มนุษย์เงินเดือนอย่างเรา เก็บเงินเล่นหุ้นดีไหมนะ
รอบรู้เรื่องลงทุน
icon-Facebook icon-Twitter icon-line

มนุษย์เงินเดือนอย่างเรา เก็บเงินเล่นหุ้นดีไหมนะ

icon-access-time Posted On 10 ตุลาคม 2559
By อภินิหารเงินออม
เชื่อว่าหลายคนน่าจะเคยอ่านกระทู้ที่แชร์เกี่ยวกับนักลงทุนหุ้นที่ประสบความสำเร็จ มีเงินลงทุนเติบโตหลายล้านบาทและรับรายได้จากเงินปันผลอย่างสม่ำเสมอ มันเป็นตัวจุดประกายว่า “อยากให้เงินปันผลจากหุ้นเป็นรายได้ทางที่สองของเรา” แต่พออ่านกระทู้ดูกลยุทธ์การลงทุนของเขาก็ได้แต่ถอนหายใจ แล้วคิดว่า เอาไว้เก็บเงินได้มากกว่านี้ก่อน แล้วค่อยเริ่มลงทุน
เชื่อว่าหลายคนน่าจะเคยอ่านกระทู้ที่แชร์เกี่ยวกับนักลงทุนหุ้นที่ประสบความสำเร็จ มีเงินลงทุนเติบโตหลายล้านบาทและรับรายได้จากเงินปันผลอย่างสม่ำเสมอ มันเป็นตัวจุดประกายว่า “อยากให้เงินปันผลจากหุ้นเป็นรายได้ทางที่สองของเรา” แต่พออ่านกระทู้ดูกลยุทธ์การลงทุนของเขาก็ได้แต่ถอนหายใจ แล้วคิดว่า เอาไว้เก็บเงินได้มากกว่านี้ก่อน แล้วค่อยเริ่มลงทุน
ผ่านไปสักพักก็จะเริ่มมีกระทู้ดราม่าเกี่ยวกับการลงทุนหุ้นด้วยภาพพอร์ตการลงทุนติดลบเกือบล้าน พร้อมกับขอคำแนะนำจากคนอื่น ๆ ว่า ควรแก้ไขพอร์ตนี้อย่างไร เห็นตัวเลขขาดทุนแล้วเราหวั่นไหว จนทำให้เรารู้สึกว่า การเล่นหุ้นมันน่ากลัว มันไม่มีอะไรแน่นอนเลยจริง ๆ แล้วคิดว่า มนุษย์เงินเดือนอย่างเราคงไม่เหมาะกับการลงทุนหุ้นแล้วล่ะ
ส่วนตัวมองว่า "การลงทุนหุ้น" เหมือนกับการรู้จักวิธีการใช้มีดว่าควรจับอย่างไร ถึงจะสร้างประโยชน์กับตัวเองและไม่ถูกมีดบาด ขออนุญาตแชร์ประสบการณ์ของผู้เขียนที่ลงทุนหุ้น เพื่อเป็นแนวทางให้กับมนุษย์เงินเดือนที่กำลังเริ่มลงทุนหุ้น
 

4 เรื่องที่ควรรู้เกี่ยวก่อนเริ่มลงทุนหุ้น


1. ควรศึกษาเรื่องหุ้นตั้งแต่ยังไม่มีเงิน

ความรู้ฟรีมีอยู่มากมายในโลกออนไลน์ เราหาอ่านได้ตลอดเวลา ถ้าจะให้ดีเราควรเริ่มศึกษาเรื่องการลงทุนตั้งแต่ยังไม่มีเงินลงทุน เพราะจะทำให้เรามีสมาธิกับการศึกษาเรื่องการลงทุนได้อย่างเต็มที่ ไม่วอกแวกไปกับข่าวสารและอารมณ์ของคนรอบข้าง รวมถึงฝึกซ้อมเกมเล่นหุ้นเสมือนจริง จนเข้าใจลักษณะการเคลื่อนไหวของหุ้นที่เราเล็งไว้ รวมถึงอารมณ์ของนักลงทุนในตลาดอีกด้วย เมื่อความรู้พร้อมฝึกฝนจนชำนาญแล้ว เดี๋ยววิธีหาเงินลงทุนก็จะมาเอง
วิธีศึกษาหุ้นในช่วงไม่มีเงิน มันจะทำให้เราลงทุนหุ้นได้ดีกว่าช่วงที่เงินพร้อมแล้วค่อยศึกษาเรื่องการลงทุน เพราะช่วงมีเงินลงทุนเราจะเกิดความรู้สึกอยากลองของจริง เมื่อมีข่าวหุ้นขึ้นเรากลัวตกรถจึงรีบซื้อ พอหุ้นตกหนักกลัวเงินหายจึงรีบขาย พอขายปุ๊บหุ้นเด้งขึ้นทันที นอกจากขาดทุนหนักแล้ว ยังเจ็บใจเพราะคำว่า “รู้งี้” อีกด้วย (เช่น รู้งี้ไม่น่ารีบขายเลย)

2. เลือกวิธีการลงทุนที่เหมาะสมกับตนเอง

“รู้อะไรไม่สู้ รู้ใจตัวเอง” เราอาจจะเคยอ่าน เคยฟัง เคยเข้าคอร์สสูตรสำเร็จการลงทุนต่าง ๆ มากมาย เพื่อจะได้ซึมซับความสำเร็จและเป็นอย่างเขาบ้าง เราทำตามอย่างที่เขาบอกเป๊ะ ๆ แต่ทำไมผลลัพธ์ออกมาต่างกัน บางครั้งแย่กว่าที่คิดไว้อีกด้วย ซึ่งสูตรสำเร็จการลงทุนไม่มีจริง เราควรศึกษาการลงทุน แล้วควรปรับให้เข้ากับแนวทางของตนเอง
ตัวอย่าง เรารู้สึกว่าตัวเองกลัวความผันผวนมาก ๆ คิดว่าจะลงทุนหุ้นพื้นฐานดี ๆ รอรับเงินปันผลอย่างสม่ำเสมอ ในะระยะยาว ระหว่างรอหุ้นที่เล็งไว้ราคาลดลง เราก็เห็นหุ้นตัวหนึ่งราคาขึ้นทุกวัน ๆ 3 วันเกินกว่า 30% ก็รู้สึกสนใจแล้วคิดว่าวันต่อไปน่าจะขึ้นต่อจึงซื้อเก็บไว้ หลังจากนั้นราคาหุ้นก็ลดลงมาเรื่อย ๆ จนขาดทุนเกินกว่า 50%
จากตอนแรกคิดว่าตัวเองเป็นนักลงทุนถือหุ้นระยะยาวตามหลักการที่ศึกษามาเป๊ะ ๆ แต่พอเจออารมณ์ของตลาดหุ้นหลอมรวมกับความโลภ ก็กลายร่างจากนักลงทุนระยะยาวเป็นนักเก็งกำไรระยะสั้น ซึ่งทั้งสองรูปแบบนี้มีวิธีการลงทุนที่แตกต่างกัน เพราะแนวทางการเก็งกำไรนั้นจะต้องมีวินัยในการ “ขายตัดขาดทุน” เพื่อรักษาเงินต้นไว้ มากกว่าการทนถือขาดทุนไปเรื่อย ๆ
ดังนั้น เราควรทำความเข้าใจตนเองก่อนว่าเป็นนักลงทุนระยะยาว หรือนักเก็งกำไรระยะสั้น เพื่อจะได้เลือกวิธีในการลงทุนได้อย่างเหมาะสมนะคะ

3. ไม่กู้ยืมเงินมาลงทุน

หลายคนอาจจะรู้สึกว่าการลงทุนโดยไม่ใช้เงินตัวเองแบบจับเสือมือเปล่านี่มันดีจริง ๆ สมมติว่า กู้ยืมเงินมาลงทุน เสียอัตราดอกเบี้ย 5% เมื่อนำไปลงทุนได้ผลตอบแทนกลับมา 9% เท่ากับว่าเราได้ผลตอบแทนแบบสบาย ๆ 4% โดยใช้เงินคนอื่น ไม่มีจริง เราควรศึกษาการลงทุน แล้วควรปรับให้เข้ากับแนวทางของตนเอง
เหรียญมีสองด้าน การลงทุนก็เช่นกันซึ่งมีทั้งได้กำไรและขาดทุน เราควรวางแผนทางออกฉุกเฉินไว้ด้วย ถ้าผลตอบแทนมันไม่เป็นอย่างที่เราคิดไว้ เช่น ได้ผลตอบแทนกลับมาแค่ 2% หรืออาจจะขาดทุน มันก็เท่ากับว่าเราจะต้องเป็นหนี้และเสียดอกเบี้ยเงินกู้ยืม 3-5% เลยนะคะ ถ้านำเงินร้อนจากการกู้ยืมมาลงทุน จิตใจเราก็จะว้าวุ่น ทำให้ผิดไปจากแผนการลงทุนที่วางไว้ รวมถึงเกิดปัญหาหนี้สินตามมาทีหลังด้วยนะคะ

4. 1,000 บาทก็เริ่มลงทุนหุ้นได้

สำหรับมือใหม่มีเงินลงทุนน้อยและต้องการเริ่มลงทุนหุ้น ทางเลือกในปัจจุบันมีมากขึ้น เช่น
  • ถ้าเราไม่มีเวลาติดตามข่าวสารหุ้นเอง ยังไม่ชำนาญในการเลือกหุ้นรายตัว การเริ่มต้นที่ “กองทุนรวมหุ้น” เป็นทางเลือกที่ดีเพราะจะมีผู้เชี่ยวชาญมาดูแลการลงทุนให้เรา
  • การออมหุ้นรายเดือน ซึ่งทางโบรกเกอร์จะช่วยคัดกรองหุ้นจากหลายร้อยตัวเหลือเพียงไม่กี่สิบตัว ที่มีพื้นฐานดีมาให้เลือกสะสม เราจะได้ไม่ต้องไปเสียเวลาเลือกเอง
มนุษย์เงินเดือนที่ต้องการสร้างความมั่งคั่งระยะยาวด้วยการลงทุนหุ้นนั้น เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจ ควรแบ่งเงินบางส่วนเพื่อมาลงทุน โดยเริ่มศึกษาตั้งแต่ยังไม่มีเงิน เลือกวิธีการลงทุนที่เหมาะสมกับตนเอง ไม่กู้ยืมเงินมาลงทุนและสร้างความมั่งคั่งได้ด้วยเงินหลักพันเท่านั้น
pym logo
ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง
บทความที่เกี่ยวข้อง
พิมพ์สิ่งที่ต้องการค้นหา