เริ่มต้นลงทุนต้องเข้าใจอะไรบ้าง
รอบรู้เรื่องลงทุน
icon-Facebook icon-Twitter icon-line

เริ่มต้นลงทุนต้องเข้าใจอะไรบ้าง

icon-access-time Posted On 12 กันยายน 2558
By Krungsri Guru
การลงทุน ฯลฯ ว่าจริง ๆ แล้วเราควรเข้าใจทฤษฎีง่าย ๆ ก่อนเริ่มลงทุนได้อย่างไรบ้าง? หลายคนอยากรู้ว่าลงทุนอย่างไรจึงจะประสบความสำเร็จ ว่าที่จริงแล้วการลงทุนนั้นไม่มีสูตรตายตัวอย่างที่ใครหลายคนคิดนะครับ เพราะการลงทุนกับสินทรัพย์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการออมที่ขึ้นกับการขึ้นลงของดอกเบี้ยเงินฝาก การลงทุนกับประกันชีวิตที่ปรับเปลี่ยนตามเงื่อนไขของบริษัทประกัน หรือแม้แต่การลงทุนในกองทุนรวมที่ต้องขึ้นกับภาวะเศรษฐกิจ ดังนั้นการลงทุนนั้นไม่มีสูตรตายตัวจริง แต่ก็ไม่ยากอย่างที่คิดครับ
การลงทุน ฯลฯ ว่าจริง ๆ แล้วเราควรเข้าใจทฤษฎีง่าย ๆ ก่อนเริ่มลงทุนได้อย่างไรบ้าง? หลายคนอยากรู้ว่าลงทุนอย่างไรจึงจะประสบความสำเร็จ ว่าที่จริงแล้วการลงทุนนั้นไม่มีสูตรตายตัวอย่างที่ใครหลายคนคิดนะครับ เพราะการลงทุนกับสินทรัพย์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการออมที่ขึ้นกับการขึ้นลงของดอกเบี้ยเงินฝาก การลงทุนกับประกันชีวิตที่ปรับเปลี่ยนตามเงื่อนไขของบริษัทประกัน หรือแม้แต่การลงทุนในกองทุนรวมที่ต้องขึ้นกับภาวะเศรษฐกิจ ดังนั้นการลงทุนนั้นไม่มีสูตรตายตัวจริง แต่ก็ไม่ยากอย่างที่คิดครับ
“มีเงินเก็บเอาไปทำอะไรให้งอกเงยดี”
“อยากลงทุนแต่ไม่รู้จะเริ่มต้นยังไง?”
คำถามเหล่านี้เริ่มมีมากขึ้นเรื่อย ๆ สำหรับคนที่มีเงินเก็บ และอยากทำให้มันงอกเงย บทความนี้มีเคล็ดลับ 4-5 ข้อดี ๆ สำหรับคนที่อยากเริ่มต้นลงทุนมาติดตามกันเลยครับ
1
การลงทุนกับการออมแบบฝากประจำดอกเบี้ยสูง : การลงทุนในรูปแบบนี้ถือเป็นรูปแบบที่ง่ายที่สุด แต่ผลตอบแทนก็อาจจะต่ำที่สุดเช่นกันครับ การออมเงินกับบัญชีฝากประจำ หรือ Money Market นั้นเราสามารถทำได้ง่าย ๆ แค่เลือกหาสถาบันการเงิน หรือธนาคารที่เปิดบัญชีฝากประจำครับ
2
การทำประกันพ่วงออมเงิน : การทำประกันพ่วงเงินออมถือเป็นทางเลือกที่เสี่ยงต่ำ แต่ผลตอบแทนสม่ำเสมอ ตราบเท่าที่เราส่งเงินประกันครบทุกครั้ง = เราได้ออมเงินไว้ใช้ในอีกหลายปีในวันข้างหน้า จุดเด่นของการทำประกันแบบพ่วงเงินออมก็คือ ความสม่ำเสมอ และการสร้างวินัยในการออมเงินให้กับตัวเราเองครับ นอกจากนั้นยังมีสิทธิอื่น ๆ ที่ประกันระบุไว้ให้กับเรา ขึ้นอยู่กับสัญญาที่ทำประกันกับผู้เอาประกัน และบริษัทประกันตกลงร่วมกันครับ... หากใครคิดว่าตัวเองขาดวินัยในการออม การทำประกันพ่วงเงินออม ถือเป็นทางเลือกที่น่าสนใจอย่างยิ่งสำหรับคุณ
3
การลงทุนกับกองทุนรวมเพื่อลดหย่อนภาษี : การลงทุนกับกองทุน SSF นั้นถือเป็นทางเลือกที่ชาญฉลาด และเหมาะสำหรับคนที่อยากลงทุนหุ้น แต่ไม่มีเวลาไปติดตามราคาหุ้นรายวัน เพราะวิธีที่ง่ายกว่าการลงทุนหุ้นด้วยตัวเองก็คือ การลงทุนกับกองทุน SSF และปล่อยให้ทีมงาน ผู้จัดการกองทุนที่มีประสบการณ์สูง มีมุมมองในการลงทุน และข้อมูลที่แน่นกว่าเรามาก ๆ เป็นผู้ดูแลเงินของเราให้งอกเงย... หลักการเลือกกองทุนรวมเพื่อลงทุนก็ไม่ยากอย่างที่คิดครับ เพียงแค่เราดูประวัติย้อนหลังของผลตอบแทนจากการลงทุนในกองทุนรวมนั้น ๆ โดยภาพรวมแล้วหากกองทุนนั้น ๆ ทำผลตอบแทนได้ดีติดต่อกันหลายปี มันสะท้อนให้เห็นถึงความเก่งของผู้จัดการกองทุนนั้น ๆ และผลตอบแทนในอนาคตก็ควรจะดีด้วย แต่ก็ไม่เสมอไปนะครับ... จากประสบการณ์ส่วนตัวของผู้เขียนนั้น กองทุนรวมที่ลงทุนไป 7 ปี เงินต้นงอกขึ้นมา 21-35% = กองทุนรวมสามารถทำผลตอบแทนเฉลี่ย 3-5% ต่อปี หมายความว่าผลตอบแทนจากการลงทุนนั้นดีกว่านำเงินไปฝากธนาคารกินดอกเบี้ยอย่างแน่นอนครับ ลองศึกษากองทุนรวมโดยเฉพาะการลงทุนกับกองทุน SSF ดูนะครับ ทั้งนี้เราจะต้องถือครองเป็นเวลา 10 ปี นับจากวันที่ซื้อ จึงจะขายคืนหน่วยลงทุนได้ โดยไม่เสียสิทธิประโยชน์ทางภาษี หากเราไม่ค่อยมีความรู้เรื่องการลงทุนหุ้น การเลือกลงทุนหุ้นผ่านกองทุนรวมถือเป็นทางเลือกที่ชาญฉลาดอย่างแน่นอนที่สุด โดยสามารถเลือกธีมในการลงทุนและความเสี่ยงตามที่เราต้องการได้
4
การลงทุนในหุ้น : สำหรับแนวการลงทุนสุดท้ายที่ผู้เขียนขอแนะนำก็คือ “การลงทุนในหุ้น” แม้จะรู้สึกว่าการลงทุนแบบนี้มันไม่ง่าย แต่ความเป็นจริงแล้วเราสามารถทำให้มันง่ายขึ้นได้ด้วยการลงทุนระยะยาว... ด้วยหลักการที่ว่า... ในระยะยาวแล้วผลตอบแทนจากการลงทุนจะแปรผันตรงกับผลกำไรที่บริษัทจดทะเบียนในตลาดหุ้นสามารถทำได้เสมอครับ ทำให้การลงทุนในหุ้นนั้นเป็นเรื่องที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง วิธีการที่ง่ายที่สุดก็คือ เลือกหุ้นที่แข็งแกร่ง และเติบโตเรื่อย ๆ การเติบโตนั้นไม่ควรต่ำกว่า GDP ของประเทศ หรือเทียบเท่าเป็นอย่างน้อย และยิ่งโตเร็วกว่า GDP ยิ่งดีครับ! กลยุทธ์การลงทุนอย่างง่ายก็คือ “ซื้อและถือ” เพราะกิจการที่ดีมีการเติบโตนั้นยิ่งเราถือนาน มูลค่าของหุ้นก็จะขึ้นไปเรื่อย ๆ ตามกาลเวลาที่ผ่านไปครับ... ถือหุ้นทิ้งไว้อย่างน้อย 3 ปี หรือถือได้นาน 5-10 ปี รับรองได้เลยว่าคุณจะเห็นความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างแน่นอน
แนวคิดการลงทุนที่แนะนำข้างต้นนั้นขึ้นอยู่กับความถนัดของแต่ละบุคคล หากเราคิดว่าเรารับความเสี่ยงได้ต่ำ ก็ควรเลือกการออมที่รักษาเงินต้นได้ 100% แต่หากเรารับความเสี่ยงได้สูงขึ้น เราสามารถเลือกแนวทางการลงทุนที่ได้รับผลตอบแทนได้มากขึ้นตามระดับความเสี่ยงที่เรารับได้
pym logo
ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง
บทความที่เกี่ยวข้อง
พิมพ์สิ่งที่ต้องการค้นหา