กองทุนแบบไหนตอบโจทย์ฟรีแลนซ์ (ตอนที่ 1)
รอบรู้เรื่องลงทุน
icon-Facebook icon-Twitter icon-line

กองทุนแบบไหนตอบโจทย์ฟรีแลนซ์ (ตอนที่ 1)

icon-access-time Posted On 04 กุมภาพันธ์ 2559
By Krungsri the COACH
“ฟรีแลนซ์” หนึ่งในอาชีพรายได้สูงแต่ไม่ประจำ ด้วยความที่ไม่มีสวัสดิการจากบริษัทคอยดูแลเหมือนพนักงานประจำ ทำให้ฟรีแลนซ์ต้องดูแลตัวเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการวางแผนเกษียณ
“ฟรีแลนซ์” หนึ่งในอาชีพรายได้สูงแต่ไม่ประจำ ด้วยความที่ไม่มีสวัสดิการจากบริษัทคอยดูแลเหมือนพนักงานประจำ ทำให้ฟรีแลนซ์ต้องดูแลตัวเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการวางแผนเกษียณ
บทความนี้ผมขอแบ่งออกเป็นสองตอนเพื่ออธิบายรายละเอียดของกองทุนแต่ละประเภทนะครับ
ด้วยความที่ค่าฝีมือของฟรีแลนซ์นั้นจะค่อนข้างสูง ดังนั้น หากมีการเก็บออมในอัตราที่สูง เช่น >50% ของรายได้ที่ได้รับ ก็จะช่วยให้การบริหารเงินสำหรับอนาคตเป็นไปได้ไม่ยาก ดังนั้น ฟรีแลนซ์ควรจะเตรียมเงินออมไว้สำหรับ
  • เงินออมสำรองกรณีฉุกเฉิน ให้เพียงพอสำหรับค่าใช้จ่าย 6 เดือน
  • เงินออมสำหรับค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพ โดยการซื้อกรมธรรม์ประกันชีวิต รวมทั้งการขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกันตนเอง เพื่อรับสิทธิ์ประกันสังคม
  • เงินออมสำหรับการลงทุนและวางแผนการเกษียณ โดยหนึ่งในวิธีการลงทุน คือ การลงทุนผ่านกองทุนรวมที่ดูแลโดยมืออาชีพ โดยอาจจะใช้วิธีทยอยซื้อ เพื่อเป็นการถัวเฉลี่ยราคาหน่วยลงทุนตลอดปี
ซึ่งในส่วนของการลงทุนนี้ เราอาจแบ่งการลงทุนในกองทุนรวมตามวัตถุประสงค์การลงทุนดังต่อไปนี้ครับ

1. ซื้อกองทุน RMF เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการวางแผนเกษียณ


เพราะฟรีแลนซ์ไม่มีสวัสดิการจากบริษัทในส่วนของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ดังนั้น การลงทุนใน RMF จึงเป็นหนึ่งช่องทางที่ช่วยในการวางแผนเกษียณได้ เพราะกองทุน RMF เป็นการลงทุนในระยะยาว ผู้ลงทุนจะสามารถขายคืนหน่วยลงทุนได้เมื่ออายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ โดยผลตอบแทนที่ได้จากการลงทุนใน RMF คือ ผลประโยชน์ทางภาษีจากการหักค่าลดหย่อนในปีที่ซื้อหน่วยลงทุน บวกกับส่วนต่างของราคาหน่วยลงทุนในวันที่ขายกับวันที่ซื้อ ซึ่งขึ้นอยู่กับผลการดำเนินงานของกองทุน (อ่านบทความการสร้างกำไรจากกองทุนเพิ่มเติมได้ที่นี่)
กองทุน RMF มีหลายกองทุนให้เลือก ด้วยนโยบายที่แตกต่างกัน ตั้งแต่กองทุนความเสี่ยงต่ำที่ลงทุนในตราสารเงิน/พันธบัตรรัฐบาล ไปจนถึงกองทุนที่มีความเสี่ยงสูงที่ลงทุนในทรัพย์สินทางเลือก เช่น ทอง ทั้งนี้การเลือกว่าจะลงทุนในกองทุนแบบใด ขึ้นอยู่กับการคาดการณ์ของผู้ลงทุนว่า สินทรัพย์ใดน่าจะให้ผลตอบแทนที่ดีที่สุดในระยะยาว
ตัวอย่างกองทุน RMF ของกรุงศรี โดยเรียงลำดับจากความเสี่ยงต่ำไปความเสี่ยงสูง ดังนี้
นอกจากการวางแผนเกษียณด้วย RMF แล้ว ฟรีแลนซ์ยังสามารถลงทุนในกองทุนเงินออมแห่งชาติได้อีกด้วย
จะเห็นได้ว่า ถึงแม้รายได้จะเข้ามาอย่างไม่ประจำ แต่การบริหารเงินเพื่ออนาคตของฟรีแลนซ์ก็ไม่ใช่เรื่องยากขอเพียงแค่ให้มีวินัยในการออม และมีแผนการลงทุนที่ชัดเจน ฟรีแลนซ์ ป่วยได้ พักได้ เกษียณได้
แล้วพบกันใหม่ในตอนต่อไปนะครับ
pym logo
ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง
บทความที่เกี่ยวข้อง
พิมพ์สิ่งที่ต้องการค้นหา