ทำไม “Warren Buffett” มองว่า Passive Investment เป็นสุดยอดการลงทุน
รอบรู้เรื่องลงทุน
icon-Facebook icon-Twitter icon-line

ทำไม “Warren Buffett” มองว่า Passive Investment เป็นสุดยอดการลงทุน

icon-access-time Posted On 09 ธันวาคม 2563
By Krungsri the COACH
สำหรับใครที่อยากเริ่มต้นศึกษาและลงทุน ‘กองทุนรวม’ นอกจากที่เราจะต้องเลือกให้ได้ก่อนว่า เราต้องการลงทุนในสินทรัพย์อะไร เพื่อสอดคล้องกับความเสี่ยงที่เราสามารถรับได้แล้ว อีกเรื่องที่ทุกคนสนใจ คือ ความแตกต่างระหว่าง ‘Active Fund’ และ ‘Passive Fund’ ซึ่งความแตกต่างระหว่างกองทุนรวม 2 ประเภทนี้ คือ ‘จุดมุ่งหมายในการลงทุน’
สำหรับใครที่อยากเริ่มต้นศึกษาและลงทุน กองทุนรวม นอกจากที่เราจะต้องเลือกให้ได้ก่อนว่า เราต้องการลงทุนในสินทรัพย์อะไร เพื่อสอดคล้องกับความเสี่ยงที่เราสามารถรับได้แล้ว อีกเรื่องที่ทุกคนสนใจ คือ ความแตกต่างระหว่าง ‘Active Fund’ และ ‘Passive Fund’ ซึ่งความแตกต่างระหว่างกองทุนรวม 2 ประเภทนี้ คือ ‘จุดมุ่งหมายในการลงทุน’

Active Fund

จะมีจุดมุ่งหมายการลงทุนเพื่อเอาชนะดัชนีชี้วัดที่กองทุนถือเป็นมาตรฐานการดำเนินงาน (Benchmark) อย่างเช่น เราเลือกลงทุนใน ‘กองทุนรวมตราสารทุนไทย’ เป้าหมายของกองทุนรวมก็จะพยายามทำ ‘ผลตอบแทน’ ให้ได้มากกว่า ดัชนี SET TRI ที่ถือว่าเป็น Benchmark ของกองทุน ซึ่ง Active Fund ที่ดีจะสามารถทำผลตอบแทนได้มากกว่า Benchmark ยิ่งสูงมากเท่าไหร่ยิ่งดี และถ้าหากทำได้ในระยะยาวด้วยก็จะถือว่าเป็น Active Fund ชั้นยอด
ไขข้อข้องใจ กอบทุนแบบ ACTIVE

Passive Fund

จะมีความแตกต่างกับ Active Fund ตรงที่จุดมุ่งหมายการลงทุน เพราะ เป็นการลงทุนพยายามให้ผลตอบแทนใกล้เคียงหรือเหมือนกับเกณฑ์มาตรฐาน หรือ ที่เรียกว่า Benchmark มากที่สุด ดังนั้น Passive Fund จึงมีโอกาสที่ผลตอบแทนอาจจะทำได้สูงหรือต่ำกว่า Benchmark ได้ เนื่องจาก สินทรัพย์ที่ลงทุนอยู่ในกองทุนอาจมีการจ่ายเงินปันผล ผลกำไร-ขาดทุน จากอัตราแลกเปลี่ยน และหรือความเสี่ยงอื่นๆที่อาจเกิดขึ้น
ไขข้อข้องใจ กองทุนแบบ PASSIVE
สำหรับใครที่กำลังชั่งใจอยู่ว่าจะเลือกลงทุนกับกองทุนรวมประเภท Active Fund หรือว่า Passive Fund ดีกว่ากัน อยากให้ลองมาฟังความคิดเห็นของนักลงทุนคนหนึ่งที่ถือว่าเป็นต้นแบบการลงทุนรูปแบบ Value Investor (VI) ของโลกเลยก็คือ Warren Buffet หรือคนไทยเราจะเรียกกันว่า ‘ปู่วอร์เรน’

ปู่วอร์เรนนำเสนอไว้อย่างน่าสนใจว่า “ไม่มีนักลงทุนคนไหนที่สามารถเอาชนะตลาดได้ในระยะยาว” และสิ่งที่เป็นศัตรูของนักลงทุนมากที่สุดก็คือ ‘ค่าใช้จ่าย’ และ ‘อารมณ์’ เมื่อเห็นไอเดียในการนำเสนอของปู่วอร์เรน ทุกคนจะเข้าใจได้โดยทันทีว่า ปู่วอร์เรนชื่นชอบและแนะนำให้ลงทุนแบบ Passive เรามาดูกันดีกว่าเหตุผลที่อยู่เบื้องหลังที่ปู่วอร์เรนนำเสนอไว้คืออะไรกันแน่

“Active Fund” ที่ดีจะต้องทำผลทำผลตอบแทนได้มากกว่าดัชนีหรือตลาด และที่สำคัญต้องทำให้ได้ในระยะยาว การทำกำไรมากกว่าตลาดในระยะสั้นเป็นเรื่องที่ทุกคนสามารถทำได้ แต่การทำได้อย่างต่อเนื่องในระยะยาวเป็นเรื่องที่ยากมาก โดยเฉพาะตลาดหุ้นที่มีขนาดใหญ่อย่างตลาดหุ้นอเมริกา ที่มีนักลงทุนหลายล้านคนและมีเม็ดเงินจำนวนมหาศาล รวมถึงในปัจจุบันนักลงทุนทุกคนก็แทบจะเข้าถึงข้อมูลกันหมดอย่างเท่าเทียมแล้ว หรือในทางทฤษฎีเราจะเรียกว่าตลาดที่มีประสิทธิภาพ (Efficient Market) ที่จะไม่สามารถทำกำไรจากข้อมูลข่าวสารที่มากกว่าคนอื่นได้

แต่สิ่งที่ทำให้นักลงทุนที่ประสบความสำเร็จและล้มเหลว แตกต่างกันก็คือเรื่องของ ‘อารมณ์ นักลงทุนส่วนใหญ่มักจะคิดว่าตัวเองเก่ง ฉลาด สามารถเอาชนะตลาดได้ ทำให้เกิดการซื้อขายอย่างต่อเนื่อง

และเรื่องของ ‘อารมณ์’ เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่มีส่วนทำให้นักลงทุนส่วนใหญ่ขาดทุน ถ้าใครที่เคยผ่านประสบการณ์ลงทุนมาบ้างแล้ว จะต้องเคยทำแบบนี้แน่นอน ไม่ว่าจะเป็น ซื้อหุ้นตามเพื่อน มั่นในใจการลงทุนจนเทหมดหน้าตักลงไปในหุ้นไม่กี่ตัว ไม่กล้าซื้อตอนหุ้นที่ดีปรับตัวลงมาแรง หรือไม่กล้าตัดขาดทุนเมื่อหุ้นลงมาถึงจุดที่เรากำหนดตัดขาดทุนไว้

ทั้งหมดนี้เป็นเรื่องของ ‘อารมณ์’ ด้วยกันทั้งสิ้นที่ทำให้นักลงทุนไม่มีวินัยในการลงทุนและพ่ายแพ้ต่อตลาดไปในที่สุด และเรื่อง ‘อารมณ์’ เป็นสิ่งที่ทำให้ตลาดการลงทุนมีการปรับตัวขึ้นลงอย่างต่อเนื่อง เพราะถ้านักลงทุนทุกคนไม่มีอารมณ์เข้ามาร่วมกับการลงทุนเราน่าจะเห็น ‘เส้นราคา’ ของดัชนีทุกตัวบนโลกปรับเพิ่มขึ้นเป็นเส้นตรงที่มีความชันเล็กน้อยอย่างแน่นอน
กองทุนแบบ ACTIVE VS PASSIVE แบบไหนดีกว่ากัน
ด้วยเหตุผลเหล่านี้ ทำให้ Warren Buffet มองว่าการลงทุนแบบ Active จึงไม่ใช่ทางออกที่ดีเพราะว่ากองทุนประเภทพยายามเอาชนะตลาดและยังมีค่าใช้จ่าย (Fee) ในการลงทุนที่สูงกว่ากองทุนแบบ Passive Fund ซึ่งอาจจะทำให้เราได้ผลตอบแทนที่ดีในบางช่วงเวลา แต่ไม่ใช่สำหรับการลงทุนระยะยาวแน่นอน

มาถึงตรงนี้ต้องบอกก่อนว่า หลักการที่ Warren Buffet พูดมาทั้งหมดอยู่ภายใต้เงื่อนไขที่ ตลาดหุ้นเป็นตลาดที่มีประสิทธิภาพ (Efficient Market) มีผู้เล่นมากรายและผู้เล่นทุกคนเข้าถึงข้อมูลได้เท่าเทียมกัน แต่ถ้ามองย้อนมาสำหรับ ‘ตลาดหุ้นไทย’ ที่มีขนาดเล็กและมีผู้เล่นน้อยรายกว่ามากแล้ว จากสถิติค่อนข้างชัดเจนว่ายังมี Active Fund ที่ยังสามารถทำผลตอบแทนที่มากกว่าตลาดได้อยู่ ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ขึ้นอยู่กับความชอบและความถนัดของแต่ละบุคคลแล้วว่าอยากลงทุนและเหมาะกับการลงทุนประเภทไหนมากกว่ากัน
วางแผนการลงทุนในแบบฉบับของคุณ คลิกเลย
pym logo
ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง
บทความที่เกี่ยวข้อง
พิมพ์สิ่งที่ต้องการค้นหา