เพื่อคุ้มครองคุณและครอบครัว
“บ้าน” แหล่งพักพิงอันอบอุ่น เต็มไปด้วยความทรงจำดี ๆ หลายคนคงคิดว่า "บ้าน" คือสถานที่ที่ปลอดภัยที่สุดสำหรับสมาชิกในครอบครัว แต่
รู้หรือไม่ว่ามีอันตรายแฝงตัวอยู่แทบทุกมุมของบ้าน ซึ่งอาจก่อให้เกิด "อุบัติเหตุในบ้าน" โดยไม่คาดคิด
สถิติจากกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข เผยให้เห็นว่า อุบัติเหตุในบ้านเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้น ๆ ของคนไทย โดยเฉพาะเด็กเล็กอายุ 0 - 5 ปี เสียชีวิตจากอุบัติเหตุในบ้านสูงเป็นอันดับ 1 และผู้สูงอายุ ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป เสียชีวิตจากอุบัติเหตุในบ้านเป็นอันดับ 2
จำนวนผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุในบ้านในปี 2566 อยู่ที่ 40,457 คน เฉลี่ยเสียชีวิตวันละ 111 คน จากข้อมูลนี้ทำให้เรารู้ว่าอุบัติเหตุเกิดได้ทุกที่ ทุกเวลา แม้แต่ในบ้านเราเองที่เราคิดเสมอว่าเป็นพื้นที่ปลอดภัย
แล้วอะไรคือภัยร้ายที่ซ่อนอยู่ในบ้าน?
- อันตรายจากพื้นผิว พื้นเปียก ลื่น ขรุขระ บันไดที่ไม่มีราวจับ ล้วนเป็นสาเหตุของการลื่นหกล้ม พลัดตก ซึ่งเกิดขึ้นได้กับทุกเพศ ทุกวัยในบ้าน
- อันตรายจากเฟอร์นิเจอร์ มุมโต๊ะที่แหลมคม เฟอร์นิเจอร์ที่ไม่มั่นคงล้วนเป็นอันตราย โดยเฉพาะกับเด็กเล็กที่กำลังซนอาจวิ่งชน หรือปีนป่าย จนเกิดอุบัติเหตุขึ้นได้
- อันตรายจากไฟฟ้า ปลั๊กไฟที่ชำรุด สายไฟเปลือยเปล่า เครื่องใช้ไฟฟ้าที่เก่าและเสื่อมโทรม ล้วนเป็นสาเหตุของไฟฟ้าลัดวงจร ไฟไหม้บ้าน
- อันตรายจากสารเคมี ยาฆ่าแมลง น้ำยาทำความสะอาด สารเคมีต่าง ๆ ที่เก็บไว้ไม่มิดชิด นับเป็นอันตรายต่อทุกคนในบ้าน รวมถึงสัตว์เลี้ยง และยังอาจส่งผลต่อสุขภาพในระยะยาวได้
- อันตรายจากอุบัติเหตุอื่น ๆ ได้แก่ การสำลักอาหาร การสำลักของเล่น อันตรายจากการใช้ของมีคม น้ำร้อนลวก สัตว์มีพิษ หรือแมลงกัดต่อย เป็นต้น
แนวทางป้องกันอุบัติเหตุ เปลี่ยนบ้านให้เป็น "เซฟโซน"
- สำรวจบ้าน หมั่นตรวจสอบความปลอดภัยของพื้นผิวไม่ให้มีบริเวณที่เป็นน้ำขัง หมั่นตรวจความชำรุดของเฟอร์นิเจอร์ ปลั๊กไฟ เครื่องใช้ไฟฟ้า รวมถึงการจัดเก็บสารเคมี และของมีคมให้เป็นระเบียบ ปลอดภัย
- ดูแลเด็กหรือผู้สูงอายุอย่างใกล้ชิด สำหรับเด็กเล็กไม่ควรปล่อยให้เล่นตามลำพัง และสอนให้เด็กระวังอันตราย สำหรับผู้สูงอายุถ้าเป็นไปได้ควรมีการปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมในบ้านให้เหมาะสมกับผู้สูงอายุ อาทิ ย้ายห้องของผู้สูงอายุลงมาอยู่ชั้นล่าง ลดการเดินขึ้น-ลงบันไดที่อาจทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่าย รวมไปถึงการเพิ่มราวจับในห้องน้ำหรือห้องที่มีการใช้งานบ่อย หรือระมัดระวังพื้นต่างระดับเพื่อป้องกันการสะดุดล้ม
- ติดตั้งอุปกรณ์ป้องกัน การปิดมุมแหลมคมของเฟอร์นิเจอร์ ใช้ปลั๊กไฟแบบมีที่ครอบ ติดวัสดุกันลื่นที่บันได้ หรือพื้นที่เสี่ยง การมีถังดับเพลิงในบ้าน การติดตั้งเครื่องตรวจจับควันในบ้าน หรือบางบ้านที่มีเด็ก มีผู้สูงอายุอาจจะมีการติดกล้องวงจรปิด เพื่อคอยสอดส่องดูแลเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่ปลอดภัย เลือกใช้ยาฆ่าแมลง น้ำยาทำความสะอาดที่มีสัญลักษณ์มาตรฐาน รวมถึงอุปกรณ์ทำความสะอาดให้เหมาะสมกับคนในบ้าน เพื่อป้องกันการแพ้สารเคมี
- ฝึกซ้อมแผนเผชิญเหตุ ซักซ้อมแผนหนีไฟ ฝึกการช่วยเหลือ CPR เรียนรู้วิธีการปฐมพยาบาลเบื้องต้น และมีชุดอุปกรณ์ปฐมพยาบาลเบื้องต้นอย่างชุดทำแผล ผ้าก๊อซ แอลกอฮอล์ น้ำเกลือ เพราะหากเกิดอุบัติเหตุขึ้นมาจะได้ทำการปฐมพยาบาลเบื้องต้นได้ เพื่อลดความรุนแรงของอาการก่อนนำตัวส่งโรงพยาบาล และที่สำคัญควรแนะนำให้คนในบ้านทราบเบอร์โทรติดต่อฉุกเฉินของหน่วยงานต่าง ๆ ด้วย
แต่อย่างที่รู้กันว่าเราไม่สามารถคาดเดาได้ว่าอุบัติเหตุจะเกิดกับใคร เมื่อไร ดังนั้น การมีตัวช่วยอย่างการซื้อประกันอุบัติเหตุ ก็จะลดความกังวลเรื่องค่าใช้จ่ายลงได้ เรียกว่าเจ็บตัวแล้ว ก็อย่าให้ต้องเจ็บใจเรื่องภาระค่ารักษาเลย และกรุงศรีก็มีประกันอุบัติเหตุดี ๆ ที่จ่ายเพียงหลักพัน คุ้มครองหลักล้าน อย่าง
กรุงศรีประกันอุบัติเหตุตามใจ พร้อมดูแลคุณและครอบครัว โดยสามารถเลือกความคุ้มครองและเบี้ยประกันได้ตามต้องการ ให้คุณได้ประกันที่ตรงใจ ตอบโจทย์การใช้ชีวิต
จุดเด่นกรุงศรีประกันอุบัติเหตุตามใจ
- ค่าเบี้ยเริ่มต้น 2,480 บาทต่อปี
- คุ้มครองอุบัติเหตุทั่วไปสูงสุด 1,000,000 บาท
- รับค่ารักษาพยาบาลจากอุบัติเหตุต่อครั้ง สูงสุด 100,000 บาท
- เลือกแผนคุ้มครองได้ตามต้องการ
- เลือกซื้อผลประโยชน์เพิ่มเติมได้ตามใจ อาทิ การเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ การชดเชยรายได้ขณะรักษาตัวในโรงพยาบาล หรือการชดเชยภาระหนี้
พิเศษ! รับส่วนลดค่าเบี้ยฯ 15% เมื่อซื้อผ่านช่องทางออนไลน์ของธนาคาร ได้แก่ KMA krungsri app หรือ
www.krungsri.com (1 เม.ย. 67 - 30 มิ.ย. 67)
รู้อย่างนี้แล้วมาเปลี่ยนบ้านให้เป็น "เซฟโซน" ที่แท้จริง พร้อมรับความอุ่นใจจากกรุงศรีประกันอุบัติเหตุตามใจกันเลยนะ
รับประกันภัยโดย บริษัท อลิอันซ์ อยุธยา ประกันภัย จำกัด (มหาชน)
เงื่อนไขไปตามข้อกำหนดในกรมธรรม์
ข้อมูลจาก
กรมควบคุมโรคกระทรวงสาธารณสุข
ข้อมูลจาก
ศูนย์ข้อมูลอุบัติเหตุ Thai RSC
บทความโดย
ปริตา ธิติปรีชาพล
กลุ่มบริการที่ปรึกษาทางการเงินส่วนบุคคล ธนาคารกรุงศรีอยุธยา