คำว่า "เงินเฟ้อ" เชื่อว่าหลาย ๆ คนน่าจะเคยได้ยินกันจนคุ้นหูมากันอย่างแน่นอน ซึ่งเงินเฟ้อก็คือสภาวะที่ทำให้ราคาสินค้าและสินค้าปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นหรือถ้าแปลแบบง่าย ๆ ก็คือข้าวของต่าง ๆ จะมีราคาที่สูงขึ้น เคยสงสัยกันมั้ยว่า เงินเฟ้อที่จริงแล้วเกิดจากอะไรกันแน่?
เงินเฟ้อเกิดจาก “อุปสงค์” และ “อุปทาน” ที่เปลี่ยนแปลงไป
โดยทั่วไปเงินเฟ้อจะเกิดจากปัจจัยด้าน “อุปสงค์ (Demand)” หรือความต้องการซื้อที่เพิ่มสูงขึ้น เมื่อรายได้ปรับเพิ่มขึ้นทำให้คนมีเงินในมือมากขึ้น (เงินในระบบเศรษฐกิจมากขึ้น) ส่งผลทำให้ราคาสินค้า และบริการเพิ่มสูงขึ้น
อีกปัจจัยที่ส่งผลกระทบทำให้เกิดเงินเฟ้อก็คือ ปัจจัยด้าน “อุปทาน (Supply)” หรือความต้องการขาย เมื่อค่าจ้าง และต้นทุนต่างปรับเพิ่มขึ้น แน่นอนว่าส่งผลกระทบต่อต้นทุนการผลิตโดยรวมของสินค้าและบริการ ย่อมทำให้ราคาสินค้าและบริการแพงขึ้นเป็นเงาตามตัว
นอกจากนี้ก็ยังมีเรื่องของปริมาณเงินที่พิมพ์ขึ้นมาในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา มีปริมาณเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้เงินที่มีอยู่ในมือด้อยค่าลงด้วยอีกทางหนึ่ง สะท้อนออกมาอยู่ตัวเลขเงินเฟ้อที่ปรับเพิ่มขึ้น ถ้าหากเราลองไปมองตัวเลขเงินเฟ้อจากทางฝั่งสหรัฐอเมริกาจะเห็นได้เลยว่า ตั้งแต่ช่วงเดือนพฤษภาคม 2564 จนถึงเดือนที่มีการประกาศตัวเลขเงินเฟ้อล่าสุดออกมาคือ เดือนพฤศจิกายน 2564 มีระดับเงินเฟ้ออยู่ที่ 5-6.8% เลยทีเดียว ซึ่งถือว่าอยู่ในระดับที่สูงที่สุดในรอบ 40 ปี (ที่มา:
tradingeconomics.com)
นอกจากฝั่งสหรัฐฯ แล้วฝั่งยุโรปเองก็มีระดับเงินเฟ้อที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง หรืออย่างประเทศเยอรมนีเองก็มีระดับเงินเฟ้อในเดือนตุลาคม 2564 ที่ระดับ 5.2% เช่นกัน ถ้าหากระดับเงินเฟ้อยังอยู่ในระดับที่สูงอย่างต่อเนื่อง คาดการณ์ว่าเงินเฟ้อในปี 2564 น่าจะสูงมากกว่า 4% ต่อปี ซึ่งถือว่าอยู่ในระดับที่สูงอย่างมาก (ที่มา:
tradingeconomics.com)
การที่เงินเฟ้ออยู่ในระดับที่สูง และนานจนเกินไปจะส่งผลทำให้สินค้า และบริการแพงขึ้น ทำให้คนในภาพรวมบริโภคได้ลดลง แล้วเงินเฟ้อที่สูงก็ยังส่งผลกระทบต่อตลาดการลงทุนโดยตรงด้วยเช่นกัน ยิ่งเงินเฟ้อปรับเพิ่มสูงขึ้น นักลงทุนก็ยิ่งต้องเพิ่มความเสี่ยงพอร์ตการลงทุนมากขึ้นเพื่อให้ "ผลตอบแทนจากการ
ลงทุนหลังเงินเฟ้อ” อยู่ในระดับเท่าเดิม ทำให้ล่าสุดทางธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) ได้ส่งสัญญาณว่าอาจจะมีการลดวงเงิน QE รวมถึงการปรับขึ้นดอกเบี้ยที่เร็วกว่าคาด เพื่อลดความร้อนแรงของเงินเฟ้อที่กำลังถีบสูงขึ้น
นักลงทุนควรปรับพอร์ตรับเงินเฟ้ออย่างไร?
ซึ่งเมื่อเราเห็นแล้ว “เงินเฟ้อ” กำลังจะมาอย่างแน่นอน สำหรับนักลงทุนที่ต้องการปรับพอร์ตเพื่อรับกับภาวะเงินเฟ้อที่กำลังเกิดขึ้น ก็สามารถเลือกลงทุนได้หลากหลายสินทรัพย์
1. ทองคำ
สินทรัพย์หนึ่งที่ขึ้นชื่อเรื่องการต่อสู้กับเงินเฟ้อได้เป็นอย่างดีก็คือ "
ทองคำ" จากสถิติเราจะเห็นได้อย่างชัดเจนเลยว่าราคาทองคำจะวิ่งตามอัตราเงินเฟ้อได้ดีมาก ยิ่งเงินเฟ้อสูงมากเท่าไหร่ ราคาทองคำยิ่งเติบโตได้ดีเท่านั้น เนื่องจากทองคำถูกเรียกว่าเป็น “เงินมั่งคง (Sound Money)” ที่สามารถกักเก็บความมั่งคั่งได้ในระยะยาว ปริมาณที่มีอย่างจำกัดสามารถขุดเพิ่มได้เป็นจำนวนน้อยต่อปี รวมถึงการใช้ทองคำเป็นสินทรัพย์เพื่อใช้ค้ำประกันการพิมพ์เงินเพิ่มตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบัน (ยกเว้นสหรัฐอเมริกาที่มีการยกเลิก “มาตรฐานทองคำ (Gold Standard)” ไปเมื่อปี ค.ศ. 1971)
2. ตราสารหนี้
"ตราสารหนี้" ในช่วงเวลานี้ก็สามารถลงทุนได้เช่นกัน แต่อาจจะต้องเลือกประเภทของตราสารหนี้ที่เป็น Floating Rate bond หรือ Inflation Linked Bond ที่จะมีการปรับอัตราดอกเบี้ยที่จ่ายในแต่ละงวดตามอัตราดอกเบี้ย และอัตราเงินเฟ้อที่เปลี่ยนแปลงไป แต่ถ้าหากเป็นตราสารหนี้ทั่ว ๆ ไปแนะนำว่าเน้นเลือกลงทุนตราสารหนี้ "ระยะเวลา" ที่สั้นลงกว่าปกติ ก็จะช่วยลดความเสี่ยงเรื่องเงินเฟ้อได้
3. อสังหาริมทรัพย์
อีกหนึ่งสินทรัพย์ที่ต่อสู้กับเงินเฟ้อได้ดีมากก็คือ "
อสังหาริมทรัพย์" ที่ทำผลตอบแทนได้ดีในช่วงที่เกิดเงินเฟ้อ เนื่องจากราคาสินทรัพย์ปรับเพิ่มขึ้น ย่อมทำให้ราคาที่ดินปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นได้ โดยสามารถเลือกลงทุนทางตรงหรือลงทุนทางอ้อมอย่าง REITs ก็สามารถทำได้ แต่เนื่องจากผลกระทบของโควิด-19 อาจจะต้องเลือกกลุ่มของอสังหาริมทรัพย์ที่ฟื้นตัวจากโควิด-19 ได้เร็ว หรือไม่ได้รับผลกระทบในช่วงที่ผ่านมาอย่างเช่น กลุ่มคลังสินค้าหรือโครงสร้างพื้นฐาน
4. หุ้น
สินทรัพย์การลงทุนอย่าง "
หุ้น" เองในภาวะที่เกิดเงินเฟ้อก็สามารถเลือกลงทุนได้เช่นกัน แต่อาจจะต้องคัดเลือกอุตสาหกรรมสำหรับการลงทุนสักเล็กน้อย เน้นเลือกลงทุนหุ้นกลุ่มที่ได้ประโยชน์จากเงินเฟ้อ และอัตราดอกเบี้ยที่เตรียมปรับขึ้น อย่างกลุ่มอุปโภคบริโภค กลุ่มธนาคารรวมไปจนถึงกลุ่มพลังงาน แต่สำหรับใครที่อยากลงทุนในหุ้น แต่ยังไม่มีประสบการณ์หรือเวลาในการติดตามข่าวสารมากนัก สามารถเลือกลงทุนผ่าน “
กองทุนรวม” ที่มีนโยบายการลงทุนในหุ้นตามที่เราสนใจก็สามารถทำได้
สุดท้ายแล้วสิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับการลงทุนก็คือ "
การกระจายความเสี่ยง (Asset Allocation)" เนื่องจากอนาคตเป็นสิ่งที่ไม่แน่นอน แถมปัจจัยที่เข้ามากระทบต่อราคาสินทรัพย์ก็ปรับเปลี่ยนตลอดเวลา การวางแผนรับมือเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างมากสำหรับการลงทุนในระยะยาว