยที่ให้ความคุ้มครอง ในกรณีที่เราประสบอุบัติเหตุ ไม่ว่าจะเป็นอุบัติเหตุทางรถ ระหว่างเล่นกีฬา ระหว่างการปฎิบัติงาน หรือโดนสุนัขหรือแมวกัด อุบัติเหตุเล็ก ๆ น้อย ๆ ในชีวิตประจำวัน โดยจะคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลทั้งในกรณีที่ได้เข้ารับการรักษาตัวเป็นผู้ป่วยนอก หรือผู้ป่วยในก็ตามอักเสบ อุบัติเหตุรุนแรง
วิธีเลือกประกัน สุขภาพ OPD ให้คุ้มครองคุ้มสุด
หลังจากที่เรารู้แล้วว่า
ประกันสุขภาพ OPD คืออะไร ขั้นตอนต่อไป เราจะมาดูกันว่าวิธีเลือกประกันสุขภาพ OPD ให้คุ้มครองคุ้มค่าที่สุดนั้นมีอะไรบ้าง
1. ประเมินความจำเป็นของตัวเอง
เจ็บป่วยบ่อยแค่ไหน ไปหาหมอที่โรงพยาบาลรัฐบาลหรือเอกชนประเมินค่าใช้จ่ายและจำนวนครั้งที่มีโอกาสเกิดขึ้น จะช่วยให้เลือกแบบประกันสุขภาพ OPD ที่คุ้มครองได้ครอบคลุมต่อความต้องการ
2. เปรียบเทียบแผนประกันจากหลาย ๆ บริษัท
ค่าเบี้ยประกัน ความคุ้มครอง เป็นอย่างไร เพราะแบบประกันสุขภาพ OPD ของแต่ละบริษัทประกันมีแผนความคุ้มครองที่แตกต่างกัน การประเมินข้อมูลต่าง ๆ โดยละเอียด เปรียบเทียบข้อเสนอที่เหมาะสมที่สุด จะช่วยให้เราได้ประโยชน์เป็นอย่างมาก
3. ตรวจสอบรายชื่อโรงพยาบาลในเครือของบริษัทประกัน
หากบริษัทประกันที่มีคู่สัญญากับทางโรงพยาบาล โรงพยาบาลจะสามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลโดยตรงกับทางบริษัทประกันได้ โดยไม่ต้องสำรองจ่าย และหากบริษัทประกันที่ทำไม่ได้เป็นคู่สัญญากับทางโรงพยาบาลที่ต้องการเข้ารับรักษา ผู้เอาประกันจะต้องสำรองเงินจ่ายไปก่อน และมีขั้นตอนในการยื่นเบิกเคลมเพื่อรับเงินคืนในภายหลัง อย่างน้อยที่สุด ต้องเป็นคู่สัญญากับโรงพยาบาลที่เราสะดวกไปรักษา
4. อ่านกรมธรรม์อย่างละเอียดก่อนตัดสินใจทำประกัน
เงื่อนไข รายละเอียดความคุ้มครอง ข้อยกเว้นต่าง ๆ เพื่อให้หมดกังวลและมั่นใจเมื่อต้องเข้ารับการรักษา และใช้ประกันสุขภาพ OPD
Krungsri The COACH แนะนำประกันสุขภาพ“กรุงศรีประกันสุขภาพ ตามใจ พลัส” ตอบโจทย์ครบทั้ง OPD และ IPD
ประกันสุขภาพที่ให้ความคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลทั้งแบบประกันสุขภาพ OPD และประกันสุขภาพ IPD สามารถซื้อโดยช่องทางออนไลน์ได้
6 จุดเด่น กรุงศรี ประกันสุขภาพ ตามใจ พลัส
- เลือกและปรับแผนประกันได้ตามความต้องการ ทั้งในส่วนวงเงิน ความคุ้มครอง 1 ล้าน - 30 ล้านบาท ค่าเบี้ยประกัน และงวดการจ่ายเบี้ยประกัน ทั้งรายปี / ราย 6 เดือน / ราย 3 เดือน / รายเดือน
- เพิ่มความคุ้มค่าได้ยิ่งขึ้น เมื่อเลือกซื้อความคุ้มครองเพิ่มเติม ที่ครอบคลุมทั้งค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยนอก (ประกันสุขภาพ OPD) ค่าชดเชยรายวัน และความคุ้มครองเจ็บป่วยด้วยโรคร้ายแรง 48 โรค
- ได้รับความคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลกรณีผู้ป่วยนอก ภายใน 24 ชั่วโมง หลังการเกิดอุบัติเหตุ แบบจ่ายตามจริง
- เบี้ยประกันสุขภาพเริ่มต้นหลักพัน ได้รับคุ้มครองหลักล้าน ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของทางบริษัทฯ
- เบี้ยประกันสุขภาพลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง สูงสุด 25,000 บาทต่อปี ทั้งนี้เมื่อรวมกับเบี้ยประกันชีวิตแล้วต้องไม่เกิน 100,000 บาทต่อปี
เปรียบเทียบ กรุงศรี ประกันสุขภาพตามใจ พลัส VS ประกันสุขภาพในท้องตลาด
ทั้งนี้ Krungsri The COACH ขอเปรียบเทียบระหว่างแผน เบาใจพลัส กับประกันสุขภาพบริษัทอื่น ที่มีความคุ้มครองใกล้เคียงกัน
ประกันสุขภาพตามใจ พลัส แผน เบาใจ พลัส มีความคุ้มครองครอบคลุมในทุกหมวดความคุ้มครอง จึงมั่นใจได้เมื่อเข้าโรงพยาบาล มีค่าห้องผู้ป่วยใน 3,000 บาทต่อคืน สูงสุด 365 วันต่อปีกรมธรรม์ และวงเงินค่ารักษาพยาบาลแบบผู้ป่วยใน และแบบผู้ป่วยนอกกรณีอุบัติเหตุฉุกเฉินภายใน 24 ชั่วโมง ค่ารักษาโรคไตด้วยการล้างไต และค่ารักษาโรคมะเร็ง สูงสุดถึง 5,000,000 บาทต่อปีกรมธรรม์ สามารถเลือกแผนประกันที่มีความรับผิดส่วนแรกเพื่อประหยัดค่าเบี้ยได้ หากมีสวัสดิการที่ทำงานอยู่แล้ว สามารถเลือกเพิ่มความคุ้มครองประกันสุขภาพ OPD (กรณีเจ็บป่วย) ได้สูงสุดถึง 4,000 บาทต่อวันต่อครั้ง
สรุป
ตอนนี้ทุกท่านคงเข้าใจความแตกต่างระหว่างแบบประกันสุขภาพ OPD และ IPD มากขึ้นแล้ว เมื่อเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันต้องเข้าโรงพยาบาล ก็จะสามารถเลือกทำประกันที่คุ้มครองค่ารักษาพยาบาลได้ครอบคลุมมากขึ้น
การเลือกแบบประกันสุขภาพให้เหมาะสมกับความต้องการและงบประมาณ จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องพิจารณา ที่สำคัญควรอ่านกรมธรรม์อย่างละเอียดก่อนตัดสินใจ เพื่อให้ได้แบบประกันที่คุ้มค่า และตอบโจทย์ความต้องการของคุณมากที่สุด
อ้างอิง
ประกันค่ายอื่นที่นำมาเปรียบเทียบ
- AIA health happy แผน 5 ล้าน
- FWD Precious Care แผน Bronze
- MTL D health plus แผน 5 ล้านบาท
- KT-AXA iHealthy Ultra แผน Smart