ในช่วงปี 2023 ถือว่าเป็นปีที่มีเหตุการณ์ต่าง ๆ เกิดขึ้นมากมาย รวมไปถึงพฤติกรรมของผู้บริโภค และพฤติกรรมการใช้ชีวิตของหลาย ๆ คน ก็มีการเปลี่ยนแปลงไปด้วยเช่นกัน ทำให้ธุรกิจหลากหลายประเภทเกิดการแข่งขันสูงมากยิ่งขึ้น หากใครที่กำลังหาแนวทางเปิดโอกาสสร้างรายได้ให้กับตัวเอง บทความนี้จะพาทุกคนไปดู 5 เทรนด์ธุรกิจมาแรงในช่วงครึ่งหลังปี 2023 กัน จะมีธุรกิจประเภทไหนน่าสนใจบ้างตามไปอ่านพร้อมกันได้เลย
การระบาดของโรค COVID-19 ได้ส่งผลให้พฤติกรรมของผู้บริโภค และการใช้ชีวิตเป็นอย่างมาก หลัก ๆ ที่เห็นได้ชัด คือ การเพิ่มขึ้นของการชอปออนไลน์ และการให้ความสำคัญกับเรื่องสุขภาพ ความปลอดภัย เป็นอย่างมาก นอกจากนี้ผู้บริโภคยังให้ความสำคัญกับผลิตภัณฑ์ที่มาจากธรรมชาติ และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพิ่มมากขึ้น ดังนั้นธุรกิจต้องปรับกลยุทธ์ให้สอดคล้องกับความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไป ในยุคหลังโรคระบาดนี้ด้วย
จากบทความของ TCDC ได้ระบุถึงข้อมูลวิจัยจาก McKinsey พบว่า ผู้บริโภคชาวเอเชีย ยังเป็นกลุ่ม S-Curve ที่เติบโต มีแนวโน้มต้องการเป็นเจ้าของธุรกิจมากกว่าเดิมในอนาคต ผู้บริโภคกลุ่มนี้คุ้นเคยกับความสะดวกสบายในการสั่งซื้อสินค้า เพียงกดคลิก และชอปปิ้งผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ต่าง ๆ
โดยในระยะสั้นความต้องการใช้จ่ายส่วนใหญ่จะอยู่ที่กลุ่มผลิตภัณฑ์ที่สร้างความสุขให้ตัวเอง เพื่อต่อสู้กับความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจ และสังคมในปัจจุบัน นอกจากนี้พฤติกรรมผู้บริโภคมักจะเน้นได้ของก่อนจ่ายทีหลัง หรือเป็นจ่ายเงินผ่อน เพราะจะทำให้รู้สึกว่าไม่ได้ใช้เงินมากเกินไป
ที่มา :
article.tcdc.or.th
มาดูกันว่า 9 ธุรกิจที่น่าลงทุนในช่วงครึ่งหลังปี 2023 มีธุรกิจอะไรบ้าง?
1. ธุรกิจด้านความสวยความงาม
ธุรกิจความสวยความงาม นับว่าเป็นธุรกิจที่ได้รับการตอบรับดีเสมอมาตั้งแต่ช่วงก่อนโควิดจนถึงปัจจุบัน ยังคงเป็นดาวเด่นสำหรับผู้บริโภคทั้งผู้หญิง และผู้ชายที่ให้ความสนใจ ใส่ใจ ดูแลตัวเองด้านนี้ ไม่ว่าจะเป็นผลิตภัณฑ์ Skincare ไว้สำหรับดูแลตัวเองที่บ้าน หรือไปตามคลินิกเสริมความงาม คลินิกศัลยกรรม สปานวดหน้า กระชับผิวต่าง ๆ เพราะเหตุนี้จึงทำให้ธุรกิจด้านสุขภาพ และความงามเติบโต และก้าวกระโดดมากขึ้นเรื่อย ๆ จึงเป็นธุรกิจที่น่าลงทุนอีกธุรกิจหนึ่ง
2. ธุรกิจด้านอาหาร และเครื่องดื่ม
เรื่องอาหารยังคงเป็นปัจจัย 4 ที่จำเป็นต่อเราทุกคน จะเห็นได้ว่าแม้
ช่วงโควิด-19 ธุรกิจอาหาร และเครื่องดื่มก็ยังคงเป็นสิ่งจำเป็นที่ผู้คนจับจ่าย เพียงแต่เปลี่ยนรูปแบบมาใช้บริการ Delivery มากขึ้น เพราะฉะนั้นธุรกิจอาหาร และเครื่องดื่ม รวมทั้งธุรกิจขนส่งอาหาร ธุรกิจนำเข้าอาหาร ยังคงเป็นธุรกิจที่มาแรง มีผู้ประกอบการเข้ามาในธุรกิจนี้ตลอดเวลา นอกจากนี้ด้วยเทรนด์รักสุขภาพที่กำลังมาแรง อาหาร และเครื่องดื่มที่เน้นสุขภาพ จึงมีแนวโน้มเติบโตได้ดีด้วยเช่นเดียวกัน
3. ธุรกิจเกี่ยวกับการออกกำลังกาย
แม้ว่าในช่วงโควิด-19 ที่ผ่านมา เราจะไม่สามารถเข้าฟิตเนสได้ เนื่องจากมาตรการการควบคุมของรัฐ แต่จะเห็นได้ว่าคนยังชื่นชอบและให้ความสำคัญกับการออกกำลังกายอยู่ บางยังคงเล่นเวทเทรนนิ่งที่บ้าน เรียนคลาสโยคะออนไลน์ หรือบางคนถึงกับซื้ออุปกรณ์กีฬาต่าง ๆ ไว้เล่นในบ้าน เพราะการออกกำลังกายยังคงเป็นสิ่งจำเป็น นอกจากนี้ในช่วงหลังโควิด บางคนน้ำหนักขึ้นเนื่องจาก Work From Home ก็อยากที่จะกลับมาฟิตหุ่นให้เฟิร์มอีกครั้ง ดังนั้นจะเห็นได้ว่าช่วงนี้ คลาสเรียนต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับสุขภาพไม่ว่าจะเป็นออนไลน์ หรือคลาสจริงในฟิตเนสกลับมาคึกคักเป็นอย่างมาก
นอกจากนี้ธุรกิจให้คำปรึกษาในเรื่องการดูแลสุขภาพ ดูแลรูปร่างตัวเอง ตลอดจนด้านโภชนาการ ก็มีแนวโน้มที่ดี เพราะผู้คนให้ความใส่ใจในการดูแลสุขภาพของตัวเองแบบองค์รวมมากขึ้นเรื่อย ๆ
4. ธุรกิจด้านแฟรนไชส์
แนวโน้มธุรกิจแฟรนไชส์ค่อนข้างจะมีอนาคตสดใส โดยมีปัจจัยมาจากสภาวะเศรษฐกิจของไทยเริ่มฟื้นตัวขึ้นมา โดยเจ้าของธุรกิจส่วนใหญ่อยากจะขายแฟรนไชส์ เนื่องจากช่วยให้กิจการสามารถขยายตัวได้อย่างรวดเร็ว มี Economy of Scale หากมีแฟรนไชส์จำนวนมาก ก็สามารถที่จะต่อรองกับ Supplier ต้นทุนจะยิ่งต่ำลง รวมทั้งมีผลกำไรมากขึ้นจากการขยายตัวของแฟรนไชส์ ส่วนในฝั่งผู้ซื้อแฟรนไชส์ก็อยากมีธุรกิจเป็นตัวเอง แต่ไม่อยากเสียเวลาในการสร้างธุรกิจ ไม่ต้องลองผิดลองถูก เพื่อพัฒนาสินค้า และปั้นแบรนด์ใหม่ในตลาดที่การแข่งขันสูงให้เหนื่อย
5. ธุรกิจการผลิตบรรจุภัณฑ์สินค้า
รูปแบบของธุรกิจผลิตบรรจุภัณฑ์สินค้า ยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง จากสถานการณ์โควิด-19 ทำให้ตลาดการผลิตเพิ่มขึ้นเนื่องจากผู้บริโภคมีการสั่งซื้อสินค้า และบริการทางออนไลน์มากขึ้น และยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง เนื่องจากผู้บริโภคได้คุ้นเคยในการสั่งซื้อของทางออนไลน์แล้ว นอกจากนี้เทรนด์ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมได้เพิ่มสูงขึ้น ผลิตบรรจุภัณฑ์สินค้าที่สามารถนำกลับมาใช้ซ้ำ (Reuse) และสามารถนำไปผลิตแล้วกลับมาใช้ใหม่ได้ (Recycle) จึงได้รับความนิยม มีแนวโน้มที่ดี สดใสมากขึ้นเช่นเดียวกัน
6. ธุรกิจเทคโนโลยี
แน่นอนว่ากลุ่มนี้ได้รับผลกระทบจากวิกฤติโควิดชัดเจนที่สุด ตั้งแต่การที่ให้พนักงาน Work From Home การประชุมผ่านระบบออนไลน์ และแม้แต่ช่วงหลังวิกฤติเศรษฐกิจจะยิ่งทำให้ธุรกิจให้ความสำคัญเรื่องลดต้นทุน เพิ่มประสิทธิภาพ และลด หรือบริหารความเสี่ยงที่ไม่คาดคิด เช่น การใช้หุ่นยนต์แทนมนุษย์ ซึ่งเป็นการปรับเปลี่ยนโครงสร้างธุรกิจให้ใช้เทคโนโลยีมากขึ้น (Digital Transformation)
7. ธุรกิจด้านนวัตกรรมการแพทย์ และไบโอเทคโนโลยี
กลุ่มความสวยความงามที่มาแรง ผลิตภัณฑ์ที่เน้นเกี่ยวกับการชะลอวัยมีแนวโน้มที่ดีอย่างต่อเนื่อง ทำให้
ผู้ผลิตคิดค้นนวัตกรรมใหม่ ๆ เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าออกมาอย่างสม่ำเสมอ รวมทั้งธุรกิจนวัตกรรมการแพทย์อย่าง “ไบโอเทคโนโลยี” เช่น การคิดค้นนวัตกรรม และผลิตยารักษามะเร็ง ซึ่งผู้คนมีความต้องการยาเหล่านี้มากขึ้น ในอนาคตก็มีโอกาสเติบโตอีกมาก
8. ธุรกิจอีคอมเมิร์ซ
จากพฤติกรรมการปรับตัวของผู้บริโภคที่หันมาซื้อของออนไลน์ หรือผ่านทางแอปพลิเคชัน ทำให้ธุรกิจอีคอมเมิร์ซทั่วโลกขยายตัวอย่างต่อเนื่อง และสามารถลงทุนต่อเนื่องได้ในระยะยาว เพราะคนคุ้นชินกับการจับจ่ายซื้อของออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็นเด็ก ผู้ใหญ่ หรือแม้แต่ผู้สูงอายุ สะท้อน
การขยายตัวของธุรกิจค้าปลีกออนไลน์ และยังส่งเสริมให้ธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องได้รับประโยชน์ไปด้วย ได้แก่ ธุรกิจคลังสินค้า ธุรกิจบรรจุภัณฑ์ ธุรกิจขนส่ง รวมถึงโฆษณาออนไลน์
9. ธุรกิจที่ชูเรื่องเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รักษ์โลก
เราได้เห็นภัยพิบัติทางธรรมชาติเกิดขึ้นถี่มากขึ้นกว่าเมื่อก่อน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องขยะพลาสติกล้นเมือง ไฟป่า ความแห้งแล้ง หรือแม้กระทั่งฝุ่น PM 2.5 ก็เกิดจากการใช้ทรัพยากรธรรมชาติเกินความจำเป็น จนธรรมชาติไม่สมดุล ทำให้เกิดเป็นภัยพิบัติทางธรรมชาติ ซึ่งในปัจจุบันคนเริ่มตื่นตัว และตระหนักในเรื่องนี้เพิ่มมากขึ้น
ดังนั้นหากธุรกิจไหนที่หันมาใส่ใจในเรื่องนี้มักจะได้รับความนิยม และได้รับการสนับสนุนจากผู้บริโภค โดยจากผลการวิจัยทางการตลาดของวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล (CMMU) พบว่า ผู้บริโภค 74% พร้อมที่จะเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในทุก Gen ตั้งแต่ Baby Boomer, Gen X, Gen Y ไปจนถึง Gen Z
จัดพอร์ตการลงทุนตามเทรนด์อย่างไรให้เหมาะกับตัวเอง ?
เมื่อเรารู้เทรนด์ธุรกิจที่มีแนวโน้มเติบโตแล้ว จะทำให้เราคาดการณ์ได้ว่าสินทรัพย์การลงทุนใดที่น่าสนใจ เมื่อพฤติกรรมของผู้บริโภคไม่เหมือนเดิม โดยเราอาจเน้นลงทุนใน “กองทุนรวม” เนื่องจากมีธีมการลงทุนที่หลากหลาย และมีตัวเลือกมากมาย ลงทุนในหลายอุตสาหกรรม
หากใครเลือกที่จะลงทุนตามเทรนด์อย่าลืมว่าต้องมีพอร์ตการลงทุนที่ดีมี
การทำ Asset Allocation กำหนดรูปแบบการลงทุนให้เหมาะกับความเสี่ยงที่เรายอมรับได้ ว่าเราควรจะลงทุนในสินทรัพย์อะไรบ้าง? ในสัดส่วนอย่างละเท่าไหร่? เพราะจะช่วยเราสร้างโอกาสในการลงทุน พร้อมกับการกระจายความเสี่ยงไปในตัวด้วย
ตัวอย่าง เรารับความเสี่ยงได้ปานกลาง อาจจะจัดพอร์ตการลงทุนพอร์ตเสี่ยงปานกลาง (Moderate) โดยแบ่งเป็นเงินฝาก หรือกองทุนรวมตลาดเงิน 20% ตราสารหนี้ 30% และตราสารทุน 50% (กองทุนรวมหุ้น และหุ้น) ตามตารางด้านล่าง ซึ่งจะเห็นได้ว่ามีการทำ Asset Allocation และภายในสินทรัพย์เดียวกัน เช่น ตราสารทุน เราก็กระจายไปยังกองทุนรวมหุ้น, หุ้น ซึ่งอาจจะเป็นอุตสาหกรรมที่มาแรง แนวโน้มเติบโต ที่ได้เล่าไปในข้างต้น
(ที่มา
setinvestnow.com)
ดังนั้นการแบ่งเงินไปลงทุนในสินทรัพย์หลาย ๆ ประเภทที่สอดคล้องกับเป้าหมายการลงทุนตามความเสี่ยงที่นักลงทุนยอมรับได้ เป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยให้การลงทุนเราประสบความสำเร็จ