กองทุนปันผลเป็นอีกหนึ่งช่องทางสร้างโอกาสได้รับผลตอบแทนที่มากกว่าการฝากเงิน แต่คุณทราบหรือไม่ว่า ไม่ใช่ทุกกองทุนจะจ่ายเงินปันผล และกองทุนที่จ่ายเงินปันผลก็ไม่ได้หมายถึงมีความเสี่ยงต่ำเสมอไป ดังนั้นหากคุณคือนักลงทุนที่อยู่ในช่วงเริ่มต้น อีกทั้งยังมีเวลาในการศึกษาข้อมูลไม่มากพอ คู่มือฉบับนี้จะช่วยสร้างความเข้าใจให้กับคุณได้มากขึ้น
ความหมายของกองทุนปันผล อีกหนึ่งช่องทางเพื่อการสร้างกระแสเงินสด
กองทุนปันผล หมายถึง
กองทุนรวมที่มีนโยบายการจ่ายปันผลให้กับผู้ที่ถือครองหน่วยลงทุนนั้น ๆ เมื่อกองทุนมีผลกำไร โดยเงินที่ได้รับจะขึ้นอยู่กับจำนวนหน่วยลงทุนของแต่ละคน รวมไปถึงผลประกอบการโดยรวมของกองทุน โดยเงินปันผลส่วนนี้จะถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย 10% ซึ่งความถี่ของการจ่ายผลตอบแทนนั้น จะขึ้นอยู่กับนโยบายของกองทุน
นอกจากกองทุนประเภทนี้จะช่วยให้นักลงทุนมีกระแสเงินสดหมุนเวียนแล้ว ยังมีเรื่องที่นักลงทุนควรทราบด้วย นั่นคือหลังการจ่ายผลตอบแทน มูลค่าของทรัพย์สินสุทธิ หรือ Net Asset Value (NAV) จะลดลง
นักลงทุนจะรู้ได้อย่างไรว่า กองทุนที่เลือกคือกองทุนปันผล
สำหรับนักลงทุนมือใหม่ที่ต้องการทราบว่า จะค้นหากองทุนรวมปันผลได้อย่างไร เราขอแนะนำวิธีง่าย ๆ แต่ได้คำตอบที่แน่นอนคือ การศึกษารายละเอียดของกองทุนจาก
หนังสือชี้ชวนส่วนสรุปข้อมูลสำคัญ (Fund Fact Sheet) หรือจากหนังสือชี้ชวนส่วนข้อมูลโครงการ ว่ามีนโยบายจ่ายเงินปันผลหรือไม่ ถ้ามี จะมีเงื่อนไขการจ่ายอย่างไร โดยในหนังสือชี้ชวนจะระบุรายละเอียดทุกอย่าง ทั้งนโยบายการลงทุน นโยบายการจ่ายปันผล และระดับความเสี่ยง รวมไปถึงสถิติย้อนหลังต่าง ๆ เพื่อให้นักลงทุนได้ศึกษาทำความเข้าใจก่อนตัดสินใจลงทุน และนักลงทุนทุกคนควรทราบเสมอว่า ผลประกอบการย้อนหลังไม่สามารถใช้ยืนยันผลตอบแทนในอนาคตได้
3 วิธีการเลือกกองทุนปันผลให้เหมาะสำหรับตัวเอง
กองทุนปันผลเหมาะสำหรับนักลงทุนที่ต้องการ
กระแสเงินสด ระหว่างทางที่ลงทุนหรือนำไปต่อยอดลงทุนในสินทรัพย์อื่น ๆ โดยเราได้นำ 4 วิธีการพิจารณามาฝาก คือ
1. อยากรับเงินปันผล ต้องเลือกกองทุนที่มีนโยบายการจ่ายเงินปันผล
ตอบโจทย์อย่างตรงไปตรงมา เพราะเมื่อคุณมีวัตถุประสงค์ในการลงทุน เพื่อต้องการกระแสเงินสดเพิ่มเข้าในชีวิตประจำวัน คุณจะต้องเลือกกองทุนที่มีนโยบายจ่ายเงินปันผล และดังที่ได้กล่าวไป คุณจะทราบว่ากองทุนใดจ่ายเงินปันผลได้จากการศึกษาหนังสือชี้ชวนจนเข้าใจ
2. พิจารณาว่าตัวเองสามารถรับความเสี่ยงได้ขนาดไหน
ดังที่เราได้กล่าวไปข้างต้นว่า แต่ละกองทุนมีระดับความเสี่ยงที่ไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับนโยบายการลงทุนว่าเลือกลงทุนในสินทรัพย์ชนิดใด ซึ่งกฎของความเสี่ยงสามารถเข้าใจได้ง่าย ๆ คือ เมื่อลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูง ก็จะมีโอกาสสร้างผลตอบแทนเพิ่มขึ้น แต่ก็มีโอกาสขาดทุนได้สูงเช่นกัน ส่วนการลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงต่ำ จะสร้างผลตอบแทนได้จำนวนน้อยลง แต่โอกาสในการขาดทุนก็จะมีต่ำไปด้วย ดังนั้นเมื่อได้ทราบระดับความเสี่ยงในหนังสือชี้ชวนแล้ว จะต้องพิจารณาตัวเองด้วยว่า สามารถรับความเสี่ยงนั้น ๆ ได้หรือไม่ เพราะสินทรัพย์ที่คุณสนใจ อาจไม่ได้มีความเสี่ยงอยู่ในระดับที่คุณรับมือได้
3. พิจารณาผลการดำเนินงานย้อนหลัง
ผลการดำเนินงานย้อนหลังช่วยบ่งชี้ถึงความสามารถของกองทุนในการสร้างผลตอบแทนในอดีตที่ผ่านมา อีกทั้งยังแสดงให้เห็นถึงความผันผวนของกองทุนรวม โดยควรนำไปเปรียบเทียบกับผลการดำเนินงานย้อนหลังของกองทุนที่อยู่ในประเภทเดียวกันด้วย เพื่อพิจารณาว่ากองทุนที่เรากำลังเลือกสามารถทำผลการดำเนินงานได้เป็นอย่างไร เมื่อเทียบกับกองทุนกลุ่มเดียวกัน
แนะนำกองทุนปันผลดีจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา
เป็นกองทุนรวมตราสารทุนที่มีนโยบายลงทุนในกองทุนรวมต่างประเทศชื่อ Morgan Stanley investment fund-Global Brands fund (Class Z) (กองทุนหลัก)
ซึ่งกองทุนหลักจะเน้นลงทุนในหุ้นของบริษัทต่าง ๆ ซึ่งดำเนินกิจการในประเทศที่พัฒนาแล้วทั่วโลก และเป็นแบรนด์ที่มีชื่อเสียงและประสบความสำเร็จ โดยพิจารณาจาก Intangible Asset หรือสินทรัพย์ที่ไม่มีตัวตน จับต้องไม่ได้แต่มีมูลค่าในตัวเอง เช่น มีเครื่องหมายการค้า เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์สินค้าซึ่งเป็นที่รู้จักในสากล เป็นต้น ในส่วนของการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนจะเป็นไปตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน
กองทุนนี้มีความเสี่ยงสูงอยู่ในระดับ 6 เน้นลงทุนในตราสารทุน (หุ้น) เป็นหลัก โดยเฉลี่ยในรอบปีไม่น้อยกว่า 80% ของ NAV และมีนโยบายจ่ายเงินปันผลไม่เกินปีละ 12 ครั้ง ในอัตราที่ไม่ต่ำกว่า 10% ของกำไรสุทธิ/กำไรสะสม
เน้นการลงทุนในตราสารทุนเป็นหลัก โดยเลือกลงทุนหุ้นในประเทศที่มีปัจจัยพื้นฐานดี และมีแนวโน้มการเติบโตในอัตราที่สูง โดยเฉลี่ยในรอบปีไม่น้อยกว่า 80% ของ NAV เป็นกองทุนปันผลสูงที่มีความเสี่ยงสูงอยู่ในระดับ 6 และมีนโยบายจ่ายเงินปันผลอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ในอัตราที่ไม่ต่ำกว่า 95% ของกำไรสุทธิ/กำไรสะสม
กองทุนปันผลเปิดโอกาสในการรับกระแสเงินสดให้กับนักลงทุน จึงเหมาะสำหรับนักลงทุนที่อยากได้รับกระแสเงินสดระหว่างที่ลงทุน สำหรับนักลงทุนที่สนใจแต่อาจไม่มีเวลาในการศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมมากนัก ธนาคารกรุงศรีอยุธยาได้จัดทีมงานที่มีความเชี่ยวชาญด้านการเงินและการลงทุนไว้คอยดูแล โดยผู้สนใจลงทุนสามารถติดต่อเพื่อขอรับคำปรึกษาเกี่ยวกับการเงินและการลงทุนเพิ่มเติมได้ที่ช่องทางฮอตไลน์ 02-296-5959 ทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 9.00 น.-17.00 น. หรือ
ฝากข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับก็ได้เช่นกัน
ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน
- ผลการดำเนินงานในอดีตของกองทุนรวม มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต
- กองทุน KFGBRAND-D ป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน จึงมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งอาจทำให้ผู้ลงทุนขาดทุนหรือได้รับกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน หรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้
บทความโดย
สิรภัทร เกาฏีระ CFP®
กลุ่มบริการที่ปรึกษาทางการเงินส่วนบุคคล
ธนาคารกรุงศรีอยุธยา